รายงานการประชุม ครั้งที่ 1/2558

ประชุมใหญ่คณะกรรมการผู้ก่อตั้งมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.)

วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม 2558 

เวลา 15.00-17.00 น.

ณ มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ


รายชื่อกรรมการผู้เข้าร่วมประชุม

1.ดร.อนุชา เล็กสกุลดิลก                                   รองประธานกรรมการ

2.น.สพ.สมชัย วิเศษมงคลชัย                          รองประธานกรรมการ

3.นายธวัชชัย แสงห้าว                                      รองประธานกรรมการ

4.ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท                                  กรรมการและเลขาธิการ

5.รศ.ดร.อัศนีย์ ก่อตระกูล                                 กรรมการและกรรมการที่ปรึกษา

6.นางโสทรินทร์ โชคคติวัฒน์                         กรรมการ

7.นายสามารถ ดวงวิจิตรกุล                              กรรมการ

8.นายกรพชร สุขเสริม                                      กรรมการ

9.นายเกรียงไกร ภูวณิชย์                                   กรรมการ

10.ผศ.ชัยธนัตถ์กร ภวิศพิริยะกฤติ                  กรรมการ

รายชื่อกรรมการผู้ลาประชุมแต่มอบอำนาจให้ผู้แทนเข้าร่วมประชุม

1.ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์                                ประธานกรรมการ มอบอำนาจให้นายประยุทธ์ จิตต์นุกุลศิริ

2.นายวิสูตร เทศสมบูรณ์                                  กรรมการ มอบอำนาจให้น.ส.จิตรลดา ลียากาศ

3.นายทำนอง ดาศรี                                           กรรมการ มอบอำนาจให้นายสมชาย แย้มเดช

รายชื่อกรรมการผู้ลาประชุม

1. นายกิตติ คัมภีระ                                            รองประธานกรรมการ ลาป่วย

2. ดร.บันลือศักดิ์ ปุสสะรังสี                            กรรมการและเหรัญญิก ลากิจ

3. นายฉัตรชัย มงคลวิเศษไกวัล                      กรรมการและกรรมการที่ปรึกษา ลากิจ

4. นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล                    กรรมการและกรรมการที่ปรึกษา ลากิจ

5. ดร.วีรชัย วงศ์บุญสิน                                     กรรมการและกรรมการที่ปรึกษา ลากิจ

6. นายสยาม เศรษฐบุตร                                   กรรมการ ลากิจเนื่องจากไปต่างจังหวัด

7. นายพัฒนศักย์ ฮุ่นตระกูล                             กรรมการ ลากิจเนื่องจากไปต่างจังหวัดกับ วปอ.58

8. นายชนินท์ ธำรงวิทวัสพงค์                         กรรมการ ลากิจ

9. นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์                                 กรรมการ ลากิจ เนื่องจากติดภารกิจการเจรจาระหว่างไทยกับกัมพูชา


วาระที่ 1 เรื่องที่แจ้งเพื่อทราบ

1)                                    เนื่องจากประธานติดภารกิจ จึงได้มอบหมายให้ ดร.อนุชา เล็กสกุลดิลก รองประธานกรรมการเป็นประธานที่ประชุมเปิดประชุม

2)            ผลการดำเนินงานในปี 2557

                ดร.อนุชา เล็กสกุลดิลก กล่าวว่า เมื่อสิ้นปี 2557 มีผลการดำเนินงานที่ยังไม่ค่อยคืบหน้า สรุปได้ดังนี้

- รายงานส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับความเป็นมา จำนวนสมาชิกที่ยังไม่ได้เปิดกว้างอย่างเต็มที่ จากแผนที่เสนอปีที่แล้วที่ไปช่วยเหลือผู้ประกอบการต่างๆ แต่ยังมีปัญหาเรื่องการหารายได้

- การแต่งตั้งกรรมการบริหารมูลนิธิ ได้มีการหารือเกี่ยวกับการตั้งกรรมการบริหารแล้วหลายครั้ง กรรมบริหารจะเป็นกรรมการย่อยมีอำนาจรองลงไปจากกรรมการก่อตั้ง แต่ยังไม่ได้ตั้งอย่างเป็นรูปธรรมเพราะยังติดต่อกันไม่ได้ บางความเห็นได้มีการเสนอให้มีที่ตั้งสำนักงาน มีพนักงานประจำ       


- รายงานสถานะการเงิน สิ้นปี 2557   มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์มีเงินตั้งต้น 230,000 บาท แต่ปีที่แล้วไม่มีการใช้จ่ายทางการเงิน ส่วน ในเรื่องกรรมการ เหรัญญิก ทาง ศบม.จะหาเหรัญญิกใหม่ ตอนนี้ ดร.บันลือศักดิ์ ปุสสะรังษีเป็นเหรัญญิกอยู่

- แผนการดำเนินงานปี 2558 ดร.อนุชา เล็กสกุลดิลกกล่าวว่า น.สพ.สมชัย วิเศษมงคลชัย จะจัดทัวร์ไปพม่า ลักษณะคล้ายเป็นโครงการนำร่องที่จะสามารถมีรายได้ ส่วนนายเกรียงไกร ภูวณิชย์มีโปรแกรมพะเยาปีที่แล้ว และพยายามเชิญคณะกรรมการ ศบม.เข้าไปมีส่วนร่วม

3) นายเกรียงไกร ภูวณิชย์ กรรมการ ได้นำเสนอข้อมูลและแจ้งว่า ขณะนี้ ได้มีส่วนร่วมใน  การ  ดำเนินงานด้าน IT ที่ ศบม. สามารถรับมาดำเนินการต่อได้ หลายเรื่อง คือ

- ได้มีการผลักดันให้ partner ของ IBM จัดทำ Platform ด้านการท่องเที่ยว ASEAN ซึ่ง ศบม. น่าจะมีโปรแกรมการพัฒนา Attribute เพื่อยกระดับความสามารถของของผู้ให้บริการด้านการท่องเที่ยว  โดยพิจารณาจากพื้นฐานที่ว่า คนในสาขาการท่องเที่ยว ควรมีลักษณะอย่างไร

- กระทรวงพาณิชย์ มีนโยบายและแผนงานที่จะให้ประเทศไทยเป็นเมืองบริการที่มีคุณภาพ (Export and Service๗ โดยได้ให้ความสำคัญด้านการท่องเที่ยวมากขึ้นกว่าที่ผ่านมา โดยจะให้เป็น KPO for Tourism ขอให้มีการติดตามและติดต่อหาข้อมูลจากกระทรวงต่อไป


                   มติที่ประชุม : รับทราบ และขอให้คุณเกรียงไกรกำหนดวัน เวลา และสถานที่ เพื่อเชิญคณะกรรมการที่สนใจประชุมหารือในเรื่องที่คุณเกรียงไกรนำเสนอในวันนี้อีกครั้งหนึ่ง

วาระที่ 2 รับรองรายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการผู้ก่อตั้งมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ครั้งที่ 1/2557

                        ดร.อนุชา เล็กสกุลดิลก แจ้งว่า รายงานการประชุมนี้ได้แจ้งเวียนให้กรรมการพิจารณา ก่อนนำส่งนายทะเบียนแล้ว  อย่างไรก็ตาม ตามระเบียบวาระ จึงขอให้กรรมการพิจารณาอีกครั้ง

