ชีวิตที่พอเพียง : ๑๙๘๑. สมบัติส่วนตนหรือสมบัติส่วนรวม

วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม 2013 เวลา 00:00 น. วิจารณ์ พานิช บทความ - การศึกษา
พิมพ์

เช้าวันที่ ๒๐ ก.ค. ๕๖ ผมไปร่วมกิจกรรมของ คศน. ที่ โรงแรม บั๊ดดี้ ใกล้บ้าน เข้าไปแล้วผมตรงเข้าไปที่ลานร้านอาหาร ที่สร้างยื่นเข้าไปในแม่น้ำเจ้าพระยาประมาณ ๓๐ - ๔๐ เมตร พร้อมกับถามตนเองว่า การสร้างสิ่งก่อสร้างล้ำแม่น้ำอย่างนี้ผิดกฎหมายหรือไม่

เข้าไปเห็นการสร้างพื้นที่ปลูกผักตบชะวา ผมถามตนเองว่า นี่คือวิธีสร้างความตื้นเขินของแม่น้ำ เพื่อให้ที่ดินของตนงอก ใช่หรือไม่ ผิดกฎหมายหรือไม่ และหากไม่ผิดกฎหมาย ผิดหลักการการอยู่ร่วมกันอย่างเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เน้นการมีพื้นที่สาธารณะไว้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน หรือไม่

ผมบอก อ. หมอเฮ้าส์ ผู้จัดการโครงการ คศน. ว่าไม่ควรไปใช้บริการโรงแรมนี้ เพราะบุกรุกที่สาธารณะ ท่านบอกว่า หาที่ประชุม คศน. ยากขึ้นทุกวัน ครั้งก่อนก็ไปเจอการบุกรุกป่า พื้นที่ภูเขา คราวนี้บุกรุกแม่น้ำ ต่อไปสงสัยจะหาที่ประชุม คศน. ไม่ได้ 
จิตสาธารณะของผู้คนในสังคมไทย อยู่ในสภาพเข้มข้นหรืออ่อนแอ ระดับใด???!!!

ทำให้ผมได้โจทย์วิจัย เรื่อสถานภาพริมฝั่งแม่น้ำ กับการปฏิบัติตามกฎหมาย ที่น่าจะให้นักเรียนชั้นประถมปลายทำ เพื่อสร้างสำนึกสาธารณะ และเพื่อเรียนรู้ ๘ หน่วยสาระ

 

วิจารณ์ พานิช
๒๑ ก.ค. ๕๖

 

ร้านยื่นเข้าไปในแม่น้ำเจ้าพระยา

 

ถ่ายจากบนร้าน ให้เห็นว่ามันยื่นเข้าไปในแม่น้ำเพียงใด

 

แปลงผักตบชะวา

 

ถ่ายให้เห็นวิธีกันพื้นที่ ที่ควรจะเป็นที่สาธารณะ

 

 

ร้านอาหารใหญ่โตมาก

 

 

 

 

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม 2013 เวลา 07:57 น.