Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

​ความรุ่งเรืองของประเทศสยามในรัชสมัยของรัชกาลที่ ๕

พิมพ์ PDF

ความรุ่งเรืองของประเทศสยามในรัชสมัยของรัชกาลที่ ๕ 
ท่านเชื่อหรือไม่ว่า ประเทศญี่ปุ่น ที่เจริญล้ำหน้ากว่าเราหลายสิบปี
ในปัจจุบันนี้ เคยมาซื้อเรือกลไฟไปจากประเทศไทย 
ในสมัยที่สยามยังไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
แต่ด้วยพระบรมราโชบายการปฏิรูปใน "ปฏิวัติ" ขององค์พระมหากษัตริย์
ทำให้ประเทศสยามพลิกเปลี่ยนเป็นประเทศที่ทันสมัยกว่าใคร
ทั่วทั้งภูมิภาคเอเชีย ในขณะที่ประเทศอื่นๆ ตกเป็นเมืองขึ้น 
และเป็นอาณานิคมของฝรั่งแทบทั้งสิ้น
หากท่านค้นหาประวัติศาสตร์ที่ถูกปิดบัง ซ่อนความจริงเอาไว้
ท่านจะพบอะไรอีกมาก ที่สถาบันพระมหากษัตริย์ 
สร้างความเจริญให้กับชาติบ้านเมือง

ที่ผมให้ทรรศนะอย่างนี้ ไม่ใช่ต้องการให้ประเทศไทยกลับไป
อยู่ในการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
เพราะสถาบันพระมหากษัตริย์ของไทย
มีพระบรมราโชบายต้องการให้ประเทศไทยมีการเมืองแบบ
ประชาธิปไตยอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่รัชกาลที่ ๕
ส่งต่อมาถึงรัชกาลที่ ๖ และรัชกาลที่ ๗ ที่พระองค์ทรงส่งมอบ
อำนาจอธิปไตยของพระองค์ ให้กับคณะราษฎร์ เพื่อหวังว่าคณะราษฎร์

จะสานต่อตามพระราชปณิธานของพระองค์ 
แต่ไม่นานนัก จาก พ.ศ. ๒๔๗๕ - ๒๔๗๗ เพียงสองสามปี
คณะราษฎร์กลับทำการยิ่งกว่าโจร ยึดเอาพระราชอำนาจที่เป็นของ
พระมหากษัตริย์อยู่แต่เดิม เป็นของพวกเขาเอง

ประเทศไทยจะไม่ตกอยู่ในสภาวะล้าหลัง พัฒนาไม่ได้อย่างนี้เลย
หากคณะราษฎร์ไม่ทำลายพระบรมราโชบายของสถาบันพระมหากษัตริย์
ประเทศไทยจะเจริญก้าวหน้าและเป็นหนึ่งในมหาอำนาจของโลก
และอาจล้ำหน้าประเทศญี่ปุ่น ด้วยเพราะเรามีพร้อมกว่าประเทศเขา
หลายเท่านัก ทั้งบ้านเมืองและทรัพยากรที่มีอย่างอุดมสมบูรณ์
และความเหมาะสมในที่ตั้งของประเทศทางภูมิศาสตร์ 
อันเป็นจุดยุทธศาสตร์เชื่อมต่อทางเศรษฐกิจในยุค ๒๐๐๐ นี้

คัดลอกจากบทความของ ม.ล.ภูดิศ ศุขสวัสดิ์

แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม 2016 เวลา 01:41 น.
 

ปรากฏการณ์ “บอกอนาคตชาติ” โดย เปลว สีเงิน

พิมพ์ PDF



๑๒ วันแล้ว....นับจากวัน "ฟ้าคืนสู่ฟ้า" ลองทบทวนกันดูซิว่า เราเห็นอะไรบ้าง?

นอกจาก "รัก-อาลัย" ทั้งจากชาวไทยและชาวโลกแล้ว

ยังมีอะไรอีก?

"รักสามัคคี-ทำดีเพื่อพ่อ" เห็นเป็นรูปธรรม นั่นไง

แล้วอะไรอีก?

คนเป็นแสนๆ เฉพาะสนามหลวง รวมเป็นล้านๆ จากทั่วประเทศ ร่วมร้องเพลง "สรรเสริญพระบารมี" เป็นปรากฏการณ์โลก นั่นไง

แล้วอะไรอีก?

คนเป็นแสนๆ ต่อวัน "ผู้ให้" มากกว่า "ผู้รับ" เป็นปรากฏการณ์โลก นั่นไง

แล้วอะไรอีก?

นอกจากตั้งจิต "ทำดีเพื่อพ่อ" แล้ว อีกส่วนหนึ่ง ยังเหมือนตั้งจิต "เลิกทำชั่วเพื่อพ่อ" ด้วยเหมือนกัน

จะเห็นช่วงนี้.......

บ้านเมืองสงบ-เรียบร้อย ไม่มีอาชญากรรมร้ายแรงใดๆ เกิดขึ้น แม้กระทั่งการ ฉก-ชิง-วิ่งราว ก็แทบไม่ปรากฏ

ในหมู่คนไทยกว่า ๖๕ ล้านคน......

เหลือ "เศษคน" แค่ไม่กี่เศษ "นับหัว-นับชื่อ" ได้ ที่ซุกอยู่นอกประเทศ ก่อกรรมทุราจาร

เป็นไฟเผา "โคตรเหง้า-เผ่าพงศ์" ตัวเอง!

ถ้าจะแจกแจงทั้งหมด เกรงว่าโลกจะไม่มีเวลาให้ถึงขนาดนั้น

เอาเป็นว่า สิ่งดีทั้งหลาย.......

ที่สะท้อนจากคนไทย-ประเทศไทย ออกไปเป็น "ปรากฏการณ์โลก" เวลานี้ สรุปได้คำเดียว คือ

"รัก"!

เป็นรัก "ตามรอยพ่อ" ที่ถูกทาง

"รักแบบพ่อ" คือ......."รักต้องให้"

ให้ความเมตตาผู้อื่น ให้อภัยผู้อื่น ให้ความปรารถนาดีผู้อื่น เอื้อเฟื้อแบ่งปันให้ผู้อื่น

รักแบบนี้แหละ คือ "รักสามัคคี" ตามที่พ่อสอน

เป็นรักทำให้ชาติรอด พี่น้องประชาชนคนไทยด้วยกันทุกคนรอด ตามพระบรมราโชวาท ที่ว่า

"......... ถ้าหากเมืองไทยไม่ใช้ความสามัคคี ไม่เห็นอกเห็นใจกัน ไม่อะลุ้มอล่วยกัน ไม่มีวันที่จะมีชีวิตรอดได้"

แต่ยังมีอีกสิ่ง ที่ผมถอดรหัส "รักตามรอยพ่อ" นั่นคือ ด้วย "เมล็ดพันธุ์แห่งรัก" ที่พ่อเพาะไว้

จะแตกโตเป็น "อนาคตสังคมชาติ" น่าตื่นตา-ตื่นใจ จนสามารถพูดด้วยความมั่นใจเกินร้อยได้ว่า.......

ด้วยกล้าพันธุ์ "ลูกพ่อหลวง"

ประเทศไทยในอีก ๑๕-๒๐ ปีข้างหน้า จะยิ่งใหญ่เป็นเอกลักษณ์ และมากมายด้วยความหมาย "ไทยรุ่งเรือง มั่งคั่ง"

ปัจจุบัน พวกอ้างประชาธิปไตยล้มชาติ เท่าที่เห็นอยู่

จะเหลือค่า ๒ อย่าง ระหว่างปุ๋ยคอก กับการ์ตูนขายหัวเราะ!

ฉะนั้น นับแต่นี้ .....

ใครก็อย่าไปเสียเวลาด้วยการให้ค่ากับบุคคลประเภท "เปลี่ยนระบอบ-ล้มสถาบัน" อยู่เลย

เพราะวันนี้...เห็นชัด จะพูดว่า "ในรอบร้อยปี" ก็ไม่ผิด จากปรากฏการณ์

"อาสาทำดีเพื่อพ่อ"!

คำนี้ใครตั้ง......?

