การสัมมนาเชิงปฏิบัติการธุรกิจบริการสู่ AEC and Beyond ในธุรกิจบริการ 4 สาขา

วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฏาคม 2013 เวลา 00:00 น. ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท บทความ - เศรษฐกิจ
พิมพ์

ความสาคัญ
ภาคบริการมีความสาคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทยอันจะเห็นได้จากสัดส่วน GDP ของไทยในปี 2553 มาจากภาคบริการถึง 45.1% และภาคอุตสาหกรรม 43.3% (World Economic Outlook Database 2010) นอกจากนี้ การเสริมสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งให้แก่ภาคบริการจะเป็นการเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจเพื่อให้ประเทศไทยหลุดจากกับดักการเป็นประเทศรายได้ปานกลาง (Middle Income Poverty Trap)

การสัมมนาเชิงปฏิบัติการครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ธุรกิจเชิงโครงสร้างและมาตรฐานเพื่อปรับปรุงโครงสร้างของธุรกิจบริการไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน ไม่ว่าสถานการณ์การเปิดเสรีโลกจะเปลี่ยนแปลงไปในรูปแบบไหน (Beyond AEC liberalization) โดยผลลัพธ์จากการสัมมนาเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ได้รวบรวมเป็นสมุดปกขาว (White Paper) เพื่อเสนอยุทธศาสตร์การพัฒนาธุรกิจบริการของภาคเอกชนใน 4 สาขาบริการได้แก่ ธุรกิจโลจิสติกส์ ธุรกิจก่อสร้าง ธุรกิจท่องเที่ยว ธุรกิจ ICT และอีกกลุ่มที่เป็นพื้นฐานของการบูรณาการธุรกิจในทุกกลุ่ม นั่นคือ เรื่องทุนมนุษย์ในภาคบริการ

สมุดปกขาวเล่มนี้จะได้รับการส่งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจบริการไทยอย่างเป็นรูปธรรม เนื่องจากการพัฒนาธุรกิจภาคบริการอย่างมีประสิทธิภาพจะไม่สามารถบังเกิดขึ้นได้จากการผลักดันของภาคเอกชนเพียงฝ่ายเดียว ดังนั้นการประสานงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องจะทำให้ธุรกิจภาคบริการไทยพัฒนาไปอย่างมั่นคงและยั่งยืน

กรอบแผนยุทธศาสตร์ในการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ
เพื่อเป็นการวิเคราะห์ปัญหาและหาทางแก้ไขให้แก่ธุรกิจภาคบริการอย่างเป็นรูปธรรม การสัมมนาฯ จึงกำหนดกรอบยุทธศาสตร์ในการดำเนินการเพื่อให้บรรลุผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาธุรกิจบริการไทยดังนี้
1. หมวดโครงสร้าง ประกอบไปด้วยการวิเคราะห์ มาตรฐาน ความสาคัญ (จุดเน้น: ทุน แรงงาน เทคโนโลยี หรือทรัพยากรมนุษย์) กรอบการกำกับดูแล (Regulatory Framework) กฎเกณฑ์และระเบียบที่จำเป็นต้องแก้ไข และการเข้าถึงแหล่งเงินทุน
2. หมวดความเชื่อมโยงและเครือข่าย ประกอบไปด้วย การปฏิรูปความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับรัฐ และการปฏิรูปความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน
3. หมวดการเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขัน ประกอบไปด้วย มาตรการส่งเสริมการออกไปลงทุน มาตรการส่งเสริมการค้นคว้าและวิจัย และหน่วยงานที่รับผิดชอบ
4. หมวดอุปสรรค และแนวทางแก้ไข
5. หมวดโอกาส ประกอบไปด้วย จุดเด่น และแนวทางการพัฒนาจุดเด่น
6. หมวดการจัดลำดับความสาคัญและเร่งด่วน เพื่อกาหนดประเด็นให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบและเกี่ยวข้องนาไปปฏิบัติเพื่อพัฒนาธุรกิจบริการ

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฏาคม 2013 เวลา 00:24 น.