การศึกษาเพื่องอกงามทักษะสร้างสรรค์
เช้าวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ ผมไปสังเกตการณ์การอบรมเชิงปฏิบัติการ การใช้เครื่องมือส่งเสริมและประเมินการใช้ทักษะความคิดสร้างสรรค์และทักษะการคิดวิเคราะห์ ซึ่งดำเนินการตามความร่วมมือระหว่าง OECD กับ สสค. และภาคีในประเทศไทย เพื่อดำเนินโครงการวิจัยและพัฒนาเครื่องมือส่งเสริมและประเมินทักษะความคิดสร้างสรรค์และการคิดวิเคราะห์ ที่ OECD ทำร่วมกับ ๑๔ ประเทศ โดยประเทศไทยเป็น ๑ ใน ๑๔ ประเทศนั้น
วิทยากร คือ Paul Collard มาจากประเทศอังกฤษ
เมื่อไปเห็นกระบวนการฝึกอบรม ผมก็ตระหนักว่า การบ่มเพาะทักษะความคิดสร้างสรรค์และทักษะ การคิดวิเคราะห์ ไม่ได้แยกออกจากการบ่มเพาะทักษะอื่นๆ ที่จำเป็นต่อชีวิตของคนสมัยใหม่ และไม่ได้แยกออกจากการเรียนด้านวิชาการ คือมันบูรณาการเป็นเนื้อเดียวกัน อยู่ในวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ Activity-Based หรือ Active Learning นั่นเอง
คุณพอล บอกว่า ความสร้างสรรค์ประกอบด้วยคุณสมบัติย่อย ๕ อย่างประกอบกัน คือ
- ขี้สงสัย
- จินตนาการ
- มีวินัย
- ร่วมมือ
- มานะบากบั่น
จะเห็นว่า ความสร้างสรรค์ไม่ใช่คุณสมบัติในลักษณะอยู่ๆ ก็คิดออก ทำได้ แต่ต้องการวินัย ความร่วมมือกับคนอื่น และความอดทนมานะพยายามด้วย
ผมมีความเชื่อว่า การศึกษาที่ดี ต้องบ่มเพาะหรือช่วยให้เด็กงอกงามคุณสมบัติที่ต้องการสำหรับ การดำรงชีวิตที่ดีในอนาคต และเด็กต้องได้สิ่งนี้ทุกคน อย่างเต็มศักยภาพของตน ทักษะความคิดสร้างสรรค์และทักษะการคิดวิเคราะห์ จึงไม่ใช่สิ่งที่เด็กหัวดีเท่านั้นที่จะงอกงามได้
สสค. ลงข่าวการอบรมนี้ไว้ที่ http://www.qlf.or.th/Home/Contents/1080
ผมชอบสไลด์ ที่บอก high functioning learning space ดังนี้
โดยการเรียนรู้ที่ดี ต้องจัดให้สมดุลระหว่างซีกขวากับซีกซ้าย และปรับตามบริบทของนักเรียน และตามเป้าหมายผลลัพธ์การเรียนรู้
วิจารณ์ พานิช
๑ ธ.ค. ๕๘
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich
คัลลอกจาก: https://www.gotoknow.org/posts/599173