ไม่มีใครตั้ง หากแต่ "ความรัก" ของลูกที่มีต่อ "พ่อ" ผลิดอกกตัญญู-กตเวทีขึ้นกลางจิตสำนึกแต่ละคน

จนเป็นปรากฏการณ์ งาน "พระบรมศพ" คนเป็นแสนๆ ที่มา ไม่ได้มาเป็นแขก แต่มาประหนึ่งเจ้าภาพ

ต่างคนต่างช่วยเหลือ ต้อนรับ ดูแลซึ่งกันและกัน

นอกจากเป็นเจ้าภาพร่วมแล้ว ยังมาเป็นแรงงาน "ช่วยงาน" พระบรมศพโดยไม่มีใครเรียกร้อง และไม่ต้องการสิ่งตอบแทนใดๆ

แต่ละคน สามารถทางไหน ทำอะไรได้ ช่วยอะไรได้ เสนอตัว "อาสาทำดีเพื่อพ่อ" ทันที

กระทั่งมอเตอร์ไซค์ รถแท็กซี่ รถเมล์ รถโดยสาร ล้างถ้วย-ล้างจาน เก็บกวาดถนน เดินเก็บขยะ แจกน้ำ แจกยา แจกอาหาร ปฐมพยาบาลคนเจ็บป่วย โบกรถ ทำป้าย ฯลฯ

ไปทางไหนๆ มีแต่น้ำใจ มีแต่ให้ มีแต่อาสา มีแต่ช่วยเหลือ มีแต่ความรัก-ความสามัคคี ทุกคนพี่น้องไทย "ลูกพ่อหลวง" ด้วยกันทุกคน

ด้วยสำนึกในสิ่งที่พ่อเพียรสร้างให้ลูกมา ๗๐ ปี

"กตัญญู-กตเวที" จึงเป็นความงดงามที่ "คนทั้งโลก" ทึ่ง ในความหมายว่า "ทำไม คนไทยจึงรัก-เทิดทูน-บูชา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช" ได้มากมายขนาดนี้?

ไม่เคยปรากฏ....

นิสิต นักศึกษา ในชุดสถาบัน จากหลายๆ สถาบัน รวมใจมากันเอง อาสาทำดีเพื่อพ่อ

ถือถุงดำเก็บขยะตามถนน ตามท้องสนามหลวง

สละเงินกันเอง ซื้อขนม ซื้อยา ซื้อพัด ซื้อน้ำ มาแจกจ่าย ฯลฯ

ไม่เคยปรากฏ....

นักเรียนอาชีวะ หรือที่เรียก "นักเรียนช่างกล" จะประกาศ "เลิกตีกัน" ถาวร ด้วยจิตสำนึกของแต่ละคน โดยไม่มีใครบังคับ นับแต่นี้ไป

ไม่เคยปรากฏ....

นักเรียนมัธยม ในชุดนักเรียน จะรวมตัว-รวมกลุ่ม "มากันเอง" เป็นจิตอาสา ทำทุกอย่าง เสิร์ฟน้ำ-เสิร์ฟอาหาร เดินเก็บขยะ ช่วยคนเฒ่า-คนแก่

ไม่เคยปรากฏ.....

ชาวบ้านเป็นรายบุคคล ทำขนมมาจากบ้านบ้าง ซื้อหายาดม-ยาหม่องบ้าง

เรียกว่าใครมีอะไร ก็หอบติดตัวมาช่วยงานพระบรมศพ ว่างั้นเถอะ

ไม่เคยปรากฏ....

จะมีคนมาตั้งโรงทานมากมายขนาดนี้ ถึงขนาดว่า มาถวายสักการะพระบรมศพกันเป็นแสนๆ คนในแต่ละวัน

แต่คนรับ...แพ้คนให้!

จนพูดได้ยินไปทั้งโลกว่า.....มางานพระบรมศพพ่อ ไม่ต้องเอาตังค์มาซักบาท ก็กินอิ่ม-นอนหลับได้สบาย

ไม่เคยปรากฏ.....

ศิลปิน นักแสดง ทุกหมู่เหล่า จะมาร่วมพี่น้องประชาชนเป็นน้ำหนึ่ง-ใจเดียวกัน มาช่วยงานกัน ชนิดไม่มีใครห่วงสวย หรือกรีดจริต

และไม่เคยปรากฏ..........

เด็ก ๓-๔ ขวบ จะร้องไห้ สะอึก-สะอื้น เมื่อทราบข่าว "ในหลวง" สวรรคต พลางร้อง

"อยู่กับหนู...อย่าทิ้งหนูไป"!

นี่คือภาพกว้าง ที่ผมตามดูจากข่าวแต่ละวัน และเมื่อสรุปปรากฏการณ์ดังว่าทั้งหมด สิ่งตกผลึก คือ

ไม่น่าเชื่อ แต่จริงที่ปรากฏแล้ว คือ.......

เยาวชนไทย ตั้งแต่ ๓-๔ ขวบ จนไปถึง ๑๙-๒๐ ปี

ทั้งที่วัยนี้ ไม่มีโอกาสได้เห็น "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" และ "สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ" ทรงบุกป่าฝ่าดง ดูแลสุข-ทุกข์ราษฎร ทั้งแผ่นดิน เหมือนที่รุ่นพ่อ-แม่เคยเห็นก็ตาม

ผู้ใหญ่มักพูดกันว่า........

"คนรุ่นใหม่" ไม่เอาสถาบัน

"คนรุ่นใหม่" ไม่รู้จักในหลวง

"คนรุ่นใหม่" มองว่า ประเทศไม่จำเป็นต้องมีระบบกษัตริย์

แต่จาก ๑๒ วัน ที่ผ่านมา เห็นชัด......

ที่พูดกันนั้น "ผิดหมด"!

ไม่อยากใช้คำว่า "ผู้ใหญ่ มองเด็กผิด"

แต่อยากใช้คำว่า "ผู้ใหญ่เมื่อวาน" ใช้จิตสำนึกทาสและความคิดแยกแยะต่ำ ไปประเมิน "เด็กวันนี้"!

ในจำนวนพสกนิกรนับแสนๆ ปรากฏว่า "คนรุ่นใหม่" ในสถานะต่างๆ ทั้งสถานะนักเรียน นักศึกษา และในอาชีพ-การงานอื่นๆ

มาร่วมงานถวายสักการะพระบรมศพ มาเป็น "จิตอาสา" ทำดีเพื่อพ่อ มากจนถมทับ "คนรุ่นอดีต" จมหาย

เทียบง่ายๆ เมื่อครั้ง กปปส.ชุมนุม ด้วยมวลชน ๓-๕ ล้านคน มีเยาวชนคนรุ่นใหม่ ซักหมื่นก็ยาก

แต่งานพระบรมศพพ่อ เยาวชนคนรุ่นใหม่ เป็น "หน่ออนาคต" โดดเด่น-สะดุดตามาก

และทุกคนรู้.......

ขึ้นชื่อว่า "วัยรุ่น" ถ้าไม่เต็มใจ-ไม่สมัครใจ อย่าหวังจะได้เห็นเช่นนี้ และที่สำคัญ ผมแอบปลื้มเอามากๆ

เยาวชนแต่ละคน พอนักข่าวสัมภาษณ์....

คำพูดจากใจ "จะฉาดฉาน ชัดเจน" เข้าถึงแก่นนำมาซึ่งศรัทธาใน "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว"

ด้วยรับรู้ใน "สิ่งที่พ่อสร้าง"

และนั่น ทำให้พวกเขาทั้งหลาย ออกมาเป็น "จิตอาสา" ตอบแทนพระคุณพ่อ

คนรุ่นใหม่ "รู้จัก-เข้าใจ" คำว่าในหลวง

และ "รู้จัก-เข้าใจ" ว่า.......

ความเป็นไทยกับระบบกษัตริย์ ต้องอยู่ด้วยกันจึงจะเป็นประเทศไทย!

ผมดูทิศทาง "อนาคตประเทศ"

จากบทบาท-ทัศนคติ "คนรุ่นใหม่" วันนี้ บอกได้คำเดียว "หมดห่วง-สบายใจ" 


"คนรุ่นใหม่" จะโตไปพร้อมคำว่า "ไทยกับสถาบัน".

คัดลอกจากบทความของ เปลวสีเงิน ในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ วันที่ 24 ตุลาคม 2559

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 26 ตุลาคม 2016 เวลา 21:51 น.
 

