เราต้องสร้าง empathy ขึ้นมาในสังคม การที่เราไม่มี empathy เพราะเราไม่เห็นความเชื่อมโยง เราไม่รู้ว่าสิ่งนี่มาอย่างไร เราไม่รู้ เราแค่มีหน้าที่บริโภคด้วยความสะดวกของเรา เราไม่รู้ว่ากว่าจะได้มามันเจ็บปวดแค่ไหน กว่าจะได้มาเขาต้องออกแรงขนาดไหน ถ้าเราสามารถเห็นความเชื่อมโยงนี้ได้ ทำให้ทุกคนเห็น เราจะทำงานบนคุณค่าของกันและกัน เขาเรียกว่า value chain จริงๆ คือผมเห็นคุณค่าของคุณ เพราะฉะนั้นถ้า ถ้าถามว่าทำไมถึงต้องลงไปทำถึงขนาดนี้ เพราะเราต้องทำให้เห็นทั้งหมดเลยนะ ถ้าผมไม่เห็นทั้งหมด ผมไม่รู้ทั้งหมด ผมก็จะทำงานแบบที่ทุกคนเป็นอยู่ตอนนี้ เพราะฉะนั้นสังคมมันจะเปลี่ยนแปลงได้ สังคมมันจะดีได้ มันต้องเห็นใจซึ่งกันและกัน มันต้องมี empathy ต้องคิดถึงคนอื่น
วาดฝัน KM 3.0 ประเทศไทย : ฝันของ นพ. ก้องเกียรติ เกษเพ็ชร์ - ผู้ก่อตั้ง บจก. สุขสาธารณะ
ดังได้เล่าแล้ว ที่นี่ ว่าเรากำลังเตรียมระดมความคิด ความฝัน และพลัง เพื่อขับเคลื่อน KM 3.0 ประเทศไทย ในการนี้ เราพยายามให้คนมาช่วยกันฝันให้กว้างขวางที่สุดเท่าที่จะทำได้ นอกจากจัดประชุม ปรึกษาหารือกันแล้ว ทีม ดร. มณฑล สรไกรกิตติกูล ยังทำหน้าที่ไปสัมภาษณ์บุคคลที่มีบทบาทสำคัญ ในทางปฏิบัติในบริบทที่หลากหลายมาก
บัดนี้ท่านเหล่านั้นอนุญาตให้นำออกเผยแพร่ต่อสาธารณะได้แล้ว จึงขอนำมาแบ่งปัน เพื่อขอรับฟังความเห็นเพิ่มเติม เสริมแต่ง มองต่าง ทำต่าง ทำต่อ ฯลฯ เราอยากได้แนวทางขับเคลื่อนที่มีคนมา ร่วมกันทำในบริบทของตน
อ่านความฝันของ นพ. ก้องเกียรติ เกษเพ็ชร์ - ผู้ก่อตั้ง บจก. สุขสาธารณะ, ผู้ก่อตั้งโรงเรียนกาละพัฒน์ และกิจการอื่นๆ อีกมาก ได้ที่ KM 3.0_ก้องเกียรติ.pdf
สรุปได้ว่า มุ่งทำเพื่อให้คนในสังคมมีความเข้าใจ และเห็นอกเห็นใจผู้อื่น (empathy) ผ่านความเข้าใจว่าสรรพสิ่งอิงอาศัยซึ่งกันและกัน เป็น value chain
วิจารณ์ พานิช
๒๒ ต.ค. ๕๘
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich
คัดลอกจาก: https://www.gotoknow.org/posts/596629