ขอความร่วมมือทางออนไลน์จากประชาชนได้อย่างไร

วันเสาร์ที่ 28 กันยายน 2013 เวลา 00:00 น. จันทวรรณ บทความ - การศึกษา
พิมพ์

ดิฉันเองคิดว่า การที่ สรอ. เข้ามาสนับสนุนการเติบโตของชุมชน GotoKnow ของเรา และ สรอ. ได้รับความคิดเห็นจากสมาชิกในประเด็นต่างๆ ของ สรอ. ขอความรู้ หรือที่เรียกว่า Crowdsourcing เพื่อนำไปประกอบการกำหนดนโยบายทางด้านรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์นั้นเป็นโครงการที่มีประโยชน์มากนะคะ

เช่น ในปีที่ผ่านมา สรอ. ขอความรู้จากชุมชน  GotoKnow ด้านเทคโนโลยีการศึกษา และข้อมูลที่ได้ทางทีมงานก็นำมารวบรวมและสกัด แล้วจึงนำมาเผยแพร่ต่อในเวลาต่อมา นี่เป็นตัวอย่างต้นแบบในการบูรณาการด้าน e-Participation หรือ การมีส่วนร่วมของประชาชนทางออนไลน์ กับด้าน e-Policy ค่ะ

แต่นี่ก็คงเป็นแค่จุดเริ่มต้นเล็กๆ ค่ะ สรอ. ยังสามารถทำอะไรได้อีกเยอะแยะกับการสร้าง e-participation ค่ะ เช่น การทำ votes และ polls หรืออาจจะเป็นการ online public decision making ในระดับต่างๆ เป็นต้น

แต่สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่านั้นคือทำอย่างไรจึงจะได้ความใส่ใจและความกระตือรือร้นจากประชาชนในต่อการมีส่วนร่วมเหล่านี้อย่างต่อเนื่องทางออนไลน์

ดิฉันคิดว่าไม่ยากนะคะแต่ต้องทำอย่างจริงจังค่ะ ด้วยวิธีการเหล่านี้ค่ะ เช่น

 

  1. สรอ. ควรมีเว็บไซต์กลางของการทำ e-participation ค่ะ
  2. สื่อสารออนไลน์กับประชาชนอย่างต่อเนื่อง โดยนำเสนอข้อมูลที่น่าสนใจ จะสั้นแบบรายวัน หรือจะยาวหน่อยแบบรายสัปดาห์ และมีหลายช่องทางให้ประชาชนสามารถติดตามข่าวสารได้ค่ะ
  3. นอกจากมีเนื้อหาที่เกิดขึ้นจากทางภาครัฐแล้วควรจะสร้างให้เกิดเนื้อหาจากทางประชาชน แสดงให้เห็นการสื่อสารแบบสองทางที่เป็นไปอย่าง active ไม่ใช่มีเพียงแค่ข้อมูลจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพียงด้านเดียวค่ะ
  4. โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรให้ความสำคัญกับการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ (Contribution) ของประชาชนค่ะ เช่น hilight ประโยคเด่นของประชาชน เป็นต้น
  5. ชี้แจงกันให้ชัดค่ะว่า ข้อมูลจากประชาชนได้นำใช้เป็น input ในด้านอะไร และเผยแพร่ผลลัพธ์ให้ประชาชนได้ทราบด้วยค่ะ

น่าสนุกนะคะ ถ้ามีให้วิธีการมีส่วนร่วมทางออนไลน์ของประชาชนมากกว่าวิธีการทำ Crowdsoucring อย่างที่ทำใน GotoKnow แต่อย่างไรก็ตามประชาชนควรได้เห็นประโยชน์และได้เห็นผลลัพธ์ด้วยค่ะ

 

รบกวนขอความเห็นจากทุกท่านด้วยนะคะ

ขอบคุณค่ะ

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย จันทวรรณ