สภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เมื่อวันที่ ๓๐ มี.ค. ๕๖ พิจารณาวาระการประชุมเรื่องรายงานผลโครงการจัดการศึกษาพิเศษของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร ปการศึกษา 2555 แล้วมีความเห็นว่า ต้องกำกับดูแลแบบแยกแยะ ไม่ใช่กำกับดูแลแบบรวมๆ กัน
ทำให้ผมนึกถึงหลัก “การกระจายแบบหางหนัก” และ “วิธีรับรู้แบบสุนัข” ที่บอกเราว่า มนุษย์เรามักหลงคิดแบบnormal distribution หรือแบบเหมารวม ไม่คิดแบบแยกแยะ หาส่วนที่ดีเลิศ (best practice) เอามาส่งเสริมและขยาย และหาส่วนที่เลว หรือคุณภาพต่ำ สำหรับยกเลิกหรือหลีกเลี่ยง
ทั้งสองส่วนนั้น มีข้อมูลสำหรับเรียนรู้ยวดยิ่ง คือเรียนจากความสำเร็จ และเรียนจากความผิดพลาด ในการจัดหลักสูตรพิเศษ ในยุคปัจจุบัน และในมหาวิทยาลัยวิจัย
วิจารณ์ พานิช
๓๑ มี.ค. ๕๖
คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/537242