บทความของอาจารย์วิจารณ์ พานิช

วันเสาร์ที่ 06 ตุลาคม 2012 เวลา 00:00 น. ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท บทความ - พัฒนาทุนมนุษย์
พิมพ์

คณะกรรมการ CSR ของธนาคารไทยพาณิชย์ขอเชิญให้ ดร. กฤษณพงศ์ กีรติกร ปราชญ์คนหนึ่งของไทยด้านการศึกษา บรรยายสรุปภาพใหญ่ของประเทศด้านการศึกษาหรือการพัฒนาคน    ท่านพูดแล้วทำให้กรรมการตาสว่างและตาลุก    ว่าภาพคุณภาพคนของประเทศไทย น่าห่วงกว่าที่คิด   ซึ่งผมตีความว่าตัวเหตุสำคัญคือการศึกษาไม่เชื่อมโยงกับชีวิตจริง    ไม่เชื่อมโยงกับชีวิตการทำงาน    เนื่องจากการจัดการระบบการศึกษาไทยยังเป็น supply-side driven ด้านเดียว    demand-side ไม่มีอำนาจตัดสินใจ

 

ขอเอา powerpoint ที่ ดร. กฤษณพงศ์ แก้ไขหลังจากฟังคำอภิปรายในที่ประชุม เอามา ลปรร. ที่นี่

 

ในระบบการศึกษา มาตรการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอย่างหนึ่งคือการทำให้รอยต่อระหว่างส่วนต่างๆ ของระบบการศึกษาเชื่อมต่อกันเป็นเนื้อเดียวกัน เมื่อมองจากมุมของผู้เรียน   ไม่ใช่แยกกันเด็ดขาดอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน   คือชั้น ๑๑ - ๑๒ (ม. ๕ - ๖) กับชั้น ๑๓ - ๑๔ (อุดมศึกษาปีที่ ๑ - ๒) เรียนร่วมกันได้    ให้ผู้จัดการศึกษาในช่วง ๔ ปีนี้ทำงานร่วมกัน เรียนรู้และพัฒนาการเรียนรู้ร่วมกัน

 

นอกจากนั้น อุดมศึกษาต้องเอาใจใส่การเรียนรู้ของคนทุกกลุ่มอายุ    คือทำหน้าที่ในการสร้างคุณภาพของคนไทยทุกกลุ่มอายุ   โดยที่จริงแล้วไม่ใช่อุดมศึกษาทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้เป็นหลัก   แต่ทำหน้าที่แบบใหม่ เน้นที่การทำงานร่วมกัน เพื่อเป้าหมายเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้คน   แล้วมีกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือจัดการความรู้    ยกระดับความรู้ผ่านการปฏิบัติขึ้นไปอย่างต่อเนื่องไม่มีจุดจบ    นักวิชาการก็ยกระดับความรู้เชิงทฤษฎี เชื่อมกับการใช้ประยุกต์ใช้ทฤษฎีเพื่อชีวิตที่ดียิ่งขึ้น

 

การสร้างคนไทย ต้องสร้างผ่านชีวิตจริงของคนไทย    เอาความรู้จากภายนอกมาทำให้เป็นความรู้ของเราเอง    และต่อยอดยกระดับผ่านกิจการงานและชีวิตของคนไทย    ในเชิงระบบ ต้องให้มีสมดุลและ synergy ระหว่าง supply-side กับ demand-side

 

ที่จริงระบบในสังคมทุกระบบ เป็นการสร้างคนไทยทั้งสิ้น    จึงเกิดคำถามว่า เวลานี้ระบบต่างๆ ในสังคม   สิ่งต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้นในสังคม กำลังพัดพาคนไทยสู่ทางวัฒนาหรือทางหายนะ

 

การเผยแพร่แนวความคิดดีๆ เช่นนี้ ถือเป็น CSR อย่างหนึ่ง    เมื่อนำเรื่องนี้ไปแจ้งในที่ประชุมคณะกรรมการธนาคารไทยพาณิชย์    ท่านนายกกรรมการ อานันท์ ปันยารชุน ได้เพิ่มเติมปัจจัยสำคัญ ๒ ประการ คือ คอรัปชั่น กับความเข้มแข็งของระบบราชการ    เป็นการฝากให้กรรมการธนาคารท่านใหม่ ที่เป็นผู้แทนกระทรวงการคลัง คือ รศ. ดร. ทศพร ศิริสัมพันธ์ ที่เป็นเลขาธิการ กพร. อยู่ด้วย ให้ไปหาทางดำเนินการเพื่อบ้านเมือง

 

ดร. ทศพร บอกว่า เรื่องการศึกษานั้น สังคมไทยอยู่ในสภาพ ๒ : ๙๘   คือคนฐานะดี ๒% บนของสังคม ช่วยลูกหลานของตนได้ โดยส่งเข้าโรงเรียนที่คุณภาพดี   แล้วส่งไปเรียนต่างประเทศ    แต่อีก ๙๘% ต้องส่งลูกหลานเข้าเรียนโรงเรียนในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งคุณภาพด้อยลงเรื่อยๆ    ที่ประชุมเห็นว่า การแก้ไขต้องทำจากภายนอกกระทรวงศึกษาธิการ  เป็นสภาพที่ผู้คนหมดหวังต่อกลไกภาครัฐ

 

จะเห็นว่าคนไทยเรามีความท้าทายใหญ่ในเรื่องการสร้างและพัฒนาคน   ที่เราต้องช่วยกัน

 

 

 

วิจารณ์ พานิช

๒๘ ส.ค. ๕๕

คำสำคัญ (keywords): 551005, scb, scbf, กฤษณพงศ์ กีรติกร, ชีวิตที่พอเพียง, มูลนิธิสยามกัมมาจล, การสร้างคนไทย
· เลขที่บันทึก: 504587
· สร้าง: 05 ตุลาคม 2555 10:56 · แก้ไข: 05 ตุลาคม 2555 10:56
· ผู้อ่าน: 62 · ดอกไม้: 7 · ความเห็น: 1 · สร้าง: ประมาณ 22 ชั่วโมง ที่แล้ว
· สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน
แจ้งใช้งานผิดนโยบาย
ดอกไม้
เลิกชอบ สมาชิกที่ให้กำลังใจ: Blank ชาญโชติ , Blank ...Dr. Ple , และ 5 คนอื่น.
Facebook
Twitter
Google

ความเห็น

Blank

บทความนี้สำคัญกับทรัพยากรมนุษย์ไทยเป็นอย่างมากครับ ผมขออนุญาตินำไปเผยแพร่ในเคื่อข่ายของผมด้วยครับ

ร่วมแสดงความเห็นในหน้านี้
ชื่อ: ชาญโชติ
อีเมล: อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน
ข้อความ:
เรียกเครื่องมือจัดการข้อความ เขียนแบบ Markdown ได้
แนบไฟล์:
ชื่อไฟล์ต้องใช้ตัวอักษร a-z, A-Z, 0-9 สัญลักษณ์ขีดกลาง (-) หรือขีดล่าง (_) และห้ามเว้นวรรค
ส่งอีเมลแจ้งด้วยเมื่อรายการนี้มีความเห็นเพิ่มเติม New!

เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับการจัดการความรู้  เน้นที่การปฏิบัติ


จำนวนผู้เยี่ยมชม Site Meter

Locations of visitors to this page