ทุนมนุษย์ภาคบริการ

วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฏาคม 2013 เวลา 00:00 น. ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท บทความ - พัฒนาทุนมนุษย์
พิมพ์

1. โครงสร้าง
มาตรฐานของบุคลากรในประเทศที่ควรได้รับการพัฒนามีดังต่อไปนี้คือ ทักษะด้านภาษาอังกฤษ ทักษะด้านบริหารจัดการ การวางแผน การตลาด ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มาตรฐานด้านฝีมือแรงงาน มาตรฐานวิชาชีพ มาตรฐานการให้บริการ โดยเฉพาะ SMEs ซึ่งยังด้อยกว่าธุรกิจขนาดใหญ่อยู่มาก นอกจากนี้ควรมีการตั้งโครงการสาคัญ (Winning Project) ด้านการศึกษาเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ทุนมนุษย์ภาคบริการเพื่อช่วยพัฒนาขีดความสามารถของประเทศ และให้สภาวิชาชีพทำงานร่วมกับภาคเอกชน ภาคการศึกษาและภาครัฐเพื่อให้เกิดบูรณาการ
2. ความเชื่อมโยงและเครือข่าย
ภาครัฐควรสร้างนโยบายและแผนงานด้านทุนมนุษย์เพื่อรองรับการเปิดเสรีภาคบริการอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม มีการสร้างแรงจูงใจให้ข้าราชการและบุคลากรภาครัฐมากกว่านี้ ภาครัฐควรประสานงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐให้มากขึ้นภาครัฐควรประสานงานกับเอกชนให้มากขึ้น นอกจากนี้ควรมีการจัดตั้งสภาทุนมนุษย์ภาคธุรกิจบริการ
3. การเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขัน
การปฏิรูปการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคเอกชน การฝึกอบรมระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว เพื่อพัฒนาคุณภาพด้านทักษะภาษาต่างประเทศ การสร้างเครื่องมือรับรองคุณภาพมาตรฐานของบัณฑิตให้เท่าเทียมกัน ควรนาจุดเด่นของไทยไปใช้ในการพัฒนาที่ยั่งยืน เช่นการหลอมรวมศิลปวัฒนธรรมและศิลปวิทยา และความเป็นเสน่ห์ไทยในงานบริการ
4. อุปสรรค
การขาดข้อมูลพื้นฐานเช่น ภาวะต่างคนต่างทำ ข้อมูลกระจัดกระจายไม่เป็นระบบ และปัญหาค่านิยมเช่นการไม่นิยมงานบริการ นอกจากนี้ยังมีการขาดแคลนบุคลากรระดับปฏิบัติการ
5. โอกาส
การสร้างงานจากการเคลื่อนย้ายแรงงานที่มีทักษะสูง และการถ่ายทอดเทคโนโลยีและความรู้
6. ความเสี่ยง
การแย่งงานในประเทศ และปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงานที่มีทักษะไปยังต่างประเทศ

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฏาคม 2013 เวลา 00:35 น.