UKnow ศูนย์ความรู้เฉพาะด้านวิศวกรรมความรู้และวิศวกรรมภาษา

วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม 2013 เวลา 00:00 น. ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท บทความ - พัฒนาทุนมนุษย์
พิมพ์

เรียนท่านสมาชิก เวปไซด์ ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (www.thaiihdc.org)  และ มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ทุกท่าน

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ได้รับความอนุเคราะห์จาก รศ.ดร.อัศนีย์ ก่อตระกูล ผู้อำนวยการศูนย์ความรู้เฉพาะด้านวิศวกรรมความรู้และวิศวกรรมภาษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งปัญญา ให้เกียรติมูลนิธิเข้าร่วมเป็นเครือข่ายและใช้โจทย์ของมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ในการทำวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและซอฟต์แวร์เครื่องมือ โดยการบูรณาการวิศวกรรมความรู้และวิศวกรรมภาษานับตั้งแต่ การสกัดความรู้  การแทนความรู้เพื่อนำไปสู่การประมวลผลความรู้ใหม่ รวมทั้งการหาเหตุผล การค้นหาและติดตามความรู้ การเชื่อมโยงความรู้ การแสดงผลความรู้แบบเชื่อมโยง ระบบผู้เชี่ยวชาญและระบบถามตอบอัตโนมัต

การเข้าร่วมเป็นเครื่องข่ายครั้งนี้จะทำให้ มูลนิธิศูนย์บูรราการพัฒนามนุษย์ โดยมีเวปไซด์ www.thaiihdc.org เป็นเครื่องมือให้สมาชิกของมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ และผู้เข้ามาเยี่ยมเยียนเวปไซด์ได้ประโยชน์ในการค้นหาความรู้ได้มากขึ้น เป็น One Stop Services

โปรดศึกษารายละเอียดได้จากข้อมูลเบื้องล่าง

 

ศูนย์ความรู้เฉพาะด้านวิศวกรรมความรู้และวิศวกรรมภาษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งปัญญา U-Know Center : The Advanced Research Center of Unified Knowledge and Language Engineering for Social Intelligence Building จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2552

วิสัยทัศน์

เป็นศูนย์ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณโดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ เพื่อเป็นหน่วยงานที่มุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาเทคนิคที่เกิดจากการบูรณาการวิศวกรรมความรู้ร่วมกับวิศวกรรมภาษา เพื่อนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการสะสมและอนุรักษ์ความรู้สำหรับการเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมทั้งพัฒนาซอฟต์แวร์เครื่องมือในการให้บริการความรู้เพื่อนำไปสู่การสร้างสังคมแห่งความรู้ด้วยเศรษฐกิจพอเพียง

พันธกิจ

1.วิจัยและพัฒนา เทคนิควิศวกรรมความรู้และวิศวกรรมภาษาเชิงบูรณาการ (The Unified Knowledge Engineering and Language Engineering) ร่วมกับเนคเทค และเครือข่ายสถาบันวิจัยพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการสะสมและอนุรักษ์ความรู้ รวมทั้งการให้บริการความรู้

2.ถ่ายทอดความรู้ เพื่อสร้างระบบนิเวศน์ความรู้ (Knowledge Ecosystem) ร่วมกับเจ้าของความรู้และผู้มีส่วนได้เสีย (Stake Holders) นับตั้งแต่ผู้ใช้ความรู้ ผู้ผ่องถ่ายความรู้ และผู้ให้บริการความรู้ เพื่อสร้างสังคมแห่งปัญญา ( Intelligent Society)

3.ร่วมพัฒนาและสร้างบุคลากรวิจัยด้านวิศวกรรมความรู้ บริการ และจัดการความรู้ (Knowledge Engineering,Services and Management) โดยใช้โจทย์จริงจากผู้ต้องการใช้งาน

4.ให้บริการและเป็นที่ปรึกษา ด้านการพัฒนาระบบบริหารจัดการความรู้ด้านวิศวกรรมความรู้

วัตถุประสงค์

1.ด้านเทคโนโลยีและการสร้างองค์ความรู้ใหม่

เพื่อวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและซิฟต์แวร์เครื่องมือ โดยบูรณาการวิศวกรรมความรู้และวิศวกรรมภาษานับตั้งแต่ การสกัดความรู้ การแทนความรู้เพื่อนำไปสู่การประมวลผลความรู้ใหม่ รวมทั้งการหาเหตุและผล การค้นหา  และติดตามความรู้  การเชื่อมโยงความรู้ การแสดงผลความรู้แบบเชื่อมโยง ระบบผู้เชี่ยวชาญ และระบบถามตอบอัตโนมัติ

 

2.ด้านการนำเทคโนโลยีสู่การใช้งานจริงด้วยกระบวนการสร้างสาระความรู้และให้บริการ

เพื่อพัฒนาระบบนิเวศน์ความรู้แบบมีส่วนร่วม โดยใช้เครือข่ายสารสนเทศและเทคโนโลยีโมบาย เพื่อให้เจ้าของความรู้ ประกอบด้วย ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัย  จากมหาวิทยาลัย สถาบันวิจัยต่างๆ ของกระทรวงต่างๆนำเข้าความรู้ กำกับความรู้ และบำรุงรักษาความรู้

เพื่อพัฒนาเครือข่ายความรู้ Cyberbrain ด้วยการเชื่อมโยงแบบกริด (Knowledge grid) โดยใช้ Meta data ที่เหมาะสมกับสื่อและชนิดความรู้

เพื่อพัฒนาระบบและกระบวนการถ่ายทอดความรู้และการให้บริการความรู้แบบ ณ. จุดเดียว (One Stop Service) และแบบเฉพาะตัว (Personalized Service)

เพื่อนำผลการวิจัยและพัฒนาไปใช้ประโยชน์ในเชิงอุตสาหกรรมและพาณิชย์

3.ด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคลและเครือข่ายวิจัย

เพื่อพัฒนาวิศวกรความรู้ทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก  โดยใช้โจทย์วิจัยจากผู้ใช้และประเมินผลโดยผู้ใช้

เพื่อถ่ายทอดความรู้แบบ Training for the Trainer โดยใช้โครงสร้างและเครือข่ายที่ปฎิบัติงานอยู่ของกระทรวง/กรมที่มีอยู่เช่น ศูนย์เรียนรู้ องค์การบริหารส่วนตำบล และวิทยาลัยเกษตรกรรม

เพื่อสร้างความร่วมมือในการทำวิจัยร่วมระหว่างหน่วยงานหรือสถาบัน รวมทั้งแรกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงาน

เพื่อคิดค้นและเสริมสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆจากผลการวิจัยและพัฒนาและนำไปถ่ายทอดความรู้สู่สังคม

สถานที่ทำงาน

อาคาร 15 ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โทร 02-9428555 ต่อ 1408,1438 โทรสาร 02-5790358

ผู้อำนวยการศูนย์

รศ.ดร.อัศนีย์ ก่อตระกูล