บันเทิงชีวิตครูสู่ชุมชนการเรียนรู้ (๑๑) ชุมชนแห่งผู้นำ

วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ 2013 เวลา 00:00 น. ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท บทความ - พัฒนาทุนมนุษย์
พิมพ์

บันทึกชุดนี้ ถอดความมาจากหนังสือ Learning by Doing : A Handbook for Professional Learning Communities at Work. 2nd Ed, 2010 เขียนโดย Richard DuFour, Rebecca DuFour, Robert Eaker, Thomas Many

ตอนที่ ๑๑ นี้จับความจาก Chapter 10 : The Complex Challenge of Creating Professional Learning Communities ซึ่งเป็นบทสุดท้ายของหนังสือ

เคล็ดลับสู่ความสำเร็จของ PLC คือการขับเคลื่อนความเป็นผู้นำในหมู่ครู   ให้ออกมาโลดแล่นสร้างความริเริ่มสร้างสรรค์ เพื่อบรรลุเป้าหมายยกระดับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน

PLC คือเครื่องมือ ให้ครูทุกคนได้มีโอกาสเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง   โดยมีเป้าหมายหลักที่ผลการเรียนรู้ของนักเรียน  แต่จริงๆ แล้วยังมีผลลัพธ์ที่การเปลี่ยนแปลงโรงเรียนโดยสิ้นเชิง (school transformation) อีกด้วย  วิธีทำงานเปลี่ยนไป ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเปลี่ยนไป วัฒนธรรมองค์กรเปลี่ยนไป

โรงเรียนกลายเป็นองค์กรเรียนรู้   ผู้คนจะไม่หวงความรู้   จะมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันอย่างเข้มข้นและไม่เป็นทางการ

บทนี้ให้คำแนะนำแก่ครูใหญ่ และผอ. เขตการศึกษาว่าต้องเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง   และใช้ยุทธศาสตร์ผู้นำรวมหมู่ ไม่ใช่ผู้นำเดี่ยว   และยามที่ต้องยืนหยัดก็ต้องกล้ายืนหยัด

 

การเปลี่ยนแปลงทั้ง ๗ หมวด


เป้าหมายของ PLC คือการเปลี่ยนแปลงในระดับ transformation  โดยที่เป็นการเปลี่ยนไปเรียนรู้ไป ต่อเนื่องไม่สิ้นสุด ใน ๗ หมวดต่อไปนี้

 

คำแนะนำแก่ครูใหญ่และ ผอ. เขตการศึกษา

• เชื่อมโยงการเปลี่ยนแปลงเข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน   อย่าจัดการการเปลี่ยนแปลงบนพื้นฐานของหลักการ   ให้อยู่กับความเป็นจริง


• เริ่มด้วยเหตุผลเชิงอุดมการณ์ (Why) แล้วเข้าสู่ปฏิบัติการจริงโดยเน้น How


• ทำให้การกระทำกับคำพูดไปทางเดียวกัน และส่งเสริมกัน


• แน่วแน่ที่ปณิธานและเป้าหมาย ยืดหยุ่นที่วิธีการ

• ใช้ภาวะผู้นำรวมหมู่


• จงคาดหวังว่าจะมีความผิดพลาด จนเตรียมเรียนรู้จากความผิดพลาด


• เรียนรู้จากการลงมือทำ


• สร้างขวัญกำลังใจและความฮึกเหิม โดยการเฉลิมผลสำเร็จเล็กๆ ตามเป้าหมายรายทาง

 

วิจารณ์ พานิช 
๒๐ ส.ค. ๕๔