ดัชนีทุนทรัพยากรมนุษย์

วันเสาร์ที่ 05 ตุลาคม 2013 เวลา 00:00 น. ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท บทความ - การศึกษา
พิมพ์

ดัชนีทุนทรัพยากรมนุษย์

ผมได้รับ อีเมล์ ดังต่อไปนี้ ซึ่งอ่านแล้วก็ใจชื้น ว่าของไทยเราพอใช้ได้ แต่จะให้ดีต้องเข้าไปศึกษารายละเอียดวิธีคิด และวิธีวัดของWEF ว่าน่าเชื่อถือได้เพียงไร เราจะใช้หลักการอะไรที่ดีกว่า สำหรับใช้พัฒนาคนของเรา

ที่ผมแปลกใจ คือ pillar health wellness ของไทยด้อยกว่า ของเวียดนาม อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ได้อย่างไร ผมจะขอให้ผู้รู้ช่วยศึกษาและอธิบาย

หมายเหตุวันที่ ๕ ต.ค. ๕๖

ข้อมูลนี้ผิดครับ ที่ถูกต้องอยู่ที่ส่วนแก้ไขใหม่ ในส่วน ความเห็นข้างล่าง ขอบคุณ ดร. มงคลที่ช่วยสอบทานและแก้ไข

 

เรียน อาจารย์หมอวิจารณ์ ที่นับถือ

เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2556 World Economic Forum (WEF) ได้เผยแพร่รายงานดัชนีทุนทรัพยากรมนุษย์ฉบับปี ค.ศ. 2013 ซึ่งเป็นฉบับแรกสุดของดัชนีเกี่ยวกับศักยภาพทุนทรัพยากรมนุษย์ ที่ประกอบด้วยเสาหลัก (Pillars) 4 ด้าน คือ 1) Health and Wellness 2) Education 3) Workforce and Employment และ 4) Enabling Environment โดยมีประเทศที่ได้รับการพิจารณาตามเกณฑ์ดังกล่าวนี้ 122 ประเทศ ปรากฏผลโดยรวม Score (เต็ม 1.5) ดังนี้

Top 10 of the World ได้แก่ 1) Switzerland (1.455) 2) Finland (1.406) 3) Singapore (1.232) 4) Netherlands (1.161) 5) Sweden (1.111) 6) Germany (1.109) 7) Norway (1.104) 8) United Kingdom (1.042) 9) Denmark (1.014) 10) Canada (0.987)

Top 10 of Asia Pacific ได้แก่ 3) Singapore (1.232) 12) New Zealand (0.978) 15) Japan (0.948) 19) Australia (0.831) 22) Malaysia (0.644) 23) Korea, Rep. (0.640) 43) China (0.186) 44) Thailand (0.518) 50) Sri Lanka (0.020) 53) Indonesia (0.001)

Top 8 of ASEAN ได้แก่3) Singapore (1.232)22) Malaysia (0.644)44) Thailand (0.518)53) Indonesia (0.001) 66) Philippines (-0.161) 70) Vietnam (-0.202) 80) Lao PDR (-0.297) 96) Cambodia (-0.505)

เป็นที่น่าสังเกตว่าในกลุ่มประเทศอาเซียนด้วยกัน อันดับที่ดีที่สุดของไทยอยู่ใน Pillar 3 (Workforce and Employment)เป็นอันดับ 27 ของโลก แต่ก็ยังตามสิงคโปร์และมาเลเซีย (อันดับ 2 และ 28 ตามลำดับ) ส่วน Pillar ที่ไทยได้อันดับแย่ที่สุด อยู่ใน Pillar 1 (Health and Wellness)ได้อันดับ 79 รองมาจาก สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม

ทั้งนี้สามารถดูรายละเอียดทั้งหมดได้ในไฟล์รายงานเต็มฉบับ 549 หน้าในไฟล์ WEF_HumanCapitalReport_2013 ที่แนบมาพร้อมนี้ หรือดูได้ที่เว็บลิงค์

http://www.weforum.org/nr_hci13

 

หรือติดตามเว็บลิงค์ที่เกี่ยวข้องที่อยู่ต่อท้ายอีเมล์ฉบับนี้

 

ผมจึงขอส่งเรื่องนี้มายังอาจารย์ เพื่อพิจารณานำลงบล็อกสภามหาวิทยาลัย เพื่อ ลปรร. ในวงวิชาการมหาวิทยาลัยไทยต่อไป ตามที่เห็นสมควรด้วย จักขอบคุณยิ่ง

