Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

ทำงานวิชาการเกินตัว?

พิมพ์ PDF

ทำงานวิชาการเกินตัว?


วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ ผมนั่งฟังการประชุมกลุ่มสามพราน เรื่อง ทิศทางและจังหวะก้าวของ สช. ในระยะ ๕ ปีข้างหน้า ที่เริ่มจากระเบิดลูกแรก คือ HIA (Health Impact Assessment) ที่ทางผู้นำรัฐบาลมอง ในแง่ลบ เดาว่าเพราะผู้ประกอบการ หรือผู้บริหารที่ต้องการสร้างโครงการขนาดใหญ่ไม่ชอบ มองว่า HIA เป็นเครื่องมือของฝ่ายค้าน ทำให้เดินโครงการขนาดใหญ่ไม่ออก


การอภิปรายในที่ประชุมมีเรื่องซับซ้อนมาก ผมได้เรียนรู้มาก ข้อเรียนรู้ของผมคือ สังคมต้องการ ความรู้และหลักฐาน (evidence) สำหรับโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ที่มีการอ้างเป้าหมายเพื่อส่วนรวม


คุณหมออำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการ สช. ที่เพิ่งหมดวาระ พูดเรื่อง การเปลี่ยนผ่านระบบสุขภาพ ที่ถ้าไม่ทำอย่างมีปัญญา และสติ เราจะพลาดพลั้ง อย่างที่สหรัฐอเมริกากำลังเผชิญ คือบริการไม่ครอบคลุม คนยากลำบากเข้าไม่ถึง ทั้งๆ ที่ใช้เงินมากมายมหาศาล ถึงร้อนละ ๑๗ - ๑๘ ของจีดีพี และที่ร้าย กระบวน การพัฒนา หรือการทำมาหากินของอุตสาหกรรมหลักๆ ของประเทศนั้นเอง เป็นต้นเหตุของการทำลาย สุขภาพของพลเมือง


อ. หมอประเวศ ย้ำแล้วย้ำอีกในที่ต่างๆ ว่าระบบสุขภาพ ต้องเปลี่ยนผ่านจากระบบเก่า (conventional health systems) ที่เน้นบทบาทของวิชาชีพ ไปเป็นระบบสุขภาพใหม่ (new health systems) ที่เน้นบูรณาการ บทบาทของทุกภาคส่วนในสังคม เพื่อดำเนินมาตรการ “สร้างนำซ่อม”


คุณหมออำพล เตรียม PowerPoint จำนวนเพียง ๗ แผ่น มาทบทวนเรื่องราวของการปฏิรูประบบสุขภาพ โลกและไทยในระยะเวลา ๕๐ ปี ชี้ให้เห็นความสำเร็จและความท้าทายที่ดำเนินการมาในประเทศไทย ซึ่งหาก มองในภาพใหญ่ วงการนโยบายสุขภาพโลกยกย่องประเทศไทยมาก ที่ดำเนินการถูกทาง และมียุทธศาสตร์ที่น่าทึ่ง แต่หากมองลงรายละเอียด เรายังมีความท้าทายมาก ที่ผมมองว่า เป็นเรื่องของการบริหารนโยบายเพื่อการ เปลี่ยนแปลง ที่จะต้องเข้าใจรายละเอียดของระบบที่ภาคส่วนต่างๆ คุ้นเคย หรือมีผลประโยชน์เกี่ยวพัน และต้องบริหารแบบประสานประโยชน์ และเปลี่ยนฐานผลประโยชน์แบบที่ฝ่ายต่างๆ เตรียมตัว และตั้งตัวได้ คือต้องบริหารนโยบายสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก


ทั้งคุณหมอพลเดช ปิ่นประทีป เลขาธิการ สช. ท่านปัจจุบัน และคุณหมออำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการผู้ก่อตั้ง สช. ต่างก็เป็นผู้มีปัญญาลุ่มลึก และมีทักษะด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่ล้ำลึกและ เชื่อมโยงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีความสามารถในการเชื่อมโยงกับระบบความเป็นจริงในสังคมไทย ในการนำเสนอนี้ ผมจึงได้เรียนรู้มากมาย


โดยเฉพาะการวางตำแหน่ง (positioning) ของหน่วยงานที่ทำหน้าที่บริหารการเปลี่ยนแปลงของ ระบบนโยบาย อย่าง สช. ที่จะต้องแยก ๓ ส่วนออกจากกัน ให้ทำงานร่วมมือกัน และอาจเห็นต่างกันได้ คือ (๑) งานวิชาการด้านนโยบาย (๒) การพัฒนานโยบาย (๓ การตัดสินใจเชิงนโยบาย


ที่สำคัญที่สุดคือต้องนิยามคำว่า “พัฒนานโยบาย” ให้ถูกต้อง ว่าหมายถึงการเสนอทางเลือกเชิง นโยบายหลายทาง พร้อมคำอธิบายวิธิการจัดการ และผลกระทบที่จะตามมา (ทั้งทางบวก และทางลบ) จากการเลือกแนวทางใดแนวทางหนึ่ง โดยเสนออย่างมีข้อมูลหลักฐานประกอบอย่างน่าเชื่อถือ (มาจากงานวิชาการ)


ที่ผ่านมา สช. อาจทำหน้าที่ทั้ง ๓ อย่างข้างบนปนๆ กันไป โดยที่จริงๆ แล้วไม่มีอำนาจทำข้อ ๓ แต่อาจมีภาคีของ สช. หาทางผลักดันการตัดสินใจบางเรื่อง ในลักษณะที่ฝรั่งเรียกว่า advocacy แต่ผู้บริหาร ประเทศมองว่า สช. มีส่วนรู้เห็น เท่ากับว่า สช. ทำงานล้ำเส้น ทำให้ สช. มีศัตรู มุมมองตามย่อหน้านี้ อาจมองต่างกันได้มากมายหลายมิติและหลายระดับความรุนแรง


