ชำแหละการเมืองไทย

วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม 2022 เวลา 16:11 น. ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท บทความ - บทความของ ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท
พิมพ์

ชำแหละการเมืองไทย 2


    ทำไมการเมืองการปกครองของไทย ไม่มีเสถียรภาพ,การพัฒนาประเทศทุกด้านเป็นไปอย่างเชื่องช้าและเกิดปัญหาการเมืองมาอย่างต่อเนื่องซ้ำซาก ลองมาวิเคราะห์ตามเหตุผลดังนี้

    1. เป็นระบบประชาธิปไตยจอมปลอม

     - เขียนกฎหมายเพื่อผลประโยขน์ของนักการเมือง

     - ไม่ใช้หลักการประชาธิปไตย แต่การเมืองเป็นของกลุ่มผู้มีอิทธิพลทางการเมือง ใช้อำนาจได้ตามใจชอบหรือหลักกู

    2. เป็นธุรกิจการเมือง เป็นลัทธิบูชาเงิน

    - คนมีเงินเท่านั้นที่จะเข้าสู่วงการเมืองได้

    - ลงทุนทางการเมืองด้วยเงินจำนวนมาก

    - อาศัยคราบนักการเมืองเพื่อมาหาผลประโยชน์จากงบประมาณแผ่นดินและทรัพยากรของชาติ

    3. เป็นระบบผูกขาดอำนาจ 

    - มีการสืบทอดอำนาจตั้งแต่รุ่นพ่อมาสู่รุ่นลูกหลายสิบตระกูล

    - ไม่มีที่ยืนสำหรับคนจน ต่อให้เก่งแค่ไหนก็ไม่ทางเข้าสู่เส้นทางนี้

    4 การเลือกตั้ง เป็นเพียงการฟอกตัวเข้าสู่อำนาจเท่านั้นไม่ใช่วิธีเลือกผู้แทนที่แท้จริงของประชาขน 

     - ไม่สามารถได้คนดี,มีความรู้ความสามารถ

     - ไม่ได้ทำหน้าที่ในฐานะผู้แทนปวงชน

    5 นักการเมือง ไม่ใช่ผู้แทนประชาชน-ใครมีเงินก็เป็นนักการเมืองได้ 

     - ผ่านการฟอกตัวมาจากการเลือกตั้ง อ้างเป็นผู้แทนประชาชน แต่สวมหน้ากากเล่นลิ้นปลิ้นตา,ใช้ประชาชนเป็นเหยื่อทางการเมือง

     - เป็นพวกนก 2 หัว ลิ้น 2 แฉก ปากบอกเป็นผู้แทนฯแต่การกระทำ-ทำเพื่อนายทุนการเมือง

    6 รัฐบาล ไม่ใช่รัฐบาลของประเทศ-แต่เป็นรัฐบาลของพรรคการเมือง ไม่มีความตั้งใจในการพัฒนาประเทศแค่สมบัติผลัดกันชมเท่านั้น

     - ไม่ว่าพรรคฯใดก็ตามเมื่อมีโอกาสเป็นรัฐบาล ใช้อำนาจในการทุจริตในทุกช่องทาง

     - เป็นต้นเหตุของวิกฤติการเมือง

    7. ในสภา เป็นระบบเผด็จการรัฐสภา

     - ไม่ว่าฝ่ายค้านหรือฝ่ายรัฐบาล-แต่ละฝ่ายล้วนไม่ได้ใช้มติเพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติ แต่ใช้มติเพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มก้วนตนเองเป็นหลัก

    8. ระบบการปกครองแบบนี้ เป็นแค่เกมอย่างหนึ่งในการแย่งชิงกันเป็นใหญ่เพื่อผลประโยชน์เท่านั้น

     - เมื่อเทียบกับเจตนารมณ์ชของระบอบประชาธิปไตยแล้วต่ำกว่ามาตรฐานมาก

     - เป็นเหตุวงจรอุบาทว์ทางการเมือง

      นี่คือ โฉมหน้า(กาก)ที่แท้จริงของวงการเมืองประเทศไทย และจะเป็นเช่นนี้อีกนานเท่านาน จนกว่าประชาชนจะมีความตื่นตัวลุกขึ้นมาทวงอำนาจในการมีส่วนร่วมในการบริหารประเทศ