ชีวิตที่พอเพียง : ๒๑๓๔. สี่สหายไปเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา

วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน 1999 เวลา 07:00 น. ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช บทความ - การศึกษา
พิมพ์

สี่สหายนัดพบกันทุกๆ ๔ เดือน ตาม บันทึกเหล่านี้ คราวนี้วันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๕๗ เรานัดไปศึกษาหาความรู้จาก ศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา ส่วนหนึ่งเพราะว่า ศ. ดร. ฉัตรทิพย์ นาถสุภา เป็นบุคคลสำคัญที่ร่วมก่อตั้งศูนย์นี้    เราอยากฟังคำอธิบายจากผู้ก่อตั้งตัวจริง

ที่จริงผมเคยไปชมศูนย์นี้แล้ว ๒ ครั้ง ดังบันทึก  แต่รู้สึกว่ายังเรียนรู้ไม่จุใจ    อยากไปดูตอนคนไม่มาก และมีคน ที่รู้จริงอธิบายให้ฟัง

ศ. ดร. ฉัตรทิพย์เตรียมตัวเป็นไกด์เต็มที่    มีเครื่องขยายเสียงพกพาขนาดเล็กไปด้วย     ทำให้เราได้ยินเสียงคำอธิบาย ชัดเจนดีมาก

ผมกลับมาที่บ้าน ไตร่ตรองว่าสิ่งที่ผมได้เรียนรู้คือประวัติศาสตร์ของศูนย์ประวัติศาสตร์อยุธยา     เรียนจากคำบอกเล่า ของบุคคลผู้สร้างประวัติศาสตร์นั้น คือ ศ. ดร. ฉัตรทิพย์ นาถสุภา

ป้ายที่หน้าทางเข้าที่จัดแสดง บอกว่าศูนย์นี้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๓๐ เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาส ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระชนมายุครบ ๖๐ พรรษา    โดยรัฐบาลญี่ปุ่นออกเงินให้ทั้งหมด

ศ. ฉัตรทิพย์เล่าว่ารัฐบาลญี่ปุ่นออกเงินทั้งหมด ๙๙๙ ล้านเยน คิดเป็นเงินไทยขณะนั้น ๑๗๐ ล้านบาท    เป็นค่าก่อสร้าง อาคาร ๗๐ ล้านบาท  ค่าก่อสร้างการจัดแสดง (exhibition) ๑๐๐ ล้านบาท   ท่านบอกว่า ส่วนสำคัญคือการจัดแสดง อาคารเป็นเพียงสิ่งที่ครอบส่วนจัดแสดงเท่านั้น

จริงๆ แล้วคณะผู้คิดโครงการตั้งใจจะให้ศูนย์ศึกษาฯ นี้ ทำหน้าที่ ๔ อย่าง คือ (๑) วิจัยประวัติศาสตร์ของประเทศ ไม่ใช่ของสมัยอยุธยาเท่านั้น  (๒)​ จัดแสดงประวัติศาสตร์สมัยอยุธา  (๓) เป็นศูนย์ข้อมูลและห้องสมุด  (๔)​ ทำวิจัยระดับวิทยานิพนธ์ ระดับปริญญาเอก โท    แต่ในที่สุดเวลาผ่านไป ๒๔ ปี (หลังพิธีเปิดในปี ๒๕๓๓) ศูนย์นี้ทำหน้าที่ข้อ ๒ เพียงอย่างเดียว

