๒๓ หลักการทรงงาน ในหลวง รัชกาลที่๙
๑.
ศึกษาข้อมูลอย่างเป็นระบบ การที่จะพระราชทานโครงการใดโครงการหนึ่ง
จะทรงศึกษาข้อมูลรายละเอียดอย่างเป็นระบบ ทั้งจากข้อมูลเบื้องต้นจากเอกสาร แผนที่
สอบถามจากเจ้าหน้าที่นักวิชาการและราษฎรในพื้นที่ ให้ได้รายละเอียดที่ถูกต้อง
เพื่อที่ จะพระราชทานความช่วยเหลือได้อย่างถูกต้อง และรวดเร็ว
ตรงตามความต้องการของประชาชน
๒.
ระเบิดจากข้างใน พระองค์ทรงมุ่งเน้นเรื่องการพัฒนาคน ทรงตรัสว่า “ต้องระเบิดจากข้างใน” หมายความว่า ต้องสร้างความ เข้มแข็งให้คนในชุมชนที่เราเข้าไปพัฒนาให้มีสภาพพร้อมที่จะรับการพัฒนาเสียก่อน
แล้วจึงออกมาสู่สังคมภายนอก
มิใช่การนำเอาความเจริญหรือบุคคลจากสังคมภายนอกเข้าไปหาชุมชนหมู่บ้าน
ที่ยังไม่ทันได้มีโอกาสได้เตรียมตัว หรือตั้งตัว
๓.
แก้ปัญหาที่จุดเล็ก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเยี่ยม
ไปด้วยพระอัจฉริยภาพในการแก้ไขปัญหา ทรงมองปัญหาในภาพ รวม (Macro)
ก่อนเสมอแต่การแก้ปัญหาของพระองค์จะเริ่มจากจุดเล็กๆ
(Micro) คือ
การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่คนมักจะ มองข้าม
๔. ทำตามลำดับขั้น ในการทรงงานของพระองค์จะทรงเริ่มต้น
จากสิ่งที่จำเป็นของประชาชนที่สุดก่อน ได้แก่ สาธารณสุข
เมื่อมีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงแล้วก็จะสามารถทำประโยชน์ด้านอื่นๆ ต่อไปได้
จากนั้นจะเป็นเรื่องสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานและสิ่งจำเป็นในการประกอบอาชีพ อาทิ ถนน
แหล่งน้ำ เพื่อการเกษตร การอุปโภค บริโภค ที่เอื้อประโยชน์ต่อประชาชนโดยไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ
รวมถึงการให้ความรู้ทางวิชาการและเทคโนโลยีที่เรียบง่ายเน้นการปรับใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ราษฎรสามารถนำไปปฏิบัติได้และเกิดประโยชน์สูงสุด
๕. ภูมิสังคม การพัฒนาใดๆ
ต้องคำนึงถึงสภาพภูมิประเทศของบริเวณนั้นว่าเป็นอย่างไร และสังคมวิทยาเกี่ยวกับนิสัยใจคอของคนตลอดจนวัฒนธรรมประเพณีในแต่ละท้องถิ่นที่มีความแตกต่างกัน
๖. องค์รวม ทรงมีวิธีคิดอย่างองค์รวม (Holistic)
หรือมองอย่าง
ครบวงจรในการที่จะพระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับโครงการหนึ่งนั้นจะทรงมองเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นและแนวทางแก้ไขอย่างเชื่อมโยง
ดังเช่น กรณีของ “ทฤษฎีใหม่” ที่พระราชทานให้แก่ปวงชนชาวไทยเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพแนวทางหนึ่งที่พระองค์ทรงมองอย่างองค์รวม
ตั้งแต่การถือครองที่ดิน โดยเฉลี่ยของประชาชนคนไทยประมาณ ๑๐-๑๕ ไร่
การบริหารจัดการที่ดินและแหล่งน้ำอันเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญในการประกอบอาชีพ
เมื่อมีน้ำในการเกษตรแล้วจะส่งผลให้ผลผลิตดีขึ้น
และหากมีผลผลิตมากขึ้นเกษตรกรต้องรู้จักวิธีการจัดการและการตลาด
รวมถึงการรวมกลุ่มรวมพลังชุมชนให้มีความเข้มแข็ง
เพื่อพร้อมที่จะออกสู่การเปลี่ยนแปลงของสังคมภายนอกได้อย่างครบวงจรนั้น คือ
ทฤษฎีใหม่ ขั้นที่ ๑, ๒ และ ๓
๗. ไม่ติดตำรา การพัฒนาตามแนวพระราชดาริ
ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
มีลักษณะของการพัฒนาที่อนุโลมและรอมชอมกับสภาพธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและสภาพของสังคมจิตวิทยาแห่งชุมชน
