Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

รายงาน การสร้างชาติตามแนวทางในหลวง ร ๙

พิมพ์ PDF

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 31 ธันวาคม 2016 เวลา 12:00 น.
 

จัดการความรู้สู่เนื้อในองค์กร. ๔. ยุทธศาสตร์การจัดการความรู้

พิมพ์ PDF

จัดการความรู้สู่เนื้อในองค์กร. ๔. ยุทธศาสตร์การจัดการความรู้

เอกสารยุทธศาสตร์จัดการความรู้เป็นเครื่องชี้แนวทางดำเนินการประยุกต์ KM

จัดการความรู้สู่เนื้อในองค์กร. ๔. ยุทธศาสตร์การจัดการความรู้

บันทึกชุด จัดการความรู้สู่เนื้อในองค์กร นี้ ตีความจากหนังสือ The Knowledge Manager’s Handbook : A step-by-step guide to embedding effective knowledge management in your organization โดย Nick Milton & Patrick Lambe สาระในตอนที่ ๔ นี้ได้จากการตีความบทที่ 4 Knowledge management strategy ซึ่งเป็นบทแรกใน ๗ บทของหมวดที่ว่าด้วยเรื่องการเตรียมการณ์และเตรียมทรัพยากร

การประยุกต์ KM โดยไม่ได้ไตร่ตรองกำหนดยุทธศาสตร์ให้รอบคอบเป็นสิ่งไม่ควรทำ เพราะยากที่จะบรรลุผลสำเร็จ ประเด็นเชิงยุทธศาสตร์ของการจัดการความรู้มี ๙ ด้าน ดังต่อไปนี้

ตัดสินใจหลักการเชิงยุทธศาสตร์

ปรึกษากับผู้บริหารที่ต้องการให้มีการริเริ่ม KM ในองค์กร และกับคณะกรรมการชี้ทิศของโครงการ KM ว่าควรใช้หลักการเชิงยุทธศาสตร์อย่างไรบ้าง ประสบการณ์จากหลากหลายแหล่ง ระบุหลักการ ๑๐ ประการดังต่อไปนี้

  • ควรเริ่มในระดับองค์กร และสนองยุทธศาสตร์ขององค์กร
  • ควรเน้นที่ความรู้ที่มีคุณค่าสูง และสนองการตัดสินใจที่มีมูลค่าสูง
  • ควรถือเป็นการดำเนินการเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
  • เป้าหมายสุดท้ายคือเพื่อให้มีการประยุกต์กรอบ KM ที่ครบถ้วน
  • กรอบ KM ต้องบูรณาการอยู่ในโครงสร้างองค์กร
  • กรอบ KM ต้องมีส่วนของการกำกับดูแล (governance) เพื่อความต่อเนื่องยั่งยืน
  • กรอบ KM เป็นสิ่งที่วางแผนพัฒนาขึ้น ไม่ใช่ปล่อยให้ผุดบังเกิดขึ้นเอง
  • ขั้นตอนการดำเนินการ KM ควรมีเป็นขั้นๆ ที่ต้องการการตัดสินใจเป็นระยะๆ
  • การริเริ่มดำเนินการ KM ควรมีขั้นตอนโครงการนำร่อง
  • การริเริ่มดำเนินการ KM ควรทำเป็นโครงการ

ควรทำความเข้าใจหลักการสำคัญทั้ง ๑๐ ประการร่วมกัน โดยทีมริเริ่มดำเนินการจัดการความรู้ ในองค์กร ต้องหาทางให้ผู้บริหารที่สนับสนุนโครงการ (ผู้อุปถัมภ์ KM - KM sponsor) และคณะกรรมการชี้ทิศทาง เข้าใจหลักการนี้อย่างชัดเจน และให้ไฟเขียวให้ดำเนินการตามนี้

ทำความเข้าใจพลังขับเคลื่อนธุรกิจขององค์กร

ทีมริเริ่มจัดการความรู้ต้องสัมภาษณ์ผู้บริหารจำนวนมาก เพื่อทำความเข้าใจพลังขับเคลื่อนธุรกิจ ขององค์กร สำหรับนำมาออกแบบการจัดการความรู้ และเพื่อให้เข้าใจเชิงลึกว่าการจัดการความรู้มีความจำเป็น อย่างไรต่อองค์กร พลังหลักในการขับเคลื่อนธุรกิจขององค์กรมี ๔ ด้าน คือ