เป็นที่มาของชื่อบันทึกนี้ ว่าการทำงานวิชาการควรมีการพุ่งเป้าไปที่บทบาทใดเป็นหลัก หรือต้องทำหลายบทบาท คือรวมทั้งการผลักดันเอาผลงานวิชาการไปสู่การใช้ประโยชน์ด้วยหรือไม่ คำตอบตามสามัญสำนึกโดยทั่วไปคือ ควรทำด้วย แต่ก็มีคำถามต่อ ว่าในกรณีการวิจัยเชิงนโยบายล่ะ หน่วยงานวิชาการควรทำหน้าที่ ตัดสินว่าต้องเลือกทางเลือกที่ ๑ ไม่ใช่ทางเลือกที่ ๒ หรือ ๓ (หรือบางกรณีเสนอเพียงทางเลือกเดียว คือให้ยุติโครงการนั้น) แล้วเข้าขับเคลื่อนสังคมเพื่อบีบรัฐบาลให้ทำตาม หรือควรเสนอ ๓ ทางเลือก พร้อมคำอธิบายผลกระทบที่จะตามมา ของแต่ละทางเลือก พร้อมหลักฐานและเหตุผล ที่ครบถ้วน รวมทั้งแนวทางลดผลกระทบเชิงลบ


ผมมีความเห็นว่า ในกรณีของผลงานวิจัยทางเลือกเชิงนโยบายสาธารณะ หน่วยงานวิชาการควรจัดทำ เอกสาร public policy brief เผยแพร่แก่สาธารณชนด้วย ในลักษณะเผยแพร่ความรู้และข้อมูลหลักฐานอย่างเป็น กลาง หรือเป็นวิชาการ ไม่โน้มน้าว (advocate)


คำถามคือ มหาวิทยาลัย และหน่วยงานวิจัยจะมีการบริหารจัดการให้นักวิชาการหรือนักวิจัย ปฏิบัติอยู่ในกรอบคิดนี้ได้อย่างไร และจะพัฒนาทักษะการสื่อสารผลงานวิชาการในลักษณะสื่อสาร ข้อมูลหลักฐาน (evidence) ให้คนในสังคมทั่วไปเข้าใจง่าย ได้อย่างไร


วิจารณ์ พานิช

๒๐ พ.ย. ๕๙


591214,

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม 2016 เวลา 13:39 น.
 

ชีวิตที่พอเพียง : 2812. สู่ Thailand 4.0 จากสนทนาธรรม 2530

พิมพ์ PDF

ชีวิตที่พอเพียง : 2812. สู่ Thailand 4.0 จากสนทนาธรรม 2530


หนังสือ สนทนาธรรมกับนักคิดชาวพุทธที่สวนโมกข์ กระตุกความคิดผมอย่างแรง เพราะเมื่ออ่านอย่างพินิจพิเคราะห์ และตีความจากอวิชชาของผม ท่านพุทธทาสยืนอยู่มุมเดียว ไม่ยอมขยับเลย คือมุมของเป้าหมาย ระดับไร้/ลดความเห็นแก่ตัว ส่วนเป้าหมายระดับเส้นทางสู่เป้าหมายดังกล่าว ผู้ร่วมเสวนาอีกสามท่านต้องช่วยกันตะล่อม


ผู้ร่วมเสวนาอีก ๓ ท่านคือ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต), ศ. นพ. ประเวศ วะสี, และ อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ดูจากรูป สามท่านนี้ยังหนุ่มฟ้อเมื่อเทียบกับปัจจุบัน เพราะเวลาผ่านมา ๒๙ ปีแล้ว


ท่านพุทธทาสบอกว่า เป้าหมายคือคนทุกคนลดความเห็นแก่ตัวให้ได้ และเส้นทางสู่เป้าหมายนี้ คือความเข้าใจขันธ์ ๕ เพื่อจะได้เข้าใจขั้นตอนการปรุงแต่งของการรับรู้สู่ตัวตน ให้เห็นว่าตัวตนไม่ใช่ของจริง ให้รู้เท่าทันสิ่งเร้าให้เกิดตัวตน เพื่อไม่ตกเป็นเหยื่อของสิ่งเร้า หรือผู้ปล่อยสิ่งเร้าเหล่านั้น


ท่านพุทธทาสมองเน้นที่ตัวปัจเจกบุคคล ที่จะต้องฝึกตัวให้เข้มแข็ง แต่ปราชญ์อีกสามท่านบอกว่า ดำเนินการยิงตรงไปที่ปัจเจกได้ผลน้อย เพราะปัจเจกก็ตกอยู่ใต้ปัจจัยแวดล้อม ต้องยิงหลายจุด และยิงที่ปัจจัย แวดล้อมด้วย


ท่านพุทธทาสไปไกลถึงขนาดบอกว่า คนจนจนเพราะเห็นแก่ตัว ที่เป็นโสเภณีก็เพราะเห็นแก่ตัว ต้องคิดหลายชั้นจึงจะเข้าใจท่าน ต้องหมุนอิทัปปัจยตาหลายรอบจึงจะเห็นเหตุและผลของความเห็นแก่ตัว สู่ปัญหาความยากจน


มีคนพูดว่าวงการสงฆ์ต้องเป็นหลัก แต่ก็มีคนบอกว่า วงการสงฆ์รวนเร ยิ่งวงการปกครองสงฆ์ ยิ่งรวนเร เพราะแทนที่จะเป็นหลักให้โลกฆราวาสทวนกระแสตัวกระตุ้นกิเลสได้ กลับเข้าไปเป็นเหยื่อหรือเครื่องมือของตัวกระตุ้นกิเลส ผมตีความสาระลึกๆ ของการเสวนาอย่างนี้ไม่ทราบว่าเพี้ยนไปหรือไม่ และไม่ทราบว่าจะตกนรกหรือไม่

