Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

จะเข้าสู่ยุคดิจิทัล ต้องคิดแบบดิจืทัล

พิมพ์ PDF

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 04 กุมภาพันธ์ 2017 เวลา 19:27 น.
 

เปลี่ยน เป็น เปลี่ยน onair 01022560

พิมพ์ PDF

แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 02 กุมภาพันธ์ 2017 เวลา 19:11 น.
 

Thailand 4.0

พิมพ์ PDF

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 31 มกราคม 2017 เวลา 17:28 น.
 

กระบวนการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย : ภูเขากั้นเส้นทางสู่ World Class Research University

พิมพ์ PDF

กระบวนการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัยไทย ส่วนที่ไม่ใช่มหาวิทยาลัยเอกชน เหมือนกันหมด คือตั้งคณะกรรมการสรรหา กำหนดวิธีการสรรหาให้ประชาคมภายในมหาวิทยาลัยเสนอชื่อ คณะกรรมการสรรหาเอารายชื่อมาเลือกไว้จำนวนหนึ่ง เพื่อเชิญท่านเหล่านั้นมาพูดคุยว่าหากได้รับเลือกจะทำงานอย่างไร และเชิญตัวแทนฝ่ายต่างๆ ในมหาวิทยาลัยมาให้ความเห็น เพื่อประกอบการตัดสินใจของคณะกรรมการสรรหา

ทั้งหมดนั้นในความเป็นจริงเป็นกระบวนการทางการเมืองในมหาวิทยาลัย มีการหาเสียง มีการรวมกลุ่ม ซึ่งหากคิดให้ดีๆ จะเห็นว่า เป็นกระบวนการเพื่อผลประโยชน์ของประชาคมมหาวิทยาลัย มากกว่าเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัย ซึ่งในปัจจุบันต้องการการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง (disruptive change)

ระบบการเข้าสู่ตำแหน่งผู้บริหารมหาวิทยาลัยแบบที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เป็นผลของขบวนการคนหนุ่มสาวยุค ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ ที่ต่อต้านอำนาจเผด็จการ และต้องการให้การบริหารมหาวิทยาลัย “เป็นประชาธิปไตย” โดยคิดว่าจะหลบจากอำนาจของฝ่ายอนุรักษ์นิยม สู่อำนาจของฝ่ายก้าวหน้าได้

บัดนี้ เวลาผ่านมากว่า ๔ ทศวรรษ โลกมันเปลี่ยนมากจนแนวทางที่สี่สิบปีก่อนถือว่าก้าวหน้า กลายเป็นอนุรักษ์นิยมในสายตาของผม (ซึ่งอาจจะตาเอียงก็ได้)


ผมมองว่า หากไม่เปลี่ยนแปลงวิธีสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัยให้เปิดโอกาสเอาคนเก่งจากนอกมหาวิทยาลัย รวมทั้งจากนอกประเทศ มาเป็นผู้นำ มหาวิทยาลัยไทยจะไม่มีวันพัฒนาเป็น “มหาวิทยาลัยระดับโลก” อย่างแท้จริงได้




วิจารณ์ พานิช

๑๔ ม.ค. ๖๐


คัดลอกจาก: https://www.gotoknow.org/posts/622367

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 31 มกราคม 2017 เวลา 13:54 น.
 

ชีวิตที่พอเพียง : 2843. สัมฤทธิศาสตร์

พิมพ์ PDF

โลกยุคปัจจุบัน เป็นยุค วูค่า (VUCA = Volatile, Uncertain, Complex, Ambiguous) งานใหญ่ๆ มีความซับซ้อนและยาก โครงสร้างและกลไกการทำงานตามปกติมักจะไร้ผล เห็นชัดจากราชการไทย จึงเกิดศาสตร์ว่าด้วยวิธีทำงานยากๆ ให้บรรลุผล เรียกว่า Delivery Science, Deliverology, หรือ Implementation Science


หนังสือสองเล่ม Deliverology 101และ How to Run a Government : So That Citizen Benefit and Taxpayers Don’t Go Crazyทั้งสองเล่มเขียนโดย Michael Barber ผู้เป็นครูเก่า และเขียนจากประสบการณ์ไปทำงานให้รัฐบาลอังกฤษสมัยนายกรัฐมนตรี Tony Blair เพื่อหาทางทำให้นายกรัฐมนตรีส่งมอบผลงานตามที่สัญญาไว้ตอนหาเสียงได้


หนังสืออีกเล่มหนึ่ง The Social Labs Revolution : A New Approach to Solving Our Most Complex Challenges หนุนการส่งมอบงานของฝ่ายประชาสังคม พูดง่ายๆ คือหาทางให้งานตามเป้าหมายบรรลุผล


รัฐบาลมาเลเซียก็เอา Delivery Science ไปใช้ มีเรื่องราวประสบการณ์เผยแพร่


ผมได้เรียนรู้เรื่องข้างบนในการประชุมสามพรานฟอรั่ม เช้าวันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๖๐ โดยมี นพ. สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ เป็นวิทยากร และพาดพิง นพ. ชูชัย ศุภวงศ์ สมาชิก สปท. ว่าน่าจะเอาไปใช้เรื่องการปฏิรูปประเทศไทย และว่าเรื่องนี้สภาพัฒน์ฯ น่าจะเอาไปใช้ในการทำหน้าที่


ฟังแล้วผมสรุปกับตนเองว่า เป็นเรื่องการจัดการการเปลี่ยนแปลง เป็นกลไกการผนึกกำลังหลายฝ่ายที่ทำงานแยกๆ กัน ร่วมกันโฟกัสเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ และเป็นสิ่งที่มีหลายอวตาร อวตารหนึ่งเรียกว่า KM 4.0 ที่ สคส. กำลังเรียนรู้และหาทางให้สังคมไทยนำไปใช้


พอดีมีข่าว การจัดตั้งคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศซึ่งน่าจะใช้หลักการหน่วยสัมฤทธิศาสตร์ ในระดับประเทศ


ผมบอกตัวเองว่า ทางหลงของเรื่องนี้คือ (๑) ทำแบบครอบคลุม ซึ่งตรงกันข้ามกับทำแบบโฟกัส (๒) ภาคีร่วมคิดร่วมทำไม่ครบ หรือครบแต่ไม่เอาจริง ซึ่งแก้ได้ด้วยแนวทางใช้ Governance ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่ enablers ตาม KM 4.0


ผมคิดต่อว่า ในบริบทของการทำงานโดยทั่วไป หลุมพรางสำคัญที่สุดที่จะทำให้สัมฤทธิศาสตร์ไม่ก่อผลสัมฤทธิ์ คือการเลือกลำดับความสำคัญผิด ซึ่งปัญหานี้ในทางการเมืองไม่เดือดร้อน เพราะเขามุ่งทำตามที่สัญญากับประชาชนไว้ก่อนเลือกตั้ง คือเขาเรียงลำดับความสำคัญไว้ล่วงหน้า หรืออาจบอกว่านั่นคือลำดับความสำคัญของประชาชน




วิจารณ์ พานิช

๑๓ ม.ค. ๖๐

คัดลอกจาก: https://www.gotoknow.org/posts/622366

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 31 มกราคม 2017 เวลา 13:46 น.
 


หน้า 214 จาก 561
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5644
Content : 3068
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8745991

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า