ทบทวนความรู้เรื่อง Knowledge Translation

วันอาทิตย์ที่ 04 สิงหาคม 2013 เวลา 00:00 น. ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท บทความ - การศึกษา
พิมพ์

บทความเรื่อง  Is it time to drop the ‘knowledge translation’ metaphore? A critical literature review ให้ความรู้เรื่อง knowledge translation และ tacit knowledge ดีมาก  โดยเป็นบทความที่ตีพิมพ์ในปี ๒๕๕๔  ผมชอบคำ from bench to bedside (T1)  และ from campus to clinic (T2)  และหากเติมภาคไทย จากหิ้งสู่ห้าง ก็จะยิ่งครบถ้วนมากขึ้น   แนวคิด KT เป็นตัวบอกว่า จากผลงานวิจัยสู่การประยุต์ใช้มีหลายขั้นตอน  ความคิดว่านักวิจัยคนเดียวต้องวิจัยขั้นตอนเดียว สู่การประยุกต์ใช้ได้เลย เป็นความคิดที่ตื้นเขิน  ไม่เป็นไปตามธรรมชาติของการวิจัยโดยทั่วไป

อ่านบทความแล้วผมนึกถึง Technology Assessment  ซึ่งผมตีความว่า ต้องมี TA ก็เพราะ KT มันมีจุดอ่อนที่มักเข้าข้างตัวเอง   และอาจเผลอคิดแบบ linear  ไม่คิดแบบซับซ้อน

จากการที่เรื้อจากวงการวิชาการไปนาน ผมอ่านบทความแล้วตื่นตาตื่นใจไปกับวิธีวิทยาที่หลากหลายขึ้น  มีคำใหม่ๆ ได้แก่systematic reviewoverviewconcept mapnarrative synthesis

ผมชอบมาก ที่เขาอ้าง อริสโตเติ้ล ว่า ความรู้มี ๓ ส่วน คือ ความจริง (fact)  ทักษะ (skill)  และ ปัญญาปฏิบัติ หรือ

ปัญญาญาณ (phronesis หรือ intuition)  และผมเองก็เชื่อเช่นนั้น  การเรียนรู้มีเป้าหมายให้บรรลุ ความรู้ทั้งสามส่วนนี้อย่างครบถ้วน จึงจะเรียกว่า รู้จริง

และชอบที่มีคนบอกว่า เวชปฏิบัติไม่ได้เป็นศิลปะ และไม่ได้เป็นวิทยาศาสตร์ แต่เป็นการปฏิบัติ เป็นการตัดสินใจลงมือปฏิบัติตามสถานการณ์ที่จำเพาะ ภายใต้ความรู้เชิงทฤษฎีที่มีอยู่   ผมนึกขึ้นว่า จะปฏิบัติได้ดีต้องมีความรู้เป็นพื้นฐานมาก และมีการฝึกใช้ความรู้นั้นจนคล่องแคล่วในหลากหลายสถานการณ์  ดังนั้น ในยุคปัจจุบัน คำว่า “รู้มากยากนาน” จึงไม่เป็นความจริง  จะจริงต่อเมื่อมีแค่รู้ ไม่ได้ฝึกใช้ความรู้

เขาเรียกความรู้เพื่อการปฏิบัติงานว่า “knowledge-in-practice-in-context”  คือแม้แพทย์จะรู้ว่าเรื่องนั้นมี guidelines อยู่ ก็จะไม่เปิดดูทุกครั้งที่ปฏิบัติรักษาผู้ป่วย  แต่จะใช้ “mindlines” ภายในใจของตน  ซึ่งผมตีความว่า แพทย์ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญจะมีชุดความรู้อยู่เป็นชุดๆ ภายในใจของตน (เรียกว่า schema)  ให้หยิบเอามาใช้ได้ทันที

KT เป็นกระบวนการทิศทางเดียว และเต็มไปด้วยอคติ หรือผลประโยชน์แอบแฝง

อ่านบทความนี้แล้ว ผมสรุปกับตนเองว่า กระบวนการของการเรียนรู้ และความรู้ มันซับซ้อนเกินกว่าถ้อยคำที่จะบรรยายได้  คำๆ เดียวจึงไม่เพียงพอสำหรับใช้งาน

เขามีคำอีกหลายคำเสนอมาให้ใช้ทดแทน KT ในสถานการณ์ต่างๆ ได้แก่ phronesis, mindlines, knowledge intermediation, และ language games  รวมทั้งเสนอประเด็นวิจัย เพื่อช่วยให้ความรู้ไปสู่ผู้ใช้หรือผู้กำหนดนโยบายง่ายขึ้น

ทำให้ผมนึกถึงสมัยทำงานที่ สกว.  เราจัดกระบวนการจัดการงานวิจัยเพื่อพัฒนา  ที่ “ผู้ใช้” เข้ามาร่วมตั้งโจทย์ และร่วมกระบวนการวิจัยเป็นระยะๆ ตั้งแต่ต้นจนจบ  เราพบว่า intelligent users สามารถมา capture ความรู้ไปใช้ได้เอง ตั้งแต่ขั้นตอนแรกๆ ของกระบวนการวิจัย  ผมได้เขียนไว้ในหนังสือ การบริหารงานวิจัย : แนวคิดจากประสบการณ์ ซึ่งสามารถเรียกได้ว่าเป็น in situ knowledge translation

 

 

วิจารณ์ พานิช

๒๔ มิ.ย. ๕๖

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/544421