ไขปริศนา..เบื้องลึกคณะราษฎร หลอกต้มประชาชน เปลี่ยนแปลงการปกครอง (ตอนแรก)

พิมพ์ PDF

วันที่ 9 ธ.ค.57 ไขปริศนา..เบื้องลึกคณะราษฎร หลอกต้มประชาชน เปลี่ยนแปลงการปกครอง (ตอนแรก)

สมัยรัชกาลที่ 5 ทรงปฏิรูปประเทศเข้าสู่ความทันสมัย สังคมไทยก็เริ่มก้าวเข้าสู่ความมีเสรีในการแสดงความคิดเห็นมากขึ้น โดยเริ่มเปิดโอกาสสื่อมวลชนเสนอความคิดเห็น ต่อสาธารณชนได้ค่อนข้างเสรี ต่อมาทรงปฏิรูปการปกครองและการปฏิรูปการศึกษา

พระองค์ได้มีกระแสความคิดที่จะให้ประเทศไทย มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบการปกครองที่มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมาย สูงสุดในการปกครองประเทศ โดยมีรัฐสภาเป็นสถาบันหลัก ที่จะให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองมากขึ้นเป็น

พ.ศ.2454 ในต้นรัชกาลที่ 6 ได้มีคณะนายทหารชุดกบฏ ร.ศ.130 ซึ่งมีความคิดที่ปฏิวัติให้บรรลุความมุ่งหมายดังกล่าว แต่ไม่ทันลงมือกระทำการก็ถูกจับได้เสียก่อน อย่างไรก็ตาม เสียงเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองก็ยังคงมีออกมาเป็นระยะๆ ทางหน้าหนังสือพิมพ์

สุภาพบุรุษในวัยหนุ่มผู้หนึ่ง ร่างเล็กบอบบาง หนวดแหย็ม ประทับเหนือริมฝีปากประปราย ขับรถฟอร์ดรุ่นปี 1910 จอดเทียบสนิทตรงสี่แยกวัดตึก แล้วก็เร่งเดินเข้าไปในสำนักโหรมีชื่อของประเทศไทยในสมัยนั้น เป็นที่รู้กันทั่วไปว่า "จีนทองหยิน"

จีนทองหยินผู้นี้ เป็นที่ขึ้นชื่อในการตรวจทำนายปูมชะตา ของผู้มีบรรดาศักดิ์ อัครฐานชนชั้นกลางในยุคนั้น แม้แต่จ้าวนายเชื้อพระวงศ์ จากเวียงวัง ต่างก็พากันยกย่องนิยมนับถือโหรจีนผู้นี้โหรทองหยิน จึงได้ต้อนรับอาคันทุกะสุภาพบุรุษ ผู้ไม่เคยพบพานมาก่อน แต่ก็หมายว่าต้องอยู่ในตระกูลสูงอย่างแน่ชัด

สุภาพบุรุษ ของโหรจีน ก็เร่งให้ทำนายทายทัก ตามแบบวิธีการของโหรจีนผู้นี้ ที่เพียงแต่สอบถามวันเดือนปีเกิด ซึ่งอาคันทุกะสุภาพบุรุษผู้นั้นตอบเรียบๆ ว่า "วันพุธ แรม 15 ค่ำ เดือน 11 ปีมะเส็ง" โหรทองหยิน เพ่งมองหน้าสุภาพบุรุษอยู่ขณะหนึ่ง พลางบอกให้ลุกขึ้นเดินกลับไปกลับมา

โหรจีน มองดูท่าทางกิริยา วิธีการเดินของเขาอย่างสนใจ และในทันที ที่สุภาพบุรุษเจ้าของดวงชะตาทรุดตัวลงตามเดิม ฉับพลันนั้นโหรเอกก็เบิกตาโพลง ตลึงและงงงวย เขาลอดสายตาเพ่งออกมานอกแว่น จรดจ้องอยู่กับดวงหน้าของสุภาพบุรุษแปลกหน้า

เหมือนกับจะไม่เชื่อตัวเองว่า สุภาพบุรุษที่นั่งอยู่เฉพาะหน้าตนนั้น จะมีดวงชาตากำเนิดสูงละลิ่วอย่างเทพเจ้า ที่จุติลงมาเพื่อปกครองแผ่นดินไทย เพื่อเป็นจ้าวชีวิตของคนไทยทั้งชาติ โหรจีนพลางระล่ำระลัก "วาสนาลื้อสูงมาก ลื้อจะได้เป็นกษัตริย์"

น้ำเสียงเขาขาดเป็นห้วงๆ และเน้นคำว่ากษัตริย์ พร้อมกับสำทับซ้ำ "ลื้อจะได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินปกครองเมืองนี้" ทันทีก็ทรุดตัวลงเบื้องล่าง ยกมือขึ้นประนมสาธุการ สุภาพบุรุษผู้นั้นด้วยศรัทธาแก่กล้าในบารมี ชายสุภาพบุรุษ เพ่งดูใบหน้าสายตาของทองหยิน พลางหัวเราะอยู่ในลำคอ

ให้กับอาการอันงกงันสั่นเทาของโหรทองหยินอีกครั้ง แล้วชำระค่าตอบแทน เมื่ออำลาจากกลับออกไป สตาร์ทรถยนต์ฟอร์ดสมัยโบราณคร่ำครึ แต่ทันสมัยที่สุดในสมัยนั้น ขับพรืดออกไป ทองหยินได้พาร่างอันสั่นเทาของเขา ออกมาชะเง้อคะแยงแง้มประตูห้องแถวเก่าตรงสี่แยก

มองตามฟอร์ดนั้นจนกระทั่งลับสายตา ไปในท่ามกลางความมืดมน ร้อยแปด วุ่นวายสับสนอลหม่านในใจว่า สุภาพบุรุษผู้มาเยือนนี้ มีดวงดาวชาตากำเนิดรุ่งโรจน์ ยิ่งกว่าคนที่เคยดูมาตลอดชีวิตของความเป็นโหรนี้คือใคร ?

ต่อมารถฟอร์ดคันนั้น ก็เลี้ยวเข้าไปจอดที่ชายสนามเทนนิส ณ วังบ้านดอกไม้ ของเสด็จในกรมพระกำแพง ซึ่งกำลังหวดลูกสักหลาดอย่างโชกโชน เหน็จเหนื่อย สนุกสนาน ระหว่างเชื้อพระวงศ์ในครอบครัว และขุนนางชั้นผู้ใหญ่ ในกรมรถไฟ ที่เสด็จในกรมทรงเป็นผู้บัญชาการ

เสียงของ หม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี สุภาพสตรีสาวร่างท้วม แจ่มใส และร่าเริง ดังขึ้นพร้อมกับผลุดลุก "ทูลหม่อมเล็ก เสด็จแล้ว " ในขณะที่สุภาพบุรุษเจ้าของรถฟอร์ด เดินลงอย่าง องอาจสง่าผ่าเผย แม้จะมีสิริร่างที่อ่อนแอ และแบบบาง แต่ด้วยท่าทางของนายพันโท จ้าวชายหนุ่ม สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา

พระองค์เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 76 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง คำทำนายของโหรทองหยิน พระองค์ได้ทรงเล่าคำทำนายนั้น ในที่ประชุมครอบครัว ก็ได้มีเสียงสำรวลด้วยความขบขัน

เพราะในขณะนั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เพราะลำดับการสืบสันติวงค์ จากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเหล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 จะต้องผ่านทูลกระหม่อมจักรพงค์ และทูลกระหม่อมอัษฎางค์อีกถึงสองพระองค์

วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ประชวร และเสด็จสวรรคต โดยมีพระราชหัตถเลขานิติกรรมเกี่ยวกับการสืบราชสมบัติไว้ ความตอนหนึ่งว่า “...หากมีพระราชโอรส ก็ให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงสุโขทัยธรรมราชาทรงเป็นประธานคณะผู้สำเร็จราชการต่างพระองค์จนกว่าพระมหากษัตริย์จะทรงบรรลุนิติภาวะ แต่ถ้าไม่มีพระราชโอรสก็ใคร่ให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงสุโขทัยธรรมราชาทรงรับรัชทายาทสืบสันติวงศ์ตามราชประเพณี...”

ในขณะนั้น พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีในรัชกาลที่ 6 มีพระประสูติกาลพระราชธิดา (สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี) สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา จะไม่ทรงเต็มพระทัยที่จะทรงรับราชสมบัติ ด้วยทรงเห็นว่าพระองค์ไม่แก่ราชการเพียงพอและเจ้านายที่มีอาวุโสพอ จะรับราชสมบัติก็ยังน่าจะมี

แต่ที่ประชุมได้ลงความเห็นเป็นเอกฉันท์ ให้อัญเชิญสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงสุโขทัยธรรมราชาเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติสืบต่อพระบรมเชษฐาธิราช

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2469 พระองค์ทรงรับพระบรมราชาภิเษก โดยมีพระนามอย่างย่อว่า "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว" หลังจากนั้น พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งคณะอภิรัฐมนตรี เจ้านายหลายพระองค์ มีหน้าที่ถวายคำปรึกษาราชการแผ่นดิน และราชการในพระองค์ ระหว่างที่ยังทรงใหม่ต่อหน้าที่

ในขณะที่พระองค์ขึ้นครองราชสมบัตินั้น ราชอาณาจักรสยาม ได้ประสบกับปัญหาซึ่งเกิดจากรัฐบาลต้องรับมือกับปัญหาเศรษฐกิจที่ร้ายแรง และ ภัยคุกคามจากต่างชาติ (จักรวรรดิอังกฤษ และ จักรวรรดิฝรั่งเศส) ที่เพิ่งจบสงครามโลกครั้งที่ 1 ฐานะทางการคลังของสยาม และสภาวะเศรษฐกิจทั่วโลก อยู่ในภาวะตกต่ำอย่างมาก

