Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

รายการ เปลี่ยน เป็น เปลี่ยน ออกอากาศวันที่ 4 มกราคม 2560

พิมพ์ PDF

แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 05 มกราคม 2017 เวลา 18:20 น.
 

คืนนี้พุธที่ 4 มกราคม 2560 ขอเชิญชมรายการสด "เปลี่ยน เป็น เปลี่ยน"

พิมพ์ PDF

คืนนี้พุธที่ 4 มกราคม2560 ขอเชิญชมรายการ “เปลี่ยน เป็น เปลี่ยน” 

รายการเสวนาเพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับการดำรงชีวิตของสังคมไทย จาก หลักคิด สู่กระบวนการคิด และวิธีปฏิบัติ ที่จะทำให้เกิดปัญญาพาสู่ความสุข เหมาะสำหรับผู้รักการเรียนรู้ทุกเพศทุกวัย ออกอากาศสด ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ โลกพระพุทธศาสนาเฉลิมพระเกียรติฯ WBTV เป็นประจำทุกคืนวันพุธ เวลา 20.00-21.00 น (ยกเว้นวันพระ)

สำหรับรายการคืนวันพุธที่ 4 มกราคม 2560  หม่อมหลวงชาญโชติ ชมพูนุท และ ดร.แสน ชฎารัมย์ จะมาร่วมเสวนาเกี่ยวกับ      พระมหากษัตริย์กับศาสนา ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ และคนไทยควรปฏิบัติตัวอย่างไรในสมัยรัชกาลที่ 10

                ท่านผู้ชมสามารถมีส่วนร่วม เพื่อสอบถาม หรือแสดงความคิดเห็น ในขณะออกอากาศได้ที่เบอร์      02-6757696

โปรดติดตามรับชมได้หลายช่องทาง ดังนี้

Ø  ทาง Internet ได้ทั่วโลก www.wbtvonline.com

Ø  รับชมทางมือถือ www.stationg.com/wbtv

Ø  รับชมทาง ทีวี ผ่านจานดาวเทียม ตามช่องต่างๆดังนี้

·         กล่องดาวเทียมค่าย GMM ช่อง 175

·         กล่องดาวเทียมค่าย PSI ช่อง 239

·         กล่องดาวเทียวค่าย CTH  ช่อง 870

·         กล่องดาวเทียวค่าย  Infosat ;Thaisat; Indeasat ; Leotech ช่อง 189

สำหรับท่านที่ติดธุระหรือพลาดชมรายการสด สามารถติดตามชมรายการย้อนหลังได้ทาง YouTube พิมพ์ “รายการ เปลี่ยน เป็น เปลี่ยน” ออกอากาศวันที่ 4 มกราคม 2560     

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท


 4 มกราคม 2560

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 04 มกราคม 2017 เวลา 15:06 น.
 

พรปีใหม่ 2560 จาก พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑๐

พิมพ์ PDF

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 04 มกราคม 2017 เวลา 15:56 น.
 

จัดการความรู้สู่เนื้อในองค์กร. ๖. สมาชิกทีม KM

พิมพ์ PDF

จัดการความรู้สู่เนื้อในองค์กร. ๖. สมาชิกทีม KM

  หัวหน้าทีมต้องคอยดูแล ให้มีการทำงานร่วมมือกันทั้งทีม KM ไม่แยกตัวกันเป็นส่วนๆ  

จัดการความรู้สู่เนื้อในองค์กร. ๖. สมาชิกทีม KM

บันทึกชุด จัดการความรู้สู่เนื้อในองค์กร นี้ ตีความจากหนังสือ The Knowledge Manager’s Handbook : A step-by-step guide to embedding effective knowledge management in your organization โดย Nick Milton & Patrick Lambe สาระในตอนที่ ๖ นี้ได้จากการตีความบทที่ 6 The KM team members

เรื่องแรกๆ ที่หัวหน้าทีม KM จะต้องคิดก็คือ จะหาใครมาเป็นทีม ทีมใหญ่แค่ไหน สมาชิกทีม ควรมีสมรรถนะอะไรบ้าง