                   มติ : กรรมการพิจารณาแล้ว มีมติรับรองรายงานการประชุมครั้งที่ 1/2557 โดยไม่มีแก้ไข

วาระที่ 3 รายงานผลการดำเนินงานในปี 2558

                3.1 รายงานผลด้านการบริหารมูลนิธิ

                ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท รายงานผลการดำเนินงานในปี 2558 ว่า จากการประชุมครั้งที่แล้วเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2557 ทำให้ทราบว่า การไปประชุมเองหรือตั้งคณะกรรมการกลุ่มย่อยไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะมีมติเห็นชอบในการดำเนินการตอนที่ประชุม แต่หลังจากประชุม ไม่มีการดำเนินการต่อ จึงต้องเลิกการตั้งคณะกรรมการกลุ่มย่อย แต่ใช้แผนดำเนินการเชิงประชาสัมพันธ์มากกว่า โดยคณะกรรมการก่อตั้งพยายามไปสร้างความคิดและเผยแพร่ความเป็นมา เป้าหมายและกิจกรรม ศบม.สู่สาธารณชน แล้วเก็บรายชื่อผู้ที่สนใจมาเป็นบันทึก หลังจากนั้นก็หารือกันเองในกลุ่มย่อยเพื่อทำให้เกิดเป็นรูปธรรม ในกลุ่มดังกล่าวประกอบด้วย ดร.อนุชา เล็กสกุลดิลก น.สพ.สมชัย วิเศษมงคลชัย นายธวัชชัย แสงห้าว นายสามารถ ดวงวิจิตรกุลและม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท ล่าสุดได้หารือกับศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และในที่สุด ก็จะต้องมีการเปิดตัวแน่นอนในปี 2559 และศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้ส่งนายประยุทธ์ จิตต์นุกุลศิริ มาช่วย หลังจากนั้น ก็ได้วางเป้าไว้ 3 เป้าคือการทำวิจัยเพื่อหาความต้องการคนของผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมและท่องเที่ยว แต่ตอนนี้เน้นโรงแรมก่อนเพราะมีตัวหลักอยู่

                น.สพ.สมชัย วิเศษมงคลชัย กล่าวว่า จากที่ ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท ได้นำเสนอมาทั้งหมด มีการตั้งกรรมการ มีการหาบุคลากรมาประจำ ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ จึงเห็นว่าควรจะทำแบบ Project-based หรือ activity-based คือมีโครงการเข้ามาซึ่งมีความชัดเจนในการหางบประมาณ ตัวนี้เป็นตัวขับเคลื่อน และเป็นการตกผลึกแนวคิด ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท จึงเสนอการตั้งสถาบัน ส่วนนายธวัชชัย แสงห้าว ก็ทำวิจัยเกี่ยวกับความต้องการบุคลากรในยุคดิจิตอลว่าควรมีคุณสมบัติอย่างไร และเพื่อให้สอดคล้องกับเรื่องที่ตกลงคือต้องมีโครงการ และงบประมาณ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้เสนอที่จะหางบประมาณให้ได้ จึงเชิญนายประยุทธ์ จิตต์นุกุลศิริมาช่วยดำเนินโครงการ

ดร.อนุชา เล็กสกุลดิลก กล่าวว่า ปีที่แล้วมีแนวคิดว่า ถ้าในทีมสมาชิกสามารถหางานมาได้ ก็มีกระบวนการจัดการและจะแบ่งรายได้ให้มูลนิธิ เป็นวิธีการหารายได้ แต่แนวคิดนี้ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ โครงการวิจัยที่นายธวัชชัย แสงห้าวทำก็จะเป็นแบบจิตอาสาในเบื้องต้น คือคณะกรรมการ ศบม.ช่วยกันทำ แต่ถ้ามีงบสนับสนุน งานจะเร็วกว่า

3.2 การสร้างเครือข่าย

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท กล่าวว่า นอกจากงานเผยแพร่ ก็พยายามสร้างเครือข่าย และได้ไปร่วมงานกับองค์กรดังนี้

1.การรับจัดฝึกอบรมให้นักศึกษาและอาจารย์ของวิทยาลัยอินทรชัย โดยมีนายกิตติ คัมภีระ นายธวัชชัย แสงห้าวและม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุทเข้าไปเป็นวิทยากร ได้ทำในนาม ศบม.และโรงเรียน แต่ไม่ได้มีค่าตอบแทนให้ มีแต่ค่ารถให้วิทยากรเพียงเล็กน้อย นายกิตติ คัมภีระ นายธวัชชัย  แสงห้าวและม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุทเข้าไปเป็นวิทยากร ซึ่งได้มาคนละ3,000 บาท แต่นายกิตติ คัมภีระ มอบเงินส่วนของตนเองให้ เลขานุการเป็นค่าใช้จ่ายทดแทน การทำกิจกรรมอะไร ก็ออกเงินกันเอง ไม่ได้ใช้เงินศบม.


2.โครงการจีน ซึ่งเป็นโครงการที่ ศบม.เป็นเจ้าภาพร่วมในการประชุม ผลการประชุมที่ประสบความสำเร็จพอสมควร ทางคณะผู้ร่วมจัดเคยกล่าวว่าหลังจากจัดงานแล้วจะมอบให้ ศบม. 10,000 บาท แต่ก็ยังไม่ได้รับ

ดังนั้น ศบม.ยังไม่มีกิจกรรมที่ได้เงินมาทั้งสิ้น

น.สพ.สมชัย วิเศษมงคลชัยกล่าวว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ดีมากที่สมาคมความสัมพันธ์ไทย-จีนหูเป่ย น.สพ.สมชัย วิเศษมงคลชัยได้ไปร่วมงานเปิดตัวเส้นทางสายไหมทางทะเล น.สพ.สมชัย วิเศษมงคลชัยได้เสนอแนะว่าควรมีโครงการต่อเนื่องร่วมกับสมาคมความสัมพันธ์ไทย-จีนหูเป่ย ตอนนี้สมาคมนี้ต้องการองค์กรของไทยที่จะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของคนจีนที่จะมาดำเนินกิจกรรมด้านการค้า การลงทุน และได้ติดตามนิตยสารการค้าอาเซียน ทางสมาคมนายพินิจ จารุสมบัติเป็นนายกสมาคมความสัมพันธ์ไทย-จีนและหอการค้าไทย-จีนเป็นประธานสมาคม ควรจะไปวากรากฐานที่นี่เพราะมี Connection สูง และสมาคมนี้ยินดีเป็นกรรมการร่วมกับ ศบม. ทาง ศบม.ควรจะทำโครงการร่วมกับสมาคมนี้

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุทกล่าวว่า ทาง ศบม.สามารถไปใช้สำนักงานของสมาคมเป็นสถานที่ประชุมได้

น.สพ.สมชัย วิเศษมงคลชัย กล่าวว่า สมาคมนี้ต้องการองค์กรที่อยู่ในไทย เพราะต้องการสื่อและตัวประสานงานเชื่อมโยง องค์กรที่เป็นตัวเชื่อมที่ดีที่สุดคือองค์กรที่เป็นมูลนิธิหรือสมาคม จากประสบการณ์ทำงานร่วมกับคนจีน พบว่า คนจีนให้ความสำคัญเรื่องหน้าตา การต้อนรับอย่างสมเกียรติ สมาคมนี้นำคณะข้าราชการผู้เกี่ยวข้องกับการลงทุนมา จึงเป็นองค์กรที่ทรงอิทธิพล

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท กล่าวว่า สมาคมนี้มาประสานตรงกับ ศบม.เนื่องจากลูกพี่ลูกน้องของ ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุทเป็นเลขาของกรรมการสมาคมสามารถช่วยเหลือได้ และควรวางแผนการดำเนินงานต่อไปร่วมกับสมาคม และได้เสนอให้มีเจ้าภาพติดตามงานแต่ละเรื่อง