“ไม่ติดตำรา” ไม่ผูกมัดติดกับวิชาการและเทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสมกับสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่แท้จริงของคนไทย
๘. ประหยัด เรียบง่าย ได้ประโยชน์สูงสุด ในเรื่องของความ ประหยัดนี้
ประชาชนไทยทราบกันดีว่าเรื่องส่วนพระองค์ก็ทรงประหยัดมากดังที่เราเคยเห็นว่า
หลอดยาสีพระทนต์นั้นทรงใช้อย่างคุ้มค่าอย่างไร
หรือฉลองพระองค์แต่ละองค์ทรงใช้อยู่เป็นเวลานาน
ขณะเดียวกันการพัฒนาและช่วยเหลือราษฎรทรงใช้หลัก
ในการแก้ปัญหาด้วยความเรียบง่ายและประหยัด ราษฎรสามารถทำเองได้
หาได้ในท้องถิ่นและประยุกต์ใช้สิ่งที่มีอยู่ในภูมิภาคนั้นๆ
มาแก้ไขปัญหาโดยไม่ต้องลงทุนสูงหรือใช้เทคโนโลยีที่ไม่ยุ่งยากนัก
๙.
ทำให้ง่าย Simplicity ด้วยพระอัจฉริยภาพและพระปรีชาสามารถในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทำให้การคิดค้นดัดแปลง ปรับปรุงและแก้ไขงานการพัฒนาประเทศตามแนวพระราชดำริ
ดาเนินการไปได้โดยง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน และที่สำคัญยิ่งคือ
สอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่และระบบนิเวศโดยส่วนรวมตลอดจนสภาพสังคมของชุมชนนั้นๆ
ทรงโปรดที่จะทำสิ่งที่ยากให้กลายเป็นง่าย นำสิ่งที่สลับซับซ้อนให้เข้าใจง่าย
อันเป็นการแก้ปัญหาด้วยการใช้กฎธรรมชาติเป็นแนวทางนั่นเอง
แต่การทำสิ่งที่ยากให้กลายเป็นง่ายนั้นเป็นของยาก ฉะนั้นคำว่า “ทำให้ง่าย”หรือ Simplicity
จึงเป็นหลักคิดสำคัญที่สุดของการพัฒนาประเทศในรูปแบบของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
๑๐.
การมีส่วนร่วม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงเป็นนักประชาธิปไตย จึงทรงนำ “ประชาพิจารณ์” มาใช้ในการบริหาร
เพื่อเปิดโอกาสให้สาธารณชน
ประชาชน หรือเจ้าหน้าที่ทุกระดับได้มาร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่จะต้องคำนึงถึงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่จะต้องคำนึงถึงความคิดเห็นของประชาชนหรือต้องการของสาธารณชน
๑๑. ประโยชน์ส่วนรวม การปฏิบัติในพระราชกรณียกิจ
และการพระราชทานพระราชดำริในการพัฒนาและช่วยเหลือพสกนิกรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงระลึกถึงส่วนรวมเป็นสำคัญ
๑๒. บริการรวมที่จุดเดียว One Stop Services การบริการรวมที่จุดเดียว
เป็นรูปแบบการบริการแบบเบ็ดเสร็จที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในระบบบริหารราชการแผ่นดินของประเทศไทย
โดยทรงให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
เป็นต้นแบบในการบริการเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว
เพื่อประโยชน์ที่จะมาขอใช้บริการจะประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย
โดยจะมีหน่วยงานราชการต่างๆ มาร่วมดำเนินการและให้บริการประชาชน ณ ที่แห่งเดียว
๑๓. ทรงใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ ทรงเข้าใจถึงธรรมชาติและ
ต้องการให้ประชาชนใกล้ชิดกับธรรมชาติ ทรงมองอย่างละเอียดถึงปัญหาธรรมชาติ
หากเราต้องการแก้ไขธรรมชาติ จะต้องใช้ธรรมชาติเข้าช่วยเหลือ อาทิ
การแก้ไขปัญหาป่าเสื่อมโทรม ได้พระราชทานพระราชดำริ การปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก
ปล่อยให้ธรรมชาติช่วยในการฟื้นฟูธรรมชาติ หรือแม้กระทั่งการปลูกป่า ๓ อย่าง
ประโยชน์ ๔ อย่าง
๑๔.
