การอ่านในยุคโลกาภิวัตน์"

วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน 2013 เวลา 00:00 น. ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท บทความ - พัฒนาทุนมนุษย์
พิมพ์

สวัสดีครับชาว Blog ทุกท่าน

วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน 2556 ได้รับเกียรติจากคณะกรรมการพิจารณาและกำหนดยุทธศาสตร์ กรุงเทพมหานครเมืองหนังสือโลก 2556 เป็นวิทยากรในการเสวนาหัวข้อ "Bangkok World Book Capital Forum การอ่านในยุคโลกาภิวัตน์"  ณ โรงแรมอิมพีเรียลควีนส์ปาร์ค กรุงเทพฯ

 

ติดตามรายละเอียดและประเด็นสำคัญได้ใน Blog นี้ครับ

สิ่งที่เป็นความจริง คือ ความสามารถของสังคมไทยในการอ่านรวมถึงทุนมนุษย์ยังอ่อนแอ วันนี้ขอมาเรียนรู้ ผมทำเรื่องคนมาตั้งแต่อายุ 33 ปี ตั้งแต่ที่สถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สิ่งที่สำคัญในปัจจุบัน คือ ทฤษฎี 3V

Value added

Value creation

Value diversity การเข้าสู่อาเซียนหรือโลกาภิวัตน์ ก็จะมีความหลากหลาย

การทำงานร่วมกันของกทม. ถือเป็น foundation ที่สำคัญที่สุด

การวิเคราะห์เกิดจากประสบการณ์และการวิเคราะห์อย่างต่อเนื่อง

ถ้าตอนเด็กไม่มีผู้ปกครองทีปลูกฝังเรื่องการอ่านก็จะขุนยาก ควรปลุกฝังตั้งแต่วัยเด็กเพื่อให้เกิดเป็น Habit  ต้องสำรวจตัวเองว่าการอ่านมีประโยชน์อะไร

ขอเป็นเครือข่าย และผมมีเครือข่ายของผมทั้งอาเซียน ระดับโลก และมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ ที่ทำเรื่องทุนมนุษย์ ต้องจัดการความไม่แน่นอน จัดการกับความเปลี่ยนแปลง มีการเรียนรู้ข้ามศาสตร์  นักปราชญ์ที่ชอบ คือ ลีโอนาโด ดาร์วินชี

การอ่านหนังสือในอนาคตต้องทำให้ตัวเองมีคุณภาพ ต้องlifelong learning ต้องจัดการกับการเปลี่ยนแปลง  จัดการกับความไม่แน่นอน

การพึ่งเทคโนโลยีมากเกินไป ไม่ Back to basics และถ้าไม่มีความสมดุลก็จะเป็นปัญหา

วิธีหนึ่งที่ค้นพบเรื่องทุนมนุษย์ที่การอ่านสำคัญ คือ เรารีบไปหาเป้าหมายเกินไป  พื้นฐานของคนคือคุณธรรม และจริยธรรม และต้องมีพื้นฐาน  คือทุนทางปัญญา และต้องมีเครือข่าย และต้องสร้างความสมดุลในชีวิต  ต้องการความยั่งยืน ต้องการให้ประเทศเดินไปช้าๆ อย่างมั่นคง

การอ่านในอนาคต คือ Unlearn สิ่งที่เป็นขยะ  Re-learn สิ่งที่เป็นประโยชน์ back to basic อ่านหนังสือธรรมมะ หนังสือที่เป็นประโยชน์มีความรู้จึงจะเป็นคนที่มีพื้นฐานที่ดี

คำถาม พัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างไร

เริ่มที่ปัจจัยตั้งแต่เกิดครอบครัว โภชนาการ การศึกษา  แต่สิ่งที่น่ากลัวมาก คือ เรื่องสื่อ  โดยเฉพาะวิทยุชุมชน  ค่านิยมเด็กรุ่นใหม่ บวกกับศาสนาที่อ่อนแอ

การศึกษาช่วยเรื่องประชาธิปไตยมาก ทำให้คนคิดเป็น ครูต้องปลูกฝังให้เด็กต้องคิด ไม่เน้นการสอบ

สิ่งที่ต้องตระหนักคือ ทำอย่างไรทีจะชนะอุปสรรค ให้วัฒนธรรมการอ่านกลายเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของทุกคน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์
คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/540864