ทีมดำเนินการประยุกต์ KM ควรใหญ่แค่ไหน

ตามผลการสำรวจทั่วโลกขนาดใหญ่ที่สุดคือ ๒๑ คน ในองค์กรที่มีพนักงาน ๓ แสนคน ขนาดใหญ่ตามที่แนะนำในหนังสือคือ ๙ คน เล็กที่สุด (ที่จะทำงานได้ดี) ๓ คน ส่วนใหญ่อยู่ที่ ๔ คน หากองค์กรมีขนาดใหญ่ ทีม KM ก็มักจะใหญ่ตาม แต่ก็ไม่ได้ใหญ่ตามสัดส่วนขององค์กร ช่วงที่ต้องการคนทำงานมากหน่อยหากต้องการให้งานสำเร็จเร็วอยู่ที่ช่วงขยายผล (Roll-out Phase) ดังนั้นหากคนน้อย ช่วงขยายผลจะต้องใช้เวลานาน เช่นถ้ามีคนเพียงพออาจใช้เวลาช่วงขยายผลเพียง ๖ เดือน แต่ถ้าคนไม่พอและองค์กรใหญ่ มีพนักงานหลายหมื่นคน อาจใช้เวลาช่วงนี้สองสามปี

ชุดทักษะที่ต้องการ

ทีม KM ต้องมีทักษะ ๗ ประการ ซึ่งหาไม่ได้ในคนคนเดียว จึงต้องจัดทีมให้มีทักษะครบทั้ง ๗ ได้แก่

  • ทักษะเชิงธุรกิจ เป็นทักษะการทำงานในสายงานธุรกิจ (functional business) เช่นทีม KM ในโรงพยาบาลต้องมีหมอหรือพยาบาลอยู่ในทีม KM ซึ่งจะช่วยให้การทำ KM ฝังเข้าไปใน ธุรกิจ ไม่แปลกแยกจากธุรกิจ
  • ทักษะ ‘คุณอำนวย ประเด็นนี้ในบริบทไทยไม่ต้องการคำอธิบาย แต่ในบทถัดๆ ไป จะพบว่า หน้าที่นี้แตกบทบาทย่อยจำเพาะแต่ละกิจกรรมมากมาย
  • ทักษะการจัดระบบความรู้ เป็นทักษะการจัดหมวดหมู่ของความรู้แจ้งชัด (explicit knowledge) ในส่วนนี้ต้องการทักษะ information management, content management, records management, metadata management, taxonomy, document lifecycle management, และทักษะการจัดการห้องสมุด
  • ทักษะการจัดการการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ทักษะการสื่อสารและการชี้ชวน, ทักษะการฝึก อบรม, coaching, mentoring การทำ ‘การตลาด’ ทั้งภายในและภายนอกองค์กร
  • ทักษะการจับความและการเขียน เพื่อใช้ “ถอดความรู้” และเขียนเป็นเอกสาร ทักษะนี้แจกแจงออกได้เป็น ทักษะการสัมภาษณ์ จับความรู้ อภิปราย วิเคราะห์ สรุป เขียน และนำเสนอ ต้องมีสมาชิกทีมอย่างน้อย ๑ คนที่เก่งด้านนี้
  • ทักษะ ไอที ต้องมีสมาชิกทีมอย่างน้อย ๑ คนที่มีทักษะนี้ ที่รู้ความเป็นไปของระบบไอที ขององค์กร เข้าใจศักยภาพของเทคโนโลยีในการเป็นปัจจัยสนับสนุน KM มีทักษะในการ ติดต่อประสานงานกับแผนก ไอที หากคนของแผนก ไอทีบอกว่า ‘ทำไม่ได้’ สมาชิกของทีม คนนี้ต้องมีวิธีให้ทำได้
  • ทักษะการจัดการโครงการ (project management) ได้แก่การทำแผนโครงการ การกำหนด ผลลัพธ์ที่จะต้องส่งมอบเป็นระยะๆ การติดตามความก้าวหน้า และจัดการขอบเขตของงาน และการปรับแผนตามข้อเรียนรู้ (lessons learned) ระหว่างดำเนินการโครงการ

เจตคติและคุณค่า

หัวใจคือ สมาชิกทีมจะต้องมีศรัทธา และมีไฟหรือความชื่นชอบเป็นพิเศษต่อ KM รวมทั้งมีความรู้เรื่อง KM สมาชิกทีมต้องได้เรียนรู้ทฤษฎี และได้รับการฝึกทักษะ KM ทักษะการถ่ายทอด best practice และมีโอกาสไปเข้าร่วมกิจกรรมการประชุม KM ในที่ต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์กร ควรเข้าร่วม CoP เรื่อง KM และมีความกระตือรือร้นในการประยุกต์เทคนิคและเครื่องมือ KM ต่อการทำงานของตนเอง