พระองค์ได้ตัดลดงบประมาณในส่วนต่าง ๆ เช่น งบประมาณส่วนพระมหากษัตริย์ งบประมาณด้านการทหาร รวมถึง การการยุบหน่วยราชการ ยุบมณฑลต่างๆ ทั่วประเทศ และปลดข้าราชการออกเป็นจำนวนมาก เพื่อลดรายจ่ายของประเทศ ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการขุนนาง

นอกจากนี้ ประเทศ ยังประสบกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมขนานใหญ่ เมื่อชาวเมือง และชนชั้นกลางในกรุงเทพฯ เริ่มขยายจำนวนขึ้น และเริ่มแสดงความต้องการสิทธิ เพิ่มมากขึ้นจากรัฐบาล

จึงมีกลุ่มบุคคลก่อตั้งขึ้นเรียกว่า “คณะราษฎร” ประกอบด้วยกลุ่มบุคคลผู้ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักเรียน และนักเรียนทหาร ที่ศึกษาและทำงานอยู่ในทวีปยุโรป โดยเริ่มต้นจากหาสมาชิกที่มีความคิดแบบเดียวกันรวมทั้งสิ้น 7 คน ได้แก่

1. ประยูร นักเรียนวิชารัฐศาสตร์ ประเทศฝรั่งเศส
2. ปรีดี นักเรียนวิชากฎหมาย ประเทศฝรั่งเศส
3. ร.ท.แปลก นักเรียนวิชาทหารปืนใหญ่ ประเทศฝรั่งเศส
4. ร.ต.ทัศนัย นักเรียนวิชาทหารม้า ประเทศฝรั่งเศส
5. ตั้ว นักเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
6. จรูญ ผู้ช่วยราชการสถานทูตสยาม ในประเทศฝรั่งเศส
7. แนบ นักเรียนวิชากฎหมาย ประเทศอังกฤษ

วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2469 ได้ทำการประชุมครั้งแรก ที่บ้านพักเลขที่ 9 ถนนซอมเมอราร์ด ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ติดต่อกันนานถึง 4 คืน 5 วัน โดยมี ร.ท.แปลก ที่สมาชิกคนอื่น ๆ ยกให้เป็นหัวหน้ากลุ่ม เรียกว่า "กัปตัน" เป็นประธานในการประชุม ที่ประชุมมีมติตกลงที่จะทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์อยู่ใต้กฎหมาย โดยตกลงที่ใช้วิธีการ "ยึดอำนาจโดยฉับพลัน" ร.ท.แปลก ได้เสนอว่าหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว ให้สำเร็จโทษพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ แต่ฝ่ายพลเรือนได้คัดค้าน เพราะจะทำให้เกิดความวุ่นวายและความรุนแรงขึ้นทั่วประเทศเหมือนเช่นการปฏิวัติรัสเซีย

หลังจากการประชุมนั้น เมื่อคณะผู้ก่อการได้กลับมาประเทศสยาม อีกหลายปีต่อมา ก็ได้พยายามหาสมาชิกเพื่อเข้าร่วมการก่อการปฏิวัติ โดยได้ติดต่อประชาชนทุกอาชีพ ทั้งพ่อค้า ข้าราชการพลเรือน และทหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งนายทหารระดับสูง ที่มีแนวความคิดอย่างเดียวกันมานานก่อนหน้านี้ จนได้สมาชิกทั้งสิ้น 115 คน แบ่งเป็นสายต่าง ๆ คือ

- สายพลเรือน นำโดย หลวงประดิษฐ์ (ปรีดี)
- สายทหารเรือ นำโดย นาวาตรี หลวงสินธุ 
- สายทหารบกชั้นยศน้อย นำโดย พันตรี หลวงพิบูล (แปลก)
- สายนายทหารชั้นยศสูง นำโดย พันเอก พระยาพหล (พจน์ )

โดยที่ประชุมคณะราษฎรตกลงกันว่า ในเรื่องของการปฏิวัติ ตลอดจนสถาปนาความมั่นคง และความปลอดภัยของบรรดาสมาชิก และของประเทศ เป็นหน้าที่ของฝ่ายทหาร และในส่วนของการร่างคำประกาศ ตลอดจนการร่างกฎหมาย และการวางเค้าโครงต่าง ๆ ของประเทศ เป็นหน้าที่ของฝ่ายพลเรือน

พ.ศ. 2473 สถานการณ์โลกหนักหนาเกินกว่าประเทศจะรับได้ เมื่อตลาดหุ้นวอลล์สตรีทล่ม และความล่มสลายทางเศรษฐกิจมาถึงสยามในที่สุด พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสนอให้จัดเก็บภาษีรายได้ทั่วไป และภาษีอสังหาริมทรัพย์ เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของคนยากจน

แต่นโยบายดังกล่าวถูกสภาปฏิเสธอย่างรุนแรง ซึ่งสภาเกรงว่าทรัพย์สินของพวกตนจะลดลง จึงหันไปลดค่าตอบแทนของข้าราชการพลเรือน และลดงบประมาณทางทหารแทน ทำให้ผู้ได้รับการศึกษาในประเทศส่วนใหญ่โกรธ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหล่านายทหาร

พ.ศ. 2474 พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช เสนาบดีกระทรวงกลาโหม ลาออก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พยายามต่อสู้กับเจ้านายที่อาวุโสกว่าในเรื่องนี้ แต่ก็สำเร็จเพียงเล็กน้อย

หลวงประดิษฐ์ (ปรีดี) เริ่มสอนวิชากฎหมายปกครอง ในขณะที่ประเทศไทยยังคงปกครองอยู่ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อาศัยการสอนที่โรงเรียนดังกล่าว ปลุกปั่นศึกษาให้สนใจเป็นขั้น ๆ อ้าง ถึงความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนระบบการปกครอง จากระบบเดิมให้เป็นระบบราชาธิปไตยภายใต้ธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน

นอกจากนี้ยังได้เปิดอบรมทบทวนวิชากฎหมาย ที่บ้านถนนสีลม เพื่อสร้างความสัมพันธ์กับนักศึกษาให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น จึงมีลูกศิษย์ลูกหาเข้าร่วมเป็นสมาชิกและผู้สนับสนุนคณะราษฎรในเวลาต่อมาหลายคน ( กระบวนการสร้างผลไม้พิษ)

พ.ศ. 2475 ปลายเดือนเมษายน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จออกจากกรุงเทพ เสด็จแปรพระราชฐานฤดูร้อน ไปประทับยังวังไกลกังวล ที่หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยทรงมอบหมายให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

ในการประชุมคณะราษฎร ครั้งสุดท้ายในประเทศไทย ก่อนที่จะลงมือจริงไม่กี่วัน พ.อ.พระยาทรง ซึ่งเป็นนายทหารบกชั้นผู้ใหญ่ ผู้วางแผนการปฏิวัติทั้งหมด ได้เสนอแผนการออกมา ทางพันตรี หลวงพิบูล (แปลก) ซึ่งถือเป็นนายทหารชั้นผู้น้อยกว่า ได้สอบถามว่า หากแผนการดังกล่าวไม่สำเร็จ จะมีแผนสำรองประการใดหรือไม่

ทาง พ.อ.พระยาทรง ไม่ตอบ แต่ได้ย้อนถามกลับไปว่า แล้วทางพันตรี หลวงพิบูล (แปลก) มีแผนอะไร ซึ่งทั้งคู่ได้มีปากเสียงกัน หลังจากการประชุมจบแล้ว พันตรี หลวงพิบูล (แปลก) ได้ปรารภกับนายทวี ฝ่ายพลเรือนที่เข้าประชุมด้วยกันว่า ตนเองกับ พ.อ.พระยาทรง ไม่อาจอยู่ร่วมโลกกันได้

วันที่ 23 มิถุนายน 2475 ข่าวของแผนการปฏิวัติดังกล่าว ได้รั่วไหลไปถึงตำรวจ ในช่วงเย็นของวันนั้น อธิบดีตำรวจ ได้โทรศัพท์ถึงผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ โดยกราบทูลขออำนาจในการจับกุมและจำคุกทุกคนที่เกี่ยวข้องกับแผนการดังกล่าว พระองค์ดำริว่าผู้ก่อการหลายคนเป็นผู้มีอิทธิพลและมีอำนาจมาก

จึงทรงตัดสินพระทัยเลื่อนพระบรมราชโองการออกไปเป็นวันรุ่งขึ้น การเลื่อนคำสั่งนี้ มีความสำคัญอย่างมากต่อผู้ก่อการทั้งหลาย ช่วงเย็นวันเดียวกัน หลวงสินธุ ในกองทัพเรือได้เกณฑ์เรือปืนจากอู่เรือ ขึ้นมาตามแม่น้ำเจ้าพระยา