ตอนทำงานสร้างศูนย์นี้ร่วมกับทางญี่ปุ่น ทีมนักวิชาการจากหลายมหาวิทยาลัยเข้าไปร่วมกันทำงาน    แต่เมื่อสร้างเสร็จ กระทรวงมหาดไทยเป็นผู้รับมอบ    แม้ ศ. ดร. วิจิตร ศรีสะอ้าน ปลัดทบวงมหาวิทยาลัยในเวลานั้น จะพยายามขอให้อยู่ในความดูแล ของทบวงมหาวิทยาลัยเพื่อสืบสานหน้าที่อีก ๓ อย่าง ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ    เวลานี้ศูนย์ฯ จึงทำหน้าที่ได้เพียงการจัดแสดง ดูแลโดย อบจ. พระนครศรีอยุธยา    และเราไปพบว่ามีสิ่งที่เพิ่มเติมเข้ามาอย่างน่าชื่นชมคือห้องฉายภาพยนตร์ จอรอบทิศ เรื่องประวัติศาสตร์ กรุงศรีอยุธยา ความยาว ๑๘ นาที ห้องปรับอากาศเย็นฉ่ำ    ให้บริการแก่ผู้ติดต่อมาเป็นคณะ ในราคาค่าบริการรอบละ ๔๐๐ บาท (ห้องจุกว่า ๕๐ คน)     ซึ่งเจ้าหน้าที่บอกว่า บริษัททัวร์บ่นว่าแพง

เราจะเห็นสภาพความคิดของราชการไทย ที่หวงสมบัติ และคิดแบบแยกส่วน ไม่ได้คิดถึงภาพรวมของประเทศ    มองศูนย์ศึกษาผิด มองเป็นพิพิธภัณฑ์    และในที่สุดศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา ที่สมัยสร้างเสร็จใหม่ๆ ในปี ๒๕๕๓ ถือว่าทันสมัยที่สุดในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้    เวลานี้มีแต่จะทรุดโทรมลงไป เพราะขาดการดูแลปรับปรุง    และในด้านเทคโนโลยี การจัดแสดง ซึ่งสมัย ๒๔ ปีก่อนถือว่าทันสมัยมาก    เวลานี้ก็ล้าหลังไปมาก

ผมถาม ศ. ดร. ฉัตรทิพย์ว่าใช้เวลาก่อสร้างกี่ปี    ท่านบอกว่า ใช้เวลารวม ๓ ปี    โดยแบ่งเป็น ๓ ช่วง    ช่วงแรก ๑ ปี เป็นช่วงทะเลาะกัน ระหว่างฝ่ายไทยกับญี่ปุ่น    ตอนแรกคิดกันว่าจะสร้างหมู่บ้านญี่ปุ่น    ในที่สุดตกลงกันว่า สร้างศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์    มีคนฝ่ายไทยไม่เห็นด้วยกับการที่ญี่ปุ่นจะเป็นผู้สร้างและออกแบบ    มีการลงหนังสือพิมพ์คัดค้าน    ในที่สุดฝ่ายญี่ปุ่นยอมให้ฝ่ายไทยออกแบบทั้งอาคารและการจัดแสดง    ญี่ปุ่นเป็นเพียงผู้สร้างให้ ตามที่ฝ่ายไทยกำหนด

ช่วงที่สอง เวลา ๑ ปี เป็นช่วงของการวิจัย    เพื่อหารายละเอียดนำมาใช้สร้างโมเดลในการจัดแสดง    มีการทำงานร่วมกัน ระหว่างนักประวัติศาสตร์กับศิลปิน    ส่วนด้านเทคโนโลยีทางญี่ปุ่นมีความรู้และประสบการณ์มาก    มีการจัดแสดงด้วยเทคโนโลยี diorama ซึ่งหมายถึงมีโมเดล กับภาพวาดด้านหลัง ให้เห็นเป็นภาพสามมิติ    ส่วนที่ยากคือส่วนนิทรรศการ ที่รายละเอียดมากมาย ต้องไม่ทำแบบเดาสุ่ม หรือจินตนาการ    ต้องหาหลักฐานอ้างอิง    แต่ก็มีส่วนที่ต้องใช้จินตนาการด้วย

ช่วงที่สาม เวลา ๑ ปี เป็นการสร้างอาคารครอบส่วนนิทรรศการ    ส่วนนี้ราคาเพียง ๗๐ ล้านบาท    ในขณะที่ส่วน นิทรรศการใช้เงิน ๑๐๐ ล้านบาท