ข้อแนะนำ ทำ skill matrix ของสมาชิกทีมแต่ละคน ตามทักษะ ๗ หมวดข้างบน สำหรับใช้จัดการ และพัฒนาทักษะของทีม

บทบาทของสมาชิกทีม

สมาชิกของทีม KM คนหนึ่งอาจแสดงบทบาทได้หลายบทบาท ดังต่อไปนี้

  • ผู้จัดการโครงการ (Project manager) ในกรณีที่เป็นทีมใหญ่ อาจต้องแต่งตั้งผู้จัดการโครงการ ทำหน้าที่ด้านธุรการ ได้แก่ ดูแลการดำเนินการตามแผน จัดการงบประมาณ ทำรายงานของ คณะกรรมการชี้ทิศทาง เป็นต้น ผู้จัดการโครงการจะช่วยลดภาระด้านธุรการของหัวหน้าทีม KM
  • ผู้จัดระบบความรู้ (Knowledger manager) ทำหน้าที่ดูแลเอกสารบันทึกความรู้ของทีม ประสานงานกับ CoP ด้าน KM และประสานงานกับแกนนำ KM ในหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งสร้างฐานความรู้เกี่ยวกับ KM ขององค์กร บุคคลผู้นี้ถือเป็น ‘ผู้รู้’ ด้านสาระ KM ขององค์กร ในตอนต่อๆ ไปจะเอ่ยถึงตำแหน่งหรือหน้าที่นี้ในต่างบริบท คือเป็นผู้จัดระบบความรู้ในแต่ละสายธุรกิจ ซึ่งทำหน้าที่จัดระบบความรู้เฉพาะด้านธุรกิจนั้นๆ แต่ผู้จัดระบบความรู้ในทีม KM ทำหน้าที่เกี่ยวกับความรู้ด้าน KM
  • ผู้นำการสื่อสาร (Communications lead) ทำหน้าที่จัดการและดำเนินการ (ส่งมอบ) ยุทธศาสตร์และแผนการสื่อสาร ควรเป็นคนที่มีทักษะการตลาดหรือการสื่อสาร ภายในองค์กร ในกรณีขององค์กรใหญ่และซับซ้อน อาจต้องการทีมมากกว่าหนึ่งคน
  • ผู้ปฏิบัติงาน KM และโค้ช (KM workers and coaches) เป็นผู้ทำหน้าที่ออกไปสนับสนุน กิจกรรม KM ของหน่วยงานต่างๆ ในเบื้องต้น คนเหล่านี้รับผิดชอบกิจกรรมพิสูจน์หลักการ และสนับสนุนโครงการนำร่อง ต่อมาในช่วงขยายผล อาจต้องการผู้รับผิดชอบสนับสนุน บางด้านของโปรแกรม KM เช่นด้าน ไอที รับผิดชอบเครื่องมือ ไอที สนับสนุนกิจกรรม KM ด้านจัดระบบความรู้รับผิดชอบการพัฒนา คำศัพท์ขององค์กร (enterprise taxonomy)

โดยหัวหน้าทีมต้องคอยดูแล ให้มีการทำงานร่วมมือกันทั้งทีม KM ไม่แยกตัวกันเป็นส่วนๆ

สรุป

ทีม KM มีหน้าที่ใช้ชุดทักษะชุดหนึ่ง ดำเนินการวิธีทำงานแบบใหม่ และสร้างพฤติกรรมการทำงาน ที่เป็นมิตรต่อความรู้ ทั่วทั้งองค์กร ทีมงานจึงต้องมีส่วนผสมที่ถูกต้องของทักษะ ผสมกันเป็นบทบาท ที่เหมาะสมชัดเจน หัวหน้าทีม KM ต้องจัดทีมที่ถูกต้อง การดำเนินการประยุกต์ KM ขององค์กรก็จะดำเนินไป ได้ราบรื่น แต่หากจัดทีมผิด ก็จะเผชิญความยากลำบาก แต่แม้จะมีทีมที่ดี ก็ยังต้องการการสนับสนุน จากผู้บริหารระดับสูง ซึ่งมีรายละเอียดในตอนต่อไป

วิจารณ์ พานิช

๓๐ พ.ย. ๕๙

คัดลอกจาก Gotoknow 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 03 มกราคม 2017 เวลา 23:19 น.
 