ฟังแล้วเป้าหมายร่วมคือสังคมที่ดี ผู้คนมีความสุข และกลไกหลักคือปลดปล่อยคนจากพันธนาการ หรือการยั่วยุของกิเลส ซึ่งยั่วยุโดยตัวกระตุ้นกิเลสอีกต่อหนึ่ง แต่วิธีการบรรลุเป้าหมายในคนส่วนใหญ่เป็นเรื่องซับซ้อนมาก


เป็นการประชุมกันเพื่อเป้าหมายอันประเสริฐ คือเพื่อให้สังคมอยู่ดี มีความสุข แต่เป็นแนวทางที่ทวนกระแสโลก เพราะโลกขับเคลื่อนสิ่งที่เรียกว่า “การพัฒนา” ด้วยการกระตุ้นกิเลส กระตุ้นการบริโภค กระตุ้นความอยาก คือเอาจุดอ่อนความเห็นแก่ตัวของมนุษย์เป็นเครื่องมือ คล้ายๆ เอาผู้คนในสังคมเป็นเหยื่อ เพื่อหล่อเลี้ยงสิ่งที่เรียกว่าความเจริญ หรือการพัฒนา


การเสวนาคราวนั้น เมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๓๐ ผ่านมากว่า ๒๙ ปี เรามีความรู้เรื่องการพัฒนามนุษย์เพิ่มขึ้นอย่างมากมาย รู้ว่าการเรียนรู้ธรรมะต้องเริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา ตอนเป็นเด็กเล็ก และในวัยรุ่น ที่เรียกว่า พัฒนา EF รู้วิธีเรียนรู้เชิงบวกจากการทำกิจกรรมร่วมกันของผู้คน ซึ่งจะมีผลคล้ายๆ การปฏิบัติธรรมร่วมกัน เรียกว่า “การจัดการความรู้” (Knowledge Management - KM) ซึ่งที่จริงเกิดจาก การทำงาน (Action) ร่วมกัน แล้วร่วมกันไตร่ตรองสะท้อนคิด (Reflection) กิจกรรม action ตามด้วย reflection นี้ หากตั้งคำถามเกี่ยวกับงาน ก็ได้เรียนรู้เกี่ยวกับงาน หากตั้งคำถามเกี่ยวกับธรรมะว่าด้วยการลดละตัวตน ก็จะได้เรียนรู้ธรรมะ แต่แม้ไม่ตั้งคำถามเรื่องธรรมะ คนในวง KM ก็ได้เรียนลดละตัวตน และเคารพผู้อื่น โดยทางอ้อมอยู่แล้ว เพราะจะได้เห็นวิธีคิดที่แตกต่างหลากหลาย หลายความคิดของเพื่อนร่วมงาน เป็นสิ่ง ถูกต้อง ดีงาม ใช้ได้ผล แต่ตัวเรานึกไม่ถึง


โรงเรียนแนวใหม่ในประเทศไทยจำนวนหนึ่ง (น่าจะกว่า ๓๐๐ โรงเรียนจากที่มีโรงเรียนทั้งหมด ในประเทศสามหมื่นโรงเรียน) จัดให้นักเรียนทุกชั้น ตั้งแต่ชั้นอนุบาลขึ้นไป มีการเรียน (ฝึก) จิตศึกษา หรือจิตปัญญาศึกษา ช่วยให้เด็กดูจิตตัวเองเป็น มีสมองตื่นรู้เบิกบาน เรียนรู้ได้ดีขึ้น และมีสมาธิจดจ่อดีขึ้น ดูตัวอย่าง ที่นี่ ผมเชื่อว่ากิจกรรมเหล่านี้มีส่วนพัฒนา EF ของเด็กด้วย


แต่ที่ก้าวหน้ามาก และจะมีผลต่อคุณภาพคนทั้งด้านปัญญาความรู้ และด้านธรรมะในความหมายของ ท่านพุทธทาส คือรูปแบบการเรียนรู้ในสถานศึกษาแนวทางใหม่ ที่เรียกว่า การศึกษาแห่งศตวรรษที่ ๒๑ที่ไม่ใช่เรียนแบบรับถ่ายทอดความรู้สำเร็จรูป แต่เรียนจากการปฏิบัติเป็นทีม ตามด้วยการไตร่ตรองสะท้อนคิด ร่วมกัน จะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพคนตามความฝันของนักปราชญ์ทั้ง ๔ และตามการเสวนาในช่วงบ่าย ในหนังสือเล่มดังกล่าว


คนที่อ่านหนังสือเล่มดังกล่าว อาจรู้สึกว่าสังคมไทยช่างอับจนเสียจริงๆ แต่เวลาผ่านมาเกือบสามสิบปี มีพัฒนาการด้านต่างๆ ในโลก และในสังคมไทย ที่จะนำมาใช้ขยายผลออกไปให้กว้างขวางได้ เพื่อบรรลุเป้าหมาย ตามในหนังสือเล่มนี้ และในเป้าหมาย Thailand 4.0 ของรัฐบาล


ขึ้นอยู่กับว่า เรารู้จักใช้เครื่องมือเหล่านี้หรือไม่


วิจารณ์ พานิช

๑๓ พ.ย. ๕๙


บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 


แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม 2016 เวลา 13:54 น.
 