ผมเพิ่งทราบว่านิทรรศการมี ๔ ส่วน หรือ ๔ พื้นที่    เมื่อเข้าไปก็จะเข้าไปในพื้นที่ “เมืองหลวง”   ทางซ้ายมือเป็นพื้นที่ “เมืองท่า”   ทางขวามือเป็นพื้นที่ “ชีวิตชาวบ้าน”  เดินตรงเข้าไปจากพื้นที่เมืองหลวงเป็น “พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์” หรือพื้นที่ของศูนย์กลาง อำนาจทางการเมืองการปกครอง

พื้นที่เมืองหลวง(พระนครศรีอยุธยาในฐานะราชธานี) มี ๓ นิทรรศการ    ส่วนที่ใหญ่ที่สุดคือส่วนวังกับวัด ในพื้นที่เมืองโบราณ    ถัดไปทางขวาเป็น วัดไชยวัฒนาราม จำลองผังวัดในสมัยอยุธยา    ทางซ้ายเป็นพะเนียดคล้องช้าง เพราะถือว่าช้างมีส่วนสำคัญต่อความเป็นเมืองหลวง    พื้นที่นี้รศ. ดร. ศรีศักร วัลลิโภดม เป็นผู้ออกแบบ

ตอนคิดพื้นที่จัดแสดง มีการถกเถียงกันระหว่าง ศ. อิฌิอิ (ผู้ล่วงลับ) กับ ศ. ฉัตรทิพย์    ว่าจะยกเอาความเป็นเมืองหลวง หรือความเป็นเมืองท่าของอยุธยาเป็นประธาน    หรือเป็นจุดเด่น    ศ. ฉัตรทิพย์บอกว่า ต้องเอาความเป็นเมืองหลวง    แต่ ศ. อิฌิอิ เห็นว่าความเป็นเมืองท่าเด่นกว่า     แต่ในที่สุดท่านก็อนุโลมตามฝ่ายไทย    ศ. ฉัตรทิพย์ ยกย่องความใจกว้างของ ศ. อิฌิอิมาก

พื้นที่เมืองท่า(กรุงศรีอยุธยาในฐานะเมืองท่า) มีเรือสำเภาจีนจำลองขนาด ๑ ใน ๗ ของของจริง ตั้งเด่นเป็นประธาน    ด้านหลังเรือสำเภาจีนเป็นตู้กระจก มีเรือสินค้าฝรั่งหลายแบบจำลองขนาดเล็ก เทียบกับสำเภาจีน    ที่ผนังตึกมีแผนที่บอกเส้นทางเดินเรือ ค้าขาย มีปุ่มสวิตช์ไฟให้กดดูเส้นทางค้าขายในยุคต่างๆ    เดิมมีตัวอย่างสินค้าตั้งแสดง    แต่เวลานี้หายไปหมดแล้ว    อีกด้านหนึ่งเป็นเรื่องราวการติดต่อค้าขาย กับญี่ปุ่น    พื้นที่นี้ ผศ. พลับพลึง คงชนะ เป็นผู้ทำวิจัยและออกแบบ

พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์มีทางเดินเข้าสู่พื้นที่ คล้ายเดินเข้าปราสาทขอม    แสดงการผสมผสานระหว่างศานาพุทธกับฮินดู    ภายในตั้งแสดงพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา    พื้นที่นี้ทำวิจัยและออกแบบโดย รศ. ดร. ธิดา สาระยา

พื้นที่แสดงชีวิตชาวบ้าน(ชีวิตชาวบ้านไทยในสมัยก่อน) ออกแบบโดย ศ. ดร. ฉัตรทิพย์ นาถสุภา และ ดร. ชาคริต ชุ่มวัฒนะ    ก่อนเข้าพื้นที่นี้ มีกำแพงเก่าจำลอง ที่ผนังกำแพงเป็นภาพวาดแสดงวิถีชีวิตชาวบ้าน     ถัดเข้าไป มีโมเดลพื้นที่วัดและหมู่บ้าน ตั้งเป็นประธานสวยงามมาก    ด้านในสุดเป็นบ้านจำลอง ที่ย่อส่วนให้เข้าอยู่ในอาคารได้    ขึ้นบันไดไปชมได้    ศ. ดร. วิสุทธิ์ ใบไม้ ชมว่าเหมือนบ้านไทยโบราณจริงๆ คือบันไดไม่มีราว    คนแก่เดินขึ้นลงต้องหาที่เกาะกันจ้าละหวั่น

