รวมพลังยกระดับคุณภาพการศึกษา

วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน 2013 เวลา 00:00 น. วิจารณ์ พานิช บทความ - การศึกษา
พิมพ์

รมตศึกษาธิการคนใหม่ (อย่าเปลี่ยนบ่อยได้ไหมจาตุรนต์ ฉายแสง ประกาศนโยบาย รวมพลังยกระดับคุณภาพการศึกษา อ่านได้ที่ http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=33340&Key=hotnews

เป็นนโยบายที่ผมสนับสนุนเต็มที่ทุกข้อ   แต่มีข้อกังขาว่า รมตจะบริหารงานอย่างไร เพื่อแก้ไขสภาพที่ กลไกในกระทรวงศึกษาธิการ และกลไกทางการเมืองที่เข้าไปครอบงำ และทำร้าย วงการศึกษาของประเทศ กำจัดความชั่วร้าย ในวงการศึกษา    ให้กลไกต่างๆ ดำเนินไปตามคลองธรรม และเพื่อเป้าหมายคุณภาพของการศึกษาอย่างแท้จริง    ไม่ใช่ผลประโยชน์ทางการเมือง หรือผลประโยชน์ส่วนตนของคนบางกลุ่ม

จะเกิดผลได้จริง ต้องลดขนาดของกระทรวงศึกษาธิการส่วนกลางลงสัก ๑๐ เท่า    คนที่ทำหน้าที่ด้านบริหารงาน ๔๐,๐๐๐ คน   ลดลงเหลือ ๔,๐๐๐ คน ก็ยังน่าจะมากเกินไป

ผมสนใจมาตรการข้อ ๖ 6.ส่งเสริมให้เอกชนและทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมจัด และสนับสนุนการศึกษามากขึ้น โดยรัฐจะเข้าไปกำกับควบคุมเท่าที่จำเป็น เพื่อรักษาคุณภาพมาตรฐาน โดยขอเสนอว่า วิธีดำเนินการตามข้อนี้อย่างจริงจัง คือการใช้เงินงบประมาณจากภาษีของประชาชน สนับสนุนโรงเรียนของรัฐและโรงเรียนเอกชน อย่างเท่าเทียมกัน    คือค่าใช้จ่ายต่อหัวนักเรียนของ รร. รัฐเป็นเงินเท่าไร  รัฐต้องจ่ายให้ รร. เอกชนเท่ากัน เลือกสนับสนุนเฉพาะ รร. เอกชนที่พิสูจน์แล้วว่าคุณภาพสูง

ผมมีความเห็นว่า ปัญหาการศึกษาไทย เป็นปัญหาที่ลึกในระดับโครงสร้าง    ที่ หัวโต” (แต่ไม่มีสมอง และอยู่ที่บริหารแบบรวมศูนย์ โดยไม่ต้องรับผิดชอบต่อผลงานที่ตกต่ำ

นี่คือการเข้าร่วมมือของผมกับ รมต. จาตุรนต์ ตามข้อ ๖ นี้   คือร่วมโดยให้ข้อคิดเห็น

ผมขอแสดงความชื่นชมมาตรการข้อ ๒ ส่วนที่ว่า มีการพัฒนาระบบประเมินวิทยฐานะครูให้เชื่อมโยงกับผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน

ในมาตรการข้อ ๑ ปฏิรูปให้มีการเชื่อมโยงกันทั้งหลักสูตร และการเรียนการสอนในโลกยุคใหม่ การพัฒนาครู ระบบการทดสอบ การวัดและประเมินผล”   ผมขอเสนอว่า ต้องกระจายอำนาจในเรื่องเหล่านี้ ให้แก่โรงเรียนและครู   เริ่มด้วยการกระจายอำนาจ และความรับผิดชอบ และสนับสนุนทรัพยากรในการทำงาน ให้แก่โรงเรียนหรือครูที่มีผลงานดี   ผลงานดีหมายถึงผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ดี และจัดกระบวนการเรียนรู้ดี   ซึ่งจะต้องมีการนิยาม สำหรับใช้งาน   ต้องไม่คิดตื้นๆ เพียงที่ผลสอบ O-NET

ระบบคิด วัฒนธรรมรวมศูนย์ วัฒนธรรมอำนาจ สั่งการจากเบื้องบน ในวงการศึกษา คือตัวการบั่นทอนคุณภาพการศึกษาไทย   ทำให้ครูไร้ศักดิ์ศรี  มุ่งแต่ทำตามคำสั่ง ไม่มีโอกาสฝึกฝนความคิดริเริ่มสร้างสรรค์   ไม่มีความภูมิใจในศักดิ์ศรีของความเป็นครู

ระบบวัฒนธรรมของวงการศึกษาที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ทำลายศักดิ์ศรีของความเป็นครู

มาตรการตามข้อ ๑ หากยังดำเนินการตามวัฒนธรรม คุณค่า เดิมๆ จะไม่ทำให้คุณภาพการศึกษาดีขึ้น

นี่คือการตอบสนองข้อเรียกร้องของท่าน รมตศึกษาธิการ จาตุรนต์ ฉายแสง

 

วิจารณ์ พานิช

๑๗ ส.๕๖

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน 2013 เวลา 09:31 น.