  • ความเเป็นเลิศด้านการดำเนินการ โดยต้องมีการพัฒนาวิธีการทำงานภายในองค์กร ให้ดำเนินการได้ดีขึ้น เร็วขึ้น ต้นทุนน้อยลง ปลอดภัยขึ้น และสะอาดขึ้น องค์กรที่พนักงาน อายุมากขึ้น KM อาจเน้นการดำรงขีดความสามารถในปัจจุบันไว้ (โดยบันทึกความรู้ไว้เป็นความรู้ขององค์กร และ/หรือ ถ่ายทอดความรู้ให้แก่พนักงานรุ่นหลัง)
  • ความรู้เกี่ยวกับลูกค้า เน้นความเข้าใจความต้องการและความจำเป็นของลูกค้า และวิธีสนอง มีรายละเอียดในตอนที่ ๓๑
  • นวัตกรรม โดยการสร้างความรู้ใหม่ สำหรับเอาไปใช้พัฒนาสินค้าหรือบริการที่มีนวัตกรรม มีรายละเอียดในตอนที่ ๒๙
  • การเปลี่ยนแปลงและเติบโต นำความรู้จากความสำเร็จที่มีอยู่แล้ว ไปใช้ในตลาดใหม่ หรือให้พนักงานใหม่นำไปใช้ มีกรณีตัวอย่างอยู่ในตอนที่ ๒๗

กำหนดวิสัยทัศน์การจัดการความรู้

ร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก ในการคิดคำขวัญที่สะท้อนคุณค่าของการจัดการความรู้ต่อองค์กร และต่อพนักงาน เป็นคำสั้นๆ แต่มีพลัง

กรณีศึกษา เป็นเรื่องราวของการพัฒนา KM Vision ของรัฐสภาฟินแลนด์ โดยความร่วมมือ ของผู้แทนราษฎร ทีมริเริ่มดำเนินการจัดการความรู้ได้จัดการสัมภาษณ์ข้าราชการและผู้แทนราษฎรจำนวนหนึ่ง เพื่อทำความเข้าใจสภาพในขณะนั้นของการจัดการความรู้ในรัฐสภาฟินแลนด์, ความรู้ที่สำคัญยิ่งยวดในงาน ประจำวันของรัฐสภา, ความรู้ที่ต้องการและปัญหา, และการเปลี่ยนแปลงสำคัญที่ต้องการจากกิจกรรม KM เพื่อนำมากำหนดวิสัยทัศน์สำหรับระบบ KM ที่เชื่อถือได้และทรงประสิทธิภาพ แล้วจึงกำหนดวิสัยทัศน์ KM ว่า “The Parliament is an open and competent knowledge organization with a cooperation-oriented work culture and the capacity and will to learn” กรณีศึกษานี้สะท้อนการหาข้อมูลประกอบการกำหนด วิสัยทัศน์การจัดการความรู้ เป็นขั้นตอนการเก็บข้อมูลเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียระดับสูง ได้รับรู้และมีส่วนสำคัญต่อระบบการจัดการความรู้ขององค์กร

ทำความตกลงขอบเขตของ KM

เป็นการทำงานร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก เพื่อตกลงข้อจำกัดของโปรแกรมการดำเนินการ จัดการความรู้ มีการตกลงกันว่าส่วนของธุรกิจใดบ้างที่อยู่ภายในขอบเขต และส่วนของธุรกิจใดบ้าง ที่อยู่นอกขอบเขต

กรณีศึกษา ทีมที่ปรึกษาไปรับทำยุทธศาสตร์ KM ให้แก่สถาบันการเงินแห่งหนึ่ง และแม้จะ ทำความเข้าใจกันว่า ยุทธศาสตร์ KM จะต้องครอบคลุมกิจการทั้งหมดขององค์กร รวมทั้งสำนักงานใหญ่ และสาขาทั้งหมด แต่ก็ตกลงขอบเขตกันว่างานของทีมนี้จะไม่รวม การจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า, การข่าวธุรกิจ, enterprise content management, และ learning and development เนื่องจากมีทีมอื่น ดำเนินการเรื่องเหล่านั้นอยู่แล้ว ซึ่งข้อตกลงขอบเขตนี้ ผมสงสัยว่า ควรมีข้อตกลงว่าสองทีมควรมีการ พูดคุยเชื่อมต่อสองส่วนเข้าหากันหรือไม่

