Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

ความเข้าใจเรื่องพัฒนาการของเด็กปฐมวัย

พิมพ์ PDF

ความเข้าใจเรื่องพัฒนาการของเด็กปฐมวัย


Prof. Vicharn Panich

วันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๖๐ ผมไปร่วมประชุมคณะกรรมการ steering committee โครงการจัดตั้งสถาบันวิจัยระบบการเรียนรู้ ที่ ทีดีอาร์ไอ ซึ่งคราวนี้คุยกันเรื่อง นโบายการพัฒนาเด็กปฐมวัยในประเทศไทย


ทำให้ผมได้มุมมองต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัยถึง ๕ ด้าน

  • เป็นช่วงที่สมองกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว รับสนองการกระตุ้นได้มาก
  • เป็นการวางรากฐานของชีวิต
  • เป็นช่วงชีวิตที่อัตราคุ้มค่าของการลงทุนทางเศรษฐศาสตร์สูงสุด
  • หากดำเนินการถูกต้อง จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างความเป็นธรรมในสังคม
  • คุณภาพของการศึกษาปฐมวัยมีผลบวกต่อสังคมในสัดส่วนที่สูง

ที่น่าสนใจคือ ประเทศไทยในภาพรวม อัตราเข้าถึงบริการการศึกษาของเด็กปฐมวัยสูงมาก คือร้อยละ ๗๔ จากสถิติของ UNESCO (อัตราเฉลี่ยทั้งโลก ร้อยละ ๔๔) และไม่มีความแตกต่างระหว่างเด็กจากครอบครัวฐานะดี กับเด็กจากครอบครัวยากจน (ข้อมูลจาก UNICEF โครงการ MICS และข้อมูลจาก PISA)


แต่ผมสนใจเรื่องคุณภาพมากกว่า เพราะการเข้าถึงบริการผิดๆ อาจยิ่งมีผลติดลบ

ผมมองว่าการดูแลคุณภาพของพัฒนาการเด็กปฐมวัย คืออนาคตของบ้านเมือง และควรโฟกัสที่ลูกของพ่อแม่ยากจน ที่มีรายงานผลการวิจัยทางสมองว่า สมองเติบโตผิดปกติ ดัง บันทึกนี้


การอภิปรายของผู้เข้าร่วมประชุม ชี้ให้เห็นว่า การดูแลพัฒนาการของเด็กปฐมวัยของประเทศไทยเดินผิดทางจริงๆ คือศูนย์เด็กปฐมวัยของ อปท. มักจะทำหน้าที่รับเลี้ยงเด็ก (เพราะพ่อแม่ไปทำงาน) หรือถ้าเป็นของเอกชนก็มักมุ่งสอนหนังสือ สนองความคาดหวังของพ่อแม่ ที่ต้องการให้สอนให้ลูกอ่านออกเขียนได้ ซึ่งเป็นความคาดหวังที่ผิด การดูแลเด็กปฐมวัยที่ถูกต้องคือให้ได้เล่น ได้เข้าสังคมกับเพื่อน ได้ฝึกภาษา และฝึกระเบียบวินัย ฝึก EFเพื่อวางรากฐานชีวิต

ดังนั้น สิ่งที่ควรเป็นนโยบายด้านการพัฒนาเด็กเล็กของไทยคือ (๑) พัฒนาคุณภาพของศูนย์เด็กเล็ก (๒) พัฒนาคุณภาพของครูปฐมวัย (๓) พัฒนาความเข้าใจของพ่อแม่ เกี่ยวกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย (๔) ช่วยเหลือด้านการเงินแก่พ่อแม่เด็กปฐมวัย และด้านลดความเครียดเรื้อรังในเด็กที่พ่อแม่ยากจน ที่มีผลให้ HPA Axis อ่อนแอ พัฒนา EF ยาก โดยพ่อแม่ต้องไปรับการฝึกอบรมวิธีเลี้ยงลูก จึงจะได้รับเงินช่วยเหลือ ที่เรียกว่า conditional cash transfer

ประเทศไทยเราโชคดี ที่ความสำคัญของการศึกษาปฐมวัยได้รับการยอมรับจากด้านการเมืองแล้ว

วิจารณ์ พานิช

๒๑ มี.ค. ๖๐


คัดลอกจาก https://www.gotoknow.org/posts/627928

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 26 เมษายน 2017 เวลา 02:24 น.
 