มติประชุม รับทราบ

วาระที่ 4 รายงานสถานะการเงิน ณ ปัจจุบัน

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท รายงานต่อที่ประชุมว่า เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2558 ได้ไปปรับสมุดบัญชีมียอดล่าสุดถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2558 คือ 233,177.88 บาท ซึ่งต้องรายงานยอดไปในเดือนมีนาคม ก็ต้องรอให้สิ้นสุดเดือนธันวาคมแล้วค่อยปรับสมุดบัญชีอีกครั้ง ก็คาดว่าจะมีดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 500 กว่าบาท ได้ดอกเบี้ยครึ่งปีประมาณ 576 บาท

มติประชุม รับทราบ

วาระที่ 5 พิจารณาแผนการดำเนินงานปี 2559

5.1 โครงการสำรวจวิจัยเพื่อกำหนดหลักสูตรการพัฒนาคนในช่วงของยุคดิจิตอล

                นายธวัชชัย แสงห้าว นำเสนอโครงการสำรวจวิจัยเพื่อกำหนดหลักสูตรการพัฒนาคนในช่วงของยุคดิจิตอลว่า

1.             โครงการนี้มีวัตถุประสงค์คือ การพัฒนา Product ของศบม.ในเรื่องหลักสูตรที่ไปพัฒนาคน ตอนนี้ สถาบันอื่นมีหลักสูตรพัฒนาคนค่อนข้างมาก ถ้า ศบม.ทำหลักสูตรทั่วไปก็เหมือนว่า ไม่แตกต่างจากที่อื่น ดังนั้นจึงควรทำวิจัยก่อนเพื่อให้ทราบว่าอีก 4-5 ปีข้างหน้า องค์กรต่างๆมีการเตรียมความพร้อมคนเข้าสู่ยุคดิจิตอลอย่างไร

2.             กลุ่มเป้าหมาย คือ กลุ่มองค์กรที่ ศบม.มี Connection และสามารถไปเข้าพบผู้บริหารได้

2.1      องค์กรขนาดใหญ่ ได้แก่

2.1.1                   SCG

2.1.2                   ปตท.

2.1.3                   CP

2.2      องค์กรขนาดกลาง ได้แก่ MK

2.3      องค์กรขนาดเล็ก

2.4      ระดับพนักงาน

3.             โจทย์วิจัย มีมุมมองอย่างไรในการพัฒนาคนในอีก 4-5 ปีข้างหน้า

4.             วิธีการดำเนินการ

4.1      สัมภาษณ์ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรขนาดใหญ่ องค์กรขนาดกลาง เพื่อเป็นข้อมูลในการทำหลักสูตรขึ้นมา หรืออีกนัยหนึ่งคือก็จะทำให้ทางองค์กรได้มีโอกาสรู้จักกับ ศบม.

4.2      มีการทำข้อมูลเชิงปริมาณด้วย มีข้อมูลคล้ายกับแบบสอบถามคนในองค์กร มีการทำสรุปประเมินผล มีการส่ง Feedback ให้องค์กรทราบ องค์กรก็จะได้ประโยชน์ด้วย ก็จะเห็นว่ามุมมองของคนในองค์กรเป็นอย่างไร

4.3      ศบม.ทำสรุปเป็นผลการวิจัยเผยแพร่ออกไปว่าในอีก 4-5 ปีข้างหน้าองค์กรขนาดใหญ่สนใจในเรื่องต่างๆ และทำหลักสูตรตอบโจทย์เพื่อเติมเต็มช่องว่างเตรียมความพร้อมของคน ศบม.ก็สามารถนำผลวิจัยนี้ไปเป็น Product เพื่อเสนอการพัฒนาให้กับกลุ่มเป้าหมายที่ได้ไปสัมภาษณ์ โดยเฉพาะองค์กรขนาดกลาง แต่ขนาดใหญ่ก็อาจจะไม่ได้ต้องการให้เข้าไปช่วยพัฒนาคนในองค์กร

5.             ความคืบหน้าในการดำเนินการ

โครงการนี้ก็มีการประชุมหารือกันหลายครั้ง มี ดร.อนุชา เล็กสกุลดิลก ม.ล.ชาญโชติ  ชมพูนุท มาร่วมประชุมและให้ข้อเสนอแนะว่าอาจจะต้องไปร่วมมือกับสถาบันการศึกษา ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้เสนอแนะให้ไปหารือกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถ้ามีสถาบันการศึกษามาร่วมมือด้วย จะมีความน่าเชื่อถือเพิ่มมากขึ้น

6.             ระยะเวลาดำเนินการ

โครงการวิจัยนี้จะใช้ระยะเวลาดำเนินการ 1 ไตรมาส คาดว่า จะเสร็จสิ้นภายในเดือนเมษายน 2559

                รศ.ดร.อัศนีย์ ก่อตระกูลได้ถามว่า เป็นหลักสูตรกี่ชั่วโมง

                นายธวัชชัย แสงห้าว ตอบว่า ยังไม่ได้กำหนดว่าเป็นหลักสูตรกี่ชั่วโมง โครงการนี้เป็นการสำรวจความต้องการในการฝึกอบรม

                ข้อเสนอแนะและความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการ

                ดร.อนุชา เล็กสกุลดิลก กล่าวว่า นายเกรียงไกร ภูวณิชย์ได้กล่าวถึงเรื่อง Competency และเรื่องของการพัฒนาคน ในทาง HR ทราบแล้วว่าเป็นยอดภูเขาน้ำแข็ง แต่อันที่จริงแล้วยังมีส่วนใต้ภูเขาน้ำแข็ง ที่ผ่านมา มีเน้นที่ความรู้แต่ไม่ได้พัฒนา Attribute ศบม.อาจจะพัฒนาโดยอาศัยฐานจากไอที การท่องเที่ยว แล้วไปพัฒนาคนที่อยู่ใต้ภูเขาน้ำแข็งเป็นเป้าหมายที่ได้หารือกันแล้วว่า รายละเอียดจะหารือกันในวาระต่อไป ส่วนในประเด็นที่จะนำมาเชื่อมโยงกับงานของนายธวัชชัย อาจะสำรวจองค์กรที่มีความหลากหลายแต่ยังไม่ได้เน้นภาคการท่องเที่ยว แต่ในนี้ก็จะมีประเด็นเรื่องของไอทีอยู่ โลกในปัจจุบันนี้มีการเปลี่ยนแปลงไปตาม Gen อาจจะนำข้อมูลไปลงรายละเอียดเวลาตั้งคำถามในการสำรวจและสัมภาษณ์ ควรนำแนวคิดที่นายเกรียงไกรเสนอเข้าไปผนวกได้ และสุดท้าย หลักสูตรที่ออกมา ควรสร้างมาจาก ศบม.เองและการฝึกอบรมก็จะเป็นการดำเนินการขั้นต่อไป

                รศ.ดร.อัศนีย์ ก่อตระกูลกล่าวว่า จากการไปช่วยงานสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ แม้ว่านายเกรียงไกร ภูวณิชย์ จะกล่าวว่ากลุ่มเป้าหมายไม่ใช่ แต่ในความเป็นจริงแล้ว เป็นกลุ่มเป้าหมายที่ใช่ พัฒนาเป็น Competency-based เน้น 3 อย่างเหมือนกันคือ Skill, Attitude, Attribute ส่วนเรื่องของไอทีที่นายเกรียงไกร ภูวณิชย์นำเสนอมีลักษณะเฉพาะที่ดูดี และดีกว่าของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ แต่สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพมีเงินทุนและ Certified Body ตามพระราชบัญญัติ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพมีหน้าที่รับรองคุณภาพคน ศบม.สามารถทำงานร่วมกับสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพได้ในด้านนี้ ตอนนี้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กำหนดมาตรฐาน ICT คุณวุฒิวิชาชีพมีทั้งหมด 7 ระดับ มี 5 สายคือ Animation, Project Management, Software Engineering เมื่อสักครู่ได้ทราบจาก วศท. มีเรื่อง Cloud Service ก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือไม่ได้ทำ ศบม.ควรจะเข้าไปช่วยในด้านนี้ ส่วนข้อมูลที่ได้มาอีกด้านคือเรื่องการท่องเที่ยว สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพไม่ได้ทำ แต่กระทรวงการท่องเที่ยวทำไปแล้ว กระทรวงการท่องเที่ยวได้ลงนามใน MRA กับอาเซียน เพราะจะมี ATF คือ ASEAN Tourism Qualifications Framework ซึ่งกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเป็นเจ้าภาพ ส่วนในทางการเงิน  สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพยินดีที่จะเป็นแหล่งทุนให้ในเรื่องมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพ ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุทก็เคยได้เข้าไปที่สถาบันนี้แล้ว