ความเคลื่อนไหวของฝ่ายพลเรือน เริ่มกันตั้งแต่เที่ยงคืน เช่น การควบคุมหัวรถจักรรถไฟ การเฝ้าสังเกตการณ์ตามบ้านเจ้านายและบุคคลสำคัญ เพื่อล็อกไม่ให้ติดต่อสังการใดๆ ได้ และร้อยโทประยูร เป็นผู้มีอำนาจสั่งการนายทหารเสนาธิการหนุ่ม พร้อมกลุ่มของหลวงโกวิทย์ (ควง) ได้สั่งยึดที่ทำการไปรษณีย์และโทรเลขรอบพระนคร และตัดสายโทรศัพท์

การสื่อสารทั้งหมด ระหว่างพระบรมวงศานุวงศ์ และสมาชิกฝ่ายบริหารอาวุโสจึงถูกตัดขาด บ้านพักทั้งหมด อยู่ภายใต้การตรวจตรา และเฝ้าระวังโดยสมาชิกคณะราษฎรทั้งพลเรือนและทหาร

และเมื่อถึงตอนเช้า หลวงสินธุ ในกองทัพเรือ ก็ได้เล็งปืนเรือตรงเข้าใส่พระราชวังบางขุนพรหม ของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และได้เกณฑ์ทหารเรือติดอาวุธ 500 นาย พร้อมที่จะยึดพระที่นั่งอนันตสมาคม ซึ่งตั้งอยู่ ณ ใจกลางพระนคร และเป็นส่วนหนึ่งของพระราชวังดุสิต

วันที่ 24 มิถุนายน 2475 เวลาประมาณ 04.00 น. หลวงประดิษฐ์ ลอยเรืออยู่ในคลองวัดบวรนิเวศวิหาร เพื่อรอเวลาแจกใบปลิว “ประกาศคณะราษฎร” แก่ประชาชน ซึ่งหากทำการไม่สำเร็จก็จะนำใบปลิวนั้นทิ้งลงในน้ำทันที

เวลาเดียวกัน พระยาพหล ออกจากบ้านไปพร้อมกับพระประศาสน์ ที่ขับรถมารับ มุ่งหน้าไปยัง บริเวณทางรถไฟสายเหนือ ตัดกับถนนประดิพัทธ์ เพื่อสมทบกับกลุ่มของพระยาทรง ใกล้กับพระที่นั่งอนันตสมาคม จากนั้นเดินทางไปกับผู้สมคบคิดจำนวนหนึ่ง เดินทางไปที่กรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ ที่แยกเกียกกาย

เพื่อลวงเอากำลังทหารและยุทโธปกรณ์มาใช้ในการปฏิวัติ ที่นี่เป็นที่เก็บยานยนต์หุ้มเกราะส่วนใหญ่ในกรุงเทพ เมื่อมาถึง พระยาทรง ได้ออกอุบาย โดยว่ากล่าวตำหนินายทหารผู้รับผิดชอบค่าย ที่กำลังหลับอยู่ โกหกว่ามีการลุกฮือของชาวจีนเกิดขึ้นในพระนคร และกำลังเปิดประตูค่ายทหาร มีการระดมยิงทหารด้วย

อุบายดังกล่าวเป็นผล เกิดความสับสนและความโกลาหลขึ้น ที่คลังแสงอาวุธภายในกรมทหารม้าฯ นี้ พระยาพหลพล เป็นผู้ใช้คีมตัดเหล็กที่ทางพระประศาสน์ ได้จัดหาไว้ก่อนหน้านั้น ตัดโซ่ที่คล้องประตูคลังแสง เพื่องัดเอานำอาวุธปืนและหีบกระสุนออกมา

พระประศาสน์ เข้ายึดรถยานรบ รถยนต์หุ้มเกราะ และรถบรรทุก พร้อมกำลังทหารม้าเป็นผลสำเร็จ จับกุมผู้บัญชาการกรมทหารได้ และนำตัวไปคุมขัง หลวงพิบูล ได้รับคำสั่งให้เฝ้านักโทษ ยานยนต์หุ้มเกราะ รวมไปถึงรถถังจำนวนหนึ่ง ถูกเกณฑ์ และได้รับคำสั่งให้มุ่งหน้าไปยัง พระที่นั่งอนันตสมาคม

ทั้งหมดเคลื่อนกองกำลังไปยัง กรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์ มีพันเอกพระยาฤทธิ เป็นผู้บังคับการกรม ซึ่งเตรียมการจัดกำลังทหารและอาวุธรออยู่ก่อนแล้ว เมื่อกองกำลังจากกรมทหารม้า เดินเท้ามาถึง กรมทหารปืนใหญ่ พระยาทรงฯ ออกคำสั่งให้ทหาร จากกรมทหารม้า ขึ้นรถบรรทุกของกรมทหารปืนใหญ่ ซึ่งจอดรออยู่แล้วโดยพลัน

กองกำลังผสมของผู้ก่อการฯ ประกอบด้วย ทหารม้า ทหารปืนใหญ่ ที่มีทั้งกำลังทหารและอาวุธยุทโธปกรณ์หนักเบา มุ่งหน้าสู่ลานพระบรมรูปทรงม้า ขณะผ่านกองพันทหารช่าง พระยาพหล เพียงแค่ตะโกนเรียก และกวักมือ ทหารช่างที่กำลังฝึกอยู่หน้ากองพัน ก็กระโดดขึ้นรถตามมาด้วย โดยทุกคนไม่ทราบวัตถุประสงค์ที่แท้จริงว่าจะไปไหน

ขบวนทหารของกองกำลังของคณะผู้ก่อการฯ นำขบวนด้วย “ไอ้แอ้ด” รถถังขนาดเล็ก จากกรมทหารม้า ตามด้วยรถบรรทุกทหาร และอาวุธยุทโธปกรณ์ ปิดท้ายด้วยกองพันทหารช่าง ใช้เส้นทางผ่านสะพานแดง ถนนพระราม 5 เลี้ยวหน้าวัดเบญจมบพิตร เข้าถนนศรีอยุธยา มุ่งหน้าลานพระบรมรูปทรงม้า

ทหารในพื้นที่ใกล้เคียงกรุงเทพ ได้เข้าร่วมกับผู้ก่อการด้วย เนื่องจากได้รับคำสั่งหลอกลวงหลายสัปดาห์ก่อนหน้านั้นแล้วว่า กำลังจะมีการฝึกซ้อมทางทหารเกิดขึ้น และไม่มีใครทราบเลยว่าพวกตนจะเข้าไปมีส่วนในการปฏิวัติ ทหารหน่วยอื่นที่จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ ตัดสินใจที่จะไม่มีปฏิกิริยาตอบโต้ใด ๆ โดยการเก็บตัวอยู่ในกรมกอง ทหารราบ และทหารม้า มาถึงลานพระราชวังดุสิต หน้าพระที่นั่งอนันตสมาคม

เวลาราว 06.00 น. มีกลุ่มประชาชนเนืองแน่น เฝ้าดูทหารที่มาชุมนุม ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า ความสับสนเกิดขึ้นท่ามกลางผู้ที่มาชุมนุมนั้น หลายคนไม่เชื่อว่ามีการลุกฮือของชาวจีนเกิดขึ้นจริง บ้างก็ว่าทหารมาชุมนุมที่จัตุรัสนี้เพื่อการฝึกซ้อมเท่านั้น ต่างไม่มีใครรู้ความจริง

ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า กองพันพาหนะทหารเรือ นำโดย นาวาตรี หลวงสินธุ นอกจากนี้ยังมีกำลังจากนักเรียนโรงเรียนนายร้อยทหารบก โดยนายพันโท พระเหี้ยม ผู้บังคับการโรงเรียนนายร้อยทหารบก กำกับมา ส่วนกองพันทหารราบที่ 11 ของพันตรี หลวงวีระ ซึ่งกำลังฝึกทหารอยู่ที่ท้องสนามหลวงนั้น ก็ ถูกหลอกให้ตามพระประศาสน์ฯ มาภายหลัง

กองกำลังของคณะผู้ก่อการฯ มาชุมนุมพร้อมกันที่ลานพระบรมรูปทรงม้า มีกำลังทหารและอาวุธพร้อมรบ เป็นที่เรียบร้อย “ ทหารทั้งปวง ที่มาชุมนุมอยู่ ณ ลานพระบรมรูปทรงม้าในวันนั้น ต่างมาโดยไม่รู้ว่ากำลังมีการปฏิวัติ เพื่อยึดอำนาจการปกครองจากพระราชาของตนเอง และกำลังทรยศต่อคำสัตย์ปฏิญาณตน”

เวลาราว 07.00 น. พันเอกพระยาพหล จึงได้แสดงตนเป็นหัวหน้าผู้ก่อการคณะผู้เปลี่ยนแปลงการปกครอง ปีนขึ้นไปบนยอดรถหุ้มเกราะคันหนึ่ง มีนายทหารของคณะผู้เปลี่ยนแปลงการปกครอง ทั้งทหารบก ทหารเรือ กระจายกันคุมเชิงอยู่รอบๆ และอ่านประกาศแถลงการณ์ ยึดอำนาจเสียงสนั่นดังลั่น

