สภามหาวิทยาลัยทำหน้าที่ strategic change partner

วันเสาร์ที่ 05 ตุลาคม 2013 เวลา 00:00 น. ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช บทความ - การศึกษา
พิมพ์

ในการประชุมสภามหาวิทยาลัยไทย กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นบุคคลภายนอก พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า วิธีคิดของอาจารย์ส่วนใหญ่ inward-looking มาก มองจากมุมของสังคมภายนอกไม่เป็น คิดเป็นแต่จากมุมของวิชาการ ดังนั้นสิ่งที่จะทำ จึงทำแบบ supply-side oriented ไม่มีมุมมองหรือความต้องการ ของ demand-side มาประกอบ

บัดนี้ หมดยุคการพัฒนามหาวิทยาลัยแบบเน้นการขยายตัวแล้ว ต่อไปนี้ มหาวิทยาลัยจะต้องพิสูจน์ ความจำเป็นที่จะต้องดำรงอยู่ด้วยหลักฐานเชิงคุณภาพ และเชิงตอบสนองความต้องการของสังคม ไม่ใช่ตอบสนองที่เรียนอีกต่อไป

จึงต้องมีการจัดการ จัดกระบวนการเพื่อเปลี่ยนใจอาจารย์ ให้คิดโครงการต่างๆ (โดยเฉพาะการเปิดหลักสูตร) ให้คิดจากมุมของฝ่ายผู้คนในสังคม หรือความต้องการของประเทศ/พื้นที่ ให้มีจริตและทักษะในการทำงานร่วมกับฝ่าย demand-side เพื่อคิดและทำ งานในลักษณะใหม่ๆ ที่ก่อผลกระทบต่อสังคมอย่างแท้จริง โดยในตอนทำงานนั้น ก็มีหน่วยงาน/บุคคล ภายนอกเป็นหุ้นส่วนด้วย

หมดยุคที่มหาวิทยาลัยทำงานวิชาการแบบลอยตัวแล้ว ต่อไปนี้งานวิชาการต้องผูกติด หรือเชื่อมโยงกับชีวิตความเป็นอยู่ และการทำมาหากิน ของหน่วยงานและผู้คนในสังคม

ผมจึงเสนอในที่ประชุมว่า ฝ่ายบริหารน่าจะได้จัดการประชุมแบบ retreat เพื่อปรับกระบวนทัศน์ การทำหน้าที่มหาวิทยาลัยในยุคใหม่ ให้ฝ่ายบริหาร คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ฝ่ายสนับสนุนเข้าร่วม เพื่อใช้การประชุมเป็นส่วนหนึ่งของ change management และกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ ร่วมทำหน้าที่เป็นหุ้นส่วนเชิงกลยุทธในการสร้างการเปลี่ยนแปลง

มหาวิทยาลัยใด เปลี่ยนกระบวนทัศน์ได้ก่อน ก็จะได้เปรียบในการแข่งขัน

 

วิจารณ์ พานิช

๒๙ ส.ค. ๕๖

โรงแรมเซนทารา หาดใหญ่

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 05 ตุลาคม 2013 เวลา 10:39 น.