เพ่งพิศพินิจนึกเรื่องชีวิตและความตาย

พิมพ์ PDF

ชีวิตที่พอเพียง : 2902. เพ่งพิศพินิจนึกเรื่องชีวิตและความตาย

Prof. Vicharn Panich

หนังสือเรื่อง เมื่อลมหายใจกลายเป็นอากาศ แปลจาก When Breath Becomes Air เขียนโดย Paul Kalanithi ศัลยแพทย์ระบบประสาทผู้ล่วงลับด้วยโรคมะเร็งปอดเมื่ออายุ ๓๖ ปี

อ่านแล้วจะได้รู้จักมนุษย์ที่มีจิตใจละเอียดอ่อน จนผมสงสัยว่าความละเอียดอ่อน และไวต่อความรู้สึก (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอัจฉริยภาพของพอล กาละนิธิ) นั่นเอง ที่เป็นต้นเหตุหนึ่งของความทุกข์ยากในชีวิตของตนเอง

ผมได้เห็นระบบการศึกษาที่เอื้อให้เยาวชนได้เรียนตามความสนใจ (คลั่งใคล้) ของตนเอง โดย พอล กาละนิธิ เรียนระดับอุดมศึกษาทั้งด้านมนุษยศาสตร์ (ตรีและโท สาขาวรรณคดีอังกฤษ), วิทยาศาสตร์ (ตรี สาขาชีววิทยาของมนุษย์ เอกสาขาประสาทวิทยาศาสตร์), และแพทยศาสตร์ (แพทยศาสตร์ และแพทย์เฉพาะทางสาขาประสาทศัลยศาสตร์) ข้อความในหนังสือพิสูจน์อัจฉริยภาพหลากด้านของเขา

อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่า นี่เป็นการตีความในแนวหนึ่ง เรื่องชีวิตและความตาย ที่พิเศษคือ พอล กาละนิธิมีความสามารถเขียนเล่าความรู้สึกนึกคิดของตนเองออกมาอย่างละเอียด และกล้าเล่าความย้อนแย้งในความคิดความรู้สึกของตนเอง โดยเขาบอกว่า เขาต้องการถักทอเรื่องชีววิทยา ศีลธรรม ชีวิต และความตาย เข้าด้วยกัน ในหนังสือ

ผมชอบสาระในหน้า ๖๘ ที่กล่าวว่า “ต้องไม่เรียนรู้ความรู้แค่อย่างเดียว ทว่าต้องเรียนรู้ปรีชาญาณด้วย” ผมเดาว่า “ปรีชาญาณ” แปลจาก intuition เวชปฏิบัติต้องใช้ทักษะนี้ ดังนั้นการเรียนแพทย์ ช่วยให้สั่งสมทักษะนี้โดยไม่รู้ตัว โดยไม่ต้องรู้จักคำคำนี้ โดยที่การเรียนเรียนจากการฝึกฝนในการปฏิบัติงานจริง และจริงๆ แล้วมนุษย์ทุกคนต้องฝึกทักษะนี้ตั้งแต่แรกเกิด แต่ผมเดาว่า ระบบการศึกษาแบบให้ผู้เรียนรับถ่ายทอดความรู้สำเร็จรูปจากครูและตำรา ได้ทำลายศักยภาพในการพัฒนาทักษะนี้

พอล กาละนิธิ กล่าวถึง “ปรีชาญาณ” ว่า เป็น “การตัดสินใจที่มาจากเสียงของตนเอง” ซึ่งผมเดาว่า แปลมาจากคำว่า inner voice

ในหน้า ๑๒๘ เขากล่าวถึงคำของ เฮมิงเวย์ ว่า “เมื่อได้รับประสบการณ์อันเข้มข้นแล้ว ก็ให้ให้ล่าถอยสู่การพินิจนึก แล้วบันทึกเรื่องเหล่านั้น” นี่อย่างไรเล่า สุดยอดความลับว่าด้วยการเรียนรู้อยู่ตรงนี้เอง และตรงกันกับทฤษฎีเรียนรู้สมัยใหม่ที่ว่า การเรียนรู้ที่แท้มาจาก action ตามด้วย reflection ผมนึกขอบคุณท่านผู้แปล (คือคุณโตมร ศุขปรีชา) ที่แปลคำว่า reflection ว่า “พินิจนึก” อันไพเราะ ซึ่งถ้าเช่นนั้น critical reflection ก็น่าจะแปลว่า “เพ่งพิศพินิจนึก”ซึ่งเข้าใจว่า ผมได้ยินจากปากของ ศ. ดร. เจตนา นาควัชระ เป็นระยะๆ มานานกว่า ๒๐ ปีแล้ว แต่ไม่ get

ทำให้ผมตระหนักว่า ทฤษฎีว่าด้วยการเรียนรู้ (และทฤษฎีด้านอื่นๆ) อยู่ในการปฏิบัติเต็มไปหมด แต่คนที่มีสมองขนาดผมจับไม่ค่อยติด รวมทั้ง แม้คนที่มีปัญญาสูง เข้าใจเรื่องนั้นๆ ดี ก็ยังหาภาษาสำหรับอธิบายให้คนอื่นเข้าใจได้ไม่ชัดเจนหรือบางทีคนอื่นเข้าใจไม่ตรงกับที่ “ผู้รู้” ต้องการบอก

คำว่า intuition ในภาคไทยบางทีก็ใช้ว่า “ปรีชาญาณ” บางทีก็ใช้คำ “ปัญญาญาณ” โดยที่ผมคิดว่า ผลลัพธ์ของ intuition ส่วนใหญ่แสดงออกมาเป็นการกระทำ การตัดสินใจ แต่ก็มีส่วนที่แสดงออกมาเป็นคำพูด/ข้อเขียน เพื่ออธิบายเรื่องราว

