สมุดปกขาว (White Paper)

วันเสาร์ที่ 27 กรกฏาคม 2013 เวลา 00:00 น. ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท บทความ - การบริหารการจัดการ
พิมพ์

ผลจากการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “ธุรกิจบริการ: ยุทธศาสตร์แห่งชาติสู่ AEC and Beyond” โดย
สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์

ที่มาและความสาคัญ

การพัฒนาโครงสร้างของธุรกิจบริการไทยให้เข้มแข็งจะนำมาซึ่งการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างยั่งยืนไม่ว่าสถานการณ์การเปิดเสรีทางการค้าของโลกจะเปลี่ยนแปลงไปในรูปแบบใด หากพิจารณาโครงสร้างเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันจะพบว่าภาคบริการมีความสาคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันโดยสัดส่วนของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของภาคบริการมีอัตราส่วนสูงกว่าภาคอุตสาหกรรมในปี พ.ศ. 2553 (ภาคบริการร้อยละ 45.1/ ภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 43.3: World Economic Outlook Database ค.ศ. 2010) ยิ่งไปกว่านั้น ภาคบริการถือเป็นองค์ประกอบพื้นฐานในการสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมและภาคการผลิต ทั้งนี้ โครงสร้างการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศพัฒนาแล้วทั้งหลายต่างก็มีภาคบริการเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจแทบทั้งสิ้น โดยการเจรจาการค้าในปัจจุบันต่างให้ความสาคัญกับการเปิดเสรีภาคบริการและการลงทุน ประเทศไทยเองไม่เพียงแค่เจรจาเปิดเสรีภาคบริการในกรอบอาเซียนเท่านั้นแต่ยังเจรจาเปิดเสรีภาคบริการกับประเทศอื่นๆ ในกรอบการเจรจาแบบทวิภาคี กระแสการเปิดเสรีทางการค้ามีแนวโน้มที่ซับซ้อนและเชื่อมโยงในหลายมิติ จึงไม่สามารถแยกบริบทด้านการค้าสินค้า บริการ และการลงทุนออกจากกัน รวมทั้งภาคบริการยังเชื่อมโยงไปสู่ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยี นวัตกรรม การเคลื่อนย้ายของทุน การเงินและทุนมนุษย์ ประเด็นเหล่านี้ล้วนแต่เป็นสิ่งที่ประเทศไทยต้องพัฒนาเพื่อนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพการแข่งขันและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

ตั้งแต่ประเทศไทยจัดตั้งแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 ในปี พ.ศ. 2504 จุดเน้นของประเทศคือการพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อทดแทนการนำเข้าและการพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก สาหรับภาคบริการนั้นปัจจุบันยังไม่ปรากฏแนวทางหรือแผนแม่บทในการพัฒนาธุรกิจภาคบริการในภาพรวมทั้งๆ ที่แนวโน้มการเจริญเติบโตในภาคบริการมีมากขึ้น ในปัจจุบันประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศหันมาเน้นธุรกิจภาคบริการมากขึ้น หนึ่งในสาเหตุหลักเนื่องมาจากเทคโนโลยีของภาคอุตสาหกรรมตกอยู่ในมือของประเทศพัฒนาแล้ว ทำให้ประเทศกาลังพัฒนาไม่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีมากเท่าที่ควร การพัฒนาธุรกิจบริการจึงมีความสาคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยเพื่อหลุดพ้นจากสถานะประเทศรายได้ปานกลาง (Middle Income Country) แต่ธุรกิจบริการไทยต้องประสบปัญหากับกรอบนโยบายและทิศทางที่ไม่ชัดเจน อีกทั้งโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ อาทิเช่นมาตรฐานการให้บริการ กฎระเบียบและข้อกฎหมายบางประการนั้นไม่เอื้อประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจของภาคเอกชน ทำให้กลไกการพัฒนาภาคบริการโดยรวมไม่สามารถที่จะใช้จุดแข็งและโอกาสที่มีอยู่ได้อย่างเต็มที่ การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของธุรกิจบริการเป็นสิ่งที่จำเป็นในการพัฒนาโครงสร้างเศรษฐกิจให้มีความเข้มแข็งและสร้างความคุ้มกันต่อความผันผวนภายนอกเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจเพื่อขยายโอกาสทางการค้า การลงทุน โดยใช้ประโยชน์จากการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและการเป็นประเทศสมาชิกขององค์การการค้าโลก (WTO)