ซึ่งเป็นแถลงการณ์ภาษาเยอรมัน แต่อ่านเป็นภาษาไทย สถาปนารัฐอันมีรัฐธรรมนูญขึ้นในสยาม ขอให้นายทหารที่มิได้เกี่ยวข้องกับการปฏิวัติอยู่ในความสงบอย่าทำการขัดขวาง และไม่ให้ออกจากลานพระรูปฯ ไปจนกว่าจะได้สั่งให้กลับไป

ผู้ก่อการเปล่งเสียง ตามมาด้วยเหล่าทหาร เพราะความไม่เข้าใจในสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นทั้งหมดจึงคล้อยตาม ในที่สุด เมื่อได้อ่านคำประกาศสุดสิ้นแล้ว ก็ได้เปล่งเสียงไชโยกึกก้อง แล้วก็นำขบวนเข้างัดพระทวารด้านหน้าของพระที่นั่งอนันตสมาคม

หมุดคณะราษฎร ยังฝังอยู่บนลานพระบรมรูปทรงม้า ฝั่งสนามเสือป่า มาจนถึงปัจจุบัน ช่วงเช้านั้นเอง รถถังสองคันวิ่งเข้ามาปิดประตูทางเข้า ออก สองประตูของโรงเรียนสวนกุหลาบ ปืนรถถัง หันเข้าสู่โรงเรียน นักเรียนหนีไม่ได้ เพราะมีแค่สองประตู

ทหารเข้าไปกวาดต้อนนักเรียนเข้าหอประชุม ควบคุมตัวไว้ เพราะในหมู่นักเรียนมีลูกหลานเชื้อพระวงศ์ ข้าราชการ และลูกหลานสามัญชนโดยทั่วไป..แมนมากคณะราษฎร เปลี่ยนแปลงการปกครอง แต่จับเด็กเรียกค่าไถ่ !!

สรุป...การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันนั้น เป็นการรังแกสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยที่เป็นอารยธรรมเก่าแก่ สร้างคุณูปการรวมแผ่นดินมากว่า 800 ปี โดยทำตามความต้องการของคณะราษฎรแค่ 100 กว่าคนเท่านั้น ทหารส่วนใหญ่ไม่ได้เต็มใจ และไม่รู้เรื่องความจริง พวกเขาล้วนถูกหลอกให้มารวมกัน ยิ่งประชาชนทั่วไป ไม่มีใครยินยอมพร้อมใจเลยสักคน

ความไม่พร้อมของคณะราษฎรเอง และการศึกษาเรื่องประชาธิปไตยของประชาชนครั้งนั้น ก่อให้เกิดการทะเลาะเบาะแว้ง แก่งแย่งชิงอำนาจกันเองในกลุ่มคณะราษฎร จนประชาธิปไตย ล้มลุกคลุกคลานต่อเนื่องมาถึง 82 ปี และ เป็นที่มาของแนวคิดประหลาด " ประชาธิปไตย คือ การเลือกตั้งอย่างเดียว"

นั่นก็เพื่อยึดเอาอำนาจพระมหากษัตริย์ และสิทธิเสรีภาพประชาชน ไปอยู่ในมือนักการเมืองร่ำรวย เพื่อกดขี่ชนชั้นคนยากจนมาจนถึงในวันนี้ !!

คัดลอกจาก Facebook แฉความลับ

** เหตุการณ์จะเป็นอย่างไรต่อไป เกิดรัฐธรรมนูญฉบับแรกขึ้นตอนไหน "สมุดปกเหลือง" เศรษฐกิจของปรีดี จะเปลี่ยนไทยเป็นคอมมิวนิสต์อย่างไร อ่านตอนต่อไป คลิ๊กที่https://www.facebook.com/topsecretthai/posts/298205933702774

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 25 ตุลาคม 2016 เวลา 11:56 น.
 

ไขปริศนา..เบื้องลึกเบื้องหลังรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย กับภาพลับหายาก (ตอน 2

พิมพ์ PDF

วันที่ 10 ธ.ค.57 ไขปริศนา..เบื้องลึกเบื้องหลังรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย กับภาพลับหายาก (ตอน 2)

พระยาทรงฯ ผู้อำนวยการฝ่ายทหาร ก็มีคำสั่งทันที “พระประศาสน์ฯ ไปจับกรมพระนครสวรรค์ฯ พระยาสีหราชเดโชชัย และพระยาเสนาสงคราม” พระประศาสน์ จึงไปยังบ้านพักของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต สมาชิกระดับสูงคนอื่น ๆ ในรัฐบาล และพระบรมวงศานุวงศ์

สมเด็จฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เวลานั้นทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ มีอำนาจเป็นลำดับ 2 ของประเทศ ขณะที่มีการปฏิวัติ ทรงเป็นผู้รักษาพระนคร นอกจากนั้นยังทรงเป็นประธานอภิรัฐมนตรี เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์ และอื่นๆ

ส่วนพลโท พระยาสีหราชเดโชชัย เวลานั้นเป็นเสนาธิการทหารบก “เสือร้ายที่สุดของทหาร” และ พลตรี พระยาเสนาสงคราม เป็นผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ บุคคลทั้งสามมีส่วนชี้เป็นชี้ตายในการปฏิวัติคณะราษฎรครั้งนี้อย่างยิ่ง เพราะเป็นผู้บังคับบัญชาหน่วยทหารในพระนคร

กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงถูกจับกุมขณะกำลังบรรทม ที่วังบางขุนพรหม พระประศาสน์ฯ โดยใช้เวลาเจรจาต่อรองพอสมควร ก่อนจะควบคุมตัวมาได้ โดยไม่ยอมให้เวลาเปลี่ยนเครื่องทรงชุดบรรทม จากนั้นก็มุ่งหน้าไปบ้านพระยาสีหราชเดโชชัย ใกล้วัดโพธิ์ แล้วก็ทำสำเร็จโดยไม่มีการขัดขืนต่อสู้แต่อย่างใด

พระยาเสนาสงคราม ซึ่งบ้านอยู่ไกล และนอกเส้นทางปฏิบัติงาน ก็ถูกทีมสำรอง ควบคุมตัวได้ แต่พระยาเสนาสงครามขัดขืนต่อสู้ จึงถูกยิงบาดเจ็บต้องนำตัวส่งโรงพยาบาล เป็นคนเดียวในการก่อการปฏิวัติครั้งนี้ที่ได้รับบาดเจ็บ

ภารกิจจับตัวประกันสำเร็จ พระประศาสน์ฯ ก็รีบนำองค์ประกัน มุ่งหน้าสู่ลานพระบรมรูปทรงม้า ตามแผน และนำไปกักไว้ในพระที่นั่งอนันตสมาคม กรมพระนครสวรรค์ฯ และพระชายา ขึ้นไปบนพระที่นั่งอนันตสมาคม และถูกจัดที่ประทับอันสมควรถวาย แต่ไม่สมพระเกียรติ ถูกควบคุมไว้อย่างเด็ดขาด

มีเจ้าหน้าที่ทางการเกือบ 40 คน ถูกจับกุม และถูกกักขังในนอนราบรวมไว้ในพระที่นั่งอนันตสมาคม เว้นแต่เสนาบดีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และการสื่อสาร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ผู้ซึ่งได้ทรงหลบหนีไปทางหัวรถจักร เพื่อไปกราบบังคมทูลเตือนพระมหากษัตริย์ที่หัวหิน

ภายหลังที่พระยา พหลฯ ได้อ่านคำประกาศเปลี่ยนแปลงการปกครอง พระยาทรงฯ ผู้อำนวยการฝ่ายทหาร ได้ต้อนทหารทั้งหมด เข้าประตูรั้วเหล็กของพระที่นั่งอนันตสมาคม เพราะเกรงจะควบคุมกำลังทหารไม่ได้ และเมื่อทหารรู้ความจริงว่าคณะราษฎรเป็นกบฏต่อพระราชา จะเกิดสู้กันนองเลือด

เวลา 08.00 น. ปฏิบัติการยึดอำนาจได้เสร็จสิ้น ผู้ก่อการประสบความสำเร็จ เจ้าหน้าที่รัฐทั้งฝ่ายทหาร และพลเรือนส่วนใหญ่ ต่อสู้ขัดขืนเพียงเล็กน้อย เพราะพวกเขาคุ้นชินกับการรับคำสั่งและเนื่องด้วยการสื่อสารถูกตัดขาด พวกเขาจึงไม่สามารถทำอะไรได้

