ความร่วมมือ ในการศึกษาแห่งศตวรรษที่ ๒๑

วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน 2013 เวลา 00:00 น. ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช บทความ - การศึกษา
พิมพ์

โชคดีจริงๆ ที่ผมได้ไปฟัง Ms. Cheryl SH Lim แห่งบริษัท McKinsey พูดเรื่อง Learning a Living : Radical Innovation in Education for Work ในงาน  by Plus-HD-1.5" style="color: #0022cc; text-decoration: underline !important; background-color: transparent !important; border: none !important; display: inline !important; float: none !important; height: auto !important; margin: 0px !important; min-height: 0px !important; min-width: 0px !important; padding: 0px !important; vertical-align: baseline !important; width: auto !important;">Asia Education Leaders Forum เมื่อวันที่ ๑๑ ต.ค. ๕๖   ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์    โดยผมมาค้นพบภายหลังว่า Ms. Lim พูดตามผลการวิจัยในรายงานเรื่อง Education to Employment : Designing aSystem that Works

สิ่งที่เกิดขึ้นทั่วโลก คือคนที่จบการศึกษาหางานไม่ได้ ตกงาน    และในขณะเดียวกันบริษัทต่างๆ หาพนักงานไม่ได้ มีตำแหน่งว่างมากมาย

ความไม่ลงตัวนี้เกิดจากสถานศึกษาสร้างคนไม่ตรงกับความต้องการของนายจ้าง    และสภาพในโลกปัจจุบัน สถานศึกษาผลิตคนให้ตรงกับความต้องการของนายจ้างยากขึ้นทุกวัน    เพราะเทคโนโลยีในที่ทำงานเปลี่ยนเร็ว    สถานศึกษาไม่มีเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่สถานประกอบการใช้    ผู้จบการศึกษาจึงไม่ได้รับการฝึก ให้พร้อมไปปฏิบัติงาน    นอกจากนั้น อาจารย์ในสถานศึกษาก็ไม่มีประสบการณ์ตรงในสถานประกอบการ    การเรียนการสอนจึงไม่สอดคล้องกับงานที่จะไปทำ

สภาพเช่นนี้ บอกเราว่า การศึกษาเพื่อการมีงานทำ ไม่สามารถจัดได้โดยฝ่ายภาคการศึกษาฝ่ายเดียว    ฝ่ายสถานประกอบการต้องเข้ามาแสดงบทบาทด้วย   นศ. ต้องมีโอกาสไปฝึกงานในสถานประกอบการโดยตรง    เพื่อให้ได้ทำงานกับเครื่องมือสมัยใหม่  และคุ้นกับบรรรยากาศการทำงานในสถานประกอบการ

“การศึกษาเพื่อการมีงานทำ” ชื่อบอกชัดอยู่แล้วว่า ต้องจัดโดยความร่วมมือระหว่างฝ่ายจ้างงาน กับฝ่ายการศึกษา

ในประเทศไทย ๒ ฝ่ายนี้ต่างคนต่างอยู่   แต่ฝ่ายผู้ประกอบการเสียงดังกว่า    โวยวายเสียงดัง ว่าบัณฑิตหรือผู้จบการศึกษาทำงานไม่เป็น  ไม่มีสมรรถนะที่ต้องการ  ไม่มี work values / work ethics   การโวยวายนี้จะไม่แก้ปัญหา    สิ่งที่จะแก้ปัญหาคือความร่วมมือ

ฝ่ายสถาบันการศึกษา ก็ต้องทะลายรั้วกำแพง    ออกไปแสวงหาความร่วมมือกับสถานประกอบการหรือฝ่ายใช้ผู้จบการศึกษาของตน   เพื่อร่วมกันจัดการเรียนรู้ให้ได้สมรรถนะสำหรับออกไปทำงานได้ตามที่ต้องการ

ระบบการทำงานของสถาบันการศึกษา ที่เน้นการผลิตคนออกไปหางานทำ  จะต้องเปลี่ยนไปอย่างมากมาย    การกำหนดหน้าที่ของอาจารย์ กำหนดเวลาของการปฏิบัติงาน   จะต้องเปลี่ยนไป   ภารกิจการติดต่อสื่อสารกับภาคีใน real sector จะต้องกำหนดเป็นหน้าที่ ความรับผิดชอบ   และกำหนดเป็นเวลาทำงาน    การทำหน้าที่เหล่านั้น จะต้องพัฒนาเป็นผลงานวิชาการ แบบ Scholarship of Application ได้

ทักษะความร่วมมือทางวิชาการกับสถานประกอบการ เป็นทักษะที่ต้องการจากอาจารย์    และหลักสูตรเพื่อผลิตคนออกไปหางานทำ ต้องเป็นหลักสูตรร่วมมือกับสถานประกอบการ หรือสถานจ้างงานทั้งหมด    หรือหาก นศ. ต้องการเป็นผู้ประกอบการเอง    ก็มีวิชาฝึกทักษะการเป็นผู้ประกอบการ   โดยอาจมีศิษย์เก่ารุ่นพี่ช่วยเป็นพี่เลี้ยง

ในสหราชอาณาจักร มีองค์กร NACUE ทำหน้าที่ส่งเสริมให้นักศึกษาฝึกฝนทักษะการเป็นผู้ประกอบการ   โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยและองค์กรต่างๆ ด้านการศึกษา    และมี UnLtd ทำหน้าที่สร้างทักษะและฉันทะการเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคม

สถาบันการศึกษาเพื่อการมีงานทำ มีความท้าทายที่ต้องคิดค้นวิธีการต่างๆ ด้วยการร่วมมือกับหลากหลายฝ่าย   เพื่อจัดให้บัณฑิตของตนมีสมรรถนะพร้อมที่จะทำงาน   และในขณะเดียวกัน ก็ต้องมีทักษะด้านการเรียนรู้ต่อเนื่องด้วยตนเอง และทักษะการเรียนรู้เป็นทีมจากเพื่อนร่วมงาน   โดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะการเรียนรู้จากการทำงาน    สถาบันการศึกษาต้องฝึกทักษะนี้ให้แก่ศิษย์ของตน

 

 

วิจารณ์ พานิช

๑๒ ต.ค. ๕๖

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน 2013 เวลา 08:18 น.