ใช้อธรรมปราบอธรรม ทรงนำความจริง ในเรื่องความเป็นไป
แห่งธรรมชาติและกฎเกณฑ์ของธรรมชาติมาเป็นหลักการ
แนวปฏิบัติที่สำคัญในการแก้ปัญหาและปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสภาวะที่ไม่ปกติเข้าสู่ระบบที่เป็นปกติ
เช่น การทำน้ำดี ขับไล่น้ำเสีย หรือเจือจางน้ำเสียให้กลับเป็นน้ำดี
ตามจังหวะการขึ้นลงตามธรรมชาติของน้ำ การบำบัดน้ำเน่าเสียโดยใช้ผักตบชวา
ซึ่งมีตามธรรมชาติให้ดูดซึมสิ่งสกปรกปนเปื้อนในน้ำ ดังพระราชดำรัสความว่า “ใช้อธรรมปราบอธรรม”
๑๕. ปลูกป่าในใจคน เป็นการปลูกป่าลงบนแผ่นดินด้วยความ ต้องการอยู่ของมนุษย์
ทำให้ต้องการบริโภคและใช้ทรัพยากร ธรรมชาติอย่างสิ้นเปลือง
เพื่อประโยชน์ของตนเองและสร้างความ เสียหายให้แก่สิ่งแวดล้อมไม่รู้จักพอ
ปัญหาความไม่สมดุลจึงบังเกิด ขึ้น
ดังนั้นในการฟื้นฟูธรรมชาติให้กลับคืนมาจะต้องปลูกจิตสำนึกในการรักผืนป่าให้แก่คนเสียก่อน
๑๖. ขาดทุนคือ กำไร“ขาดทุน
คือ กำไร Our loss is gain การเสียคือ
การได้ประเทศชาติก็จะก้าวหน้าและการคนอยู่ดีมีสุขนั้น
เป็นการนับที่เน้นมูลค่าเงินไม่ได้” จากพระราชดำรัส ดังกล่าว คือ
หลักการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่มีต่อ พสกนิกรไทย “การให้” และ “การเสียสละ” เป็นการกระทำอันมีผล
เป็นกำไร คือความอยู่ดีมีสุขของราษฎร ซึ่งสามารถสะท้อนให้เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนได้
๑๗.
การพึ่งพาตนเอง การพัฒนาตามแนวพระราชดาริ เพื่อการแก้ไขปัญหาในเบื้องต้นด้วยการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
เพื่อให้มีความแข็งแรงพอที่จะดำรงชีวิตได้ต่อไป แล้วขั้นตอนต่อไปก็คือ
การพัฒนาให้ประชาชนสามารถอยู่ในสังคมได้ตามสภาพแวดล้อมและสามารถ “พึ่งตนเองได้” ในที่สุด
๑๘.
พออยู่พอกิน การพัฒนาเพื่อให้พสกนิกรทั้งหลายประสบความสุขสมบูรณ์ในชีวิตได้เริ่มจากการเสด็จฯ
ไปเยี่ยมประชาชนทุกหมู่เหล่าในทุกภูมิภาคของประเทศไทย
ได้ทอดพระเนตรความเป็นอยู่ของราษฎรด้วยพระองค์เอง
จึงทรงสามารถเข้าพระราชหฤทัยในสภาพปัญหาได้อย่างลึกซึ้ง ในการพัฒนานั้น หากมองใน
ภาพรวมของประเทศมิใช่งานเล็กน้อย แต่ต้องใช้ความคิดและกาลังของคนทั้งชาติจึงจะบรรลุผลสาเร็จ
ด้วยพระปรีชาญาณในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทำให้คนทั้งหลายได้ประจักษ์ว่าแนวพระราชดำริในพระองค์นั้น
“เรียบง่ายปฏิบัติได้ผล” เป็นที่ยอมรับโดยทั่วกัน
๑๙. เศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิต
แก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดจนกว่า 30 ปี
ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงย้ำแนวทางการแก้ไข
เพื่อให้รอดพ้นและสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์
และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ดังปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ได้พระราชทานไว้ดังนี้