กำหนดความรู้เชิงยุทธศาสตร์

เป็นขั้นตอนปรึกษาหารือกับทีมบริหารระดับสูง ว่าความรู้ที่มีความสำคัญยิ่งยวดในเชิงยุทธศาสตร์ ต่อองค์กรเป็นความรู้ด้านใดบ้าง สำหรับนำมาจัดให้อยู่ในลำดับความสำคัญของโปรแกรม KM ขั้นตอนนี้ ถือว่ามีความสำคัญมากในช่วงจัดทำแผนยุทธศาสตร์ และจะต้องมีการเสริมพลังด้วย knowledge audit ในช่วงประยุกต์กิจกรรม KM

กรณีศึกษา ในการวางยุทธศาตร์จัดการความรู้ที่ CERN (https://home.cern) มีการจัดกลุ่มความรู้ (knowledge domain) ขององค์กร ๒๖ กลุ่ม และระบุเป็นกลุ่มความรู้ที่สำคัญยิ่งยวด ๘ กลุ่ม

ประเมินสถานภาพของ KM ในปัจจุบัน

แนะนำให้ใช้ KM Framework ที่ร่างไว้ ในการเก็บข้อมูลประเมินสถานภาพปัจจุบันให้ครบถ้วน สำหรับใช้วิเคราะห์ gap analysis เพื่อจะได้รู้ว่ามีงานที่จะต้องทำมากน้อยเพียงใด

กรณีศึกษา ผู้เขียนหนังสือ The Knowledge Manager’s Handbook รับงานประเมินสถานภาพ ของกิจกรรม lesson – learning (เป็นส่วนหนึ่งของ KM) ของบริษัทแห่งหนึ่ง และพบว่า บริษัทได้รวบรวม บทเรียนจากการทำงานที่ดี ไว้จำนวนหนึ่ง แต่พบว่าขาดระบบกำกับดูแล และระบบควบคุมคุณภาพ ทำให้บทเรียนบางส่วนคุณภาพต่ำ ส่งผลให้กิจกรรม lesson – learning ไม่ได้รับความเชื่อถือ และไม่มี การบริหารให้มีมาตรฐานการทำงานแบบเดียวกันทั้งองค์กร (company – wide common practice) ซึ่งหมายความว่า แต่ละหน่วยต่างก็คิดวิธีการทำงานของตนเอง และไม่คุ้นต่อการนำเอาความรู้ที่พิสูจน์ แล้วว่าได้ผลดีจากที่อื่นมาใช้ คือติดอยู่กับวัฒนธรรม not-invented here การประเมินสถานภาพนำไปสู่ ข้อเสนอให้มีระบบกำกับดูแล และระบบการทำงานแบบเดียวกันทั้งองค์กร

ยกร่างกรอบงาน KM

การยกร่างกรอบงาน KM ช่วยให้มองเห็นภาพรางๆ ว่ากิจกรรม KM ในภาพรวมเป็นอย่างไร กรอบนี้ไม่ตายตัว จะได้รับการปรับเป็นระยะๆ ในช่วงการปฏิบัติจริง และในช่วงของการดำเนินการ โครงการพิสูจน์หลักการ และโครงการทดลอง

ตัดสินใจวิธีการดำเนินการจัดการการเปลี่ยนแปลง

กิจกรรม KM เป็นเครื่องมือสร้างการเปลี่ยนแปลง จึงเริ่มด้วยขั้นตอนจัดทำยุทธศาสตร์จัดการความรู้ เอกสารยุทธศาสตร์จัดการความรู้ จึงต้องระบุว่าจะนำเทคนิคการจัดการการเปลี่ยนแปลงมาใช้อย่างไร

กรณีศึกษา ยุทธศาสตร์จัดการความรู้ขององค์กร FAO ระบุเรื่องการจัดการการเปลี่ยนแปลงไว้ชัดเจน และระบุการเปลี่ยนวัฒนธรรมไว้ ๔ ขั้นตอน