ในพื้นที่มีตู้ขนาดเล็ก จัดแสดงโมเดลของพิธีคลอด, โกนจุก, แต่งงาน, และเผาศพ    และมีสมุนไพรต่างๆ ตั้งแสดง    ศ. ฉัตรทิพย์ บอกล่วงหน้าว่า    มี เซ็นเซอร์ ที่เมื่อเดินผ่าน จะมีเสียงเพลงพื้นเมือง    แต่เวลาผ่านไปตั้ง ๒๔ ปี คงจะเสียหมดแล้ว    ปรากฎว่ายังใช้ได้ดีอยู่ ท่านดีใจมาก    และทำให้ผมนึกศรัทธา ว่าเทคโนโลยีญี่ปุ่นทนทานมาก    หรือมิฉนั้นก็เป็นฝีมือเจ้าหน้าที่ ของศูนย์ฯ ที่คอยซ่อมแซม    แต่เดาว่าน่าจะเป็นประการแรกมากกว่า     เพราะแม้ไฟฟ้าที่ดับไปเป็นส่วนใหญ่ ยังไม่มีการซ่อม    ทำให้พื้นที่นี้มืดทึม

ศ. ฉัตรทิพย์ บอกว่า ตอนคิดกัน คุยกันว่าต้องแสดงชีวิตยามยาก หรือลำเค็ญด้วย    จึงมีภาพวาดแสดงชีวิตไพร่  โรคระบาด  และโจรปล้น

เสร็จจากชั้นบนที่เป็นพื้นที่จัดแสดง ที่กินเนื้อที่กว่าพันตารางเมตร    ศ. ฉัตรทิพย์ พาเราไปดูพื้นที่ชั้นล่าง ที่เดิมเผื่อไว้สำหรับเป็นศูนย์ข้อมูลและห้องสมุด    ซึ่งเมื่อน้ำท่วมใหญ่ปี ๒๕๕๔ น้ำท่วมขึ้นสูงเกือบเมตร    หนังสือเสียหายหมด    หลังจากนั้นเจ้าชายญี่ปุ่นเสด็จมาเยี่ยม    เวลานี้กำลังก่อสร้างดัดแปลงพื้นที่เป็นศูนย์แสดงสินค้านานาชาติอยุธยา

ศ. ฉัตรทิพย์ เอาหนังสือ IUDEA : ศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสพิธีเปิดศูนย์ เมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๓๓ ฉบับถ่ายเอกสาร ไปให้อ่านประกอบ    และมอบให้ผมเลย     เจ้าหน้าที่ของศูนย์บอกว่า มีคนมาถามซื้อบ่อยๆ แต่ไม่มีแล้ว     จริงๆ แล้ว หากอ่านจาก เว็บไซต์มีรายละเอียดดีทีเดียว    เป็นเว็บไซต์ของศูนย์อยุธยาศึกษา มรภ. พระนครศรีอยุธยา     ที่เว็บไซต์มีรูปด้านหน้าของศูนย์ ที่ ศ. ฉัตรทิพย์อธิบายว่า สร้างจำลองแบบป้อมในสมัยโบราณ

เราไปถึงเวลา ๑๑ น.    ดูเสร็จ ๑๓ น.   แล้วไปที่ร้านแพกรุงเก่า กินกุ้งแม่น้ำเผา     ขนมจีนแกงเขียวหวานลูกชิ้นปลา    และผัด สายบัว    อาหารอร่อยทุกอย่าง   คราวนี้ผมลืมถ่ายรูปอาหาร

 

๙ มี.ค. ๕๗

เนื่องจากระบบทำให้ไม่สามารถคัดลอกรูปภาพมาได้ ถ้าสนใจชมรูปภาพประกอบโปรดเข้าไปดูใน link ที่ผมคัดลอกมาครับ

