เรียนรู้พันธกิจมหาวิทยาลัยเพื่อสังคมที่ออสเตรเลีย : ๗. CE กับ Collaborative Networks
การทำงาน “พันธกิจมหาวิทยาลัยเพื่อสังคม” (Community – University Engagement หรือเรียกย่อๆ ว่า Community Engagement - CE) ต้องใช้เครื่องมือหลายอย่าง อย่างหนึ่งคือ Collaborative Networks ซึ่งผมกลับมาค้นหาความรู้ที่บ้านได้ความรู้จากแหล่งต่อไปนี้
- Wikipedia ที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Collaborative_network
- บทความ Collaborative Networks Are The Organizations : An Innovation in Organization Design and Management ในเว็บไซต์ Drucker Societyhttp://druckersociety.at/repository/scientific/Shuman.pdf
- บทความเรื่อง Collaborative Networks : Value creation in a knowledge society ดาวน์โหลดได้จากhttp://www.researchgate.net/publication/38416426_Collaborative_Networks/file/9fcfd50be60a86de44.pdf
ผมตีความว่า เนื่องจาก Engagement Australia ทำงานเป็น collaborative network ผู้มาร่วมงาน จึงควรเข้าใจหลักการและวิธีปฏิบัติของ CN ซึ่งถือว่าเป็น “องค์กร” ในรูปแบบใหม่ จุดสำคัญที่สุดคือ ไม่ใช้วัฒนธรรมอำนาจควบคุมสั่งการ หรือวัฒนธรรมรวมศูนย์ พลังของเครือข่าย คือคุณค่าร่วม (Shared Values) ต้องการบรรลุอุดมการณ์ ที่มีความหมายร่วมกัน ซึ่งในกรณีของการประชุมนี้ คือการทำประโยชน์ ให้แก่สังคม
อย่างไรก็ตาม CN จะมีพลังได้ ต้องมีการจัดการ ผมชอบที่บทความที่ ๒ เรียกชื่อผู้จัดการ CN ว่า choreographer ซึ่งมีความหมายไปในทางทำให้เกิดการเคลื่อนไหวที่สอดประสาน และเสริมพลัง (synergy) กัน เน้นความเคลื่อนไหวไม่หยุดนิ่ง หรือเป็นพลวัต ในบทความนี้ระบุหลักการสำคัญของ CN 5 ประการ น่าอ่านมาก
วิจารณ์ พานิช
๒๗ ก.ค. ๕๗