สานงานพ่อ ก่องานใหม่ รวมน้ำใจไทยเป็นหนึ่ง ถวายพ่อหลวง

พิมพ์ PDF

https://youtu.be/FHfAtsCuiIA

เปลี่ยนเป็นเปลี่ยน onair 07 12 2559


ขอเชิญชวนพี่น้องชาวไทยผู้รักในหลวง ห่วงลูกหลาน ประสานใจให้เป็นหนึ่ง ถวายล้นเกล้าทั้งสองพระองค์ เพื่อเป็นปฏิบัติบูชาสร้างไทยให้เป็นผู้นำและเป็นผู้ให้แก่ชาวโลก:

"สานงานพ่อ ก่องานใหม่ รวมน้ำใจไทยเป็นหนึ่ง ถวายพ่อหลวง"
พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย จากสมมติเทพสู่มหาเทพนิรันดร์กาล

"...จะพัฒนาอะไร ให้เริ่มที่คน จะพัฒนาใคร ให้เริ่มที่ตน จะพัฒนาตน 
ต้องให้ครบกาย วาจาและใจ จะพัฒนาด้วยนวัตกรรมใด ๆ ไม่สู้ปัญญาตรัสรู้ 
"ไตรสิกขา" คือ ศีล สมาธิ และปัญญา" 
ปวงข้าพระพุทธเจ้า
สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณหาสุดมิได้

๑.หลักการและเหตุผล
"All for Two-in-One, Two-in-One for all": คำนี้ผมยืมมาจากฝรั่ง [English Literature] ในอ้งกฤษมีการต่อสู้ผลัดเปลี่ยนแผ่นดิน ต่อสู้เพื่อกอบกู้เอกราชคืน จึงมีการระดมกำลังที่แตกซ่านไม่เป็นปึกแผ่นโดยใช้สโลแกนที่เข้าใจ เข้าถึง จึงพลังของประชาชนผู้จงรักภักดีลุกขึ้นมาต่อสู้เอาชนะศัตรูได้ แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงนำด้วยพระองค์เอง นั่นคือ "One for all" พระองค์ทรงบุกป่าฝ่าดงสู่ถิ่นธุรกันดาร ไม่ว่า เหนือ ใต้ ตก ออก อีสานเหนือ อีสานใต้ เหนือตอนบน เหนือตอนกลาง จนถึงลุ่มน้ำเจ้าพระยา พระองค์ทรงนำด้วยพระองค์เอง พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ ทุกพระองค์ทรงเป็นทั้งกำลังสำคัญ ทั้งทรงเป็นกำลังสำรองในการต่อสู้กับความยากจนของพสกนิกรของพระองค์ แม้จะทรงท้อ แต่ทรงไม่ถอยกว่า ๗๐ ปีที่ทรงทำมา คนไทยไม่น้อยได้รับรู้ เข้าใจ เข้าถึงตามที่ทรงมุ่งหวัง แต่มีจำนวนไม่น้อยยังลังเล ไม่เข้าใจ ไม่เข้าถึง จึงไม่ได้นำแนวทางที่พระองค์ทรงวางไว้มาพัฒนาตนเอง 
แค่โครงการเดียว เช่น "แนวคิดทฤษฎีของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง" ท่านโคฟี่ อันนัน ในนามองค์การสหประชาชาติ "UNDP Human Development Lifetime Achievement Award" to His Majesty King Bhumibol Adulyadej in Rcognition of Lifetime Achievement in Human Development May 2006. "Sufficiency Economy: A New Philosophy in the Global World" นั่นคือทางรอดของมวลมนุษยชาติ ไม่ใช่เฉพาะคนไทยเท่านั้น แล้วที่เหลืออีกมากกว่า ๔,๐๐๐ โครงการ "ถ้ารักพ่อ ต้องทำตามที่พ่อสอน" "ไม่ทำตามที่ทรงสอน อย่ามาอ้อนว่าเป็นลูก" พระองค์ทรงเป็นครูของแผ่นดิน "ไม่ทำตามที่ทรงสั่งสอน อย่ามาอ้อนว่าเป็นลูกศิษย์" 
ถ้าใครมีโอกาส มีเวลาในวันหยุด หรือจะไปเที่ยวไหน ก็ลองมองดูที่ทรงมีโครงการมากมาย เช่น โครงการ "แหลมผักเบี้ย" โครงการ "ช่างหัวมัน" จังหวัดเพชรบุรีไม่่ำไกลจากรุงเทพมหานคร ใกล้ทะเลเป็นต้น หรือเข้าไปสู่เว็บไซต์ของมูลนิธิชัยพัฒนาซึ่งดูแลโดยดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เป็นต้น มีองค์ความรู้พร้อมที่จะเป็นหลักคิด กระบวนการคิด วิธีปฏิบัติมากมาย

