คนที่เกิดมาด้อยโอกาสนั้น ความด้อยโอกาสมีมากกว่าด้อยทางเศรษฐฐานะ และฐานะในสังคม และความด้อยโอกาส บางด้านอาจแฝงอยู่อย่างลี้ลับจนไม่มีใครตระหนักรวมทั้งเจ้าตัว เช่น ด้อยโอกาสเห็นโลกกว้าง สังคมวงกว้าง เพราะหน้าที่ การงาน (ที่ดีเลิศ) กำหนดให้ต้องทำงานและมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมในวงแคบ วันแล้ววันเล่า ปีแล้วปีเล่า จนกลายเป็นคนที่ ความคิดคับแคบ ขัดแย้งกับคนอื่นง่าย
“เลขา” หายไปสิบกว่าวัน กลับมาอย่างกระปรี้กระเปร่า และเล่าเรื่อง Transformative Learning ของนักศึกษาสาว ไทยมุสลิมที่ได้รับทุนจาก มูลนิธิพูนพลัง แบบที่มีเรื่องเล่าหลายตอนไม่รู้จบ คราวนี้เป็นการเรียนรู้ จากการไปออกค่ายในอีสาน ร่วมกับคนญี่ปุ่น
ฟังแล้วผมคิดว่านักศึกษาคนนี้ได้เรียนรู้สิ่งที่มีคุณค่าต่อชีวิตอย่างมากมาย ในลักษณะเปลี่ยนความคิดต่อการเคร่งศาสนา ในเรื่องอาหาร ที่เดิมตนเคร่งเกินพอดี พอคนญี่ปุ่นตั้งคำถามแบบซื่อๆ ก็ฉุกคิด และโทรศัพท์ไปถามครูสอนศาสนาอิสลาม และได้คำตอบว่า ศาสนาไม่ได้ห้ามอย่างที่ตนคิด นักศึกษาคนนี้ถึงกับอุทานว่า “หนูเข้าใจผิดมาตลอดชีวิต”
ผมมองว่า นี่คือการที่พูนพลัง">มูลนิธิพูนพลังทำประโยชน์ให้แก่นักศึกษาที่ได้รับทุน ในลักษณะเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้มี ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม (socialization) กับคนต่างชาติ ต่างภาษา ต่างวัฒนธรรม ที่เป็นมิตร เกิดการเปิดโลกทัศน์ นำไปสู่ “การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง” ความคิดเกี่ยวกับข้อห้ามในศาสนาของตน
คนที่เกิดมาด้อยโอกาสนั้น ความด้อยโอกาสมีมากกว่าด้อยทางเศรษฐฐานะ และฐานะในสังคม และความด้อยโอกาส บางด้านอาจแฝงอยู่อย่างลี้ลับจนไม่มีใครตระหนักรวมทั้งเจ้าตัว เช่น ด้อยโอกาสเห็นโลกกว้าง สังคมวงกว้าง เพราะหน้าที่ การงาน (ที่ดีเลิศ) กำหนดให้ต้องทำงานและมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมในวงแคบ วันแล้ววันเล่า ปีแล้วปีเล่า จนกลายเป็นคนที่ ความคิดคับแคบ ขัดแย้งกับคนอื่นง่าย
การศึกษา หรือการเรียนรู้ ในชีวิตนี้ มีมากกว่าการศึกษาในรูปแบบมากมายนัก วันนี้ผมได้เรียนรู้แง่มุมที่จะช่วยให้ทำ หน้าที่ประธานมูลนิธิพูนพลังได้ดียิ่งขึ้น อีกแง่มุมหนึ่ง เกิดความสุขใจยิ่งนัก
วิจารณ์ พานิช
๑๒ ส.ค. ๕๘
วันแม่
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich
คัดลอกจาก: https://www.gotoknow.org/posts/594610