หัวหน้าคณะราษฎรสายพลเรือน หลวงประดิษฐ (ปรีดี) ได้รีบแจกจ่ายใบปลิว และแผ่นพับโฆษณาชวนเชื่อ ตลอดจนการกระจายเสียงทางวิทยุ ข้อความในประกาศคณะราษฎร ซึ่งเขียนขึ้นโดยหลวงประดิษฐ วิพากษ์วิจารณ์ ใส่ร้าย พระมหากษัตริย์ด้วยถ้อยคำที่รุนแรงมากอย่างลบหลู่พระเกียรติ

จากนั้นประกาศคณะราษฎร ซึ่งลงนามโดย พระยาพหล , พระยาทรง และพระยาฤทธิ์ ถูกส่งโทรเลขไปให้แด่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่วังไกลกังวล หัวหิน มีใจความข่มขู่ว่า “..หากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่ทรงปรารถนาที่จะเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ

คณะราษฎรจะเต็มใจถอดพระองค์ออก และแทนที่ด้วยพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์อื่น ในโทรเลขดังกล่าวข่มขู่ด้วยว่า หากสมาชิกคณะราษฎรคนใดได้รับบาดเจ็บ พระบรมวงศานุวงศ์ที่ถูกคุมขังก็จะทรงทรมานไปด้วย...” อันเป็นถ้อยความข่มขู่พระมหากษัตริย์ที่ยะโสโอหังมาก

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ก็ทรงทราบล่วงหน้าก่อนโทรเลขแล้วว่ามีเหตุการณ์บางอย่างกำลังเกิดขึ้นในกรุงเทพ เมื่อข้อความด่วนมาถึง ต่อมา พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ทรงเดินทางมาถึง เพื่อกราบรายงานสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในพระนคร

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว กับเจ้านายอีกสองพระองค์ ทรงปรึกษากันถึงทางเลือกหลายทาง ซึ่งรวมไปถึงการเสด็จลี้ภัยไปยังต่างประเทศ การจัดรัฐประหารซ้อน หรือ การยอมจำนนเต็มตัว อย่างไรก็ตาม เมื่อโทรเลขแท้จริงจากคณะราษฎรมาถึงแล้ว พระองค์ก็ทรงตัดสินพระทัยแล้วได้ทรงตอบอย่างมีเมตตาว่า

“พระองค์เต็มพระทัย ที่จะอยู่ในราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ ดังที่พระองค์ทรงสนับสนุนที่จะให้ประชาชนมีรัฐธรรมนูญมาโดยตลอด” พระองค์ทรงเขียนถึงการตัดสินพระทัยของพระองค์ ที่ปฏิเสธจะต่อสู้ในภายหลังว่า "... ข้าพเจ้าไม่สามารถนั่งอยู่บนบัลลังก์ที่เปื้อนเลือดได้ “

** หรือด้วยชะรอยที่รัชกาลที่ 4 ทรงพระปรีชาสามารถด้านโหราศาสตร์ เคยฝังเสาหลักเมืองกรุงเทพฯ เสียใหม่ เพื่อแก้เคล็ด ที่สถาบันกษัตริย์จะมีอยู่ 150 ปี นับจากรัชกาลที่ 1 จึงดลบันดาลให้ทรงอยู่ใต้รัฐธรรมนูญแทน และดำรงค์สถาบันหลักต่อไป..อ่านช่วงนี้คลิ๊กที่ https://www.facebook.com/media/set/…

คณะราษฎรได้ส่งเรือปืนมารับ เพื่อควบคุมตัวพระองค์ไปยังกรุงเทพ แต่พระองค์ทรงปฏิเสธและเสด็จกลับไปยังพระนครโดยรถไฟหลวง อันแสดงให้เห็นว่าพระองค์มิได้ตกเป็นเชลยของคณะราษฎร ขณะเดียวกัน ผู้ก่อการได้บีบบังคับด้วยอาวุธ ให้เจ้านายทุกพระองค์ ลงพระนามในเอกสารเพื่อให้เกิดสันติภาพ และหลีกเลี่ยงการหลั่งเลือดใดๆ

ในกรุงเทพ ประชาชนทั่วไป แทบจะไม่ทราบต่อรัฐประหารครั้งนี้เลย พวกเขาคิดว่าเป็นการซ้อมรบของทหาร และมีคนจีนก่อเหตุตามข่าวลือ ชีวิตประจำวันของประชาชนในกรุงเทพฯ จึงกลับคืนสู่สภาพปกติ ส่วนที่เหลือต่างจังหวัด ก็ไม่มีทราบเรื่องเช่นเดียวกัน

ในช่วงเย็นวันนั้น ผู้ก่อการคณะราษฎร มั่นใจพอจึงจะเรียกประชุมรัฐมนตรีอาวุโส ในการประชุมนั้น ปรีดี พยายามที่จะเกลี้ยกล่อม ให้ข้าราชการพลเรือนอาวุโส ให้สนับสนุนคณะราษฎร โดยขู่ว่าให้พวกเขายังคงต่อต้าน มิฉะนั้นแล้วเขาจะนำต่างชาติมาแทรกแซงในประเทศ

ปรีดี บังคับให้กระทรวงการต่างประเทศ ส่งข่าวไปยังคณะทูตต่างประเทศทั้งหมด โดยข้อความว่าคณะราษฎรให้คำมั่นว่าจะคุ้มครองชีวิต และธุรกิจของชาวต่างชาติและบรรลุพันธกรณีตามสนธิสัญญาของสยาม

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสถามความเห็นจากสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ในฐานะคู่ชีวิตว่า "หญิงว่ายังไง" สมเด็จฯ นั้นแม้จะทรงเป็นสตรีเพศ แต่ได้กราบบังคมทูลด้วยความเด็ดเดี่ยวไปว่า "เข้าไปตายไม่เป็นไร แต่ต้องมีศักดิ์ศรีมีสัจจะ" รัชกาลที่ 7 จึงตัดสินพระทัย เสด็จพระราชดำเนินกลับเข้าพระนคร

วันที่ 26 มิถุนายน 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จกลับถึงกรุงเทพ พระองค์ทรงโปรดให้ผู้ก่อการคณะราษฎรเข้าพบ พระยาทรง ตรวจตราพระองค์อย่างกวดขัน และมีเสียงหาว่าพระองค์ไม่กล้า จะเสด็จไปไหนก็ต้องพกปืนกระบอกเล็กๆ ไปด้วย บางคนก็หัวเราะเยาะว่า ปืนกระบอกเล็กเพียงนั้นจะไปสู้อะไรเขาได้

พระเจ้าอยู่หัวจึงตรัสว่า " ปืนกระบอกนี้มีกระสุนเพียงสองลูก ลูกหนึ่งสำหรับหัวหญิง (สมเด็จพระบรมราชินี) แล้วเป็นของฉันเองอีกลูกหนึ่ง เพราะถ้าจะบังคับให้ฉันเซ็นอะไรที่เป็นการหลอกลวงราษฎรของฉันแล้ว เป็นยิงตัวตาย "

เมื่อสมาชิกคณะราษฎรเข้ามาถึงห้องแล้ว พระองค์ทรงลุกขึ้นประทับยืน และตรัสทักทายว่า "ข้าพเจ้ายืนขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่คณะราษฎร" เป็นพระราชอิริยาบถที่สำคัญยิ่ง เนื่องจากในวัฒนธรรมสยาม พระมหากษัตริย์ จะทรงประทับนั่งเสมอ

และประชาชนจะถวายบังคม ปรีดี จึงได้กราบทูลและข่มขู่พระองค์ และหลังจากนั้น ประกาศคณะราษฎรทุกเล่มได้ถูกนำกลับ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเมตตาประทับตราบนเอกสารพระราชทานอภัยโทษ แก่สมาชิกคณะราษฎรทุกคนจากการปฏิวัติดังกล่าว

จากนั้นคณะราษฎรได้ปล่อยตัวประกันทั้งหมดที่จับไว้ แต่ส่งกำลังควบคุมไว้ที่บ้าน ยกเว้นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ผู้ซึ่งทางคณะราษฎรมองว่ามีพระราชอำนาจมากเกินไป จึงบังคับให้พระองค์เสด็จออกนอกประเทศ

พระองค์จึงเสด็จไปยังเกาะชวา และไม่เคยเสด็จกลับมาประเทศเลย ส่วนเจ้านายพระองค์อื่นถูกคณะราษฎร บังคับให้เสด็จออกไปยังประเทศ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้อื่นๆ และบางพระองค์เสด็จไปยังทวีปยุโรป

วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ผลที่ตามมาในทันทีหลังจากการปฏิวัติ ปรีดี เป็นผู้ร่างพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 แล้วให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธย

ถือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของสยาม รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว จำกัดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ โดยยกเลิกพระราชอำนาจที่มีมาแต่โบราณ อาทิ พระราชอำนาจในการยับยั้งกฎหมาย การพระราชทานอภัยโทษ และพระราชสิทธิ ในการยืนยันผู้สืบราชสมบัติและรัชทายาท

