สัญญาที่ไม่เป็นธรรม
ข้าพเจ้าได้รับจดหมายจากธนาคารอาคารสงเคราะห์ เรื่องต่ออายุกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย
โดยมีข้อความดังนี้
“ตามที่ท่านเป็นลุกค้าเงินกู้ของธนาคารอาคารสงเคราะห์
ตามบัญชีเงินกู้ XXXXX และทำประกันอัคคีภัยเพื่อคุ้มครองสิ่งปลูกสร้างไว้กับกลุ่มบริษัทพันธมิตร
ในรูปแบบการรับประกันภัยร่วมเป็นผู้ดูแลทรัพย์สินของท่าน
ซึ่งกลุ่มพันธมิตรมีความยินดีของแจ้งเงื่อนไขความคุ้มครองภายใต้กรมธรรม์ประกันอัคคีภัยให้ท่านทราบตามเอกสารแนบท้ายนั้น
เนื่องด้วยกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยฉบับปัจจุบันของท่านจะสิ้นสุดความคุ้มครอง
ดังนั้น เพื่อให้ทรัพย์สินของท่านได้รับความคุ้มครองอย่างต่อเนื่อง
ธนาคารจึงขอให้ท่านต่ออายุกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย โดยชำระเงินค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย
เป็นเงินจำนวน ๒,๒๐๕.๐๘ บาท
(สองพันสองร้อยห้าบาทแปดสตางค์) ซึ่งมีระยะเวลาคุ้มครองประกันภัย ๓ ปี ให้ท่านชำระค่าเบี้ยประกันอัคคีภัยรวมกับเงินงวดปกติ
ประจำเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๑ ได้ตั้งแต่วันที่
๒-๓๑ พฤษภาคม”
ข้าพเจ้าเช็คเงินต้นคงเหลือที่ยังเป็นหนีธนาคารตามบัญชีเงินกู้ที่ธนาคารระบุมาในจดหมาย
พบว่ามีจำนวน ทั้งสิ้น 17,471.18 บาท ( หนึ่งหมื่นเจ็ดพันสี่ร้อยเจ็ดสิบเอ็ดบาทสิบแปดสตางค์
) โทรติดต่อเจ้าหน้าที่ธนาคารตามเบอร์โทรศัพท์ที่แจ้งไว้ในจดหมาย
เพื่อแจ้งว่าจะไม่ขอต่ออายุกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย เจ้าหน้าที่แจ้งว่า
ต้องต่อเพราะระบุไว้ในสัญญา ข้าพเจ้าแจ้งไปว่าสัญญาที่ธนาคารกำหนดเป็นสัญญาที่ไม่ยุติธรรม
ธนาคารเอาเปรียบลูกค้ามาก ข้าพเจ้ากู้เงินธนาคารมาแค่ล้านกว่าๆ
แต่มูลค่าที่ดินและทรัพย์สิน ของข้าพเจ้าที่จำนองไว้มีมูลค่า ประมาณแปดล้าน ธนาคารยังบังคับให้ผู้กู้ต้องทำประกันเพื่อให้ธนาคารเป็นผู้รับผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย
อีก เป็นการผลักภาระให้กับลูกค้าเพื่อผลประโยชน์ของธนาคารเอง
ข้าพเจ้าเป็นลูกค้าทีดีของธนาคารมาตลอดมา ชำระค่าผ่อนหนี้เป็นประจำไม่เคยช้าและขาดแม้นแต่งวดเดียว
หลายๆคนอาจจะคิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ทุกธนาคารทำและมีระบุอยู่ในสัญญา
ทำให้ลูกค้าเงินกู้ธนาคารถูกเอาเปรียบจากธนาคาร อยู่ตลอดเวลา
แต่ไม่มีการแก้ไขหรือสร้างความเป็นธรรม
จึงขอให้ช่วยกันพิจารณาครับว่าสมควรจะปล่อยให้ธนาคารเอาเปรียบลูกค้าเงินกู้ของธนาคารอยู่อย่างนี้ต่อไปหรือไม่
ข้าพเจ้าได้ติดต่อขอให้ผู้บริหารของธนาคารอาคารสงเคราะห์
นำเรื่องของข้าพเจ้าไปพิจารณา เนื่องจากข้าพเจ้าจะไม่ยอมจ่ายค่าต่ออายุกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย
ด้วยสาเหตุดังนี้
๑.ข้าพเจ้าเป็นลูกค้าที่ดีของธนาคารมาตลอด
ดอกเบี้ยก็ไม่ลดให้ ทั้งๆที่ตอนนี้ลูกค้าใหม่ได้รับข้อเสนอ จ่ายดอกเบี้ยต่ำ
กว่าที่ข้าพเจ้าจ่ายอยู่
