News Feed

คมเพชร ศรีมังคละ altfeeling motivated with สรวิชญ์ สนิทวงศ์ ณ.อยุธยา and 53 others.

‪#‎พี่ชายใจดีเเสดงมุมมองที่เเหลมคมในเเง่วิชาการครับ‬
‪#‎กระแสเรียกร้องให้คืนพระราชอำนาจก็คือคนที่เข้าใจเรื่องนี้‬ 
แต่รัฐบาลยังไม่ได้ทำอะไร ต้องรอดูรัฐธรรมนูญว่าอย่างไร 
‪#‎การคืนพระราชอำนาจต้องให้ทรงมีอำนาจในการกำหนดตัววุฒิสมาชิกด้วย‬ และไม่ใช่ว่าถ้าไม่ลงลายมือชื่อ ให้นำเรื่องกลับมาลงมติในสภาแล้วออกกฎหมายได้เลย อันนี้ถ้ายังมีอยู่ถือว่าไม่คืนพระราชอำนาจ
ระบบรัฐสภาของเรายังเป็นแบบอังกฤษ สภาสูงจึงมาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งก็เข้ากันได้กับระบบสังคม แต่ 2540 ให้เลือกตั้งสภาสูง ทำให้เกิดวิกฤติ คือ ได้สภาที่ไม่ต่างจากสภาผู้แทน จึงเป็นการรวบอำนาจทางสภา และเมื่อพรรคการเมืองหนึ่งครองอำนาจบริหารและรัฐสภา ย่อมเป็นเผด็จการการเมืองไป นักวิชาการส่วนหนึ่งจึงหันไปพึ่งศาล จนทำให้ศาลทำหน้าที่เกินขอบเขตของ 3 เส้า ทำให้เป็นปัญหาด้านความยุติธรรมในปัจจุบัน
กระแสเรียกร้องให้คืนพระราชอำนาจก็คือคนที่เข้าใจเรื่องนี้ แต่รัฐบาลยังไม่ได้ทำอะไร ต้องรอดูรัฐธรรมนูญว่าอย่างไร (ไม่ได้ตามตัวรัฐธรรมนูญ ไว้รอเสร็จค่อยว่ากัน) การคืนพระราชอำนาจต้องให้ทรงมีอำนาจในการกำหนดตัววุฒิสมาชิกด้วย และไม่ใช่ว่าถ้าไม่ลงลายมือชื่อ ให้นำเรื่องกลับมาลงมติในสภาแล้วออกกฎหมายได้เลย อันนี้ถ้ายังมีอยู่ถือว่าไม่คืนพระราชอำนาจ
สภาสูงของอังกฤษคือที่นั่งฝ่ายขวาของพวกขุนนางและเจ้าของที่ดิน เพื่อพิทักษ์สิทธิของพวกเขา ไม่ให้ฝ่ายซ้าย(ประชาชน)ยื่นญัตติอะไรที่จะทำให้พวกเขาได้รับผลกระทบจนเกินกว่าจะยอมรับได้
ต่อมาสมัยใหม่ สภาสูงจึงเชิญนักวิชาการมาเป็นสมาชิกเพื่อเอาวิชาการเข้าข่ม ให้ข้อติติงปัญหา แต่นักวิชาการที่ได้รับเชิญก็มักจะเป็นคนที่สนิทสนมกับสายขุนนางเท่านั้น
ตอนปฏิวัติ 2475 เราเอาอย่างฝรั่งเศสคือล้มระบบเจ้าออก และเจ้าไทย ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดิน รัฐประหารยึดหมด ดังนั้นสภาสูงของไทยจึงเป็นสภาทหาร (กำกับอำนาจไว้ในมือตน) และนักเรียนนอก (วิชาการ) อย่างอังกฤษ
ขุนนางถือครองที่ดินมานาน ประชาชนเช่าที่ดินอยู่โดยจ่ายภาษี ซึงขุนนางก็จะส่งภาษีส่วนหนึ่งให้กษัตริย์ นี่เป็นระบบเจ้าครองนครสมัยก่อน เมื่อเป็นประชาธิปไตย สิ่งที่เกิดขึ้นแรกๆ คือเสียงจากประชาชนให้ยึดที่ดินทั้งหมดมาเป็นของกลางแล้วปันส่วนใหม่ ซึ่งเจ้าของที่ดินทั้งหลายถือว่านี่เป็นการละเมิดสิทธิของเขา แนวคิดเสรีนิยมนั้นปัจเจกมีสิทธิในทรัพย์สินของตน ดังนั้นขุนนางก็ย่อมทรงสิทธิในทรัพย์สินเช่นกัน ซึ่งสุดท้ายรัฐก็ต้องยอมรับเหตุผลนี้ จึงได้ใช้สภาสูงเป็นจุดพักของปัญหานี้