๒.วิธีดำเนินการ
ขอให้คนไทยทุกคนร่วมแรง ร่วมใจช่วยกันทำ ไม่ใช่ให้ใครทำ เรา คนไทยทุกคน ทุกเชื้อชาติ ทุกศาสนา เราต้องผนึกรวมพลังกัน "เรารักในหลวง ห่วงลูกหลานไทย ต้องรวมใจไทยให้เป็นหนึี่งถวายพระองค์ท่าน" นั้นหมายถึง แล้วอานิสงส์จะตกมาถึงเราท่านโดยไม่เลือกเชื้อชาติ ศาสนา ความเชื่อ "All for two-in-One, Two-in-One will be benefit to all' ล้นเกล้าทั้งสองพระองค์ คือพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรฯ คือ Two -in-One, All for ... คือพวกเราหลายพสกนิกร ต้องตั้งปณิธานที่จะน้อมนำ "ศาสตร์ของพระราชา" ที่ทรงฝากไว้กว่า ๔,๐๐๐ โครงการมาสานงานพ่อ ก่องานใหม่อาจจะเกิดขึ้นอย่างมากมายต่อไป เพราะศาสตร์ของพระองค์ท่านได้ฝากไว้ให้ลูกหลานไทย จะมีชาวต่างประเทศมากมายหลั่งไหลมาเยี่ยม เรียนรู้ พวกเราต้องสู้เพื่อบริการต่อท่านเหล่านั้น ในฐานะลูกหลานพระองค์ท่าน กว่า ๗๐ ปีอย่าให้ความเหน็ดเหนื่อยของพระองค์ท่านสาบสูญไปเปล่า 
๓.ผลที่คาดว่าคนทั้งโลกจะได้รับ
ถ้าคนไทยใฝ่เรียนรู้ตามที่ทรงแนะนำทำให้ดูดลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ ความกันดารในอาหาร คือความยากจน จะหมดไปจากความหิวโหยของมวลมนุษยชาติ ความอุดมสมบูรณ์ของแผ่นดินก็จะมีพร้อม พวกเราจะก้าวล่วงความโศกและปริเทวะ จะหมดจากความทุกข์และโทมนัส พวกเราจะเข้าใจ เข้าถึงความจริงที่จับต้องได้และพัฒนาตามที่ทรงตั้งเป้าประสงส์ไว้ คือเป็นไทย ไม่เป็นทาส ต่อกระบวนการระบบที่นำสู่ความหายนะของระบบที่เบียดเบียนตนเอง และสิ่งแวดล้อมทั้งทางกาย วาจา และใจ ที่เรียกว่าตกต่ำสู่แนวทางที่เป็นอกุศลกรรมบถ เป็นชีวิตที่ลงนรกตั้งแต่ยังไม่ตาย เป็นทาสต่อตัณหา มานะ ทิฏฐิ หรือ เป็นทาสของความโลภ ความโกรธ และความหลังเหมือที่ได้ทรงนิพนธ์ไว้ในพระมหาชนกร่วมสมัยอย่างแน่นอน 
ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้า
คณะกรรมการ ผู้บริหารมูลนิธิศูนย์บูรณาการมนุษย์ IHDC
มล.ชาญโชติ ชมพูนุท รายการ "เปลี่ยนเป็นเปลี่ยน" 
ดร.แสน ชฎารัมย์ ทีมงานพลังบุญกรุ๊ป [Tours & Travels]
รายการ"เปลี่ยนเป็นเปลี่ยน" รายการ"พลังบุญสารพันปัญหาธรรมะ"
รายการ "ถกปรัปวาท" บริษัท ซี.แอล.ซี เซอร์วิส จำกัด
มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ [IHDC] และผู้ชม ผู้ฟังในทุกมีเดีย

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 14 ธันวาคม 2016 เวลา 13:20 น.
 

วิพากษ์ร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา

พิมพ์ PDF

วิพากษ์ร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. ….


อ่านร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. ….ได้ ที่นี่


อ่านแล้วผมมีความเห็นว่า ร่างดังกล่าวบอกสามอย่าง


หนึ่ง เป็นการถอยหลังเข้าคลองของประเทศไทยในการจัดการระบบอุดมศึกษาระดับประเทศ ถอยหลังเข้าสู่การรวบอำนาจรวมศูนย์ และใช้กติกาชุดเดียวบังคับสถาบันอุดมศึกษาทั้งหมด โดยที่ต้นเหตุคือมหาวิทยาลัยที่มีคนเข้าไปแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบในระดับกำกับดูแลและระดับบริหาร ทำให้มีการเสนอกฎหมายแก้ปัญหามหาวิทยาลัยเหล่านั้น เกิดผลข้างเคียงคือกฎหมายนี้ ครอบมหาวิทยาลัย ที่ดีอยู่แล้ว ทำให้ทำงานแบบสร้างสรรค์ แตกต่างออกไปจากเดิมๆ ได้ยาก ต้องอยู่ใต้การพิจารณาอนุมัติ ของกลไกกลางคือคณะกรรมการบริหารการอุดมศึกษาในหมวด ๓ ของร่าง พรบ. ซึ่งจะมีผลให้การบริหาร การอุดมศึกษาของชาติเข้ากรอบเดียว ขาดคุณภาพในความแตกต่างหลากหลาย ซึ่งเป็นสภาพที่จำเป็น สำหรับการขับเคลื่อนประเทศสู่ Thailand 4.0


สอง สะท้อนความล้าหลังในกระบวนทัศน์ของการจัดระบบเพื่อใช้อุดมศึกษาเป็นพลังขับเคลื่อนการ พัฒนาประเทศ ซึ่งจะต้องสร้างระบบหรือกลไกชักจูง เอื้ออำนวย และเชื่อมโยง ให้อุดมศึกษาเข้าไปเป็นภาคี พัฒนา ร่วมกับภาคส่วนต่างๆ ในสังคม ดังตัวอย่าง Amsterdam Knowledge Network Foundation (ที่ผมเคยบันทึกไว้ ที่นี่) องค์กร Thriving Earth Exchange ที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงนักวิทยาศาสตร์กับผู้นำชุมชน เข้าหากัน เพื่อดำเนินการลดปัญหาสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ องค์กร NACUE ในสหราชอาณาจักร เพื่อส่งเสริมการพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการแก่นักศึกษา โดยนักศึกษาจัดการกันเอง เป็นต้น


