เปิดใจ ดร.หนึ่ง : ปัญหาของประเทศ ณ ปัจจุบัน ไม่ได้อยู่ที่รัฐบาล ไม่ได้อยู่ที่ ส.ส. และ ส.ว. แต่อยู่ที่ประชาชน พร้อมเรียนรู้ และลงมือทำหรือยัง ?

วันพุธที่ 13 พฤษภาคม 2020 เวลา 12:37 น. ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท บทความ - พัฒนาทุนมนุษย์
พิมพ์

เปิดใจ ดร.หนึ่ง : “ปัญหาของประเทศ ณ ปัจจุบัน ไม่ได้อยู่ที่รัฐบาล ไม่ได้อยู่ที่ ส.ส. และ ส.ว. แต่อยู่ที่ประชาชน พร้อมเรียนรู้ และ ลงมือทำ หรือยัง?

 

เนื่องจากโดยส่วนตัว ต้องการพัฒนาการเมืองไทย จึงได้วางแผนไว้ตั้งแต่การออกแบบรัฐธรรมนูญฯ และสื่อสารถึงคณะกรรมการการเลือกตั้ง เพื่อให้ออกระเบียบ "ห้ามให้ของ ห้ามให้เงินประชาชนช่วงเลือกตั้ง ห้ามสัญญาว่าจะให้"

ซึ่งช่วงช่วยพรรคการเมืองหนึ่งเดินหาเสียง + ปั่นจักรยานหาเสียง ใช้แรงกาย แรงใจ ความจริงใจ คุยกับประชาชน จนประชาชนเข้าใจ ประชาชนจึงไม่ได้คาดหวังว่าจะได้เงินใด ๆ จากการกากบาทของเขา

เมื่อตั้งใจว่าจะทำ จึงเริ่มที่ปัญญา เพราะกำหนดไว้ว่าจะไม่เริ่มที่คำว่าเงิน จึงไม่ต้องใช้เงินสักสลึงเดียว

แต่ใช้ปัญญา และสิ่งที่มีอยู่ คือ แรงกาย แรงใจ เวลาของชีวิต และใช้โอกาสทุกโอกาสคุยกับประชาชน รับประทานอาหารร้านไหน ก็ใช้โอกาสชวนประชาชนให้เข้าใจอุดมการณ์ของพรรคการเมืองนั้น

อุดมการณ์ของพรรคนั้น เป็นสิ่งที่ประชาชนชอบ พอเล่าเรื่องราวของพรรคนั้นให้ประขาชนรับรู้ข้อมูลอย่างจริงใจ ไม่หลอกประชาชน ประชาชนเข้าใจ

 

 จุดเริ่มต้น ต้องไม่เริ่มที่ความขัดแย้ง หรือกล่าวว่าผู้อื่น ศึกษากฎหมายให้เข้าใจ และรู้วิธีการนำไปใช้ให้เป็น

 ได้เปิดอ่านข้อความในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๐ หรือยังคะ

 ถ้ายังไม่ได้อ่าน เปิดอ่าน และเลือกมาตราที่เกี่ยวข้องกับภารกิจที่กำลังขับเคลื่อน

 ประชาชนไทยต้องอ่านกฎหมายค่ะ กฎหมายไม่ยาก เขียนตรงไปตรงมา

 ใช้ มาตรา ๕๐ (๘). เป็นข้อกฎหมายของประชาชน ที่ทุกกระทรวงต้องสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของประชาชน

 คะ เข้าใจคะดิฉันอ่านแล้วเลยคิดต่อว่าถ้าเราเข้าใจเข้าถึงจริงคงพัฒนาได้จริงไม่โยนความผิดให้ใครไม่ต้องถามหาความจนรวยแค่ให้การเข้าใจไปพัฒนาต่อยอดจากความจริงความเป็นอยู่ของแต่ละสถานที่เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนนะคะ

 ถ้าไม่เปิดอ่านรัฐธรรมนูญฯ แล้วท่านจะรู้ข้อมูลได้อย่างไร

 ตอนนี้ผู้ตรวจการแผ่นดินต้องรับข้อร้องเรียนของประชาชน หากภาครัฐไม่ปฏิบัติตามมาตราใดก็ตามในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยผู้ตรวจการแผ่นดินมีหน้าที่รับฟังประชาชน ช่วยเหลือประชาชนทันที และส่งเรื่องถึงศาลรัฐธรรมนูญ

