พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบิดาแห่งการค้าไทย

วันอังคารที่ 25 สิงหาคม 2020 เวลา 13:38 น. ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท บทความ - สังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์
พิมพ์
20 มิถุนายน 2369
รัฐบาลอังกฤษประสงค์ขอเปิดสัมพันธไมตรีทางการค้ากับรัตนโกสินทร์และขอความสะดวกในการค้าได้โดยเสรี
"สนธิสัญญาเบอร์นี"
คือ สนธิสัญญาทางพระราชไมตรีและการพาณิชย์ฉบับแรกที่กรุงรัตนโกสินทร์ทำกับประเทศตะวันตก ด้วยพระอัจฉริยะภาพในการเจรจาข้อตกลงในสัญญาต่างๆของล้นเกล้ารัชกาลที่ 3 ทำให้นายเฮนรี่ เบอร์นี ถูกตำหนิอย่างมาก ว่าทำให้สยามได้เปรียบในเชิงการเมืองเเละการค้าหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้คนอังกฤษใช้กฏหมายของสยาม
อังกฤษรู้สึกเสียหน้าเป็นอย่างมากจากการที่พวกเค้าไม่ได้ผลประโยชน์อันใดเท่าที่ควรจากการทำสนธิสัญญากับสยามในครั้งนี้ เหตุใดนายเบอร์นี ถึงมาเสียเชิงการค้าการเจรจาให้เเก่คนบ้านป่าเมืองเถื่อนเหล่านี้
ทางอังกฤษมีความพยายามส่งฑูตเข้ามาเจรจาเพื่อเเก้ไขสนธิสัญญาอีกครั้ง เเต่ทางรัฐบาลสยามปฏิเสธกลับไปทุกประการจนทำให้ฑูตอังกฤษข่มโทสะไว้ไม่ไหวบอกว่าจะกลับไปรายงานเรื่องนี้เเก่รัฐบาลของตน
"พวกเค้ารอเวลาที่จะกลับมาเอาคืน"
2 เมษายน 2394 ณ พระบรมมหาราชวัง
ช่วงเวลาประชวรหนักก่อนสวรรคตของสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระราชกระเเสรับสั่งเเก่บรรดาเหล่าขุนนางเเละข้าราชบริพาร
"การศึกสงครามข้างญวนข้างพม่าก็เห็นจะไม่มีแล้ว จะมีอยู่ก็แต่ข้างพวกฝรั่ง ให้ระวังให้ดี อย่าให้เสียทีแก่เขาได้ การงานสิ่งใดของเขาที่คิด ควรจะเรียนเอาไว้ก็ให้เอาอย่างเขา แต่อย่าให้นับถือเลื่อมใสไปทีเดียว"
เงิน 4 หมื่นชั่ง ถุงเเดงนี้ คือกำไรที่เราเเต่งสำเภาไปค้าขายกับทางจีนมาได้ ขอให้เเยกออกมา 1 หมื่นชั่ง ไว้สำหรับปฏิสังขรณ์ ทำนุบำรุงวัดวาอาราม ทั่วราชอาณาจักร ตามที่เราได้ตั้งใจไว้ เเลเงิน 3 หมื่นชั่งที่เหลือให้เก็บรักษาไว้ให้ดี
" เอาไว้ไถ่บ้านไถ่เมือง"
สายพระเนตรทอดยาวไปไกลถึงอนาคตที่จะต้องเกิดขึ้นกับเเผ่นดินสยามอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ คือการรุกรานของพวกล่าอาณานิคมตะวันตก สงครามในคราวนี้ไม่ใช่สงครามเเบบเดิมที่เราชนชาวสยามคุ้นเคยอีกต่อไป สงครามในรูปเเบบใหม่นั้นคือมาในลักษณะ"สนธิสัญญาพร้อมเรือปืน" หากเจรจาไม่สำเร็จก็ให้ใช้กำลังรบที่เหนือกว่าของเรือปืนเข้ายึดซะ
“การแผ่นดินต่อไปข้างหน้าไม่เห็นผู้ใดจะรักษาแผ่นดินได้" ที่สติปัญญาพอจะรักษาแผ่นดินได้อยู่ก็เห็นแต่ท่านฟ้าใหญ่คนเดียว...”
หลังจากสิ้นกระเเสรับสั่งพระองค์ได้ทรงเสด็จสวรรคตอย่างสงบ ในขณะพระชนมายุ 64 พรรษา
พ.ศ.2398
4 ปีต่อมา ในเเผ่นดินสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อังกฤษได้กลับมาอีกครั้งพร้อมนักการฑูตท่านใหม่ที่มีความเฉลียวฉลาดหลักเเหลมในเชิงการค้าการเมืองเเละการฑูตอย่างหาตัวจับยาก ท่านผู้นี้ได้รับอำนาจเต็มถือตราพระราชสาส์นจากพระราชินีวิกเตอเรียเเห่งอังกฤษให้มาเจรจาความเมืองกับสยามพร้อมเรือรบหนึ่งลำ บุคคลผู้ที่ทำให้หน้าประวัติศาสตร์ทางการเมืองการค้าเเละการฑูตของสยามต้องเปลี่ยนเเปลงไปตลอดกาล
"เซอร์ จอห์น เบาว์ริ่ง"................
Cr Thai Historian