อเมริกาเป็นกลุ่มหลักที่ให้สภาสูงเป็นแหล่งของนักวิชาการเพื่อให้นำเสนอประเด็น วิเคราะห์ จำแนกข้อดีข้อเสียให้แก่สภาล่างเพื่อจะได้ลงมติได้ มีลักษณะเป็นที่ปรึกษา แต่ต่อมาก็กลายเป็นการเลือกตั้งทั้งหมด เพราะแนวคิดที่จะยึดโยงกับประชาชน สุดท้ายพรรคการเมืองก็กลายเป็นผู้ส่งคนลงสมัครเข้าสภาสูง
แล้วอเมริกาก็ชี้ชวนไปทั่วโลกให้ทำสภาสูงรูปแบบนี้ ซึ่งใน 2540 ไทยก็รับมาเต็มๆ
ระเด็นมันอยู่ตรง ร.7 สละราชสมบัติ และ ร.8 อยู่ภายใต้ผู้แทนพระองค์ ทำให้ช่วงนั้นเรื่องประมุขไม่ชัดเจน อำนาจในส่วนนี้ถูกผนวกไปไว้ที่นายกรัฐมนตรีหมด กษัตริย์เป็นประมุขในนาม คือเป็นแค่ image เท่านั้น เช่น กษัตริย์ญี่ปุ่น ซึ่งขอปลดภาระด้านพระราชอำนาจออกไปเพื่อรับผิดชอบกรณีนำประเทศเข้าสู่สงคราม แต่ของไทยคือคณะปฏิบัติยึดมา จนกระทั่งเข้าสู่ยุคฟื้นฟูความสัมพันธ์กับระบบเจ้า ทำให้มีการคืนพระราชอำนาจในระดับหนึ่ง แต่ต่อมาจอมพลสฤษฎฺิ์ก็ครองอำนาจเต็มแทน ในช่วงนี้ ร.9 ได้ทรงดำเนินการเข้าถึงประชาชนที่เป็นรากฐานประเทศ และในขณะเดียวกันก็ให้ทุนแก่นักวิชาการเพื่อไปเรียนต่อต่างประเทศ และทุนแก่นักเรียนทหาร รวม 3 ทาง จนกระทั่ง 2519 จึงได้เห็นผลสำเร็จว่า กษัตริย์มีพระราชอำนาจในการยุติปัญหาการปกครองและการเมืองได้ (พลังหนุนจากประชาชน แรงสนับสนุนจากนักวิชาการ และการยอมรับจากเหล่านายทหารรุ่นใหม่) ทำให้รัฐบาลทหารต้องยอมยุติบทบาทเผด็จการลง
ระบบรัฐสภาของเรายังเป็นแบบอังกฤษ สภาสูงจึงมาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งก็เข้ากันได้กับระบบสังคม แต่ 2540 ให้เลือกตั้งสภาสูง ทำให้เกิดวิกฤติ คือ ได้สภาที่ไม่ต่างจากสภาผู้แทน จึงเป็นการรวบอำนาจทางสภา และเมื่อพรรคการเมืองหนึ่งครองอำนาจบริหารและรัฐสภา ย่อมเป็นเผด็จการการเมืองไป นักวิชาการส่วนหนึ่งจึงหันไปพึ่งศาล จนทำให้ศาลทำหน้าที่เกินขอบเขตของ 3 เส้า ทำให้เป็นปัญหาด้านความยุติธรรมในปัจจุบัน
2550 ให้มีเลือกตั้งผสมแต่งตั้ง ยิ่งทำให้เกิดการแบ่งฝักฝ่ายในสภาสูง ไม่ใช่ด้วยเรื่องวิชาการ แต่เป็นเรื่องขั้วความคิดของใครของมัน จึงไม่มีเอกภาพในสภาสูง สุดท้ายก็เป็นเกมการเมือง และเป็นช่องว่างในระบบราชการและทุนใช้เพื่อการแสวงผลประโยชน์เชิงนโยบายต่างๆ ได้ เราจึงรู้สึกถึงปัญหาสำคัญคือคอร์รัปชั่น แต่มองไม่ออกว่าเกิดจากอะไรกันแน่ แล้วก็มาเรียกร้องศีลธรรม โดยคิดที่จะตรากฎหมายกำกับให้คนทำตาม
แต่นิติปรัชญาชี้ไว้นานแล้วว่ากฎหมายควรออกน้อยข้อที่สุดเท่าที่ทำให้สังคมอยู่ร่วมกันได้ในระดับหนึ่ง คุณภาพของสังคมที่ดีมากกว่านั้นเป็นส่วนของกิจกรรมทางสังคมอื่นๆ เช่น ศาสนา องค์กรสาธารณะ จิตอาสา ชมรม ที่จะรณรงค์และเชิญชวนให้ทำดี อีกทั้งการบังคับใช้กฎหมายตามตัวอักษรย่อมมีปัญหาว่าไม่ตรงกับความจริง (กฎหมายลิขสิทธิ์ที่ไปจับคนขายซีดีเก่า) ทำให้คนไม่เชื่อกฎหมายและมองว่ากฎหมายข่มเหงลิดรอนสิทธิประชาชน
