ชีวิตที่พอเพียง: ๒๐๒๕. สร้างสะพานข้ามหุบเหวมรณะให้แก่ประเทศไทย

วันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม 2013 เวลา 00:00 น. ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช บทความ - การศึกษา
พิมพ์

เมื่อวันที่ ๑๘ก.ย. ๕๖ สภามหาวิทยาลัยมหิดล อนุมัติการจัดตั้ง MITI (Mahidol Institute of Technology Transfer and Innovation - สถาบันวิวัฒน์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล) เป็นหน่วยงานอิสระ   มีบอร์ดของตนเอง   ทำหน้าที่ “วิเคราะห์และยกระดับกลไกการผลักดันงานวิจัยสู่นโยบายระดับชาติ และการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในภาคสังคมและธุรกิจ”

 

ฟังเรื่องราวทั้งหมดแล้ว ผมตีความว่า มหาวิทยาลัยมหิดล กำลังจัดตั้ง “วิสาหกิจเพื่อสังคม” (social enterprise) ทำหน้าที่เชื่อมสองฝั่งของหุบเหวมรณะ   ที่ขวางกั้นระหว่างการสร้างสรรค์ทางวิชาการ หรือวิจัยและพัฒนา     กับฝั่งการนำไปประยุกต์เป็นธุรกิจอุตสาหกรรม หรือการทำประโยชน์แก่สังคม ในเชิงนโยบาย หรือด้านอื่นๆ    หรือที่ผมเรียกว่า เป็นการทำ downstream management ของการวิจัยและพัฒนานั่นเอง

 

ทำให้ผมนึกถึง UCLB ที่ผมเพิ่งไปดูงานที่ลอนดอน   และคณะผู้วางรูปแบบ MITI เอ่ยถึง Cambridge Enterprise และมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกอื่นๆ ที่ต่างก็มีบริษัทจัดการเทคโนโลยีและความร่วมมือกับฝ่าย “ผู้ใช้” ทั้งสิ้น   โดยทำงานอย่างมืออาชีพ   มีความเข้าใจความต้องการของฝ่าย “ผู้ใช้”   ที่ ดร. พานิช เหล่าศิริรัตน์ ที่จะมาเป็นผู้อำนวยการ MITI กล่าวว่า จะทำงานแบบ outside-in   และมีเป้าหมายเลี้ยงตัวเองได้    และในที่สุดเป็นหน่วยสร้างรายได้ให้แก่มหาวิทยาลัยมหิดล

 

แม้จะชื่อ MITI ผมก็เชื่อว่าในที่สุดแล้วหน่วยงานนี้จะไม่เพียงทำงานให้แก่นักวิจัยของ มหาวิทยาลัยมหิดลเท่านั้น best replica rolex  แต่จะทำงานให้แก่หน่วยงานวิจัยทั้งประเทศ    หรือทำงานให้แก่ประเทศไทยนั่นเอง

 

ผมเชื่อว่า MITI จะริเริ่มสร้างสรรค์ และสั่งสมความรู้และทักษะของประเทศ   ในการข้ามหุบเหวมรณะแห่งการวิจัยสู่อุตสาหกรรมและการใช้ประโยชน์ทางการค้า และประโยชน์สาธารณะ

 

 

 

วิจารณ์ พานิช

๑๙ ก.ย. ๕๖

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม 2013 เวลา 21:16 น.