๒๕ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๖๘
ร่วมรำลึกและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นฯ แห่งองค์
พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ
พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาธีรราชเจ้า
เนื่องในวโรกาส วันเสด็จสู่สวรรคาลัย

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 29 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นองค์ที่ 2 ที่ประสูติแต่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423 ณ พระที่นั่งในพระบรมมหาราชวังชั้นใน มีพระเชษฐภคินีและพระอนุชาร่วมพระชนนี 7 พระองค์ คือ

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน์ (พ.ศ. 2421-2430) 
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2423-2468) 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตม์ธำรง (พ.ศ. 2424-2430) 
จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ (พ.ศ. 2425-2463) 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ (พ.ศ. 2428-2430) 
พลเรือเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา (พ.ศ. 2432-2467) 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย (พ.ศ. 2435-2466) 
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2436-2484) 

พระองค์ท่านเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติ ต่อจาก สมเด็จพระปิยมหาราช สมเด็จพระบรมชนกนาถ เป็นเวลานาน ๑๕ ปี ทรงสืบสานพระราชกรณียกิจพัฒนาประเทศชาติ ต่อจากพระชนก ด้วยพระอัจฉริยะภาพ ทรงตราพระราชบัญญัตินามสกุล ตราพระราชบัญญัติการประถมศึกษาเป็นการวางรากฐานการศึกษาสมัยใหม่ให้พสกนิกรของพระองค์ ทรงตั้งคลังออมสินหรือธนาคารออมสินเพื่อให้ประชาชนรุจักการออมทรัพย์ ทรงตั้งบริษัทปูนซีเมนต์ไทย
การส่งทหารเข้าร่วมรบสงครามโลกครั้งที่ 1
ในตอนแรกไทยรักษาความเป็นกลางอย่างมั่นคงแต่เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าอยู่หัวทรงให้ความสนใจและติดตามข่าวการสงครามอย่างใกล้ชิดพระองค์ทรงเล็งเห็นการณ์ไกลในการให้ประเทศไทยประกาศเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร เพราะถ้าฝ่ายสัมพันธมิตรได้รับชัยชนะจะมีผลดีในการที่ประเทศไทยจะเรียกร้องสิทธิต่างๆ เช่น ขอแก้ไขสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมที่ทำไว้กับนานาประเทศ จึงได้ประกาศสงครามกับเยอรมนีและออสเตรีย-ฮังการี ในวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 โดยประกาศกระแสพระบรมราชโองการประณามว่า “เยอรมนีและออสเตรีย-ฮังการี เป็นฝ่ายละเมิดเมตตาธรรมของมวลมนุษย์ มิได้มีความนับถือต่อประเทศเล็ก ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายระหว่างประเทศ และเป็นผู้ก่อกวนความสุขของโลก” ซึ่งเหตุการณ์ก็เป็นดังที่พระองค์ทรงคาดไว้ คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรได้รับชัยชนะ

สวรรคต 
พระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวรพระโรคพระโลหิตเป็นพิษในพระอุทรตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 และเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ภายในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 เวลา 1 นาฬิกา 45 นาที โดยได้อัญเชิญพระบรมศพไปประดิษฐาน ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทรวมพระชนมพรรษาได้ 45 พรรษา และเสด็จดำรงสิริราชสมบัติได้ 15 พรรษา แต่รัชกาลที่ 7 มีพระราชประสงค์กำหนดวันสวรรคตของรัชกาลที่ 6 เป็นวันที่ 25 พฤศจิกายน และถือว่าวันพระมหาธีรราชเจ้าตรงกับวันที่ 25 พฤศจิกายนส่วนพระบรมราชสรีรางคารได้เชิญไปประดิษฐาน ณ.วัดบวรนิเวศวิหาร และเชิญไปประดิษฐาน ณ.พระปฤศฤๅงค์ พระร่วงโรจน์ฤทธิ์ ส่วนพระบรมอัฐิส่วนหนึ่งเชิญไปประดิษฐาน ณ.พระวิมานองค์กลาง พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท และ อีกส่วนหนึ่งเชิญไปประดิษฐาน ณ.พระวิมานพระอัฐิ วังรื่นฤดี ของ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พระราชธิดาพระองค์เดียว

คัดลอกจาก facebook เผยแพร่โดย คุณพิชาญ พงษ์พิทักษ์