สี่สหายนัดพบกันทุกๆ ๔ เดือน ตาม บันทึกเหล่านี้ คราวนี้วันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๕๗ เรานัดไปศึกษาหาความรู้จาก ศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา ส่วนหนึ่งเพราะว่า ศ. ดร. ฉัตรทิพย์ นาถสุภา เป็นบุคคลสำคัญที่ร่วมก่อตั้งศูนย์นี้    เราอยากฟังคำอธิบายจากผู้ก่อตั้งตัวจริง

ที่จริงผมเคยไปชมศูนย์นี้แล้ว ๒ ครั้ง ดังบันทึก  แต่รู้สึกว่ายังเรียนรู้ไม่จุใจ    อยากไปดูตอนคนไม่มาก และมีคน ที่รู้จริงอธิบายให้ฟัง

ศ. ดร. ฉัตรทิพย์เตรียมตัวเป็นไกด์เต็มที่    มีเครื่องขยายเสียงพกพาขนาดเล็กไปด้วย     ทำให้เราได้ยินเสียงคำอธิบาย ชัดเจนดีมาก

ผมกลับมาที่บ้าน ไตร่ตรองว่าสิ่งที่ผมได้เรียนรู้คือประวัติศาสตร์ของศูนย์ประวัติศาสตร์อยุธยา     เรียนจากคำบอกเล่า ของบุคคลผู้สร้างประวัติศาสตร์นั้น คือ ศ. ดร. ฉัตรทิพย์ นาถสุภา

ป้ายที่หน้าทางเข้าที่จัดแสดง บอกว่าศูนย์นี้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๓๐ เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาส ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระชนมายุครบ ๖๐ พรรษา    โดยรัฐบาลญี่ปุ่นออกเงินให้ทั้งหมด

ศ. ฉัตรทิพย์เล่าว่ารัฐบาลญี่ปุ่นออกเงินทั้งหมด ๙๙๙ ล้านเยน คิดเป็นเงินไทยขณะนั้น ๑๗๐ ล้านบาท    เป็นค่าก่อสร้าง อาคาร ๗๐ ล้านบาท  ค่าก่อสร้างการจัดแสดง (exhibition) ๑๐๐ ล้านบาท   ท่านบอกว่า ส่วนสำคัญคือการจัดแสดง อาคารเป็นเพียงสิ่งที่ครอบส่วนจัดแสดงเท่านั้น

จริงๆ แล้วคณะผู้คิดโครงการตั้งใจจะให้ศูนย์ศึกษาฯ นี้ ทำหน้าที่ ๔ อย่าง คือ (๑) วิจัยประวัติศาสตร์ของประเทศ ไม่ใช่ของสมัยอยุธยาเท่านั้น  (๒)​ จัดแสดงประวัติศาสตร์สมัยอยุธา  (๓) เป็นศูนย์ข้อมูลและห้องสมุด  (๔)​ ทำวิจัยระดับวิทยานิพนธ์ ระดับปริญญาเอก โท    แต่ในที่สุดเวลาผ่านไป ๒๔ ปี (หลังพิธีเปิดในปี ๒๕๓๓) ศูนย์นี้ทำหน้าที่ข้อ ๒ เพียงอย่างเดียว

ตอนทำงานสร้างศูนย์นี้ร่วมกับทางญี่ปุ่น ทีมนักวิชาการจากหลายมหาวิทยาลัยเข้าไปร่วมกันทำงาน    แต่เมื่อสร้างเสร็จ กระทรวงมหาดไทยเป็นผู้รับมอบ    แม้ ศ. ดร. วิจิตร ศรีสะอ้าน ปลัดทบวงมหาวิทยาลัยในเวลานั้น จะพยายามขอให้อยู่ในความดูแล ของทบวงมหาวิทยาลัยเพื่อสืบสานหน้าที่อีก ๓ อย่าง ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ    เวลานี้ศูนย์ฯ จึงทำหน้าที่ได้เพียงการจัดแสดง ดูแลโดย อบจ. พระนครศรีอยุธยา    และเราไปพบว่ามีสิ่งที่เพิ่มเติมเข้ามาอย่างน่าชื่นชมคือห้องฉายภาพยนตร์ จอรอบทิศ เรื่องประวัติศาสตร์ กรุงศรีอยุธยา ความยาว ๑๘ นาที ห้องปรับอากาศเย็นฉ่ำ    ให้บริการแก่ผู้ติดต่อมาเป็นคณะ ในราคาค่าบริการรอบละ ๔๐๐ บาท (ห้องจุกว่า ๕๐ คน)     ซึ่งเจ้าหน้าที่บอกว่า บริษัททัวร์บ่นว่าแพง