                จากการนำเสนอของนายธวัชชัย แสงห้าวเกี่ยวกับการทำงานวิจัย ตอนนี้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กำลังทำวิจัยเน้นคนในยุคดิจิตอลสำหรับ E-government ไม่ได้สำหรับในเชิง SMEs จะนำ Framework จากนายธวัชชัย แสงห้าว มาจับคู่กับ E-government แต่จะเป็นคนของภาครัฐที่จะต้องทำหน้าที่ให้บริการประชาชน คนภาครัฐก็จะต้องมี Attribute ตามคุม และคุมที่อยู่ในรัฐบาล รัฐต้องเน้นบริการประชาชน ตอนนี้ถูกประกาศออกมาเป็นดัชนีชี้วัด ต่อไปนี้ภาครัฐจะต้องเน้น Smart Service ให้กับประชาชน ทุกหน่วยงานในภาครัฐจะต้องมี Smart Service ออกมาอย่างน้อยปีละ 2 อย่าง และจะต้องนำข้อมูลมาเปิดเผยให้คนนำไปบูรณาการ เมื่อกลับมามองเรื่องคน คนของ E-government ไม่ได้มีศักยภาพที่จะรองรับ Digital Thailand และ Digital Economy ควรจะร่วมมือด้านนี้ เพราะตอนนี้กำลังขับเคลื่อนเรื่องนี้คือจะทำ 2 อัน แต่สิ่งที่ต้องยอมรับคือมหาวิทยาลัยมีอัตตาสูง สิ่งที่ทำสำเร็จคืออาชีวะ จะนำ Competency-based ของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพมาเป็นหลักสูตร ผลิตคนออกมาแล้ว นำมาใช้งานได้จริง จึงจะมีหลักสูตรเอง ต้องการพิสูจน์ว่าคนที่จบไอทีของไทยไปแล้ว ภาคเอกชนอยากจะเปิดรับ กลุ่มเป้าหมายคือคนของรัฐบาลที่ต้องนำ ICT มาใช้ในการให้บริการ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพเสนอให้เราคือ คิดหลักสูตร Competency-based และก็มาสนใจการทำวิจัยหลักสูตรซึ่งมหาวิทยาลัยไม่ค่อยได้ทำ ถ้า ศบม.ร่วมมือแล้วทำออกมาอีกด้านหนึ่งนอกเหนือจากด้านนี้ อาศัย Competency และความหลากหลายของที่นี่พัฒนาหลักสูตรเพื่อสร้างคน ส่วนนี้อาจจะเป็นกรอบการทำงาน จะมีหลักสูตร 2 แบบคือ หลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้น และหลักสูตรปริญญา ซึ่งจะมี Certified Body เมื่อทำขึ้นมาแล้วอาจจะขอเป็น Certified Body ก็ได้ การเป็น Certified Body ก็จะได้รับการสนับสนุนได้ด้วย ตอนนี้ Certified Body ในประเทศไทยภายใต้สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพมีประมาณ 50 หน่วยงาน เมื่อทำหลักสูตรตรงนี้ และได้หลักสูตรที่แข็งแกร่ง มีวิทยากรเก่ง ก็จะออกมาเป็น Training Package อย่างหนึ่ง และรับรองคุณวุฒิออกมา ก็จะเป็นการทำงานที่มีใบรับรอง ตอนนี้กำลังจะทำ ASEAN Qualifications

                ดร.อนุชา  เล็กสกุลดิลก กล่าวว่า สิ่งที่นายเกรียงไกร ภูวณิชย์นำเสนอ ทุกวงการทำแล้ว แต่เรื่อง Attribute ทำยาก ต้องพัฒนาคนตั้งแต่แรกเกิด สิ่งที่น่าสนใจคือในวงการท่องเที่ยวยังไม่มีใครทำ นักทรัพยากรมนุษย์ทั้งหลายคิด จัดอบรมมากมาย และเข้าหาแหล่งเงินคือราชการ ข้าราชการเข้ารับการอบรมเพื่อรับประกาศนียบัตร แต่ยังทำงานแบบเดิม ภาคเอกชนก็อาจจะไม่ได้ให้ลูกน้องเข้ามารับการฝึกอบรม ส่วนที่กล่าวถึงมหาวิทยาลัย คณะ ศบม.ทำกันเองเพราะยังไม่มีงบ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เสนอว่า จะหาแหล่งเงินมา และจะติดต่อมหาวิทยาลัยให้ส่งอาจารย์และนักศึกษามาช่วยทำงานจะทำให้งานมีความคมและชัดเจนมากขึ้น แต่เรื่องหลักสูตรที่หารือกันมา ยังไม่มีการกำหนดชัดเจน แต่สิ่งที่จะทำ จะมีความถึงลูกถึงคน เข้าถึงปัญหาที่แท้จริง คาดหวังว่าผลการวิจัยจะออกมาแบบนั้น อาจจะมีตั้งแต่ระดับที่ไม่หวังผลอะไรมาก มีตั้งแต่เข้าไปยังหน่วยงานเพื่อให้สร้างคนให้ได้ จนถึงขั้นที่ว่านำคนไป certified ในส่วนตัวแล้วอยากให้ ศบม. ก้าวไปแบบมีอัตลักษณ์ ตั้งแต่แรก ศบม.เน้นทำในสิ่งที่ไม่มีใครทำ ช่วงนี้กำลังหาสิ่งที่เป็นตัวตนของ ศบม.อยู่

                สิ่งที่นายธวัชชัย แสงห้าว เสนอมาคือ ดำเนินการในช่วงมกราคม-เมษายน ช่วงธันวาคมคือร่างให้เสร็จ ช่วงมกราคม-กุมภาพันธ์คือสำรวจ ช่วงมีนาคมคือการประมวลผลซึ่งมีเวลาน้อยสำหรับการประมวลผลแบบสอบถาม 1,000 ชุด ช่วงเมษายน ก็จะได้ข้อสรุปเป็น Proposal และแนวทางขึ้นมา

                จากการหารือนอกรอบเกี่ยวกับเรื่อง Gen คำว่า Gen มี 2 มิติ มิติที่ผ่านมาจะใช้อายุเป็นเกณฑ์และใช้ไอทีเป็นตัววัด เพราะแต่ละคนเรียนมาตามหลักสูตรที่แตกต่างกัน สิ่งนี้กำหนดบุคลิกของ Gen ในความเป็นจริงแล้วทุกคนมีโอกาสแสวงหาความรู้และประสบการณ์ที่ต่างกัน เพราะฉะนั้นในแบบสอบถามต้องคิดเรื่องของ Gen ในด้านบุคลิก แต่ถ้าใช้ไอทีวัด ปัจจุบันนี้ โลกเปลี่ยนไป คนแก่ก็ใช้ไอทีเล่นไลน์

                ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท กล่าวว่า ยังไม่แน่ใจว่า ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์จะหางบให้ได้หรือไม่  อย่างไรก็ตาม โครงการวิจัยจะต้องเดินหน้าต่อโดยจะไม่รอจนกว่าจะได้งบ ทีมงานของ ศบม.จะดำเนินงานควบคู่กันไป กำหนดให้โครงการนี้แล้วเสร็จในเดือนเมษายน 2559  ต่อด้วยโครงการเปิดตัวหลังเดือนเมษายน 2559

                ดร.อนุชา เล็กสกุลดิลก กล่าวว่า คณะของ ศบม.อาจจะให้ความเห็นในการคัดเลือกองค์กรเป้าหมายได้ ถ้าจะเน้นในสิ่งที่นายเกรียงไกร ภูวณิชย์เสนอมา ก็อาจจะเน้นองค์กรด้านท่องเที่ยวให้มากหน่อย แต่อาจจะไม่ต้องทำสัดส่วนอาชีพ ครึ่งหนึ่งเป็นองค์กรภาคการท่องเที่ยว แต่ไอทีเป็นประเด็นมากกว่าที่จะเป็นองค์กร ไม่ต้องไปสำรวจองค์กรไอที ไอทีเป็น Digital Economy ที่ทุกองค์กรใช้ประโยชน์ เรื่องการท่องเที่ยวที่นายเกรียงไกรเสนอคือใช้ไอทีในวงการท่องเที่ยว

                ม.ล.ชาญโชติ  ชมพูนุท กล่าวว่า ในการทำโครงการไม่ควรปล่อยให้นายธวัชชัย แสงห้าวทำคนเดียว เพราะเป็นการสัมภาษณ์เชิงลึก และเสนอให้แบ่งหน้าที่รับผิดชอบอื่นๆให้คณะกรรมการ ศบม.ท่านอื่นทำ เช่นแบ่งจำนวนคนที่ไปสัมภาษณ์ หรือเก็บข้อมูลแบบสอบถาม แต่นายธวัชชัยก็ทำหน้าที่บริหารโครงการ และได้ขอให้กรรมการ ศบม.ที่มีต้นสังกัดเป็นมหาวิทยาลัยประสานให้มหาวิทยาลัยมาร่วมทำวิจัยในโครงการด้วย

                ผศ.ชัยธนัตถ์กร ภวิศพิริยะกฤติ กล่าวว่า เห็นด้วยว่า ศบม.ควรมีจุดเริ่มต้นที่มีเอกลักษณ์ และได้เสนอว่า ควรหาเป้าดำเนินการปี 2559 ด้วย อาจจะไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นด้วยกิจกรรมใหญ่ แต่ควรจะเป็นกิจกรรมง่ายกว่าและไม่ใหญ่เกินไปที่สร้างมาแล้วเป็นรูปธรรมก็จะสามารถต่อยอดไปได้

                ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท เสนอว่า โครงการวิจัยควรจะเน้นแต่ภาคการท่องเที่ยว โรงแรม ไอที เพราะเป็นเรื่องใกล้ตัว มี Connection อยู่แล้ว

                ดร.อนุชา เล็กสกุลดิลก กล่าวว่า ก็ได้เน้นภาคธุรกิจเหล่านี้อยู่แล้ว ถ้าตัดธุรกิจอื่นๆออกไปจะทำให้เสียโอกาสเวลาที่เลือกองค์กรกลุ่มเป้าหมาย ควรเลือกองค์กรที่มีโอกาสกลับมาเป็นลูกค้าของ ศบม. ดร.อนุชามี Connection กับองค์กรพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ซึ่งมีคนรุ่นใหม่ Gen Me มาก สามารถไปดูดิจิตอลได้ ดร.อนุชาเสนอที่จะไปเก็บข้อมูลที่องค์กรนี้

                รศ.ดร.อัศนีย์ ก่อตระกูล ถามว่า สัดส่วนภาครัฐกี่เปอร์เซ็นต์ และได้เล่าว่า ตอนนี้ได้ทำการสำรวจภาครัฐโดยใช้ E-survey เจาะกลุ่มผู้บริหารระดับสูง เช่นของการประปานครหลวง และเสนอว่า ควรทำคำถามสัมภาษณ์ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เราจะฝังแบบสอบถามลงในโปรแกรมและเปิดให้กรอกข้อมูลสัปดาห์ถัดไป วันที่ 28 ธันวาคม จะเป็นการทดสอบความเข้าใจแบบสอบถามของผู้ตอบแบบสอบถาม โปรแกรม E-survey สามารถวิเคราะห์และทำรายงานผลให้ และได้เสนอที่จะช่วยเก็บข้อมูลภาครัฐ

ม.ล.ชาญโชติเสนอว่า ในแต่ละกลุ่มอาจจะมีคำถามที่แตกต่างกันไป ควรจะปรับให้เหมาะสมเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด

                มติที่ประชุม รับทราบ มอบหมายให้นายธวัชชัยดำเนินการต่อและขอให้คณะกรรมการ ศบม.ส่งรายชื่อองค์กรที่มี Connection มาให้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการวิจัย

5.2. โครงการจัดตั้งโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาด้านการบริหารจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยว             นายธวัชชัย แสงห้าว กล่าวว่า ศบม.ส่วนใหญ่มี Connection หรืออยู่ในธุรกิจการท่องเที่ยว จากประสบการณ์ ธุรกิจท่องเที่ยวและโรงแรมได้รับการส่งเสริมให้เป็นธุรกิจหลักของประเทศ คนโรงแรมขนาดกลางที่ไม่ใช่ Chain ก็ยังขาดทักษะการบริหารจัดการ ทักษะ Functional Skill ยังหลากหลาย ยังไม่ค่อยเป็นมาตรฐาน  ในแง่ผู้ประกอบการโรงแรมขนาดกลางก็ทำธุรกิจกันยังไม่มีหลักการบริหารจัดการและการเป็นมืออาชีพมากนัก ถ้าจัดตั้งสถาบันโดยเริ่มจากจุดนี้เพื่อเสริมทักษะบริหารจัดการให้กับผู้บริหารหรือระดับหัวหน้างานของคนที่อยู่ในธุรกิจน่าจะเป็นผลดี ในแง่การจัดตั้งสถาบันนี้ ต้องการความแตกต่างจากที่อื่น คือจะทำตัวเป็นชุมชนที่สร้างให้คนมีทักษะมากขึ้น เมื่อมาเรียนก็จะอยู่ในรายชื่อของสถาบัน เมื่อผู้ประกอบการเข้ามาร่วมก็รู้จักผู้ที่ผ่านการเรียนที่มีทักษะมากขึ้น และมีความต้องการบุคลากร ทางสถาบันจะเป็นตัวเชื่อม ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท มีประสบการณ์ด้านจังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ จึงจะเริ่มจากจังหวัดเหล่านั้นก่อนเพราะมีความพร้อมที่จะร่วมมือในแง่เป็นสถานที่ฝึก Functional Skill เรื่อง F&B, Front Office, Housekeeping เพราะมีสถานที่จึงสามารถทำได้ ตัว Content กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬามีการจัดทำ ก็นำตรงนั้นมาย่อยให้ง่าย นำมาทำเป็นหลักสูตร ในแง่ ศบม. จะเข้าไปบริหารจัดการทำให้ Functional Skill มีความสมบูรณ์ เมื่อร่างโครงสร้าง สถาบันนี้จะอยู่ภายใต้ ศบม. ศบม.จะร่วมกับองค์กรและสถาบันอื่นๆออกแบบหลักสูตรทำให้มีความสมบูรณ์มีกิจกรรมคือการฝึกอบรม ให้คำปรึกษาและการจัดตั้งชุมชน          คาดว่าจะทำในไตรมาส 1 จะเข้าไปหารือกับ 3 จังหวัดและสถาบันนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัย จะเชิญผู้ประกอบการมาทำเป็น Focus Group เพื่อให้ได้ข้อมูลที่แท้จริงเกี่ยวกับความต้องการในการพัฒนาคน

