สร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลง

วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม 2019 เวลา 15:02 น. นพ.วิจารณ์ พานิช บทความ - พัฒนาทุนมนุษย์
พิมพ์

วันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ ผมไปเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการกำกับทิศทาง โครงการเครือข่ายผู้นำเพื่อการสร้างสุขภาวะ (คศน.) ครั้งที่ 3/2562    ซึ่งเป็นการประชุมครั้งสุดท้าย ก่อนจะขึ้นระยะใหม่ของโครงการ    ที่ได้รับคำแนะนำให้ยกระดับความเข้มข้นของการเรียนรู้ยิ่งกว่าเดิม 

ผมเขียนบันทึกเรื่อง คศน. ไว้ที่ (๑)

มีการนำเสนอผลการประเมินภายในโดยคุณอ้อ (วรรณา เลิศวิจิตรจรัส) ที่เก็บข้อมูล ตีความ และนำเสนออย่างดีเยี่ยม ได้รับการปรบมือจากคณะกรรมการ    สรุปได้ว่า โครงการ คศน. สร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลง โดยมี ๓ ขั้นตอนคือ

  • การสรรหาผู้นำ
  • การสร้างพื้นที่การเรียนรู้เพื่อ ปลุกพลัง  transform  และสร้างการเชื่อมต่อระหว่างกัน
  • ผลักดัน และหนุนเสริม ให้เกิดเครือข่ายเพื่อการสร้างสรรค์สังคม

มีรายละเอียดของแต่ละข้อที่สรุปวิธีการ  ผลที่เกิด และข้อเสนอแนะให้ความรู้มาก

ตามด้วยการนำเสนอผลการประเมินกลไกการสนับสนุนเครือข่าย คศน. โดยคุณหมู    มีทั้งหมด ๖ เครือข่าย    มีการเก็บข้อมูลวิเคราะห์และนำเสนอพลวัตของเครือข่ายทั้ง ๖ อย่างดีมาก   

ผลการศึกษาและนำเสนอของคุณอ้อและคุณหมู เป็นข้อมูลช่วยให้คณะกรรมการให้ข้อคิดเห็นอย่างกว้างขวาง และมีการเสนอแนะประเด็นสำคัญสำหรับนำไปพัฒนาโครงการในระยะต่อไป    รวมทั้งเป็นข้อถกเถียงเรื่องการสร้างผู้นำให้แก่สังคม

ซึ่งผมอดไม่ได้ที่จะนึกในใจว่า ต้องเริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่    ที่จะให้ได้เด็กที่การพัฒนา EF ไม่ถูกปิดกั้น    เมื่อเป็นเด็กก็ได้รับการพัฒนาครบด้าน รวมทั้งด้าน Transformative Competencies    เพื่อการเติบโตไปเป็น change agent ให้แก่สังคม

ผมชอบแนวคิดทุกคนมีภาวะผู้นำ มากกว่าเพียงบางคนที่เป็นผู้นำ  

ผมชอบแนวคิดภาพใหญ่ ของ นพ. พงศธร พอกเพิ่มดี ที่เน้นเป้าหมายของโครงการว่า เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ     และโครงการ คศน. มุ่งสร้างตัวคูณ    ไม่ใช่แค่สร้างผู้ลงมือทำ    เน้นที่เป้าใหญ่   competencies ใหม่   และ core values (equity)    และ นพ. อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล เสริมว่า โครงการ คศน. ทำหน้าที่ platform for nurturing & capacity building สู่เป้าหมายตามที่ นพ. พงศธร เสนอ    และมีการอภิปรายกันว่า จะให้เป็น lifelong empowerment platform ได้อย่างไร   

โครงการ คศน. ไม่โดดเดี่ยว มีโครงการพันธมิตรคือ Ashoka และ Equity Initiative    รวมทั้งมีการริเริ่มกิจกรรม/เครือข่าย Young คศน.   ที่มีโอกาสเลี้ยงตัวเองได้   

สสส. จะให้การสนับสนุนการดำเนินการระยะต่อไป    โดยทางโครงการจะนำข้อเสนอแนะไปปรับปรุงโครงการ    ให้มี disruption component เพิ่มขึ้น    เชื่อมโยงกับการเป็นภาคีกับต้นสังกัด เพื่อสร้าง transformation ในหน่วยงานต้นสังกัดมากขึ้น แต่ไม่ตกเข้าไปในหลุมพรางของระบบราชการ มีระบบ lifelong learning  ที่มี online system ด้วย    รวมทั้งมีภาคีร่วมมือมากขึ้น เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มผลสัมฤทธิ์ 

วิจารณ์ พานิช

๓๐ พ.ย. ๖๒

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย  ใน KMI Thailand