  • ขั้นตอนที่ ๑ ประเมินความต้องการ และระบุประเด็นที่ต้องการเปลี่ยนแปลง
  • ขั้นตอนที่ ๒ สร้างแนวร่วมเพื่อการเปลี่ยนแปลง โดยแต่ละแผนกมีการดำเนินการภายใน ของตนเอง แต่มีการร่วมมือกัน เพื่อไปสู่วิสัยทัศน์ร่วม
  • ขั้นตอนที่ ๓ แลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ และทำให้วิสัยทัศน์คมชัดยิ่งขึ้น โดยโปรแกรมสื่อสาร ภายนอก
  • ขั้นตอนที่ ๔ หาทางทำให้เกิดผลสำเร็จในระยะสั้น โดยกำหนดเป้าเล็กๆ ที่บรรลุได้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่น และเข้าร่วม

ประเมินผลต่อธุรกิจ

แม้ว่าการประเมินผลต่อธุรกิจในระยะเริ่มต้นเช่นนี้ เป็นเรื่องไม่ง่าย แต่บางกรณีก็จำเป็นต้องทำ เพื่อให้มีตัวอย่างรูปธรรมว่ากิจกรรม KM จะสร้างผลตอบแทนแก่ธุรกิจ มากกว่าค่าใช้จ่ายที่ลงทุน

กรณีศึกษา เป็นเรื่องราวของ task force ในบริษัท BP (British Petroleum) ในปี ๒๕๔๐ task force ดังกล่าวประกอบด้วยผู้บริหาร ๕ - ๑๐ คน ทำหน้าที่ประเมินสถานการณ์ KM ภายในองค์กร และเสนอแนะ รายงานจากคณะทำงานระบุว่าบรรยากาศหลายด้านใน BP เหมาะสมต่อ KM แต่ต้องการความพยายาม อย่างมากในการยกระดับความเร็วและผลดีจากการเปลี่ยน BP ไปเป็นองค์กรเรียนรู้ หากทำได้ จะมีผลลด ค่าใช้จ่ายปีละ ๕๐๐ ล้านดอลล่าร์ คณะกรรมการชี้ทิศทางอนุมัติให้ดำเนินการตามข้อเสนอของคณะทำงาน และภายใน ๑ สัปดาห์มีการตั้ง ทีม KM รายงานตรงต่อ corporate managing director

สรุป

เอกสารยุทธศาสตร์จัดการความรู้เป็นเครื่องชี้แนวทางดำเนินการประยุกต์ KM วิสัยทัศน์ (vision) เป็นตัวชี้ทิศ ขอบเขต (scope) บอกข้อกำหนดขอบจำกัดของการดำเนินการ KM พลังขับเคลื่อนธุรกิจ และข้อกำหนดความรู้เชิง ยุทธศาสตร์ ช่วยให้มีโฟกัสและการจัดลำดับความสำคัญ หลักการดำเนินการ บอกว่าการดำเนินการประยุกต์ KM จะดำเนินการไปอย่างไร การประเมินสถานภาพของ KM ในปัจจุบัน และร่างกรอบ KM บอกการเริ่มต้น และตอนจบ ส่วนของการจัดการการเปลี่ยนแปลงบอกว่าจะดำเนินการ การเปลี่ยนแปลงอย่างไร ขั้นตอนสุดท้าย การประเมินผลต่อธุรกิจ ช่วยให้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจ

ในบทต่อจากนี้ไป เป็นเรื่องการประยุกต์ยุทธศาสตร์ตามที่ระบุในตอนที่ ๔ นี้

วิจารณ์ พานิช

๒๘ พ.ย. ๕๙

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 28 ธันวาคม 2016 เวลา 21:34 น.
 

EF คือรากฐานอันแข็งแกร่งของการพัฒนาทุนมนุษย์

พิมพ์ PDF

EF คือรากฐานอันแข็งแกร่งของการพัฒนาทุนมนุษย์

การบังคับใจตนเอง ความยืดหยุ่น และพลังสมอง

EF คือรากฐานอันแข็งแกร่งของการพัฒนาทุนมนุษย์

Thailand EF Partnership จัดการประชุมวิชาการเรื่อง EF Symposium 2016 ปลูกฝังทักษะสมอง บ่มเพาะเด็กไทยยุค ๔.๐ และเชิญผมไปพูดเรื่อง EF คือรากฐานอันแข็งแกร่งของการพัฒนาทุนมนุษย์

จึงนำ ppt พร้อมเสียงบรรยายมา ลปรร. โดยดู ppt ที่นี่ รากฐานทุนมนุษย์.pptx และฟังเสียงการบรรยาย ที่นี่

วิจารณ์ พานิช

๑๗ พ.ย. ๕๙

..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/620505

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 28 ธันวาคม 2016 เวลา 21:47 น.
 