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท กล่าวว่า คนในวงการโรงแรมส่วนมากมีคุณสมบัติไม่ถึงมาตรฐาน (หมายถึงโรงแรมขนาดเล็กและขนาดกลาง) ที่ไม่ใช่โรงแรม Chain  โรงแรมที่เจ้าของ บริหารเองส่วนมากจะไม่มี  แผนด้านการบริหารจัดการ ทรัพยากรมนุษย์ การวางกำลังคน การสร้างคนขึ้นมา การจัดสัมมนาฝึกอบรมส่วนมากมักจะเน้นทักษะ แม้กระทั่งการกำหนด  MRA ด้านมาตรฐานการทำงานของพนักงานด้านโรงแรมอละท่องเทียว ของ ASEAN  ก็ตาม สิ่งที่สำคัญคือต้องมีสถาบันอบรมกับประเมิน ตอนนี้ ททท.ก็ติดต่อให้มหาวิทยาลัยกรุงเทพ จัดอบรม วิธีใช้เครื่องมือ MRA สำหรับผู้ทำงาน ผู้สอน และผู้ประเมิน  ทางสถาบันพัฒนาบุคคลด้านการท่องเที่ยว ซึ่งอยู่ในสังกัดของกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา ผู้รับผิดชอบโดยตรง กำลังชักชวนให้สถาบันการศึกษาที่สอนเรื่องด้านการท่องเที่ยว ได้จัดทำหลักสูตรเพื่อให้รองรับกับโครงการ MRA หลังจากนั้นจะมีการรับสมัครองค์กรที่จะเป็นสถานที่อบรมตามโครงการ MRA และองค์กรรับประเมินตามโครงการ MRA  จึงเห็นว่าเป็นโอกาสที่สำคัญมากของศบม. เมื่อตั้งสถาบันแล้ว ควรเจาะเฉพาะด้าน ซึ่งแตกต่างจากสถาบันอื่น สถาบันที่ ศบม.จะจัดตั้งขึ้นจะให้การฝึกอบรมตาม MRA แต่จะเน้นเรื่องการจัดการ จะมีโรงแรมมาร่วมให้การฝึกอบรม ทาง ศบม.จะร่วมในด้านการปฏิบัติโดยตรง สร้างหลักสูตร  เน้นการเรียนรู้ด้านปฏิบัติจริง เน้นหนักด้านการบริหารจัดการ เรียนรู้กระบวนการบริหารจัดการจากภาคปฏิบัติ ไม่ใช่เรียนแต่ทฤษฎี  ส่วนใหญ่โรงแรมจะตั้งผู้จัดการโดยเลือกจากคนที่เจ้าของสั่งได้ แต่ไม่ได้สร้างคน ในที่สุด คนในวงการโรงแรมเริ่มต้นที่ อายุ 45 ปีขึ้นจนถึง 60-65 ปี จะไม่สามารถหาตำแหน่งที่เหมาะสมลงได้  ต้องทำตามคำสั่งของเจ้านายอย่างเดียว ทั้งๆ ที่ควรจะทำงานด้านการบริหารจัดการตามประสบการที่ผ่านมา ชีวิตจะค่อยๆตกต่ำลง ยิ่งเปลี่ยนงานเงินเดือนยิ่งถูกกดให้ต่ำลง เราต้องสร้างคนกลุ่มนี้ให้ได้คน กลุ่มนี้เป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก ของเรา   สำหรับการที่เราจะนำ ศบม ให้เป็นองค์กรที่ได้รับการรับให้เป็นสถาบันด้านการอบรม MRA หรือการประเมิน MRA เงื่อนไขในการสมัคร จะต้องเป็นสถาบันที่สอนเรื่องการโรงแรม และการท่องเที่ยวมาแล้วอย่างน้อย 5 ปี ซึ่ง ศบม ยังไม่มีคุณสมบัติดังกล่าว


โครงสร้างของการจัดตั้งสถาบันการอบรม ของ ศบม เพื่อรองรับโครงการ MRA ในระยะเริ่มต้นต้องประกอบด้วย

1.ดึงสถาบันการอบรมด้านการท่องเที่ยวและการโรงแรมที่ประกอบธุรกิจมาแล้วมากกว่า 5 ปี ให้เข้ามาอยู่ในโรงการของ ศบม

2.ตั้งสถาบันโดยโน้มน้าวคนลงทุน ภาคธุรกิจโดยตรง (Stakeholders) ได้แก่ เจ้าของโรงแรม อีกส่วนคือสถาบันการศึกษา ศบม.เป็นแกนหลัก ใช้บุคลากรของ ศบม.ดำเนินการอบรมและบริหารสถาบัน ตอนนี้ทาง ศบม.ได้มอง IMC ของนายธวัชชัยมาเป็นองค์กรพันธมิตร แล้วจะไปหาพันธมิตรเพิ่มคือคนลงทุน เมื่อลงทุนแล้ว ก็ต้องส่งคนมาร่วมด้วย อาจจะขยายไป 3-4 แห่งนอกจาก ภูเก็ตก็ได้ เช่นที่เชียงใหม่ก็ได้แต่ต้องมีแนวคิดที่เหมือนกัน  IMC ต้องไปวางโครงสร้างด้านการอบรม ตั้งแต่หลักสูตร สร้างผู้ฝึกสอนในพื้นที่ขึ้นมา  ถ้าขยายสถาบันให้ใหญ่ ก็ต้องร่วมมือกับหน่วยงานในท้องถิ่นหลายแห่ง ต้องมีการแบ่งผู้รับผิดชอบในแต่ละภาค ภายใน 5 ปี ทางสถาบันจะต้องมีความเป็นอิสระ ขอให้ช่วยพิจารณาเรื่องกฎหมายเกี่ยวกับการจัดตั้งและการดำเนินการสถาบัน

ดร.อนุชา เล็กสกุลดิลก กล่าวว่า ข้อมูลจะไปควบกับโครงการวิจัย ข้อมูลเบื้องต้นผู้ประกอบการ ในการเก็บข้อมูลแบ่งเป็นภาคธุรกิจโรงแรม 50% ภาคธุรกิจท่องเที่ยวอาจจะเหลือ 20-30% ในกลุ่มภาคธุรกิจท่องเที่ยวจำนวน 20-30% จะลงไปเก็บข้อมูลที่ภูเก็ตและพังงาเป็นสัดส่วนกี่เปอร์เซ็นต์ ในเดือนเมษายน จะเป็นการประมวลผล อาจจะขยายเวลาในการทำแผนธุรกิจ เพราะเรื่องแผนธุรกิจเป็นเรื่องใหญ่มากโดยเฉพาะเรื่องกฎหมาย ขอให้นายธวัชชัยไปทำแผนที่สมบูรณ์ ดร.อนุชายินดีให้การสนับสนุนด้านวิชาการ