สามมาตรา ๑๓ (๒) บอกผมว่า ต้องมีกลไกตรวจสอบความคุ้มค่าในการใช้เงินของแต่ละมหาวิทยาลัย ซึ่ง สกอ. ทำไม่เป็น ไม่มีคนที่มีศักยภาพในการทำหน้าที่นี้ หากไม่ระวังการจัดสรรทรัพยากรจะตกอยู่ใต้ การวิ่งเต้นกับคนที่เป็นกรรมการการอุดมศึกษาเป็นหลัก ประเทศจะเข้าสู่หายนะ เรื่องนี้อาจมีคนแย้ง ว่าเวลานี้ก็ใช้การวิ่งเต้นกับเจ้าหน้าที่ และผู้บริหารสำนักงบประมาณอยู่แล้ว


แต่ละประเทศต้องมีกลไกกลางในการบริหารระบบอุดมศึกษาแต่กลไกกลางแบบ top-down, command and control จะทำให้ระบบอุดมศึกษาขาดโอกาสทดลองสร้างสรรค์ พัฒนารูปแบบวิธีการที่แตกต่าง หลากหลาย เพื่อสนองความต้องการของสังคม ที่นับวันก็ยิ่งมีความแตกต่างหลากหลายเพิ่มขึ้น โดยที่ต้องการการกำกับดูแลให้สถาบันอุดมศึกษาเหล่านั้น ทำคุณประโยชน์ ไม่ก่อโทษให้แก่สังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทำงานกอคุณประโยชน์คุ่มค่าของเงินที่ได้รับการสนับสนุน


ซึ่งกลไกตามในร่าง พรบ. การอุดมศึกษา ไม่สะท้อนภาพให้เห็น


การอุดมศึกษาแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ต้องกำกับโดยอำนาจของข้อมูลและสารสนเทศ ที่เปิดเผยต่อสาธารณะ ให้สาธารณะกำกับเองให้มากที่สุด คือเน้นอำนาจของประชาชน ไม่ใช่เน้นอำนาจรวมศูนย์โดยคณะบุคคล



วิจารณ์ พานิช

๘ พ.ย. ๕๙


บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม 2016 เวลา 23:10 น.
 

