คณะทำงานเพื่อการเปลี่ยนแปลง

โดยทั่วไปทีมงานที่เข้าไปปรับปรุง “โรงแรม” ก็อยากจะย้ายที่ไปทุกๆ 2-3 ปี ซึ่งนั่นก็เป็นเรื่องที่ดี ในองค์กรมักจะมีคนที่อยากอยู่ที่เดิมไปนานๆ แต่ก็จะมีคนอื่นๆ ที่ตื่นเต้นและตั้งตารอการเปลี่ยนแปลง ทั้งสองกลุ่มต่างก็เป็นสิ่งจำเป็นในการผลักดันการเปลี่ยนแปลง จากประสบการณ์ผมพบว่า ทีมที่รับผิดชอบโปรแกรมขนาดใหญ่ และมีความสามารถในเรื่องนี้ มักจะผ่านข้อจำกัดทางการเมืองในองค์กรและสามารถขับเคลื่อนต่อไปได้ ซึ่งปกติแล้วที่ปรึกษามักจะอยู่ตรงแกนกลางของงานแบบนี้และจะทำให้งานง่ายขึ้น ทักษะที่ต้องมีก็หลากหลาย แต่บุคคลากรหลักแต่ละคนก็จะต้องมั่นคงมาก สำหรับผมแล้ว มันหมายถึงการที่พวกเขาทำงานใกล้ชิดกัน ลงลึกในรายละเอียด ไม่ใช่แค่การดูเอาจาก powerpoint และในความเห็นของผม การมีทีมเล็กๆ ที่มีทักษะดีๆ เพียง 5-10 คน ที่ช่วยกันจัดการกิจกรรมหลักในการปฏิรูปองค์กรจะได้ประโยชน์กว่า

ทรัพยากรที่สำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จก็ได้แก่ source code ที่เพียงพอ โครงสร้างการจ่ายเงิน และความยืดหยุ่นของบัตรเครดิต และทีมงานจะเป็นตัวเชื่อมระหว่างแนวคิดของคณะกรรมการบริษัทกับคนทำงานในส่วนปฏิบัติการ ถ้าไม่มีทีมแบบนี้การเดินทางนี้ก็ล้มเหลว

มีหลายครั้งที่งานแบบนี้เริ่มต้นอย่างยิ่งใหญ่และเต็มไปด้วยผู้จัดการอาวุโส สมาชิกในคณะทำงานก็จะไม่ติดดินอีกต่อไป (พื้นดินคืออะไรหรือ บนสวรรค์นี่สวยกว่ากันเยอะ) คุณก็รู้ว่าโครงการอย่างนี้ต้องใช้เงินหลายร้อยล้าน แต่นั่นจะไม่ให้ประโยชน์อะไรเลย กิจกรรมที่ได้ผลมักจะเป็นกิจกรรมงบน้อยๆ แต่มีทีมฉลาดๆ และในทางกลับกัน โครงการที่มีงบประมาณมากๆ แบบที่เงินไม่กี่ล้านบาทยังไม่ทำให้รู้สึกอะไรเลย โครงการเล็กๆ ที่ให้ประโยชน์ตรงๆ หลายๆ โครงการนี่แหละที่เป็นกุญแจสำคัญ อาจจะจัดการให้สอดคล้องประสานกันได้ยากสักหน่อย แต่สิ่งนี้ก็เป็นประสบการณ์ที่ต้องสร้างขึ้นมาให้ได้ นี่ก็ทำให้ผมคิดขึ้นมาได้ถึงการปฏิรูปองค์กรที่ GE ตอนนั้นผมรายงานตรงต่อ Global CIO ผมโทรหาหัวหน้าโครงการทั่วโลกในเวลาแปลกๆ เพื่อจัดการเรื่องการตั้งค่า ทำขั้นตอนการทำงานและ APIs กับ vendors รวมไปถึงการเจรจา เพราะทุกๆ วันมีค่าและวันส่งมอบก็ถูกกำหนดไว้แล้ว