Europe’s bizarre decision-making structure has allowed domestic German politics to prevail over all other considerations.
มุมมองที่ลุ่มลึกต่อการเมืองระหว่างประเทศ
บทความนี้ เขียนโดย Jeffrey Sachs ที่ผมอ่านใน นสพ. บางกอกโพสต์ เมื่อวานนี้ ให้ความลุ่มลึกเกินคาด ที่ไม่มีในสื่อมวลชนทั่วๆ ไป
เขาชี้ให้เห็นว่า วิกฤติเศรษฐกิจของกรีซในครั้งนี้ไม่ใช่จู่ๆ ก็เกิดขึ้น มันมีรากฐานยาวนาน และชี้ให้เห็นว่า เป็นผลของการบริหารที่ผิดพลาดขององค์กรการเงินของอียู และเจ้าหนี้ด้วย ได้แก่ธนาคารกลางของยุโรป (ECB - European Central Bank), IMF, EC, USA
ข้อผิดพลาดคือ การแก้ปัญหาแบบเล่นการเมือง เล่นเกม และความล้มเหลวของกลไกในสหภาพยุโรป คือประเทศสมาชิก ๑๙ ประเทศต่างก็รักษาผลประโยชน์ของประเทศตน ละเลยผลประโยชน์ร่วมกันของ สหภาพยุโรป
ผมอดหวนคิดถึงบ้านเราไม่ได้ เราไม่มีคนอย่าง Jeffrey Sachs มาเตือนสติให้เห็นแก่ประเทศชาติ มากกว่าผลประโยชน์ของกลุ่มย่อย
วิจารณ์ พานิช
๑๔ ก.ค. ๕๘
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich
คัดลอกจาก: https://www.gotoknow.org/posts/592375