 

มงคล รายะนาคร

 

ส่วนที่แปลกใจอีกเหมือนกันคือ เขาให้คะแนน pillar 3 Workforce Employment ของเราเข้มแข็งมากทั้งๆ ที่ภาคธุรกิจร้องเสียงดัง ว่าบัณฑิตหรือผู้จบการศึกษาของเราทำงานไม่เป็น นี่ก็เป็นเรื่องที่ควรมีคนทำความกระจ่าง

ขอขอบคุณ รศ. ดร. มงคล รายะนาคร (เจ้าประจำ) ที่กรุณาส่งข้อมูลมาให้ หาก อ. ดร. มงคล จะช่วยเจาะลึกใน ๒ ประเด็นแปลกใจ ก็จะมีประโยชน์มากครับ

วิจารณ์ พานิช

๔ ต.ค. ๕

 

 

 

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

ความคิดเห็นของคุณ บุษยมาศ

ส่วนที่แปลกใจอีกเหมือนกันคือ เขาให้คะแนน pillar 3 Workforce Employment ของเราเข้มแข็งมากทั้งๆ ที่ภาคธุรกิจร้องเสียงดัง ว่าบัณฑิตหรือผู้จบการศึกษาของเราทำงานไม่เป็น นี่ก็เป็นเรื่องที่ควรมีคนทำความกระจ่าง...

"น่าจะไม่ใช่แล้วมังค่ะ...จบแล้วทำงานไม่เป็น ถ้าจะไม่จริง...จากที่อยู่งานบุคคลมา สังเกตเห็นเด็กใหม่ ๆ ที่จบมา ถ้าเปรียบแล้วก็เหมือน ๐ สำหรับความรู้ในเรื่องงาน แต่สิ่งที่จะค่อย ๆ เติมเต็มให้พวกเขาขึ้นเรื่อย ๆ นั่น คงขึ้นอยู่กับหน่วยงานที่จะต้องให้การอบรม ให้ความรู้กับพวกเขาให้มากยิ่งขึ้น มิใช่ปล่อยให้พวกเขาได้ศึกษาเอง แล้วก็มาโทษว่าบัณฑิตหรือผู้จบการศึกษาทำงานไม่เป็น...เพราะการจะเป็นงานนั้น ลักษณะของงานแต่ละที่ไม่เหมือนกัน เด็กจบใหม่มีความรู้ทางทฤษฎีได้ในระดับหนึ่งค่ะ...

ความเห็นของผู้ใช้นามว่า GD

ดิฉันไม่เชื่อข่าวที่ออกมาว่าคุณภาพการศึกษาไทยเป็นอันดับ 8 รองจากเขมรมาตั้งแต่แรกแล้ว จะเอาผลของคำถามทีถามนักธุรกิจระดับที่มี potential เพียงไม่กี่คนของแต่ละประเทศมาตัดสินคุณภาพการศึกษาของทั้งระบบได้อย่างไร  สรุปได่อย่างเดียวว่า ผู้ตอบชาวเขมรพอใจระบบของตน มากกว่านักธุรกิจไทยพอใจระบบของไทยเท่านั้น  เขาคงตั้งความหวังสูงเกินไป เป็นเพียงความรู้สึก ระดับการแข่งขันของประเทศที่ 37 ใน 150 กว่าประเทศ ดีขึ้นจากปีที่แล้ว ต้องมีผลมาจากการศึกษาในประเทศไม่น้อยเลย

ความเห็นของคุณมงคล รายะนาคร

ก่อนอื่น ผมขออนุญาตแก้ไขข้อความและคำที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อนในอีเมล์จากผมถึงอาจารย์หมอวิจารณ์ เรื่องดัชนีทุนทรัพยากรมนุษย์ ข้างต้นนนี้ ดังนี้

ในท่อนแรก ขอแก้ลำดับเสาหลัก (Pillars) จาก "เสาหลัก (Pillars) 4 ด้าน คือ 1) Health and Wellness 2) Education 3) Workforce and Employment และ 4) Enabling Environment" เป็น "เสาหลัก (Pillars) 4 ด้าน คือ 1) Education 2) Health and Wellness 3) Workforce and Employment และ 4) Enabling Environment"

ในท่อนเกือบสุดท้าย ขอแก้คำในวงเล็บต่อจากคำว่า Pillar จาก "Pillar 1 (Health and Wellness)ได้อันดับ 79 รองมาจาก สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม" เป็น "Pillar 1 (Education)ได้อันดับ 79 รองมาจาก สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม"

ผมต้องขออภัยเป็นอย่างยิ่งในความผิดพลาดของผมมายังอาจารย์หมอวิจารณ์และทุกท่านที่เข้ามาอ่านในบล็อกนี้ และเพื่อให้เกิดความกระจ่างในเรื่องศักยภาพด้านทุนทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทย ผมขอยกอันดับ (Rank) ในภาพรวมทุกด้าน (Overall index rank) และอันดับในด้านหลักทั้งสี่ด้าน จากรายงาน The Human Capital Report 2013 เฉพาะของประเทศสมาชิกอาเซียนที่ได้รับการจัดอันดับในครั้งแรกนี้ 8 ประเทศ มาเพื่อพิจารณาร่วมกันต่อไป ณ ที่นี้ ดังนี้

Country Overall index Education Health & wellness Workforce & employment Enabling environment
Singapore 3 3 13 2 5
Malaysia 22 34 39 18 22
Thailand 44 79 40 27 48
Indonesia 53 61 84 32 58
Philippines 66 65 96 38 78
Vietnam 70 73 88 57 73
Lao PDR 80 83 91 59 80
Cambodia 96 99 102 42 93

ทั้งนี้ หากท่านที่สนใจในเรื่องนี้ กรุณาเข้าไปดาวน์โหลดรายงานฉบับเต็ม (549หน้า) ได้ที่ลิงค์ข้างล่างนี้ แล้วมาแบ่งปันความรู้และความคิดเห็นกันต่อไปด้วย ก็จะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมมากยิ่งขึ้นนะครับ

http://www3.weforum.org/docs/WEF_HumanCapitalReport_2013.pdf

ความเห็นของ ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

ผมเห็นด้วยกับความเห็นของคุณบุษยมาศ และ ของผู้ใช้นามว่า GD ครับ จากที่ผมสัมผัสกับคนทั้งผู้ประกอบการ พนักงาน ข้าราชการ และ คนในทุกกลุ่ม ทั่วโลก ผม มีความเชื่อว่าคนไทย เป็นคนที่มีความสามารถสูง และมีความเก่งเรียนรู้ได้เร็ว คนไทยเป็นคนที่มีคุณภาพสูง แต่คนไทยส่วนมากถูกกดโดยผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่า ไม่ให้โอกาส และไม่ส่งเสริมคนของเราเอง ผมเคยมีลูกน้องทั้งชาติตะวันตก ชาติเอเซีย ติดต่อกับคู่ค้าทั้งคนไทยและคนต่างชาติ ขอยืนยันว่าคนไทยไม่ด้อยกว่าคนชาติไหนๆครับ เรื่องการเปรียบเทียมผมเห็นด้วยกับคุณผู้ใช้นามว่า GD ผมโต้เถียงและถามผู้ที่เอาข้อมูลมาว่าคนไทยภาษาอังกฤษอ่อน และมีความรู้ภาษาอังกฤษน้อยกว่าคนเวียตนาม และอื่นๆ ผู้กล่าวก็ไม่สามารถตอบได้ชัดเจน และผมขอสรุปได้เลยว่าเป็นการเปรียบเทียบในฐานที่แตกต่างกัน คนไทยที่ภาษาอังกฤษดีๆมีมากแต่เข้าไปทำงานหรือทำธุรกิจที่ผู้ทำวิจัยเข้าไม่ถึง

สรุปคนไทยไม่สนับสนุนและส่งเสริมคนของตัวเอง กดเข้าไว้ไม่ให้โต ผู้ประกอบการบ้านเราใช้คนเหมือนกับ คนไปตลาดดอกไม้เลือกดอกไม่สวยๆที่อยู่ในกระถาง เมื่อซื้อกลับมาบ้านก็ไม่สวยเหมือนอยู่ในร้าน เพราะไม่ได้ดูแลและรักษาเลี้ยงดูเหมือนที่อยู่กับชาวสวน

คนไทยขาดโอกาสครับ ไม่ใช่ขาดความสามารถ ผู้ใหญ่ต้องหันมาช่วยกันสร้างโอกาสและหาวิธีการส่งเสริม และสร้างแรงจูงใจไม่ใช่มัวแต่กดไว้เพื่อเก็บไว้ใช้ประโยชน์เพื่อตัวเอง

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

5 ตุลาคม 2556

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 05 ตุลาคม 2013 เวลา 10:20 น.