วันรัฐธรรมนูญ ต้องพูดถึงคณะราษฎร์

พิมพ์ PDF

วันนี้วันรัฐธรรมนูญ ...ก็ต้องพูดถึงคณะราษฎร์
ผู้นำการเปลี่ยงแปลงการปกครอง ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเรื่องนี้ผมสารภาพตรงๆว่าตั้งแต่เริ่มรับรู้ สนใจ และได้อ่าน ได้ยินมาจากแวดวงคนทำกิจกรรมสมัยเรียนมหาวิทยาลัย ก็จะมีแต่ด้านบวกที่คณะราษฎร์ เป็นพระเอก เป็นฮีโร่ ถ้าไม่มีพวกเขา จะไม่มีสิ่งที่เรียกว่า ประชาธิปไตย ในประเทศนี้
แต่เมื่อก้าวพ้นรั้วมหาวิทยาลัย ออกมาสู่โลกจริงที่ใหญ่โตขึ้น
จึงได้มีโอกาสรับรู้เรื่องราวในอีกมิติหนึ่ง
ทำให้ได้มองประวัติศาสตร์การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 และกลุ่มบุคคลที่ชื่อ คณะราษฎร ในมุมที่กว้างกว่าเดิม
ไปอ่านเจอมา น่าสนใจ ไม่เคยรู้มาก่อน เลยอยากนำมาแย่งกันอ่าน และหวังว่าจะมีข้อมูลจากผู้รู้อีกฝั่งมาเพิ่มเติม
.........................
จากFB อ.สมเกียรติ โอสถสภา
วันนี้วันรัฐธรรมนูญ ประวัติศาสตร์ที่ไม่มีคนเขียน
====================================
24 มิถุนายน 2475 รถถังสองคันวิ่งเข้ามาปิดประตูทางเข้า ออกสองประตูของโรงเรียนสวนกุหลาบ ปืนรถถังหันเข้าสู่โรงเรียน นักเรียนหนีไม่ได้ เพราะมีแค่สองประตู
ทหารเข้าไปกวาดต้อนนักเรียนเข้าหอประชุม ควบคุมตัวไว้ ในหมู่นักเรียนมีลูกหลานเชื้อพระวงศ์ ข้าราชการ และลูกหลานสามัญชนโดยทั่วไป
การต่อสู้นองเลือดจืงไม่เกิดขื้น เพราะยุทธการจับเด็กเป็นตัวประกัน โคตรแมนเลย
ประวัติศาสตร์ตอนนี้ คณะราษฏร์ไม่เคยบันทืกเป็นประวัติศาสตร์ชาติ แต่คือประวัติศาสตร์โรงเรียนที่บันทืก บอกเล่าสืบต่อกันมา
รัชกาลที่7 มิได้ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญ แต่ทรงหนีภัยไปต่างประเทศ ที่ทรงลงนามก็เพื่อแลกกับความปลอดภัยของพระบรมวงศานุวงศ์
เมื่อคณะราษฎรขื้นมีอำนาจ เห็นว่าโรงเรียนรัฐบาล และโรงเรียนเอกชนทั้งหลายที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระมหากษัตริย์นั้นเป็นภัย จืงจัดการทำให้อ่อนแอเสีย โดยสั่งให้โรงเรียนทั้งปวงยุติการสอนชั้นมัธยมปลาย ตั้งแต่ปี พศ 2480 เป็นต้นมา ใช้วิธีเดียวกับในฝรั่งเศส
การศืกษาของชาติจืงพังทลายลง อาจารย์ชาวต่างประเทศถูกส่งกลับ ครูอาจารย์ดีๆถูกย้ายหรือปลดออกจากราชการ หากการเรียนแบบสองภาษาในยุคนั้นไม่ถูกระงับ ตอนนี้คนไทยจะพูดอังกฤษคล่องแบบนักเรียนมาเลเซีย และสิงคโปร์
รัฐบาลได้จัดตั้งโรงเรียนเตรียมมหาวิทยาลัยที่จุฬา ธรรมศาสตร์ ศิลปากร ขื้นมารองรับนักเรียนที่จะเรียนต่อชั้นมัธยมปลาย ก็โยกย้ายครู อาจารย์จากโรงเรียนที่เปิดสอนชั้นมัธยมปลายเดิมนั่นแหละไปสอน
ฉลาดจัง
โรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนเอกชนทั่วประเทศถูกปิดการสอนชั้นมัธยมปลายไปถืงสิบปี เปิดสอนได้อีกครั้งในปี 2491
ที่ได้เปิดสอนอีกครั้ง เพราะศิษย์เก่าจากโรงเรียนต่างๆ ทั้งทหาร ตำรวจ ข้าราชการ นักหนังสือพิมพ์ ต่างร่วมกันกดดันรัฐบาล ครูเก่าเดินไปด่าคณะราษฏรถืงที่
ศืกชิงโรงเรียนคืน ดำเนินไปอย่างดุเดือด เป็นที่มาของการแยกกลุ่ม เปลี่ยนฝ่ายในหมู่คณะราษฏร ตีกันเองเละ ทั้งในบ้าน นอกบ้าน ในหมู่เพื่อนฝูง
การปิดโรงเรียนสิบปี ทำให้นักเรียนที่จบชั้นมัธยมต้น ต่างหลั่งไหลไปเข้าเรียนที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าอย่างต่อเนื่อง การเดินทางไปเตรียมจุฬา ยุคนั้นไกลมาก เดินไปราชดำเนินนอกง่ายกว่า ค่ารถรางแพงมาก แต่ต้องไปเรียนที่เตรียมจุฬามากเหมือนกัน พวกมีตังค์
คนที่รู้สืกว่าตนเองถูกรังแก โรงเรียนถูกยืดเมื่อไปเรียนทหารต่อเนื่องกันทุกรุ่นได้ คุมกำลัง คุมอาวุธ จืงเข้ายืดอำนาจรัฐคืน เอาโรงเรียนคืน
เมื่อเปลี่ยนการปกครอง จุฬาถูกรอนอำนาจ คณะ การสอนที่เกี่ยวกับการปกครอง บริหารประเทศถูกสั่งยุบ ให้ย้ายไปธรรมศาสตร์คือ รัฐประศาสนศาสตร์ นิติศาสตร์ ให้คงไว้เฉพาะคณะภาษา วิทยาศาสตร์ วิศวะ คณะแพทย์โอนไปมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ทำให้เล็กลง เดิมไม่ได้มีมหาวิทยาลัยชื่อชื่อมหิดลนะครับ
รัฐศาสตร์ จุฬามาเปิดใหม่ปี 2492 หลังโรงเรียนต่างๆสู้ได้สำเร็จ โอนย้ายคณะต่างๆกลับมามาก กโลบายตัดขาดประชาชนกับพระมหากษัตริย์จืงยุติลง
ที่จริงจอมพล ป พิบูลสงครามต้องการถูกจารืกชื่อในฐานะผู้ก่อตั้งจุฬา ม แพทยศาสตร์ โรงเรียนเตรียมจุฬา ส่วนท่านปรีดีก็เป็นบิดาของตมธก ธรรมศาสตร์
อ เกษม สุวรรณกุล. อดีตอธิการบดี จุฬา จืงงหาทางสร้างอนุสาวรีย์สองรัชกาลขื้น ท่านบอกผมว่า ไม่งั้น จะมีใครมาสร้างอนุสาวรีย์ของตนเองขื้น แล้วทืกทักว่าตนเองเป็นผู้สร้่างจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
ถ้าไม่มีการต่อสู้จากศิษย์เก่าโรงเรียนต่างๆทั่วประเทศ. จุฬาคงเปลี่ยนไปแล้ว. ชื่อมหาวิทยาลัยคงถูกเปลี่ยน พระเกี้ยวจะถูกเปลี่ยนเป็นตราไก่ ตราประจำปีเกิดของท่านจอมพล