กระบวนการเปิดเสรีการค้าบริการภายใต้กรอบอาเซียนซึ่งเริ่มเปิดตลาดระหว่างกันมากขึ้นเป็นลำดับตามที่ระบุไว้ในข้อผูกพันการเปิดตลาดชุดที่ 1-7 และจากชุดที่ 8-11 ระดับการเปิดตลาดจะทวีความเข้มข้นขึ้น โดยจะอนุญาตให้ผู้ให้บริการอาเซียนสามารถถือหุ้นในธุรกิจบริการทุกสาขาได้เกินกึ่งหนึ่งเริ่มตั้งแต่ข้อผูกพันการเปิดตลาดฯ ชุดที่ 8 และอย่างน้อยร้อยละ 70 ในสาขาบริการเร่งรัด และทยอยยกเลิกอุปสรรคในการเข้ามาให้บริการทั้งหมดตามที่อาเซียนกำหนดเมื่อปี 2558 ขณะเดียวกันอาเซียนยังดำเนินการเจรจาเปิดเสรีการค้าบริการกับคู่เจรจาอื่นๆ และประเทศไทยเองมีการเจรจาเปิดตลาดการค้าบริการแบบทวิภาคีกับคู่เจรจาในหลายประเทศ ดังนั้น เพื่อให้การเปิดเสรีการค้าบริการของไทยเป็นไปอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศไทยต้องกาหนดยุทธศาสตร์มาตรการ กฎเกณฑ์ และกลไกที่จะพัฒนาและส่งเสริมภาคบริการให้สอดรับกับกระแสการเปิดเสรีและสถานะของธุรกิจบริการไทยเพื่อให้การพัฒนาเศรษฐกิจเป็นไปอย่างมั่นคงและยั่งยืน
การเปิดเสรีในกรอบอาเซียนทำให้ระบบเศรษฐกิจมีการแข่งขันในระดับที่เพิ่มมากขึ้นเนื่องจากผู้บริโภคในภูมิภาคมีทางเลือกในการใช้บริการ ถ้าหากภาคบริการไทยสามารถพัฒนาศักยภาพในการให้บริการที่มีคุณภาพ เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศไทยจะเติบโตได้มากในอนาคต ประเทศไทยจึงควรที่จะใช้นโยบายการเปิดเสรีภาคบริการเป็นเครื่องมือในการพัฒนาภาคบริการของประเทศให้มีประสิทธิภาพ และเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคบริการโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจขนาดกลางและย่อมซึ่งมีจำนวนประมาณร้อยละ 90 ของผู้ประกอบธุรกิจบริการทั้งหมด ตลอดจนส่งเสริมให้ธุรกิจไทยไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น นอกจากนี้ยังต้องมีการปรับนโยบายของภาครัฐและภาคเอกชนให้สอดคล้องกันเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับประเทศเพื่อเปิดรับโอกาสและการแข่งขันที่จะมีมากขึ้น
เนื่องด้วยการพัฒนาธุรกิจบริการไทยจำเป็นต้องเกี่ยวพันกับหลายภาคส่วน สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศจึงจัดสัมมนาเรื่อง “ธุรกิจบริการ ยุทธศาสตร์แห่งชาติสู่ AEC and Beyond” ในวันเสาร์ที่ 18 และวันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม 2555 ณ ศูนย์ประชุมพีช โรงแรมรอยัล คลิฟ บีช โฮเต็ล กรุ๊ป พัทยา ซึ่งจัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการสาหรับกลุ่มธุรกิจบริการสี่กลุ่มหลักคือ ธุรกิจท่องเที่ยว ธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศ ธุรกิจก่อสร้าง และธุรกิจโลจิสติกส์ และอีกกลุ่มที่เป็นพื้นฐานของการบูรณาการธุรกิจในทุกกลุ่ม นั่นคือ เรื่องทุนมนุษย์ในภาคบริการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ร่วมประชุมฯ ซึ่งมาจากหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้องร่วมกำหนดทิศทางการพัฒนาธุรกิจการค้าภาคบริการเชิงโครงสร้าง และเสริมสร้างศักยภาพการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอย่างเป็นรูปธรรม โดยผลลัพธ์ที่ได้จากการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการนั้นได้นำมารวบรวมเป็นสมุดปกขาว (White Paper) เพื่อนำเสนอยุทธศาสตร์ในการพัฒนาธุรกิจบริการไทยให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติ
สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
พฤศจิกายน 2555

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 27 กรกฏาคม 2013 เวลา 23:56 น.