Tourism Exposed is officially OVER AND DONE

พิมพ์ PDF

Kimberly Ramsawak

Tourism Exposed is officially OVER AND DONE

Hi Chanchot,

 

Yes, it’s true. Tourism Exposed is gone.

 

Wow, that’s really surreal (and honestly, pretty bittersweet) to say.

 

But despite the salty tears in my iced coffee this morning, I couldn’t be more excited about it.

 

Yes, I’m excited that the website and brand that completely changed my life is now no more.

 

Why?

 

Because after months of planning, finally my NEW website…

 

Professional Jetsetter

 

…is up! I’m so excited to share my new site with you. My team and I have worked around the clock the past few weeks. And I could not be more proud of how it turned out.

 

This re-brand was not in my 2016 plans. But I’ve been really looking at refining my own message to make sure it’s completely authentic for the work I do. However, I was scared.

  • I kept making excuses.
  • It’s not the right time.
  • I’m too busy. Maybe next year.
  • It has to be perfect and I am not ready to make it perfect.

Silly excuses, right? That’s what I was coming up with.

 

But here’s what made the difference…

 

When I finally COMMITTED and make the decision that this was happening no matter what, the rest was history.

 

And I think that my team absolutely did an amazing job of putting this website together.

 

But let’s talk about why I did this…

 

Tourism Exposed has been going incredibly well. I have close to 2,000 community members across 58 countries. And my flagship course Passport To Travel Career, has been connecting with readers like never before.

 

So why spend thousands of dollars and hundreds of hours going through a full complete change of it and my business model overall?

 

Because deep down in the core of my being I’ve realized that it’s my purpose to help professional women who are driven, ambitious and incredibly smart stop stressing and create a travel career they love and craft the global lifestyle of their dreams.

 

And - as with everything I have done through Tourism Exposed - the end of Tourism Exposed and the creation of Professional Jetsetter came as the result of hundreds of survey responses, phone calls and Skype interviews I did with members of the Tourism Exposed community.

 

Your advice was pure gold and helped me to hone in on the specific people I feel I can relate to and help the best and I wanted my business to properly reflect that. 

 

I now have a space on the web that serves my best readers by better representing me, what I do, who I’m choosing to serve, and who I connect with at a higher level.

 

So head on over to Professional Jetsetter and cruise around the new site.

 

The change from Tourism Exposed to Professional Jetsetter is much more than just a redesign though.

 

As much as it’s fun and exciting to “change things up” for the coming new year, and get some fresh energy circulating, change for the sake of change often results in us moving – sideways or even backwards - but not really going anywhere.

 

But change that aligns with our values and our true selves regarding what we want to do and where we see ourselves going, results in forward motion – which is exactly what I was after.

 

When I began Tourism Exposed in 2014 I wanted to share with you - a student or career changer - strategies, tactics and tips that I’ve learned along the way about how to develop a career in the travel, tourism and hospitality industry. I never could have imagined how many amazing things would happen simply because I decided to take a chance and hit publish.

 

And while I’ll definitely miss Tourism Exposed and I’ll never forget what it has helped me achieve, the reason why I started Tourism Exposed in the first place has evolved.

 

It isn’t just about helping people break into the travel, tourism and hospitality industry anymore.

 

It’s about me helping professional women - who are committed, intentional, seriously motivated and ready - have an unique career that pays them to travel the world, while doing work they love, so they can live a global lifestyle.

 

And it’s about truly making Professional Jetsetter a movement when it comes to building a global lifestyle that makes these women happier.

 

Professional Jetsetter exists because I believe doing work you love and traveling at the same time without having to give up all the good you got going on at home is a right – as long as you have the right guidance, tools and mentor to make it possible.

 

So I like to think of this new website as taking my vision and mission to the next level.

 

So for those who were there from the very beginning of Tourism Exposed three years ago and read every blog post and invested in Passport To Travel Career and are still riding with me, I cannot begin to express my gratitude. Tourism Exposed exists because of YOU. Thank you so much.