๒๐. ความซื่อสัตย์สุจริต จริงใจต่อกัน ”คนที่ไม่มีความสุจริต
คนที่ไม่มีความมั่นคง
ชอบแต่มักง่ายไม่มีวันจะสร้างสรรค์ประโยชน์ส่วนรวมที่สำคัญอันใดได้
ผู้ที่มีความสุจริตและ ความมุ่งมั่นเท่านั้น
จึงจะทำงานสำคัญยิ่งใหญ่ที่เป็นคุณเป็น ประโยชน์แท้จริงที่สำเร็จ” พระราชดำรัส เมื่อวันที่ ๑๒
กรกฎาคม ๒๕๒๒
”ผู้ที่มีความสุจริตและบริสุทธิ์ใจ
แม้จะมีความรู้น้อยก็ย่อมทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมได้
มากกว่าผู้ที่มีความรู้มากแต่ไม่มีความสุจริต ไม่มีความบริสุทธิ์ใจ” พระราชดำรัส
เมื่อวันที่ 18
มีนาคม ๒๕๓๓
“ผู้ว่า CEO ต้องเป็นคนที่สุจริต
ทุจริตไม่ได้ ถ้าทุจริตแม้แต่นิดเดียวก็ขอแช่งให้มีอันเป็นไป
ข้าราชการหรือประชาชนที่มีการทุจริต ถ้ามีทุจริตแล้วบ้านเมืองพัง
ที่เมืองไทยพังมาเพราะมีการทุจริต” พระราชดำรัส เมื่อวันที่ ๓
ตุลาคม ๒๕๔๖
๒๑.
ทำงานอย่างมีความสุข พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง พระเกษมสำราญ
ทรงมีความสุขทุกคราที่จะช่วยเหลือประชาชน ซึ่งเคยรับสั่งครั้งหนึ่งว่า “ทำงานกับฉัน
ฉันไม่มีอะไรจะให้ นอกจากการมีความสุขร่วมกัน ในการทำประโยชน์ให้กับผู้อื่น”
๒๒. ความเพียร : พระมหาชนก จากพระราชนิพนธ์
พระ มหาชนก เป็นพระราชนิพนธ์ที่ทรงใช้เวลาค่อนข้างนาน ในการคิด
ประดิษฐ์ด้วยการทำให้เข้าใจง่าย ปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสภาพสังคม ปัจจุบัน
อีกทั้งภาพประกอบ และคติธรรมต่างๆ ได้ส่งเสริมให้หนังสือ
เล่มนี้มีความศักดิ์สิทธิ์ ที่หากคนไทยน้อมรับมาศึกษาวิเคราะห์และปฏิบัติตามรอยพระมหาชนก
กษัตริย์ผู้เพียรพยายาม แม้จะไม่เห็นฝั่ง ก็ยังว่ายทำต่อไป
เพราะถ้าไม่เพียรว่ายก็จะตกเป็นอาหารปูปลา
และไม่ได้พบกับเทวดาที่มาช่วยเหลือมิให้จมน้ำ เช่นเดียวกับ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงริเริ่มทำโครงการต่างๆ ในระยะ แรก
ที่ไม่มีความพร้อมในการทางานมากนัก และทรงใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ทั้งสิ้น
แต่พระองค์ก็มิได้ท้อพระราชหฤทัย
มุ่งมั่นพัฒนาบ้านเมืองให้บังเกิดความร่มเย็นเป็นสุข
๒๓. รู้
รัก สามัคคี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
มีพระราชดำรัสในเรื่อง “รู้ รัก
สามัคคี” มาอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งเป็นสามคำ ที่มีค่าและมีความหมายลึกซึ้ง
พร้อมทั้งสามารถปรับใช้ได้ทุกยุคทุกสมัย
รู้ :
การที่เราจะลงมือทำสิ่งใดนั้น จะต้องรู้เสียก่อน รู้ถึงปัจจัยทั้งหมด รู้ถึงปัญหา
และรู้ถึงวิธีการแก้ปัญหา
รัก : คือความรัก เมื่อเรารู้ครบด้วยกระบวนการความแล้ว
จะต้องมีความรักการพิจารณาที่จะเข้าไปลงมือปฏิบัติแก้ไขปัญหานั้นๆ
สามัคคี : การที่จะลงมือปฏิบัตินั้น
ควรคำนึงเสมอว่าเราจะทำงานคนเดียวไม่ได้
ต้องทำงานร่วมมือร่วมใจเป็นองค์กรเป็นหมู่คณะ จึงจะมีพลังเข้าไปแก้ปัญหาให้ลุล่วงไปได้ด้วยดี