มองอเมริกาและย้อนกลับมามองไทยโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2013 เวลา 00:00 น. ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท บทความ - การบริหารการจัดการ
พิมพ์

นำบทความของ  "ประสบการณ์ ญี่ปุ่น  วิเคราะห์สหรัฐอเมริกาและย้อนกลับมามองไทย" ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ มาให้ผู้อ่านครับ
ผมเพิ่งกลับมาจากประเทศญี่ปุ่น ได้รับความรู้มากมาย แต่ที่ยังขาด คือ การอ่านหนังสือและการใช้ internet ที่ไม่ค่อยสะดวกนัก และร้านหนังสือใน Tokyo ที่เป็นภาษาอังกฤษ หายากยิ่งกว่างมเข็มในมหาสมุทร

วันนี้ผมมีเวลาจึงไปที่ร้านเอเช ีย บุ๊ค และหยิบ The Economist เล่มล่าสุดเรื่องThe America that works ผมก็เลยสนใจแนวคิดว่าเขาจะมองอย่างไร ซึ่งผมคิดว่ามีสิ่งที่น่าสนใจระดับประเทศ ของรัฐบาลอเมริกัน ในระดับรัฐบาลกลาง ซึ่งมีปัญหามาก เช่น ปัญหาการว่างงาน เรื่องหนี้สิน และโรงเรียนขาดคุณภาพ แต่ขณะเดียวกันช่วงหลังจะพบว่า คนเริ่มเห็นความเข้มแข็งของเศรษฐกิจของเมริกา

บทความนี้พบว่า อเมริกามี 2 ระบบซ้อนกัน คือ ระบบรัฐบาลกลาง มีประธานาธิบดีโอบามาเป็นประมุข ซึ่งก็มีปัญหาเยอะ และระบบรัฐบาลท้องถิ่น ประกอบด้วย 50 กว่ารัฐ ซึ่งถ้ารัฐบาลท้องถิ่นพึ่งแต่รัฐบาลกลางก็คงไม่สามารถพัฒนารัฐของตัวเองได้
ดังนั้นหนังสือจึงยกตัวอย่างหลายรัฐที่ปรับปรุงการทำงานที่เร็วขึ้น เน้นปัจจัยดังต่อไปนี้ 
1. ลดขั้นตอนระบบข้าราชการ bureaucracy ลง
2. สนใจโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ คือ เรื่องทุนมนุษย์และนวัตกรรม ซึ่งรัฐบาลเน้นการพัฒนาศักยภาพทางธุรกิจ โดยเน้นปัจจัยเหล่านี้ ทำให้ระบบการทำงานของอเมริกาดีขึ้น โดยบทบาทผู้นำของรัฐต่างๆ ไม่ใช่ของประเทศ

และหันกลับมามองประเทศไทย ทั้งอบจ. อบต. เทศบาล เป็นที่น่าเสียดายว่าทำหน้าที่การพัฒนาการศึกษา นวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐานของไทยทียังมีระบบราชการทำให้การบริหารจัดการช้าลง

บทเรียนของประเทศไทยในอนาคต คือให้รัฐบาลท้องถิ่นเข้มแข็งยาก ที่สำคัญต้องปรับ mindset และให้เห็นการทำงานเชิงรุกมากขึ้น จึงเรียนมาให้ผู้อ่านพิจารณาต่อไปครับ
ผมเพิ่งกลับมาจากประเทศญี่ปุ่น ได้รับความรู้มากมาย แต่ที่ยังขาด คือ การอ่านหนังสือและการใช้ internet ที่ไม่ค่อยสะดวกนัก และร้านหนังสือใน Tokyo ที่เป็นภาษาอังกฤษ หายากยิ่งกว่างมเข็มในมหาสมุทร  วันนี้ผมมีเวลาจึงไปที่ร้านเอเชีย บุ๊ค  และหยิบ The Economist เล่มล่าสุดเรื่องThe America that works ผมก็เลยสนใจแนวคิดว่าเขาจะมองอย่างไร ซึ่งผมคิดว่ามีสิ่งที่น่าสนใจระดับประเทศ ของรัฐบาลอเมริกัน ในระดับรัฐบาลกลาง ซึ่งมีปัญหามาก เช่น ปัญหาการว่างงาน เรื่องหนี้สิน และโรงเรียนขาดคุณภาพ แต่ขณะเดียวกันช่วงหลังจะพบว่า คนเริ่มเห็นความเข้มแข็งของเศรษฐกิจของเมริกา  บทความนี้พบว่า อเมริกามี 2 ระบบซ้อนกัน คือ ระบบรัฐบาลกลาง มีประธานาธิบดีโอบามาเป็นประมุข ซึ่งก็มีปัญหาเยอะ และระบบรัฐบาลท้องถิ่น ประกอบด้วย 50 กว่ารัฐ ซึ่งถ้ารัฐบาลท้องถิ่นพึ่งแต่รัฐบาลกลางก็คงไม่สามารถพัฒนารัฐของตัวเองได้ ดังนั้นหนังสือจึงยกตัวอย่างหลายรัฐที่ปรับปรุงการทำงานที่เร็วขึ้น เน้นปัจจัยดังต่อไปนี้  1.	ลดขั้นตอนระบบข้าราชการ bureaucracy ลง 2.	สนใจโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ คือ เรื่องทุนมนุษย์และนวัตกรรม ซึ่งรัฐบาลเน้นการพัฒนาศักยภาพทางธุรกิจ โดยเน้นปัจจัยเหล่านี้ ทำให้ระบบการทำงานของอเมริกาดีขึ้น โดยบทบาทผู้นำของรัฐต่างๆ ไม่ใช่ของประเทศ  และหันกลับมามองประเทศไทย ทั้งอบจ. อบต. เทศบาล เป็นที่น่าเสียดายว่าทำหน้าที่การพัฒนาการศึกษา นวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐานของไทยทียังมีระบบราชการทำให้การบริหารจัดการช้าลง  บทเรียนของประเทศไทยในอนาคต คือให้รัฐบาลท้องถิ่นเข้มแข็งยาก ที่สำคัญต้องปรับ mindset และให้เห็นการทำงานเชิงรุกมากขึ้น จึงเรียนมาให้ผู้อ่านพิจารณาต่อไปครับ