การเอาโรงเรียนทั่วประเทศคืนคือ การเอาประชาธิปไตยในการศืกษาคืนมา
เมื่อพวกเขารวมเป็นหนื่ง การปฏิวัติจืงเกิดต่อเนื่อง เพราะคนที่ถูกรังแกเหล่านี้ ไม่ศรัทธานักการเมืองที่เอารถถังไปยืดโรงเรียนของเขา ทำร้าย ทำลายผู้ที่พวกเขาเคารพนับถือ
น่าเสียดาย นักเรียนที่เก่งที่สุดของประเทศสามร้อยกว่าคน ที่ถูกส่งไปเรียนวิชาการต่างๆด้วยทุนของรัฐบาลในสมัยรัชกาลที่5 ไม่ได้รับบรรจุเข้ารับราชการ ถูกส่งเข้าคุกก็มาก
ประเทศไทยเสียโอกาสความเจริญก้าวหน้าไปมาก
วันรัฐธรรมนูญจืงมีประวัติความเป็นมาที่ประหลาดๆ
พูดเรื่องใหญ่ๆแต่ทำเรื่องเล็กๆไม่เป็น
แต่ก็ทำให้พวกหากินกับงานร่างรัฐธรรมนูญมีอาชีพ
กลับมาร่างครั้งนี้ คงฉลาดกว่าครั้งก่อนๆๆๆๆๆนะ
แต่ดูแล้วไม่ได้มีอะไรใหม่ดอก กล้าซะเมื่อไหร่
สวัสดีครับ วันรัฐธรรมนูญ เดี๋ยวจะไปนอนล่ะ
============================================
เมื่อฝ่ายคณะราษฏรเสื่อมอำนาจลง การเปลี่ยนแปลงโยกย้ายคณะวิชาระหว่างมหาวิทยาลัยจืงเกิดขื้นครั้งใหญ่ นิสิตนักศืกษาที่เรียนแพทย์ เภสัช รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ และที่เรียนในมหาวิทยาลัยต่างๆย่อมรู้ประวัติคณะ และประวัติมหาวิทยาลัยของตนดี
ความขัดแย้งระหว่างจุฬา ธรรมศาสตร์ก็เกิดขื้นด้วย. ผู้ที่จบจุฬาเมื่อเข้ารับราชการได้รับเงินเดือนมากกว่าผู้จบธรรมศาสตร์ 50บาท ซื่งไม่เป็นธรรมอย่างยิ่ง. นักเรียนเก่าสวนกุหลาบในสองมหาวิทยาลัยจืงนัดเตะฟุตบอลกันเชื่อมสามัคคี. เพื่อบอกสังคมว่าเพื่อนเหนือการเมือง. และเรียกร้องให้ได้เงินเดือนเท่ากันด้วย คนมาดูกันมาก กลายเป็นฟุตบอลประเพณีระหว่างมหาวิทยาลัย นักฟุตบอลรุ่นแรกๆมีพลตท ต่อศักดิ์. ยมนาค. บิดาของ. อ ต่อตระกูล ยมนาคด้วย
เป็นประเพณีว่ากีฬาคือการส่งเสริมมิตรภาพ. ความเป็นเพื่อนจากโรงเรียนเหนือคำพูดยุแหย่ใดๆ. จะเข้าใจประวัติศาสตร์ชาติ ต้องรู้ที่มาที่ไปของคน ประวัติบุคคล. มาร์กซ์เป็นใครไม่รู้จัก แต่พวกเขารู้จักเพื่อนของเขาดี. ความรักมีค่าเหนือการเมืองของผู้กระหายอำนาจทุกฝ่าย.
ผู้ใหญ่ดูเด็กๆรักกันบ้างก็ดี. จะได้มีวิวัฒนาการ
=========================================
การทำลายการศืกษาเพื่อเถลิงอำนาจทำให้โรงเรียนประจำมณฑล โรงเรียนประจำจังหวัดทุกแห่ง. โรงเรียนในเครือมิสซัง และเครือเซนต์คาเบรียลทั่วประเทศต้องปิด มปลายด้วย นักเรียนชายในต่างจังหวัดไม่มีที่เรียน ม ปลาย ต้องมาอาศัยวัด ใต้ถุนกุฎิในกรุงเทพเป็นที่นอน เพื่อจะได้เรียน มปลาย. เข้ามหาวิทยาลัย แนวเหมาเลย
เป็นการหยุดการศืกษาของนักเรียนหญิงไปร่วมสิบปี ทั่วประเทศ
เด็กวัดดังยุคนี้แหละ ต้องเข้ากรุงเทพมาอาศัยวัดนอนจะได้เรียนหนังสือ อาศัยไม้กระดานปูนอนใต้ถุนกุฏิก็มาก เช่นน ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
===========================================
ประวัติโรงเรียนสวนกุหลาบบันทืกว่า
>> ในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 นั้นมีรถถังแล่นมาจอดขวางประตูโรงเรียน มีนายทหารและพลเรือน ชื่อนายสงวน ตุลาลักษณ์ ผู้ก่อการได้เข้ามาในโรงเรียนเชิญอาจารย์ใหญ่ซึ่งขณะนั้นคือ อาจารย์เอซี เชอร์ชิล และนักเรียน ม.6-ม.8 เข้าหอประชุมสามัคคยาจารย์สมาคมประกาศว่า ทุกคนได้รับทราบว่าขณะนี้ได้มีการปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองขอให้ทุกคนอยู่ในความสงบ
นักเรียนสวนกุหลาบได้ลุกขึ้นถามว่า “ทำไมต้องเปลี่ยนแปลงการปกครอง” นายสงวน ตุลาลักษณ์ตอบว่า “ไม่ต้องถามเวลานี้ ถ้าต้องการรายละเอียดต้องตอบด้วยปืน (คำสัมภาษณ์ คุณสมจิตต์ โฆสวรรณะ)
การกระทำครั้งนี้ดูเหมือนว่าจะควบคุมความสงบของครูและนักเรียนในโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยซึ่งเป็นโรงเรียนใหญ่ และในขณะนั้นถือว่าใกล้ชิดกับราชวงศ์และข้าราชการชั้นสูงของกระทรวงธรรมการนั่นเอง
จากเหตุการณ์ตอนนี้พอสันนิษฐานว่าโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยเป็นโรงเรียนที่มีบทบาทสำคัญแห่งหนึ่ง ซึ่งคณะราษฎร์จำเป็นจะต้องควบคุมสถานการณ์ไว้ ครูอาจารย์ และ นักเรียน ก็น่าจะเป็นพลังที่จะต่อต้านคณะปฏิวัติ ซึ่งก่อให้เกิดความระส่ำระส่ายที่ยากคณะราษฎร์จะดูแลได้จึงได้ใช้วิธีนำรถถังมาปิดโรงเรียนและควบคุมสถานการณ์ดังกล่าว
========================================
อ้อ มีใช้ปืนยิงถล่มโรงเรียนหอวังด้วย ปิดไปนาน เพิ่งเปิดสอน จัดตั้งกลับมาเมื่อไม่นานมานี้ ไว้จะหาประวัติหอวังมาเพิ่มเติม

Credit : Paramet Bhuto

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม 2016 เวลา 23:54 น.
 


หน้า 222 จาก 561
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5644
Content : 3068
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8746512

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า