มติที่ประชุม รับทราบและเห็นชอบให้ดำเนินการ

5.3. โครงการเกษตรเพื่อการท่องเที่ยวเชิงบูรณาการ

รศ.ดร.อัศนีย์  ก่อตระกูล กล่าวว่า ตอนนี้เกษตรกรกำลังประสบปัญหาน้ำแล้ง ไม่สามารถยังชีพด้วยการเกษตรได้ จึงมีโครงการเกษตรเพื่อการท่องเที่ยวเชิงบูรณาการ ตอนนี้กำลังทำ Cyber Market ทำให้เกษตรกรสามารถขายของได้ สิ่งที่ภาครัฐต้องการตามแนวปฏิรูปคือ เกษตรกรต้องเป็นผู้ประกอบการให้ได้ ซึ่งในนี้มีการบริหารจัดการ การเป็นผู้ประกอบการ การบูรณาการระหว่างผลผลิตการเกษตรกับการท่องเที่ยว จะทำให้เกิดเป็นชุมชนขึ้น ได้ไปสร้างเครือข่ายไว้แล้วที่อยุธยา ซึ่งเป็นเมืองท่องเที่ยวและมีเกษตรกรมาก แต่ไม่มีความสามารถทำโครงการ ในการสร้างมนุษย์ตัวที (T) ก็ใช้ของไอบีเอ็ม เกษตรกรต้องมีความรู้ลึกเรื่องการเกษตร แต่ไม่รู้กว้างด้านธุรกิจ การจัดการ ได้ร่วมมือกับสหกรณ์การเกษตร สิ่งที่ต้องทำคือสร้าง Success Story ถ้าชุมชนนี้สำเร็จ ก็จะได้ชุมชนอื่นด้วย เครือข่ายที่จะช่วยทำธุรกิจการเกษตร จังหวัดที่ผลิตข้าว ก็ขายข้าว ตอนนี้ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ ARDA สนใจที่จะพัฒนาเกษตรกรให้สามารถเป็น Smart Farmers ที่สามารถใช้ไอทีเป็นเครื่องมือในการเข้าถึงข่าวสารข้อมูล เพราะฉะนั้นนี่เป็นการรวมทุกแผนที่ได้หารือกัน เน้นกลุ่มเกษตรกร และมี Outcome และOutput ที่ชัดเจน และวัดได้ ถ้าทำ 1 ปี บูรณาการสร้างเกษตรกรขึ้นมา ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น ตอนนี้มีตัวชี้วัดคือรายได้เพิ่มขึ้น เรื่องการบริหารจัดการที่ไปสอน มีความท้าทายคือผู้ประกอบการจะสอนเกษตรกรอย่างไร

นายสามารถ ดวงวิจิตรกุล กล่าวว่า จะรับเขียนโครงการนี้ให้ เพราะกำลังทำวิจัยปริญญาเอกเรื่องการท่องเที่ยวเชิงเกษตร แต่ขอไปปรึกษาอาจารย์ก่อน แต่ส่วนตัวจะ             เน้นจังหวัดเพชรบุรี ในด้านไม้ผล ข้าว ซึ่งตอนนี้ได้ทำไปมากพอสมควรแล้ว ได้หารือกับนางโสทรินทร์ โชคคติวัฒน์ ไว้พอสมควรแล้ว จะขอแค่โครงร่างเพื่อนำ                     เนื้อหาไปใส่

รศ.ดร.อัศนีย์ ก่อตระกูล กล่าวว่า โครงการนี้มีโครงร่างอยู่แล้ว

นายธวัชชัย แสงห้าว กล่าวว่า ศบม.อาจจะช่วยด้านการบริหารจัดการ

นายสามารถ ดวงวิจิตรกุล กล่าวว่า ในเรื่องการท่องเที่ยว ต้องบริหารจัดการเป็นแพคเกจเพราะส่วนใหญ่คนที่ไปท่องเที่ยวที่สวนเน้นบุฟเฟ่ต์ ตั้งโต๊ะเพื่อกิน แล้วจบ                 แค่นั้นไม่น่าประทับใจ ต้องมีมากกว่านั้น คือแพคเกจไปเที่ยวในสวน ถ่ายรูปกับสวน ไปดูการเลี้ยงผึ้ง

รศ.ดร.อัศนีย์ ก่อตระกูล กล่าวว่า โครงการนี้สามารถนำมาทำร่วมกับ ศบม.ได้ ตอนนี้ได้ทำโครงการส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ไอทีเพื่อเข้าถึงข่าวสาร แต่งานนี้นำมาบูรณา             การให้เกษตรกรเป็นผู้ประกอบการ ซึ่งยังไม่มีใครทำ แล้วนำไอทีไปใช้ มี Product จริงของอยุธยา มีโรงแรมจันทบุรีก็เป็นเมืองน่าเที่ยว เป็นการทำงานร่วมกันหลาย               ภาคส่วนตั้งแต่เกษตรกร สหกรณ์ อบต. อบจ. แต่ต้องเสนอโมเดลไป

นายสามารถ ดวงวิจิตรกุล กล่าวว่า โครงการจัดตั้งสถาบันยังเป็นเรื่องยาวไกล การตั้ง ศบม.ขึ้นมาก็เพื่อจัดการฝึกอบรมให้กับคนในสายการท่องเที่ยว และบริการเป็น               หลักในตอนแรก ในช่วงที่ยังไม่ตั้งสถาบัน ศบม. ควรจัดโครงการฝึกอบรมก่อน เพื่อให้ทาง ศบม.มีผลงานออกมาเป็นระยะ

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท กล่าวว่า ทาง ศบม.ได้ร่วมกับ IMC จัดโครงการฝึกอบรมอยู่แล้ว และถ้ามีลูกค้าสนใจ ก็ทำได้เลย

ดร.อนุชา เล็กสกุลดิลก ถามว่า ศบม.มีความน่าเชื่อถือพอที่จะตั้งสถาบันได้หรือไม่ เพราะผลงานยังไม่เป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาสาธารณชน จึงควรจะจัดฝึกอบรมไป               ก่อน สามารถเริ่มแผนทำโรงแรมได้ แต่ถ้าทำในเดือนพฤษภาคม ก็ไม่น่าจะทำได้ เพราะต้องมีการวิเคราะห์อีกมาก และขาดข้อมูลที่แท้จริง มีแต่ข้อมูลเชิงประจักษ์และ             เชิงประสบการณ์ของ ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุทแต่ยังไม่มีข้อมูลเชิงวิชาการ อาจจะแบ่งการทำงานเป็นสองสายคือ สายการฝึกอบรมและสายการวิจัย จนกระทั่งมี                     กระบวนการเสริมซึ่งกันและกันได้ การจัดตั้งสถาบันต้องมีการหารือกันในรายละเอียดอีกมาก

            ดร.อนุชา เล็กสกุลดิลก ได้สรุปว่า ควรเร่งดำเนินการโครงการวิจัย  ส่วนโครงการโรงแรมก็ทำคู่ขนานไป ควรมีข้อมูลและแผนที่ชัดเจนก่อน ถ้ามีคนให้เงินมา ก็อาจจะ               เร่งบางเรื่อง ส่วนโครงการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ขอให้นายสามารถไปหารือว่าสามารถทำอะไรได้เวลาสัปดาห์เดียว

รศ.ดร.อัศนีย์ ก่อตระกูล กล่าวว่า จะทำให้สำเร็จได้ต้องมี Common Interest จุดสนใจอย่างเดียวกัน ตอนนี้สนใจเกษตรกร ขีดจำกัดคือการจัดการและการบริหาร ถ้า               จะสร้างไอทีขึ้นมา แต่คนใช้ไม่เป็น ก็ไม่เกิดประโยชน์ จะอาสาไปเก็บข้อมูลภาครัฐให้ เพราะทำงานวิจัยกับภาครัฐอยู่แล้ว