เราจะเห็นสภาพความคิดของราชการไทย ที่หวงสมบัติ และคิดแบบแยกส่วน ไม่ได้คิดถึงภาพรวมของประเทศ    มองศูนย์ศึกษาผิด มองเป็นพิพิธภัณฑ์    และในที่สุดศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา ที่สมัยสร้างเสร็จใหม่ๆ ในปี ๒๕๕๓ ถือว่าทันสมัยที่สุดในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้    เวลานี้มีแต่จะทรุดโทรมลงไป เพราะขาดการดูแลปรับปรุง    และในด้านเทคโนโลยี การจัดแสดง ซึ่งสมัย ๒๔ ปีก่อนถือว่าทันสมัยมาก    เวลานี้ก็ล้าหลังไปมาก

ผมถาม ศ. ดร. ฉัตรทิพย์ว่าใช้เวลาก่อสร้างกี่ปี    ท่านบอกว่า ใช้เวลารวม ๓ ปี    โดยแบ่งเป็น ๓ ช่วง    ช่วงแรก ๑ ปี เป็นช่วงทะเลาะกัน ระหว่างฝ่ายไทยกับญี่ปุ่น    ตอนแรกคิดกันว่าจะสร้างหมู่บ้านญี่ปุ่น    ในที่สุดตกลงกันว่า สร้างศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์    มีคนฝ่ายไทยไม่เห็นด้วยกับการที่ญี่ปุ่นจะเป็นผู้สร้างและออกแบบ    มีการลงหนังสือพิมพ์คัดค้าน    ในที่สุดฝ่ายญี่ปุ่นยอมให้ฝ่ายไทยออกแบบทั้งอาคารและการจัดแสดง    ญี่ปุ่นเป็นเพียงผู้สร้างให้ ตามที่ฝ่ายไทยกำหนด

ช่วงที่สอง เวลา ๑ ปี เป็นช่วงของการวิจัย    เพื่อหารายละเอียดนำมาใช้สร้างโมเดลในการจัดแสดง    มีการทำงานร่วมกัน ระหว่างนักประวัติศาสตร์กับศิลปิน    ส่วนด้านเทคโนโลยีทางญี่ปุ่นมีความรู้และประสบการณ์มาก    มีการจัดแสดงด้วยเทคโนโลยี diorama ซึ่งหมายถึงมีโมเดล กับภาพวาดด้านหลัง ให้เห็นเป็นภาพสามมิติ    ส่วนที่ยากคือส่วนนิทรรศการ ที่รายละเอียดมากมาย ต้องไม่ทำแบบเดาสุ่ม หรือจินตนาการ    ต้องหาหลักฐานอ้างอิง    แต่ก็มีส่วนที่ต้องใช้จินตนาการด้วย

ช่วงที่สาม เวลา ๑ ปี เป็นการสร้างอาคารครอบส่วนนิทรรศการ    ส่วนนี้ราคาเพียง ๗๐ ล้านบาท    ในขณะที่ส่วน นิทรรศการใช้เงิน ๑๐๐ ล้านบาท

ผมเพิ่งทราบว่านิทรรศการมี ๔ ส่วน หรือ ๔ พื้นที่    เมื่อเข้าไปก็จะเข้าไปในพื้นที่ “เมืองหลวง”   ทางซ้ายมือเป็นพื้นที่ “เมืองท่า”   ทางขวามือเป็นพื้นที่ “ชีวิตชาวบ้าน”  เดินตรงเข้าไปจากพื้นที่เมืองหลวงเป็น “พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์” หรือพื้นที่ของศูนย์กลาง อำนาจทางการเมืองการปกครอง