หนังสือ เมื่อลมหายใจกลายเป็นอากาศ จึงเกิดจากกระบวนการ “เพ่งพิศพินิจนึก” ออกมาเป็นตัวอักษร กลั่นออกมาจากใจของบุรุษผู้เป็นอัจฉริยะ ที่ผ่านการศึกษาทั้ง “ศาสตร์นุ่ม” และ “ศาสตร์แข็ง” แถม “ศาสตร์ปฏิบัติ” ที่ต้องฝึกฝนเข้มข้นแบบทารุณในช่วงที่เป็นแพทย์ประจำบ้านด้านประสาทศัลยศาสตร์ คือทำงานสัปดาห์ละ ๑๐๐ ชั่วโมง เกินกว่าข้อกำหนด ๘๘ ชั่วโมง จะเห็นว่า ในช่วงต้นของวิชาชีพแพทย์ ถูกกดขี่แรงงานนะครับ

แถมยังเขียนภายใต้ภาวะจิตใจที่บีบคั้น คือรู้ว่าตนเองเป็นมะเร็งปอดระยะที่สี่ ใกล้ความตายเต็มที แต่ก็ยังเขียนได้อย่างไพเราะลึกซึ้ง โดยเขียนจากกระบวนการ “เพ่งพิศพินิจนึก”

เป็นหนังสือที่อ่านสนุกและประเทืองปัญญา โดยต้องอ่านแบบ “เพ่งพิศพินิจนึก”

วิจารณ์ พานิช

๒๘ มี.ค. ๖๐

SCB Park Plaza


คัดลอกจาก: https://www.gotoknow.org/posts/627929

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 26 เมษายน 2017 เวลา 02:37 น.
 

ประเทศไทยควรเลือกการปกครองแบบใด

พิมพ์ PDF

สังคมธรรมธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขเพราะเป็นการนำหลักธรรมะในทุกศาสนามาเป็นแบบอย่างในวิธีชีวิตประจำวัน


แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 26 เมษายน 2017 เวลา 01:21 น.
 

คืนนี้ พุธที่ 26 เมษายน 2560 เชิญชมรายการสด เปลี่ยน เป็น เปลี่ยน

พิมพ์ PDF

ขอเชิญชมรายการ “เปลี่ยน เป็น เปลี่ยน”  ออกอากาศสดทางช่อง WBTV  ทุกคืนวันพุธเวลา 19.00-20.00 น รายการเสวนาเพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับการดำรงชีวิตของสังคมไทย 


สำหรับรายการคืนนี้  แขกรับเชิญ ศุษณะ ทัศน์นิยม (ครูก๊อง) นักร้องดีเด่นจากการประกวดร้องเพลง KPN2009 , Voice Trainer True AF 8-9-12นักร้องพระพิฆเนศทอง พระราชทาน ครั้งที่8 ปี2558


ร่วมเสวนาในเรื่อง “Startup ธุรกิจ เอาวิกฤตเป็นจุดเริ่มต้น” ดำเนินรายการโดย ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท และ คุณธนพัฒน์ พัฒศรีเรือง  คืนวันพุธที่ 26 เมษายน 2560  


ร่วมแสดงความคิดเห็นในขณะออกอากาศ 02-6757696


สามารถรับชมได้ช่องทาง ดังนี้


 ทาง Internet ได้ทั่วโลก www.wbtvonline.com 

 รับชมทางมือถือ www.stationg.com/wbtv

 รับชมทาง ทีวี ผ่านจานดาวเทียม ตามช่องต่างๆดังนี้

• กล่องดาวเทียมค่าย GMM ช่อง 175

• กล่องดาวเทียมค่าย PSI ช่อง 239

• กล่องดาวเทียวค่าย CTH  ช่อง 870

• กล่องดาวเทียวค่าย  Infosat ;Thaisat; Indeasat ; Leotech ช่อง 189


• สามารถชมรายการย้อนหลังได้ทาง YouTube

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 26 เมษายน 2017 เวลา 12:16 น.
 

ข้อคิดในวันพ่อไม่อยู่

พิมพ์ PDF

คุณภคอร ส่งมาให้ทางไลน์กลุ่มเรียนรู้ตลอดชีวิต อ่านดูแล้วเห็นว่าเป็นสิ่งดีที่ควรนำเผยแพร่ โปรดอ่านดูครับ

วันนี้ได้อ่านบทสัมภาษณ์ของ ร.๑๐ และสมเด็จพระเทพฯ จากผู้ใหญ่ใจดีท่านหนึ่งส่งมาให้ อ่านจบ อดไม่ได้ที่จะแชร์ต่อ เพราะเป็นประโยชน์มากๆ ควรจดจำให้ขึ้นใจ..ทิ้งไม่ได้แม้แต่ข้อเดียว..เลยคัดลอกมาให้ทุกท่านได้อ่านด้วยกันค่ะ..alt

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 23 เมษายน 2017 เวลา 19:03 น.
 


หน้า 202 จาก 561
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5644
Content : 3068
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8744833

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า