ดร.หนึ่ง จบวิทยาศาสตร์ แต่ต้องการให้รัฐธรรมนูญเปิดทางให้พัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนก็ต้องเรียนรู้ เพื่อเข้าใจรัฐธรรมนูญ (กฎหมาย)

วันพุธที่ 13 พฤษภาคม 2020 เวลา 13:12 น. ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท บทความ - พัฒนาทุนมนุษย์
พิมพ์

 ดร. หนึ่ง จบวิทยาศาสตร์ แต่ต้องการให้รัฐธรรมนูญเปิดทางให้พัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน...

ก็ต้องเรียน รู้ เพื่อเข้าใจรัฐธรรมนูญ (กฎหมาย)

สิ่งที่ ดร. หนึ่งได้ทำ ด้วยเงินส่วนตัว ไม่มีเงินเดือนใด ๆ ใช้เงินเก็บ และเงินสนับสนุนจากครอบครัว ๒ ครอบครัว

๑. ส่งข้อเสนอแนะว่าประเทศไทยต้องทำแบบนี้ โดยส่งเป็นฉบับเดียวกัน ถึง นายกรัฐมนตรี คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ สภาปฏิรูปแห่งชาติหรือสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ฯลฯ

นายกฯ นำไปทำนโยบาย

คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ นำไปเขียนบรรจุไว้เป็นมาตราในรัฐธรรมนูญ

สภานิติบัญญัติแห่งชาตินำไปเป็นกรอบพิจารณากฎหมาย และ คสช. ดูแลความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง ฯลฯ

๒. ลงพื้นที่เพื่อถามความต้องการของประชาชน รวบรวมนำส่งให้ เพื่อนำไปเป็นนโยบาย ช่วงนั้น @หมอนันท์ พท.H.S เสนอเรื่องสมุนไพร ทุกภาคส่วนจึงเริ่มวางรากฐานสมุนไพร จนถึงปัจจุบัน ถ้าใครรู้จัก ดร. ต้อม แห่งอภัยภูเบศร จะได้ข้อมูลจาก ดร. ต้อมว่านายกประยุทธ์ ฯ ส่งเสริมสมุนไพรอย่างจริงจัง

๓.ข้อ ๑ และ ข้อ ๒ ทำทุกสัปดาห์ ส่งหนังสือฯ ทุกสัปดาห์ โดยถ้าไม่ทำ ก็จะเตือนในสัปดาห์ต่อมา

๔. หลังจากร่างรัฐธรรมเสร็จ ก็ขับรถไปขอรับร่างรัฐธรรมนูญมาอ่าน ทำความเข้าใจ ตอนแรกด้วยความเกรงใจเงินของประชาชน จึงขอมา ๑ เล่ม เปิดอ่านร่างรัฐธรรมนูญ อ่านทุกตัวอักษร ต้องเข้าใจว่าข้อความนี้หมายถึงอย่างไร การเขียนกฎหมายนิยมอ้างไปมาตราอื่น ๆ พออ่านตามไปถึงระดับที่ ๓ (อ้างไปมาตราอื่น) ก็ลืมแล้วว่ามาตราแรก เป็นเรื่องอะไร

 

๕. ขับรถไปขอร่างรัฐธรรมนูญเพิ่มอีก ๒ เล่ม เพื่อเปิดพร้อมกันได้ ๓ เล่ม อ่านมาตรา ๓ มาตราที่อ้างต่อกัน ไปที่อีกหน้าหนึ่ง จนเข้าใจความหมายและเจตนารมณ์ของมาตรานั้น ๆ

๖. ดร. หนึ่งจบวิทยาศาสตร์ ไม่ได้จบกฎหมาย ก็ย่อมต้องใช้ความพยายามมากกว่านักกฎหมาย และคุณพ่อเป็นอัยการ ก็หอบร่างรัฐธรรมนูญไปถามคุณพ่อว่าหมายถึงอะไร (ถูกดุมาหลายรอบ)

๗. ตรวจสอบข้อความ และส่งข้อเสนอแนะให้คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขข้อความ เพิ่มเติมข้อความ ฯลฯ

๘. ในระหว่างพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ ก็ให้นักศึกษาร่วมออกแบบด้วย โดยให้ส่งข้อเสนอแนะของคนรุ่นใหม่ และรวบรวมส่งผู้เกี่ยวข้อง

๙. อ่านร่างรัฐธรรมนูญ ๓ รอบ ก่อนลงประชามติ "รับร่างรัฐธรรมนูญ"

๑๐. ขับรถไปขอร่างรัฐธรรมนูญ และนำไปให้ผู้สูงอายุในจังหวัดชลบุรีอ่าน ก่อนลงประชามติ

ตอนอ่านกฎหมาย อึดอัดใจมาก เพราะไม่คุ้นเคย แต่ก็นึกถึงพ่อหลวงภูมิพล ที่ทรงต้องเรียนกฎหมาย

ไม่ว่าอย่างไร ต้องอ่านทุกตัวอักษรในร่างรัฐธรรมนูญ ให้เข้าใจ และต้องเข้าใจจริง ๆ เพราะต้องทักท้วง และ/หรือ เสนอแนะในเรื่องที่ยังไม่ได้รวมไว้

มนุษย์ทุกคนที่มีสติ ปัญญา สมบูรณ์ สามารถเรียนรู้ทุกสิ่งด้วยตนเอง

เชื่อว่าท่านสมาชิกทุกท่านมีครบถ้วน ลองเปิดอ่านรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๐ เลือกมาตราที่เกี่ยวกับภารกิจที่ท่านกำลังทำอยู่   โปรดดูสารบัญ และบันทึกสารบัญเก็บไว้

 ดิฉันอยู่ภาคประชาชนเต็มขั้นถ้ายอมรับความผิดต้องเริ่มแก้ไขตรงเข้าไปเรียนรู้กฎหมายใช่มั้ยคะไม่มีสิทธิเรียกร้องจาก​ สส.หรือใครๆที่เรามองเห็นอำนาจที่เขามีจะพยายามสื่อสารทำความเข้าใจข้อนี้กับพี่น้องประชาชนคะท่าน