พื้นที่เมืองหลวง(พระนครศรีอยุธยาในฐานะราชธานี) มี ๓ นิทรรศการ    ส่วนที่ใหญ่ที่สุดคือส่วนวังกับวัด ในพื้นที่เมืองโบราณ    ถัดไปทางขวาเป็น วัดไชยวัฒนาราม จำลองผังวัดในสมัยอยุธยา    ทางซ้ายเป็นพะเนียดคล้องช้าง เพราะถือว่าช้างมีส่วนสำคัญต่อความเป็นเมืองหลวง    พื้นที่นี้รศ. ดร. ศรีศักร วัลลิโภดม เป็นผู้ออกแบบ

ตอนคิดพื้นที่จัดแสดง มีการถกเถียงกันระหว่าง ศ. อิฌิอิ (ผู้ล่วงลับ) กับ ศ. ฉัตรทิพย์    ว่าจะยกเอาความเป็นเมืองหลวง หรือความเป็นเมืองท่าของอยุธยาเป็นประธาน    หรือเป็นจุดเด่น    ศ. ฉัตรทิพย์บอกว่า ต้องเอาความเป็นเมืองหลวง    แต่ ศ. อิฌิอิ เห็นว่าความเป็นเมืองท่าเด่นกว่า     แต่ในที่สุดท่านก็อนุโลมตามฝ่ายไทย    ศ. ฉัตรทิพย์ ยกย่องความใจกว้างของ ศ. อิฌิอิมาก

พื้นที่เมืองท่า(กรุงศรีอยุธยาในฐานะเมืองท่า) มีเรือสำเภาจีนจำลองขนาด ๑ ใน ๗ ของของจริง ตั้งเด่นเป็นประธาน    ด้านหลังเรือสำเภาจีนเป็นตู้กระจก มีเรือสินค้าฝรั่งหลายแบบจำลองขนาดเล็ก เทียบกับสำเภาจีน    ที่ผนังตึกมีแผนที่บอกเส้นทางเดินเรือ ค้าขาย มีปุ่มสวิตช์ไฟให้กดดูเส้นทางค้าขายในยุคต่างๆ    เดิมมีตัวอย่างสินค้าตั้งแสดง    แต่เวลานี้หายไปหมดแล้ว    อีกด้านหนึ่งเป็นเรื่องราวการติดต่อค้าขาย กับญี่ปุ่น    พื้นที่นี้ ผศ. พลับพลึง คงชนะ เป็นผู้ทำวิจัยและออกแบบ

พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์มีทางเดินเข้าสู่พื้นที่ คล้ายเดินเข้าปราสาทขอม    แสดงการผสมผสานระหว่างศานาพุทธกับฮินดู    ภายในตั้งแสดงพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา    พื้นที่นี้ทำวิจัยและออกแบบโดย รศ. ดร. ธิดา สาระยา

พื้นที่แสดงชีวิตชาวบ้าน(ชีวิตชาวบ้านไทยในสมัยก่อน) ออกแบบโดย ศ. ดร. ฉัตรทิพย์ นาถสุภา และ ดร. ชาคริต ชุ่มวัฒนะ    ก่อนเข้าพื้นที่นี้ มีกำแพงเก่าจำลอง ที่ผนังกำแพงเป็นภาพวาดแสดงวิถีชีวิตชาวบ้าน     ถัดเข้าไป มีโมเดลพื้นที่วัดและหมู่บ้าน ตั้งเป็นประธานสวยงามมาก    ด้านในสุดเป็นบ้านจำลอง ที่ย่อส่วนให้เข้าอยู่ในอาคารได้    ขึ้นบันไดไปชมได้    ศ. ดร. วิสุทธิ์ ใบไม้ ชมว่าเหมือนบ้านไทยโบราณจริงๆ คือบันไดไม่มีราว    คนแก่เดินขึ้นลงต้องหาที่เกาะกันจ้าละหวั่น