4 Things You Should Know Before You Start A Career In Travel

พิมพ์ PDF

Are you crazy about travel and want to turn your passion into your profession? If you love traveling and consider yourself an organized person who enjoys helping others plan their trips, a career in travel may be right for you.

The fascinating tourism industry offers a broad range of career opportunities, from travel agents[1] to accommodation and hospitality managers. There are options for a huge variety of professional profiles, but whatever area of the travel sector you decide to go into, these are four things you should know before you start your career in travel:

1. You will be facing challenges

The tourism industry is always evolving, and if you want to have a successful career in this field, you will need to be flexible, learn fast, and be able to adapt quickly to the changes.

The travel and tourism industry has gone through significant changes within the last decade.[2] Both the global economic crisis and the eruption of online bookings have had an enormous effect on this sector. Today’s travelers expect complete transparency and personalization from their travel providers. The new, young travelers have less money and more time than other generations before them. And more importantly, they are more internet savvy.

An excellent example of the transformation of this industry is the rise of the sharing economy, which has left out of the equation many traditional travel companies. The competition is huge in the travel sector and adjusting to the new changes is vital to success.

It is crucial to keep this in mind if you are planning to start your career in travel and hospitality. To keep you ahead of the curve, think about where you want to be in ten years and remember that the travel industry changes very fast.

2. Specialized services are in demand

According to The World Travel & Tourism Council, in 2014, travel and tourism directly supported over 105 million jobs and it is expected to rise year after year.[3] Such an enormous industry is massively segmented and focusing on a niche market is becoming increasingly necessary to succeed. When you concentrate on a particular group of people, you get to know your potential clients better, making it easier to adapt your products or services to their needs and wants.

According to the book “Design and Launch an Online Travel Business in One Week” by Charlene Davis and Entrepreneur Press, today’s hottest specialty travel opportunities include eight growing travel markets. These are adventure travel and outdoor excursions, luxury travel, for women only, “mancations” or men-only vacations, “honeymooners”, “grandtravel” or trips taken with grandchildren, disabled travelers, and traveling with pets.

When you start your career in travel and you know the exact niche market you want to work with, it is recommended to develop your skills in that particular area to become an expert. But when you are not 100% sure of what your ideal job is – and this happens more often than not – it may be a better idea to acquire wider skills and try a few different jobs until you get a better understanding of the industry and what area you would rather work on.

3. It is possible to make six figures

According to Kimberly Ramsawak, founder of Tourism Exposed, “Like many industries, entry-level positions in tourism may pay minimum wages.” However, “tourism positions above entry-level often pay well in comparison to other industries.”

And as she demonstrates, “Many factors will determine exactly what you’ll earn, such as job location, cost of living, type of business or organization, specific position type and stage, your skills, and training. Travel agent salaries, for instance, can range from the mid $30,000s to $100,000 a year. Yes, it is possible for a travel agent to make six figures!”

As Kimberly explains on her site, it will all depend on the type of travel agent you are trying to be and the steps you’re willing to take to master the art of success in your niche.

4. The way you travel will change

If you want to be in the travel business, you probably love to travel. However, something you should remember before you start your career in tourism is that you will never travel like you used to do. Your eyes will be open to detect new ideas for your clients and you will be continuously absorbing information not only for your personal pleasure, but also to apply it in the professional world.

When you work in the travel industry and you are visiting a new place, your perspective will be slightly different from the regular tourist’s point of view. You will pay attention to details you haven’t noticed before and your expectations will be higher. For instance, if you work in hospitality yourself, you will be more aware of a hotel’s arrangements. And if you come across any issues with your accommodation, you will know exactly who you need to talk to and how you should sort it out.

Overall, it is a great time to start a career in the fascinating travel industry. Not only are the number of job opportunities continuing to rise, but the types or roles in the industry are evolving and becoming more attractive. In this sense, young professionals have a chance to acquire the necessary skills and prepare themselves to offer the new and fresh perspective that so many travel companies are demanding at the  moment.

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 31 ธันวาคม 2016 เวลา 12:18 น.
 


หน้า 219 จาก 561
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5644
Content : 3068
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8745975

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า