แนวความคิดในปัจจุบันเรื่องการเรียนรู้ของเด็กเป็นกลไกเดียวกันกับการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ (adult learning) คือ เริ่มที่ ประสบการณ์ตรง (concrete experience)ตามด้วยการทบทวนไตร่ตรอง (reflection)การสร้างเป็นหลักการ (abstract conceptualization)และการนำเอาหลักการนั้นไปทดลองใช้ (active experimentation)ซึ่งก็คือประสบการณ์ตรง ตามขั้นตอนแรกวนเป็นวัฏฏจักรที่ไม่มีวันจบสิ้น

การเรียนรู้ของเด็ก แตกต่างออกไปที่ เด็กยังไม่มีความสามารถหรือโอกาสได้รับประสบการณ์ตรง เพื่อการเรียนรู้ของตนจึงต้องการความช่วยเหลือจากครู ในการสร้าง “โครง” หรือนั่งร้าน (scaffolding) ซึ่งหมายถึงการออกแบบประสบการณ์ตรงและการจัดกิจกรรม รวมทั้งการโค้ช ให้แก่ศิษย์

ทักษะ “สร้างโครง” นี่แหละเป็นทักษะสำคัญยิ่งของครู

ผู้ใหญ่เรียนจากประสบการณ์ตรง ในการทำงาน และการดำรงชีวิต

เด็กก็เรียนจากประสบการณ์ตรงแต่ต้องการความช่วยเหลือผู้ให้ความช่วยเหลือคือครูช่วยโดยการ “สร้างโครง” (scaffolding)

วิจารณ์ พานิช

๒๕ ส.ค. ๕๗

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย