การศึกษาในยุค big data

วันศุกร์ที่ 15 ธันวาคม 2017 เวลา 00:00 น. ศ.นพ.วิจารณื พานิช บทความ - การศึกษา
พิมพ์

การศึกษาในยุค big data

เทคโนโลยี big data จะ transform วิถีชีวิตของคนเรา     และจะสร้าง disruptive change ต่อระบบที่มีอยู่ในปัจจุบัน หลายระบบ     เราตระหนักและกังวลต่อระบบการเงินการธนาคาร ()     และธนาคารไทยก็ปรับตัวกันเป็นการใหญ่ 

บัดนี้ ผมได้กลิ่น disruptive change ที่จะเกิดขึ้นต่อวงการศึกษา จากการอ่านหนังสือ The End of College : Creating the Future of Learning and the University of Everywhere เขียนโดย Kevin Carey ()

ที่จริง disruptive change ต่อวงการศึกษาจะก่อตัวขึ้นจากหลายมุม หลายฐาน    แต่ที่น่ากลัวหรือน่าจะมีพลังที่สุด อยู่ที่พลังของ ไอที

จากพลังของเทคโนโลยี big data    ข้อมูลพฤติกรรมการเรียนรู้บน IT platform จะถูกนำไปใช้ประโยชน์ในสารพัด รูปแบบ   รูปแบบหนึ่งคือใช้ทำ talent hunting โดยใช้ MOOCs เป็นแหล่งข้อมูล    เนื่องจากเป็น open platform และเรียนฟรี    คนเข้าเรียนได้จากทั่วโลก    ไม่ว่าชาติ อายุ  ระดับการศึกษาในระบบ จะเป็นอย่างไรเข้าไปเรียนได้หมด    และ IT Platform ของ MOOC เขามีการติว การทำโจทย์ และการแลกเปลี่นเรียนรู้กับเพื่อนนักศึกษา    ทั้งหมดนั้นทำผ่าน digital platform ทั้งหมด    และระบบ  big data ก็เก็บข้อมูลเอาไปประมวลหาความหมายหรือตอบคำถามตามที่เจ้าของระบบต้องการ    สิ่งหนึ่งที่เป็นยอดปรารถนาของมหาวิทยาลัยเจ้าของ MOOC นั้นคือ นักศึกษาที่มีอัจฉริยภาพพิเศษในด้านที่ต้องการ เช่น ด้านคณิตศาสตร์    digital platform (ที่มี AI อยู่ในระบบ) จะช่วยชี้ตัวอัจฉริยะที่เข้าไปเรียน    หลังจากขั้นตอนตรวจสอบ เพิ่มเติม มหาวิทยาลัยก็มั่นใจว่าพบตัวอัจฉริยะที่ต้องการแล้ว    และหาทางดึงตัวไปเรียนในมหาวิทยาลัย 

เข้าหลัก service science สมัยใหม่   ที่ทั้งผู้ให้บริการ และผู้รับบริการเป็นหุ้นส่วนกัน

พลังไอทีกำลังเอื้อให้เกิดระบบ “ให้ปริญญาตนเอง”    โดยระบบที่เรียกว่า open badge system ()    ที่มีระบบความน่าเชื่อถือ (ป้องกันคนไม่ซื่อ)    ใครไปเรียนหลักสูตร ออนไลน์ และสอบผ่านก็มีหลักฐานที่ผู้จัดหลักสูตร   และเจ้าตัวผู้เรียนก็สร้าง online portfolio ของตนไว้     สะสมประวัติการเรียนและผลงานของตนไว้     เอาไปเป็นหลักฐาน สมัครงานได้    เป็นหลักฐานที่ตรวจสอบสมรรถนะที่นายจ้างต้องการได้ละเอียดกว่าใบปริญญาอย่างมากมาย 


การศึกษาที่ผู้เรียนได้รับ ในยุค big data จะเป็น PL – Personalized Learning   จัดให้จำเพาะตัวปัจเจก  เพราะระบบ ไอที มันมี artificial intelligence รู้จักขีดความสามารถและพฤติกรรมของผู้เรียนเป็นรายคน    interactive learning ที่ผู้เรียนได้รับจึงเป็นข้อมูลป้อนกลับเฉพาะตัว  



วิจารณ์ พานิช

๓๑ ต.ค. ๖๐  ปรับปรุง ๒๖ พ.ย. ๖๐

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย  ใน สภามหาวิทยาลัย

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 15 ธันวาคม 2017 เวลา 22:04 น.