จุดนี้จะทำให้คนไม่เชื่อระบบรัฐสภา และศาลและนำไปสู่การร้องเรียนเชิงบริหาร อำนาจจะวิ่งไปที่ฝ่ายบริหารซึ่งก็ทำให้เกิดการรวบอำนาจเชิงระบบในที่สุด
เผด็จการแปลมาจาก totalitary คืออำนาจเด็ดขาด ตัวอย่างเช่น ระบบกษัตริย์, ระบบรัฐขุนนาง Feudal , รัฐทรราชย์ tyrancy, ช่วงศึกสงคราม, รัฐสภาเดียว, และอีกหลายๆ อย่างล้วนเป็น totalitary เช่นกัน สำหรับคอมมิวนิสต์นั้นหลักปกครองของเขาคือ social democracy ประชาธิปไตยสังคม ดังนั้น 2 เรื่องนี้ต่างกันครับ ไม่อยู่ในระนาบคิดเดียวกัน คือเรื่องของการใช้อำนาจ กับ เรื่องการได้มาซึ่งอำนวจ
คำถามสำคัญในสมัยก่อนคือ how to live well ซึ่งคำตอบหนึ่งก็คือต้องอยู่ในสังคมที่ดี ทำให้เกิดการคิดว่าสังคมที่ดีคืออะไร นำไปสู่ปรัชญาการปกครอง politics โดยต่อมาได้มีแนวคิด 2 ด้านที่สำคัญ คือ การได้มาซึ่งอำนาจปกครอง กับ การใช้อำนาจปกครอง
ซึ่งต่อมา มาคลิวาลลิ ก็ได้ชี้ว่าการปกครองจะดีให้เลือกผู้นำที่ดีมาเป็นเจ้าครองนคร Prince, 1532 เพื่อให้เขาใช้อำนาจอย่างเต็มที่ แต่ Prince จะต้องกำจัดผู้ที่เป็นนั่งร้านที่ส่งเขาขึ้นมาออกไป เพราะคนพวกนี้แหละที่จะมาทวงบุญคุณและคอร์รัปชั่น ต่อมา โทมัส ฮอบส์ ,1651 ได้ชี้ว่า เราต้องมอบอำนาจปกครองให้แก่ผู้นำ ซึ่งจะมีอำนาจเต็มทำอะไรก็ได้ แต่ผู้นำจะต้องทำ social contract คือสัญญาประชาคม ว่าจะทำอะไรให้สังคมได้ หลังจากให้อำนาจแล้ว ผู้นำก็จะเหมือนเจ้าทะเล leviathan ที่ทำอะไรก็ได้ ใครๆ ก็ต้องกลัว นี่คือจุดเริ่มของแนวคิด totalitarianism อำนาจเบ็ดเสร็จ
ประชาธิปไตยได้รับการพูดถึงก็คือปฏิวัติฝรั่งเศส 1789 โดยเอาแนวคิดของมองเตสกิเออ ที่ให้แบ่งอำนาจเป็น 3 ฝ่าย เพื่อสร้างสมดุล 3 เส้า แล้วให้เลือกผู้นำฝ่ายบริหารจากประชาชน แต่แล้วก็มีการสถาปนาระบบสาธารณรัฐ ประธานาธิบดีก็คุมอำนาจเบ็ดเสร็จชี้นำสังคมมาก มาร์กจึงมองว่าที่เป็นเช่นนั้นเพราะทุนเอกชนเข้ามามีบทบาท ทำให้สังคมมุ่งไปผิดทาง สังคมจะต้องมีแบบแผนที่ถูกต้องแล้วให้ทุนขับเคลื่อนไป ดังนั้นการกำหนดนโยบายของรัฐจะต้องไม่อิงไปตามทุน เกิดเป็น social democracy
ดังนั้น เสรีนิยมประชาธิปไตยกับสังคมนิยมประชาธิปไตยจึงเถียงกันที่ว่าใครมีสิทธิออกนโยบายสังคม (สัญญาประชาคม) เสรีนิยมเห็นว่าต้องฟังประชาชน(ผู้แทน) แล้วออกนโยบายตามที่ประชาชนต้องการ สังคมนิยมบอกว่าต้องวางแผนแล้วมุ่งเป้า ให้ประชาชนแต่ละคนมาออกเสียงอย่างไรก็ผิดทิศผิดทาง ต้องมีนักวิชาการปกครองชี้นำสิ่งที่จำเป็นของสังคม
ที่เล่ามาทั้งหมด คือ วิธีการใช้อำนา