๒.มูลค่าที่ดินและทรัพย์สินที่ข้าพเจ้าจำนองไว้กับธนาคารมีจำนวนมากพอที่ธนาคารจะนำไปขายเพื่อชดใช้ค่าหนี้สินที่ข้าพเจ้ายังมีอยู่กับธนาคาร ถ้าข้าพเจ้าไม่ยอมใช้หนี้
(หลักประกันมีจำนวนสูงกว่าเงินกู้หลายเท่าตัว)
๓.ข้าพเจ้ากำลังติดต่อขายบ้านและที่ดินที่อาศัยอยู่ เพื่อนำเงินไปใช้หนี้สินให้หมด หาซื้อบ้านพร้อมที่ดินหลังใหม่ที่เล็กลง
เหลือเงินเพื่อเก็บไว้ใช้จ่ายจนกว่าจะสิ้นชีวิต
สามารถใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ทำประโยชน์ให้กับสังคมและประเทศชาติ
ได้อย่างมีความสุข ไม่ต้องกังวลในการหาเงินมาผ่อนหนี้ธนาคารทุกเดือน การเสียเงินเพื่อต่ออายุกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย
เป็นการเสียเงินที่ไม่เกิดประโยชน์ แถมเป็นการยอมให้ธนาคารละเมิดสิทธิส่วนตัวของข้าพเจ้า
๔.ข้าพเจ้าอยากให้ผู้บริหารธนาคารอาคารสงเคราะห์มีจิตสำนึก
ถึงความถูกต้องและความเป็นธรรม ลูกหนี้ของธนาคารก็คือลูกค้าของธนาคาร
ท่านควรจะดูแลและให้บริการลูกค้าอย่างเป็นธรรม ไม่ควรเอาเปรียบลูกค้า มากจนเกินไป
๕.ข้าพเจ้าอยากฝากเรื่องนี้ให้กับ
ผู้บริหารประเทศชาติ ที่ท่านว่าท่านทำเพื่อประชาชน ช่วยให้ประชาชนได้รับสิทธิที่เท่าเทียม
ช่วยเหลือผู้ยากไร้ ไม่ให้ถูกเอาเปรียบ สร้างความเป็นธรรม ถ้าท่านนำเรื่องที่ข้าพเจ้ายกขึ้นมานี้ ไปแก้ไข
ข้าพเจ้าจึงจะยอมรับว่าท่านทำเพื่อความเป็นธรรมอย่างแท้จริง
๖.ข้าพเจ้าอยากจะฝาก สมาชิกรัฐสภา
พิจารณานำเรื่องการออกกฎหมาย และการออกกฎข้อบังคับ จากหน่วยงานภาครัฐ
รวมทั้งสัญญาต่างๆที่ไม่เหมาะสม
กฎข้อบังคับต่างๆที่ออกมาเอื้อประโยชน์ต่อข้าราชการหรือต่อหน่วยงานต่างๆ
โดยไม่ได้คำนึงถึงความเดือดร้อนของประชาชน สร้าง อุปสรรค ความไม่สะดวก
ในการปฏิบัติของผู้ที่ต้องการปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย
สรุปประเด็น ที่นำเสนอเพื่อชี้ให้เห็นถึงความเป็นธรรมและสิทธิเสรีภาพของประชาชน
ที่ผู้บริหารประเทศควรเอาใจใส่ดูแลไม่ปล่อยให้ ผู้ประกอบการเอาเปรียบผู้บริโภค
จนเกินไป
๑.การประกันภัย ควรเป็นสิทธิของเจ้าของทรัพย์สิน
ว่าสมควรจะทำประกันหรือไม่ ไม่ใช่ต้องถูกบังคับให้ทำประกัน
๒.ธนาคารผู้ให้กู้
มีผลประโยชน์คิดเป็นดอกเบี้ยจากผู้กู้ (ลูกค้า) ถือเป็นการทำการค้า ธนาคารได้บวกต้นทุนและกำไรไว้แล้ว แถมเรียกหลักทรัพย์ค้ำประกันจากผู้กู้
ซึ่งมีมูลค่าสูงกว่ามูลค่าเงินที่ธนาคารให้กู้ไป แค่นี้ก็ได้เปรียบผู้กู้
หรือลูกค้ามากพอแล้ว ยังไม่รู้จักพอ ยังเอาเปรียบมากขึ้น
โดยให้ผู้กู้ต้องทำประกันภัย และยินยอมให้ทางธนาคารเป็นผู้รับสินไหมจากการประกันภัย
เพื่อนำมาหักจำนวนเงินกู้ที่ยังเหลือค้างก่อน เหลือเท่าไหร่จึงจะมอบให้ผู้ประกัน
ซึ่งเป็นผู้กู้(ลูกค้า)
สัญญาแบบนี้ไม่เรียกว่าเป็นการเอาเปรียบลูกค้าแล้วจะเรียกว่าอะไร
ธนาคารอ้างว่าทำเพื่อผลประโยชน์ของลูกค้า เป็นการโกหกแบบไม่มีความอาย
๓.ผู้บริหารบ้านเมือง ผู้ออกกฎหมาย หรือ
หน่วยงานที่ดูแลเรื่องสัญญา เคยพิจารณาเรื่องนี้หรือไม่
หม่อมหลวงชาญโชติ ชมพูนุท
๒๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