ชีวิตที่พอเพียง : 2008. เรียนรู้เรื่อง coaching

วันศุกร์ที่ 04 ตุลาคม 2013 เวลา 00:00 น. ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท บทความ - การศึกษา
พิมพ์
ในสายตาของผม สุดยอด coaching ทำได้โดย Inquiring คือถามคำถาม เป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับโค้ชคนที่ทำงานแบบเน้นใช้ความรู้ (knowledge worker)

ชีวิตที่พอเพียง : 2008. เรียนรู้เรื่อง coaching

วันที่ ๒ ก.ย. ๕๖ ได้อ่านเรื่อง coaching ใน นสพ. ทีเดียว ๒ ฉบับ คือเรื่อง Gen Y and Baby Boomers : Coaching Differences โดย Kriengsak Niratpattanasai ในบางกอกโพสต์ และเรื่อง Character more important for a coach than skills and knowledge โดย Michael Heah ใน เดอะเนชั่น ทำให้ตระหนักว่า สงสัยยุคนี้เรื่อง coaching จะเป็นแฟชั่นสำหรับ HRD

คุณเกรียงศักดิ์ใช้ TheCoach model ซึ่งเน้น 4-I คือ Individual, Instruct, Inspire, และ Inquire คือต้องรู้จักและวางแนวcoaching แก่ coachee เป็นรายคน แล้วใช้อีก 3-I Instruct คือสอนงาน Inspire โดยทำเป็นตัวอย่าง, เล่าเรื่อง, และเล่าประสบการณ์ของตัวโค้ชเอง

ในสายตาของผม สุดยอด coaching ทำได้โดย Inquiring คือถามคำถาม เป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับโค้ชคนที่ทำงานแบบเน้นใช้ความรู้ (knowledge worker)

คุณเกรียงศักดิ์บอกว่า มีข้อแตกต่างในการโค้ช คนเจนวาย กับคนยุคเบบี้บูมเมอร์ โดยได้เสนอให้พิจารณา 3-I

Instruct คือการสอน คนไทยทั้งสองรุ่นรับฟังอย่างสงบและมักไม่ถาม เหมือนๆ กัน โดยโค้ชต้องอย่าเข้าใจผิดว่าเขาเห็นด้วยวิธีนี้ได้ผลน้อยที่สุด

Inspire คนเจนวายรับการ coaching โดยวิธีนี้ได้ดีกว่า โดยที่ในเบบี้บูมเมอร์ก็ได้ผล

Inquire ได้ผลดีกว่าในคนรุ่น เบบี้บูมเมอร์ คนรุ่นเจนวายจะลังเลที่จะตอบคำถาม เพราะขาดประสบการณ์การทำงาน แต่เมื่อได้พัฒนาความเชื่อถือไว้วางใจระหว่างกันแล้ว คนทั้งสองรุ่นจะตอบสนองต่อ coaching แบบ inquiring ดีพอๆ กัน

ส่วนคุณไมเคิล เฮียะ เขียนเรื่องตัวโค้ช ว่าบุคลิกของโค้ชสำคัญกว่าความรู้หรือทักษะในการโค้ช การให้ความเห็นแบบนี้ ผมไม่ค่อยเห็นด้วย ผมว่าสำคัญพอๆ กัน หรือสำคัญด้วยกัน แต่สาระที่เขานำเสนอ ว่าบุคลิกด้านลบ ที่จะทำให้โค้ชไม่ประสบความสำเร็จมีอะไรบ้าง ผมเห็นด้วยทั้งหมด

เขาใช้คำว่า character killers คือเป็นบุคลิกที่ฆ่าตัวตาย ได้แก่ (๑) อวดเก่ง ว่าตนเก่งเหนือคนอื่น (๒) มองคนอื่นในแง่ลบ (๓) ขาดแรงบันดาลใจ (๔) ไม่มีพลังใจที่จะยืนหยัดในสิ่งที่ตนเชื่อ ทำให้ประนีประนอมเกินไป (๕) ไม่ดูแลบ้านของตนเองให้เรียบร้อย คือแนะคนอื่นได้ แต่ชีวิตของตนเองวุ่นวายสับสน

ผมเคยเล่าเรื่องไปเรียนรู้เรื่อง coaching ไว้ ที่นี่

วิจารณ์ พานิช

๔ ก.ย. ๕๖

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 04 ตุลาคม 2013 เวลา 21:04 น.