 

But if you’re an ambitious, driven and savvy woman with a serious case of wanderlust who wants to take action now to find a way to get paid to fly around the globe, visit exotic locales + immerse yourself in other cultures as a career, then I invite you to your new home away from home, Professional Jetsetter.

 

Click here to go to Professional Jetsetter now.

 

Happy Holidays,

Kimberly

 

 

​​​​​​​

1748 Gordon Lane
Tobyhanna PA 18466
USA



แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม 2016 เวลา 17:28 น.
 

ปล่อยวางอย่างพุทธทาส

พิมพ์ PDF

น่าแปลกที่ว่าคนส่วนใหญ่ในทุกวันนี้ก็ยังเดินทางไปไม่ถึงหลักธรรมอันแท้จริงของพุทธศาสนา  มัวไปหลงยึดติดอยู่กับองค์พระพุทธรูป พระสงฆ์ เครื่องรางของขลัง หรือเกจิอาจารย์ชื่อดังจากสำนักต่างๆ  กลายเป็นว่าสิ่งเหล่านี้ได้บดบังพระพุทธเจ้าไปหมดสิ้น   แต่พระพุทธรูปตามแบบของท่านพุทธทาสคือ “พุทธะ” ซึ่งหมายถึงจิตอันรำลึกแล้ว ถึงพระผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน  อยู่ด้วยธรรมของพระองค์นั้น  เพราะพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ที่แท้จริงหมายถึงภาวะแห่งความบริสุทธิ์แห่งจิตใจ ฉะนั้นความปรารถนาที่จะพรากจิตออกมาจากเครื่องห่อหุ้ม ผูกพันทุกๆ อย่างนั้น จึงเป็นความปรารถนาที่มีรากฐานแน่นแฟ้นและเป็นความปรารถนาที่บริสุทธิ์ยิ่งกว่าความปรารถนาที่จะติดแน่นอยู่กับสิ่งเคารพบูชาอันเป็นแค่เครื่องสมมุติ


เป็นที่ทราบกันโดยชัดแจ้งแล้วว่า  พระพุทธองค์ได้ตรัสรู้อริยสัจ คือ “ความจริงอันประเสริฐ” ท่านพุทธทาสชี้ให้เห็นว่า “ความจริงอันประเสริฐ”นั้นหมายความถึง “เท่าที่จำเป็นแก่การพ้นทุกข์” จะเห็นว่าชีวิตเราเมื่อมาพิจารณาดูแล้วเต็มไปด้วยกิเลศตัณหา และจิตใจมีแต่ความสับสนวุ่นวาย  มักยึดติดอยู่แต่ในเรื่อง “ตัวกู ของกู”  หากเรานำหลักการดังกล่าวมาเป็นเครื่องมือในการกำจัดกิเลสที่มีอยู่ในจิตใจให้บรรเทาเบาบาง  ก็เท่ากับฟอกจิตใจให้สงบเยือกเย็นลง  ไม่ว้าวุ่นอยู่กับวัตถุนิยมหรือทรัพย์สินเงินทองกลายเป็นคนหลงโลก จนแยกไม่ออกว่าสิ่งไหนคือความพอดีพองามและสิ่งไหนคือคุณธรรมจริยธรรมที่ควรยึดเหนี่ยว


การกำจัดกิเลสภายในจิตใจเป็นเรื่องจำเป็นต่อชีวิตอย่างยิ่ง นั่นหมายถึงการรู้จักทำจิตให้ว่าง  ตามปกติจิตใจของคนเราไม่อยู่นิ่ง ชอบคิดโน่นคิดนี่อยู่ตลอดเวลา  ดังนั้นจำเป็นต้องใช้ “ปัญญา”เป็นตัวกำหนด  มี “สติ”เป็นตัวกำกับ  และ “สัมปชัญญะ”เป็นตัวกำราบ  พูดง่ายๆ  ว่าพยายามทำจิตให้ว่างจากกิเลสและความยึดมั่นถือมั่นโดยไร้อวิชชามาครอบงำ


https://chaosinbooks.wordpress.com/2009/08/17/ปล่อยวางอย่างพุทธทาส/

คัดลอกจากกลุ่มไลน์ "ทำดีเพื่อพ่อ" นำเผยแพร่โดย Sikhant

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม 2016 เวลา 11:00 น.
 


หน้า 220 จาก 561
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5644
Content : 3068
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8745968

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า