ชีวิตที่พอเพียง : ๑๙๖๘. เข็มทิศสังคม

วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม 2013 เวลา 00:00 น. วิจารณ์ พานิช บทความ - การศึกษา
พิมพ์

อ. ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต และ อ. สุภรต์ จรัสสิทธิ์ แห่งสถาบันวิจัยประชากรและสังคม ม. มหิดล นัดมาสัมภาษณ์ เช้าวันที่ ๒ ก.ค. ๕๖ เพื่อประเมินแผนงาน NPI ของ สสส.  ที่ผมเป็นประธานคณะกรรมการชี้ทิศทาง  และเคยเล่าเรื่องราวไว้ ที่นี่ และมีเว็บไซต์ของโครงการ ที่นี่ โครงการนี้ดำเนินการโดยมูลนิธินโยบายสุขภาวะ

ผมมองโครงการ NPI เป็น “เข็มทิศสังคม”  เราต้องการเข็มทิศใหม่  เพราะเข็มทิศเดิมที่ใช้อยู่มันชักนำโลก ไปในทางที่บิดเบี้ยว หรือสุดโต่ง ไร้สมดุลหรือความพอดี

เข็มทิศที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันคือ GDP  ชี้แต่ผลสำเร็จทางเศรษฐกิจ  ยิ่งนับวันก็จะเห็นว่า มันชักนำผู้คนและสังคม ไปในทางแห่งความโลภ เห็นแต่ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือการเติบโตทางเศรษฐกิจ เป็นหลัก

มีความพยายามที่จะหาเข็มทิศใหม่มาใช้นำทางสังคม  NPI เป็นหนึ่งในนั้น

แผนงาน NPI ระยะแรกดำเนินการมาเกือบ ๓ ปี  และได้ข่าวว่า สสส. จะให้ทุนสนับสนุนต่อในระยะที่ ๒  เพื่อสนับสนุนการนำไปใช้ประโยชน์ในระดับตำบล  อำเภอ  และจังหวัด

GDP มีจุดแข็งตรงที่มันเป็นตัวเลขตัวเดียว ดูง่าย เข้าใจง่าย ใช้เปรียบเทียบได้ง่าย  และจุดอ่อนของมันก็คือสิ่งเดียวกันกับจุดแข็ง  คือมันง่ายจนมันไม่ได้บอก “สุขภาวะ” ที่แท้จริงของสังคม  และผู้คนมักโมเมว่าตัวเลข GDP บอกความเจริญก้าวหน้าของสังคม  ซึ่งจริงเพียงไม่ถึงครึ่ง  ยังมีส่วนอื่นที่ GDP ไม่ได้บอกหรือบอกไม่ได้  แต่มีความสำคัญต่อชีวิตของผู้คนมากเท่าหรือมากกว่า คือด้าน

วิจารณ์ พานิช

๒ ก.ค. ๕๖

คัดลอกจาก

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม 2013 เวลา 14:30 น.