ทุนมนุษย์กับการศึกษา Architecture of Human Resource

วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฏาคม 2011 เวลา 13:17 น. ผู้ดูแลระบบ บทความ - พัฒนาทุนมนุษย์
พิมพ์

ประเด็นพิจารณาเรื่องทุนมนุษย์กับการศึกษา –Architecture of Human Resource 

                ๑.สถานการณ์ปัจจุบัน  คนไทยได้รับการพัฒนาศักยภาพ แต่มีปัญหาด้านคุณภาพการศึกษาและสติปัญญา เด็กและเยาวชนมีโอกาสทางการศึกษาเพิ่มขึ้น  แต่คุภาพการศึกษายังมีปัญหามาก เด็กมีพัฒนาการด้านความสามารถทางเชาว์ปัญญาและความฉลาดทางอารมณ์ค่อนข้างต่ำ คนไทยเกือบร้อยละ ๖๐ ของผู้มีอายุเกิน ๑๕ ปีขึ้นไป ไม่สามารถคิดเป็น ทำเป็น ทำให้ขาดทักษะในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน ผลิตภาพในวัยแรงงานต่ำ 

                ๒..ปัญหามาจากระบบครอบครัวไทยมีความเปาะบางทั้งจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ กระแสโลกาภิวัตน์ และความจำเป็นในการประกอบอาชีพ ส่งผลให้ครอบครัวไทยเปลี่ยนจากการอยู่ร่วมกัน ของ พ่อ แม่ ลูก หลาน ที่มีการสืบทอดมรดกทั้งวิถีการดำรงชีวิต ค่านิยม วัฒนธรรม และทรัพย์สิน กลายเป็นครอบครัวเดี่ยวและความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวมีน้อยลง ขาดกลไกการอบรมที่เชื่อมโยงกันในลักษณะบ้าน วัด โรงเรียน ส่งผลให้ขาดพื้นฐานที่ดีที่จะเป็นปัจจัยหล่อหลอมให้เกิดการพัฒนาทางกาย จิตใจ สังคม และสติปัญญา ให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพ

 

                ปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดในโรงเรียน สถานศึกษา ที่เพิ่มขึ้น ยาเสพติดมีส่วนทำลายพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสมอง  ของเด็กและเยาวชน ทำให้เยาวชนที่จะเป็นกำลังแรงงานใหม่ทดแทนผู้สูงอายุ มีคุณภาพด้อยลง ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในระยะยาว

                ๓.สิ่งที่ควรจะเป็นมีขบวนการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกันในลักษณะ บ้าน วัด โรงเรียน ครอบครัวเข้มแข็ง ดำรงชีวิตโดยยึดหลัก “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  คนเป็นศูนย์การของการพัฒนา สร้างสมดุลการพัฒนา ในทุกมิติ

                ๔.ทำอย่างไร พัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน  พัฒนาคนไทยทุกกลุ่มวัยให้มีศักยภาพ ด้วยการเสริมสร้างทักษะให้มีจิตสาธารณะ เรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต คิดเป็น ทำเป็น การสังเคราะห์ความรู้สั่งสม และต่อยอดสู่นวัตกรรมความรู้ ฝึกฝนจนเกิดความคิดสร้างสรรค์ เปิดใจกว้างพร้อมรับทุกความคิดเห็น และการปลูกฝังจิตที่มีคุณธรรม รวมทั้งเสริมสร้างสภาพแวดล้อมทางครอบครัว ชุมชน และสังคมให้มั่นคง และเอื้อต่อการพัฒนาคนอย่างสอดคล้องกับบริบทการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมในอนาคต

                ๕.ทำให้สำเร็จเป็นรูปธรรมได้อย่างไร  พัฒนาคุณภาพคนไทยทุกช่วงวัยให้มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาประเทศในอนาคต  สนับสนุนกระบวนการเรียนรู้สู่วัฒนธรรมการเกื้อกูล ด้วยการเสริมสร้างทักษะคนให้มีจิตสาธารณะ  การสร้างเสริมสุขภาวะคนไทยให้มีความสมบูรณ์แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจตั้งแต่ในครรภ์มารดาจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต สร้างความเข้มแข็งให้สถาบันหลักของสังคมทั้งสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา สถาบันศาสนา ให้มีบทบาทหลักในการหล่อหลอม บ่มเพาะเด็กและเยาวชนให้เป็นคนดี มีคุณธรรม มีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม และคำนึงถึงประโยชน์ต่อส่วนรวม สร้างโอกาสการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องให้คนทุกกลุ่มทุกวัยสามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้และองค์ความรู้ที่หลากหลาย ทั้งที่เป็นวัฒนธรรม ภูมิปัญญา และองค์ความรู้ใหม่ สร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ด้วยการสร้างกระแสสังคมให้การเรียนรู้เป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคน สร้างนิสัยใฝ่รู้ตั้งแต่วัยเด็ก ควบคู่กับการส่งเสริมให้องค์กรและสื่อทุกประเภทเป็นแหล่งเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ สร้างปัจจัยสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต พัฒนาระบบบริหารจัดการการศึกษาทางเลือกเพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาอย่างมีคุณภาพทั้งการศึกษาในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

๖ มีนาคม ๒๕๕๔

เรียบเรียงจาก ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๑

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม 2011 เวลา 16:03 น.