ในพื้นที่มีตู้ขนาดเล็ก จัดแสดงโมเดลของพิธีคลอด, โกนจุก, แต่งงาน, และเผาศพ    และมีสมุนไพรต่างๆ ตั้งแสดง    ศ. ฉัตรทิพย์ บอกล่วงหน้าว่า    มี เซ็นเซอร์ ที่เมื่อเดินผ่าน จะมีเสียงเพลงพื้นเมือง    แต่เวลาผ่านไปตั้ง ๒๔ ปี คงจะเสียหมดแล้ว    ปรากฎว่ายังใช้ได้ดีอยู่ ท่านดีใจมาก    และทำให้ผมนึกศรัทธา ว่าเทคโนโลยีญี่ปุ่นทนทานมาก    หรือมิฉนั้นก็เป็นฝีมือเจ้าหน้าที่ ของศูนย์ฯ ที่คอยซ่อมแซม    แต่เดาว่าน่าจะเป็นประการแรกมากกว่า     เพราะแม้ไฟฟ้าที่ดับไปเป็นส่วนใหญ่ ยังไม่มีการซ่อม    ทำให้พื้นที่นี้มืดทึม

ศ. ฉัตรทิพย์ บอกว่า ตอนคิดกัน คุยกันว่าต้องแสดงชีวิตยามยาก หรือลำเค็ญด้วย    จึงมีภาพวาดแสดงชีวิตไพร่  โรคระบาด  และโจรปล้น

เสร็จจากชั้นบนที่เป็นพื้นที่จัดแสดง ที่กินเนื้อที่กว่าพันตารางเมตร    ศ. ฉัตรทิพย์ พาเราไปดูพื้นที่ชั้นล่าง ที่เดิมเผื่อไว้สำหรับเป็นศูนย์ข้อมูลและห้องสมุด    ซึ่งเมื่อน้ำท่วมใหญ่ปี ๒๕๕๔ น้ำท่วมขึ้นสูงเกือบเมตร    หนังสือเสียหายหมด    หลังจากนั้นเจ้าชายญี่ปุ่นเสด็จมาเยี่ยม    เวลานี้กำลังก่อสร้างดัดแปลงพื้นที่เป็นศูนย์แสดงสินค้านานาชาติอยุธยา

ศ. ฉัตรทิพย์ เอาหนังสือ IUDEA : ศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสพิธีเปิดศูนย์ เมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๓๓ ฉบับถ่ายเอกสาร ไปให้อ่านประกอบ    และมอบให้ผมเลย     เจ้าหน้าที่ของศูนย์บอกว่า มีคนมาถามซื้อบ่อยๆ แต่ไม่มีแล้ว     จริงๆ แล้ว หากอ่านจาก เว็บไซต์มีรายละเอียดดีทีเดียว    เป็นเว็บไซต์ของศูนย์อยุธยาศึกษา มรภ. พระนครศรีอยุธยา     ที่เว็บไซต์มีรูปด้านหน้าของศูนย์ ที่ ศ. ฉัตรทิพย์อธิบายว่า สร้างจำลองแบบป้อมในสมัยโบราณ

เราไปถึงเวลา ๑๑ น.    ดูเสร็จ ๑๓ น.   แล้วไปที่ร้านแพกรุงเก่า กินกุ้งแม่น้ำเผา     ขนมจีนแกงเขียวหวานลูกชิ้นปลา    และผัด สายบัว    อาหารอร่อยทุกอย่าง   คราวนี้ผมลืมถ่ายรูปอาหาร

 

๙ มี.ค. ๕๗

เนื่องจากระบบทำให้ผมไม่สามารถคัดลอกในส่วนที่เป็นรูปภาพมาเผยแพร่ในหน้านี้ได้ หากท่านใด้องการชมภาพประกอบโปรดเข้าไปดูได้ใน like :

http://www.gotoknow.org/posts/565346

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 05 เมษายน 2014 เวลา 17:09 น.