 ก่อนช่วงไวรัสระยาด ได้ลงสำรวจจริงที่สำนักผู้ตรวจการแผ่นดิน พบประชาชนมาร้องทุกข์จำนวนมาก และมีเจ้าหน้าที่รับเรื่อง + ส่งเรื่องให้หน่วยงานรับผิดชอบแก้ปัญหาให้ประชาชน

 ทุกข้อความที่ได้เขียนคือสิ่งที่ประชาชนแบกรับอยู่คะอย่ามองว่าคือตัวปัญหานะคะ อยากให้มองปัญหาให้ลึกซึ้งและมีเมตตาด้วยคะเพื่อความยั่งยืนชั่วลูกชั่วหลานไม่ใช่ไม่รู้แล้วมาสร้างปัญหาคะชาวบ้านเขาพบเจอแต่สิ่งนี้จึงพูดจากใจคะ

มาตรา ๗๕ ใช้ขับเคลื่อนโครงการ "เศรษฐกิจประชาชน-คุณภาพชีวิต-สวัสดิการ"

 มาตรา ๗๕ วรรคสาม "รัฐพึงส่งเสริม สนับสนุน คุ้มครอง และสร้างเสถียรภาพให้แก่ระบบสหกรณ์ประเภทต่างๆ และกิจการวิสาหกิจขนาดย่อมและขนาดกลางของประชาชนและชุมชน"

ใช้ขับเคลื่อนการจัดทำสหกรณ์ และโครงการของ @หมอนันท์ พท.H.S  @Apiwat Kunarak คะ

 

มหาวิทยาลัยที่กำลังก่อตั้ง จะใช้ว่า "ครูต้นแบบ" จะไม่ใช้คำว่า "อาจารย์"

 เป็นการเตือนทุกท่านครั้งสุดท้าย ถ้าบางท่านยังคงเลือกส่งข้อความไม่สร้างสรรค์เข้ากลุ่ม โดยไม่ศึกษาให้เข้าใจถูกต้องเสียก่อน กลุ่มนี้จะไม่สามารถต้อนรับคนรุ่นใหม่เข้ากลุ่มได้ ประเทศต้องการต้นแบบผู้ใหญ่ที่ดี ทำงานสร้างสรรค์ เท่านั้น  คงต้องแก้ปัญหา โดยการแยกกลุ่ม เปิดกลุ่มใหม่ให้คนรุ่นใหม่ เพราะเรากำลังสอนให้เขาสร้างสรรค์ เหนื่อยมากนะคะ ทำงานกับคนดื้อ  ไม่นึกถึงผลกระทบที่จะเกิดกับชาติบ้านเมือง!

 ประเทศไทย ทุกศาสนาต้องอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข พหุวัฒนธรรม พลเมือง และผู้นำพลเมืองต้องเข้าใจกฎหมาย ไม่ใช่วิจารณ์กฎหมาย ถ้าทำไม่เป็น ก็ค้นหาครูต้นแบบ ค้นหาผู้ที่เข้าใจรัฐธรรมนูญ ได้แก่ คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ มีตั้งหลายท่าน ก็เข้าไปถามท่านว่ามาตรานี้มีเจตนารมณ์อะไร

 ก็เพราะประชาชนไม่รู้ ชีวิตจึงลำบาก เพราะประชาชนไม่ใช้ข้อกฎหมายให้เป็นประโยชน์

 

ภาคเอกชนรวมตัวกันเป็นสมาคม และร่วมเสนอข้อกฎหมายกับภาครัฐ

ภาคเอกชนเขาลงมือทำ เขาจึงได้ประโยชน์

ภาคประชาชนมัวแต่จ้องขัด แย้ง โดยไม่ศึกษาทำความเข้าใจทั้งหมด เพราะ ดร. หนึ่งเข้าใจธรรมชาติของประชาชนดี จึงช่วยวางกฎหมายรัฐธรรมนูญให้คำนึงถึงประโยชน์สุขของประชาชน และ หลายครั้งแล้วที่เราคุยเรื่องนี้ในกลุ่ม ประชาชนนำรัฐธรรมนูญไปใช้ได้ทันที ดังที่อธิบายเมื่อเช้านี้

 ปัญหาของประเทศ ณ ปัจจุบัน ไม่ได้อยู่ที่รัฐบาล ไม่ได้อยู่ที่ ส.ส. และ ส.ว.

แต่อยู่ที่ประชาชน พร้อมเรียนรู้ และ ลงมือทำ หรือยัง?