มติที่ประชุม รับทราบ และเห็นชอบให้ดำเนินการ

วาระที่ 6 พิจารณาการแต่งตั้งผู้ตรวจสอบบัญชี

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุทรายงานต่อที่ประชุมว่า ตอนนี้กำลังหาผู้ตรวจสอบบัญชีจากคนรู้จักและขอความกรุณาที่ประชุมแนะนำผู้ตรวจสอบบัญชี การลงบันทุกบัญชีช่วง            นี้ยังไม่มีอะไร  เนื่องจากยังไม่มีการทำธุรกรรมใดๆเกี่ยวกับการเงิน แต่ปีหน้า  จะต้องจัดหาผู้ตรวจสอบบัญชี และหาเหรัญญิกที่จะมารับผิดชอบเรื่องงานด้านการเงิน              ให้ถูกต้อง

นายประยุทธ์ จิตต์นุกุลศิริได้เสนอว่า เรื่องบัญชีต้องยอมรับว่า ในปัจจุบันนี้แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ ผู้ทำบัญชีกับผู้ตรวจสอบบัญชี ตัวผู้ทำบัญชียังสามารถหาได้ง่าย

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท กล่าวว่า ทาง ศบม.สามารถทำบัญชีกันเองได้ แต่ควรหาผู้ตรวจสอบบัญชี

นายประยุทธ์ จิตต์นุกุลศิริกล่าวว่า จากประสบการณ์ สำนักงานที่ทำบัญชีจะเรียกเก็บอยู่ 2 ยอด คือค่าทำบัญชีที่จะป้อนให้กับผู้สอบบัญชี และค่าลงนามของผู้ทำ                 บัญชีและผู้ตรวจสอบบัญชี แต่ยังไม่มีการที่ให้ทำก่อนแล้ว ค้างชำระค่าธรรมเนียม

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุทกล่าวว่า ควรตั้งงบค่าจ้างผู้สอบบัญชีไว้สำหรับปีหน้าด้วย ส่วนปีนี้ ยังไม่มีรายได้ จึงจะยื่นเอกสารแบบปีที่แล้ว

ดร.อนุชา เล็กสกุลดิลก กล่าวว่า ถ้ากรรมการท่านใดรู้จักผู้ตรวจสอบบัญชีในราคามิตรภาพ ก็ขอให้แนะนำ เพราะเขาจะเข้าใจลักษณะงาน ศบม. ซึ่งไม่ใช่การทำบัญชี             ที่มีปัญหา เพียงแค่ต้องการให้ลงนามรับรอง

นายประยุทธ์ จิตต์นุกุลศิริกล่าวว่า นักตรวจสอบบัญชีก็มีโควตาว่าแต่ละปีเซ็นได้กี่ราย สำหรับรายรับที่เพิ่มขึ้นคือดอกเบี้ย 3,177.88 บาท ต้องไปชำระภาษี

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุทกล่าวว่า ธนาคารได้หักภาษีเรียบร้อยแล้ว  รายได้แค่ดอกเบี้ยไม่ต้องเสียภาษีอยู่แล้ว แต่ก็แจ้งสรรพากรอยู่แล้ว

มติที่ประชุม รับทราบ

วาระที่ 7 พิจารณาการเปิดบัญชีฝากประจำ และนำเงินจากบัญชีออมทรัพย์เดิมโอนไปฝากในบัญชีฝากประจำแทน และใช้บัญชีออมทรัพย์เดิมเป็นบัญชีสำหรับรายรับและรายจ่ายในกิจกรรมต่างๆและการบริหารจัดการมูลนิธิฯ

                7.1 สภาพปัญหาในปัจจุบัน

            ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุทรายงานสภาพปัญหาในปัจจุบันต่อที่ประชุมว่า

1. ตอนนี้ ศบม.มีเงินฝากในบัญชีออมทรัพย์ซึ่งได้รับดอกเบี้ยน้อย

2. ตามข้อกำหนด ศบม. ไม่สามารถใช้เงินต้นที่เป็นทุนมูลนิธิได้ จึงเสนอว่า ควรจะนำเงินต้นจำนวน 230,000 บาทมาเปิดบัญชีฝากประจำเพื่อให้ได้ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น แล้วนำดอกเบี้ยไปใส่บัญชีออมทรัพย์ที่มีอยู่ พอเริ่มเปิดบัญชี ก็เริ่มมีเงินใช้ด้านนี้ ส่วนบัญชีออมทรัพย์ก็จะเป็นบัญชีรับ-จ่าย ถ้ามีการทำธุรกรรมมากขึ้น ก็อาจจะไปเปิดบัญชีเดินสะพัดได้

7.2 ข้อเสนอแนะในการดำเนินการ

                1. การพิจารณาเลือกประเภทบัญชี

ดร.อนุชา เล็กสกุลดิลกกล่าวว่า ตอนนี้ หลายธนาคารให้ดอกเบี้ยบัญชีออมทรัพย์พิเศษสูงกว่าบัญชีฝากประจำ ซึ่งสามารถถอนได้เดือนละ1 ครั้ง               ถ้าต้องการได้รับผลตอบแทนสูง ก็อาจจะไม่ต้องฝากประจำ ถ้าไม่มีการทำอะไรกับบัญชีออมทรัพย์แบบนั้น ก็เหมือนฝากประจำไว้

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุทกล่าวว่า ถ้าฝากออมทรัพย์แบบนั้นต้องมีเงื่อนไขระยะเวลา และต้องมีการเซ็นบ่อย ถ้าฝากออมทรัพย์แบบนั้น ต้องไป                   สมัครสมาชิกอื่นๆเพิ่มด้วย ถ้าเปิดบัญชีฝากประจำ จะง่ายกว่า เพราะม.ล.ชาญโชตินำมติที่ประชุมไปเปิดบัญชีได้เมื่อไปธนาคารกรุงไทยโดยโอน             จากบัญชีออมทรัพย์เข้าไป

2. การพิจารณาเลือกธนาคาร

น.ส.จิตรลดา ลียากาศ เสนอว่า ถ้าเปิดบัญชีกับธนาคารกรุงไทย ก็ไม่ต้องเซ็นเพิ่ม เพราะทางธนาคารมีการ์ดลายเซ็นอยู่แล้ว จึงสามารถดำเนิน               การได้สะดวกกว่า

รศ.ดร.อัศนีย์ ก่อตระกูล เสนอว่า ในการเลือกธนาคารไม่ควรดูแค่ดอกเบี้ย แต่ควรดูธรรมาภิบาลด้วย 

3.พิจารณามอบหมายผู้ดำเนินการ

นายประยุทธ์ จิตต์นุกุลศิริ เสนอว่า ควรตั้งคณะอนุกรรมการดำเนินการ

น.สพ.สมชัย วิเศษมงคลชัย เสนอว่า ผู้มีอำนาจเซ็นควรเป็นผู้ดำเนินการ

ดร.อนุชา เล็กสกุลดิลกเสนอว่า ในเมื่อม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท ไปธนาคารกรุงไทยอยู่แล้ว ก็ควรเปิดบัญชีฝากประจำที่ธนาคารกรุงไทย แล้วถาม             โปรโมชั่นเงินฝากจากพนักงานธนาคาร

มติที่ประชุม อนุมัติโดยไม่ต้องรอรับรองรายงานการประชุม ให้ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุทดำเนินการเปิดบัญชีฝากประจำโดยพิจารณาผลตอบแทนที่เหมาะสม


วาระที่ 7                พิจารณาแต่งตั้งคณะทำงาน และอำนาจหน้าที่

                           จะขอยกไปพิจารณาในการประชุมครั้งต่อไป

วาระที่ 8                เรื่องอื่นๆ

                           ไม่มี

    ผู้บันทึกการประชุม                                                                                         ผู้ตรวจรายงานการประชุม



น.ส.จิตรลดา ลียากาศ                                                                                      ดร.อนุชา เล็กสกุลดิรก

 เลขานุการที่ประชุม                                                                                          รองประธานกรรมการมูลนิธิ

                                                            มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์