วันที่ 12 มีนาคม 2558 ได้รับเชิญเข้าร่วมงานเสวนาทางวิชาการ HROD TALK ครั้งที่ 68 หัวข้อ "ก้าวสู่ที่ปรึกษามืออาชีพ (HROD Consultancy) เจ้าของงานได้แก่ ศ.ดร.ชาติชาย ณ.เชียงใหม่ ผู้อำนวยการหลักสูตร การพัฒนาภาวะผู้นำเพื่อองค์การที่ยั่งยืนคณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (นิด้า) เป็นกิจกรรมที่ให้นักศึกษาเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้การให้คำปรึกษาแบบมืออาชีพ เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับแนวความคิด ทฤษฎี แนวทาง ขอบเขต และตัวแบบของความสำเร็จในองค์การที่นักศึกษาไปให้คำปรึกษา มานำเสนอเพื่อเป็นกรณีศึกษา โดยแบ่งออกเป็น 7 กลุ่ม โดยมีเวลาการนำเสนอกลุ่มละ 20 นาที ดังนี้
กลุ่มที่ 1. Build competence Thai Watsadu through Workshop learning
กลุ่มที่ 2.การวินิจฉัยปัญหาการลาออกของพนักงานขายเพื่อนำไปสู่แนวทางการแก้ไขปัญหาและพัฒนาองค์กร กรณีศึกษา บริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง
กลุ่มที่ 3 ทฤษฎีและการพัฒนาองค์กร
กลุ่มที่ 4 การเตรียมความพร้อมระบบบริหารทรัพยากรมนุษย์สู่ AEC
กลุ่มที่ 5.การวินิจฉัยสาเหตุการลาออกของพนักงานประจำสาขาเพื่อวางแนวทางการปรับปรุงกระบวนการทำงานของส่วนงานค้าปลีกให้มีประสิทธิภาพ
กลุ่มที่ 6 การปรับปรุงระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี
กลุ่มที่ 7 การบริหารทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับการเติบโตและการเปลี่ยนแปลงขององค์กร
การนำเสนอของนักศึกษาทั้ง 7 กลุ่ม ถือว่าใช้ได้ แต่ที่ผมให้ความสนใจ มีอยู่ 2 กลุ่ม ซึ่งกรณีศึกษาของทั้ง 2 กลุ่มตรงกับปัญหาที่ผมกำลังจะเข้าไปเป็นโค้ชให้คำปรึกษาในด้านการบริหารงานด้านทรัพยากรมนุษย์ ให้กับองค์กรหนึ่งพอดี ข้อมูลที่ได้รับจากการนำเสนอถือว่าเป็นการตอกย้ำว่าสิ่งที่ผมเข้าใจนั้นถูกต้อง คือปัญหาเรื่องการบริหารจัดการคน เหมือนกันกับทุกองค์กร หลักใหญ่ๆอยู่ที่ ความไม่เข้าใจ หรือเข้าใจไม่ตรงกัน ของแต่ละหน่วยงาน โดยเฉพาะ HR และ ฝ่ายปฎิบัติการ ต่างฝ่ายต่างไม่พยายามทำงานร่วมกัน มองคนละด้าน สิ่งที่ต้องแก้ไข คือระบบการสื่อสารที่ทำให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับงานต้องมีความเข้าใจและมองภาพเดียวกัน คิดถึงองค์กรไม่ใช้เอาชนะกัน โยนกันไปโยนกันมาจนทำให้องค์กรเสียหาร
ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท
19 มีนาคม 2558