จำกัดอำนาจทั้งหมดของพระมหากษัตริย์ โดยยังมิได้ยกเลิกสถาบันพระมหากษัตริย์ไปเท่านั้น รัฐธรรมนูญ ยังได้จัดตั้งคณะกรรมการราษฎรเป็นฝ่ายบริหาร และสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกสภา (ส.ส.) ที่ได้มาจากการแต่งตั้ง 70 คน

ช่วงแรก สมาชิกรัฐสภาทั้งหมดจะถูกแต่งตั้งโดยสี่ทหารเสือ ซึ่งเป็นฝ่ายทหารเท่านั้น สมาชิกรัฐสภาเหล่านี้จะใช้อำนาจแทนประชาชน และสมัยแรกมีกำหนดวาระ 6 เดือน

ช่วงที่สอง อันเป็นช่วงเวลาซึ่งประชากรของไทยขณะนั้นมี 12 ล้านคน ส่วนใหญ่ ยังขาดความรู้จำต้องเรียนรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตยและการเลือกตั้ง รัฐสภาจะถูกเปลี่ยนเป็นประกอบด้วยสมาชิกที่ได้รับการแต่งตั้งอยู่กึ่งหนึ่ง และอีกกึ่งหนึ่งได้รับการเลือกตั้งเข้ามา ตามแบบประชาธิปไตยทางอ้อม แต่ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง จะต้องได้รับการตรวจสอบจากคณะราษฎรก่อนการเลือกตั้งทุกครั้ง

ช่วงที่สามและช่วงสุดท้าย พระราชบัญญัติธรรมนูญบัญญัติว่าการเป็นตัวแทนประชาธิปไตยเต็มตัวในรัฐสภานั้นจะบรรลุได้ เฉพาะเมื่อเวลาผ่านไปแล้วสิบปี หรือประชากรมากกว่ากึ่งหนึ่งสำเร็จการศึกษาเกินกว่าระดับประถมศึกษา แล้วแต่ว่าอย่างไหนจะเกิดก่อน

วันที่ 28 มิถุนายน 2475 มีการประชุมแรกของ ส.ส.ในพระที่นั่งอนันตสมาคม และปรีดี มีบทบาทสำคัญ ในการผลักดันให้สภามีมติแต่งตั้ง พระยามโนปกรณ์ (ก้อน) อดีตเป็นองคมนตรี และเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เป็น “ประธานคณะกรรมการราษฎร” คนแรกของไทย

ซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุดในการบริหาร (เทียบเท่ากับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปัจจุบัน) เหตุที่บรรดาผู้นำขอบคณะราษฎร พากัน "เขิน" ไม่กล้าขึ้นเป็นนายกฯ เอง เพราะจะถูกหาว่ายึดพระราชอำนาจพระมหากษัตริย์ เพื่อต้องการจะเป็นใหญ่ และมั่นใจว่าคุมกำลังทหารไว้ได้หมดแล้ว

ปรีดีมองว่า พระยามโนปกรณ์ เป็นผู้ใกล้ชิดกับพระปกเกล้าฯ และพระบรมวงศานุวงศ์ จึงมีภาพพจน์ว่าเป็น "คนกลาง" น่าจะเป็นผู้สามารถสมานรอยร้าวให้บรรเทาลงได้ คณะราษฎรทุกคนก็เห็นชอบกับข้อเสนอของปรีดี

ในตอนที่ประกาศชื่อพระยามโนปกรณ์ ขึ้นเป็นนายกฯ นั้น ฝ่ายอนุรักษ์นิยมที่กำลังท้อแท้ ก็ตะลึงกันอย่างไม่คาดคิด และกลับมีกำลังใจขึ้นมาอีก เพราะเขาเป็นขุนนางผู้ใหญ่ ที่มีความใกล้ชิดกับพระบรมวงศานุวงศ์ ทั้งคุณหญิงของเขา ก็เคยเป็นนางสนองพระโอษฐ์ พระนางเจ้ารำไพพรรณีด้วย (แต่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ ปี 2473 เมื่อรัชกาลที่ 7 ทรงทราบโปรดสร้างอนุสาวรีย์เสาหินรูปหน้านาง 4 หน้า เพื่อเก็บอังคารของคุณหญิง ที่วัดปทุมวนาราม)

ฝ่ายอนุรักษ์นิยม จึงเข้าหว่านล้อมพระยามโนปกรณ์ และ 3 ใน 4 ทหารเสือ ของคณะราษฎร คือ พระยาทรง พระยาฤทธิ์ และ พระประศาสน์ ก็เกิดแตกคอกับคณะราษฎร หันไปให้ความสนับสนุนพระยามโนปกรณ์แทน

ทั้งยังดึงพลเรือโท พระยาราชวังสัน ผู้เป็นปฏิปักษ์กับปรีดี อย่างรุนแรง เข้ามาเป็นรัฐมนตรีกลาโหม ดังนั้นล้อมรอบตัวพระยามโนปกรณ์ จึงล้วนแล้วแต่เป็นผู้โกรธแค้น คณะราษฎร ซึ่งมีปรีดี เป็นตัวแทน

ในไม่กี่วันจากนั้น คณะราษฎรได้เปลี่ยนสยามไปเป็นรัฐพรรคการเมืองเดียว โดยมีสถาบันที่ชื่อฟังเหมือนคอมมิวนิสต์ อย่างเช่น "สภาประชาชน" และตำแหน่ง "ประธานคณะกรรมการราษฎร” ในระยะนั้น เศรษฐกิจทั่วโลกตกต่ำ มาตั้งแต่สงครามโลกครัั้งที่ 1 ไทยเองเงินเกลี้ยงพระคลัง

จากนั้นปรีดี เป็นผู้มีบทบาทสำคัญ ครอบงำในการร่างรัฐรัฐธรรมนูญฉบับถาวร แต่กระบวนการดังกล่าวไม่เคยมีการระดมความคิดเห็นจากประชาชนทั่วไป หรือประชาชนในต่างจังหวัดเลย พวกเขาไม่มีความรู้ด้วยซ้ำว่าประชาธิปไตยคืออะไร เป็นการกลัดกระดุมเม็ดแรกผิด มาจนถึงทุกวันนี้

สิงหาคม 2475 รัชการที่ 7 ทรงพระราชหัตถเลขาว่า “ฉันรู้สึกเสียดายอย่างยิ่ง ที่เขามิได้คิดจะถอดฉัน และฉันยังเสียใจอยู่จนบัดนี้ ความรู้สึกขั้นแรก ก็คือจะลาออกทันที แต่สมเด็จกรมพระสวัสดิ์ฯ แนะนำว่าไม่ควรทำ เพราะถ้าทำเช่นนั้นอาจมีการรบกันจนนองเลือด

ทั้งยุ่งยากต่างๆ จนอาจมีฝรั่งเข้ามายุ่งและชาติเราอาจเสียอิสรภาพได้ ถ้าเราจะรบโดยใช้ทหารหัวเมืองหรือ นั่นเป็นของแน่ที่เราอาจทำได้ แต่ฉันไม่ยินยอมเลยแม้แต่ชั่วขณะเดียว เพราะเจ้านายในกรุงเทพฯอาจจะถูกฆ่าหมด ฉันรู้สึกว่าฉันจะนั่งอยู่บนราชบัลลังก์ที่เปื้อนโลหิตไม่ได้ ”

** วันนี้เมื่อ 82 ปีที่แล้ว คือ วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 รัฐธรรมนูญฉบับถาวรฉบับแรกของสยาม เป็นบรรทัดฐานของการปกครองในระบอบใหม่ และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย ทางราชการจึงกำหนด วันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญ

โดยกำหนดสภาผู้แทนราษฎรมีจำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้นเป็น 152 คน เลือกตั้ง 76 คน และอีก 76 คนได้รับการแต่งตั้ง ได้เปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นการปกครองแบบรัฐสภา ยึดอำนาจพระมหากษัตริย์ไปให้คณะรัฐมนตรี และการตรากฎหมายไปให้สภาผู้แทนฝ่ายนิติบัญญัติ แต่พระยามโนปกรณ์ ยังเป็นเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2

ช่วงนั้นมีการจัดงานเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญอย่างยิ่งใหญ่ ท่ามกลางความยังไม่ค่อยเข้าใจของประชาชนในพระนคร มีขบวนเชิญรัฐธรรมนูญ ขบวนทหาร ขบวนนักเรียน ร้านจำหน่ายของที่ระลึก ฯลฯ (ดูภาพประกอบหายาก ที่แทบหาดูไม่ได้แล้วทีละภาพ)

แม้ว่าปรีดี จะมีอุดมการณ์อันสูงส่งและได้รับการศึกษาแบบตะวันตกมา แต่รูปแบบประชาธิปไตยของเขาได้เผชิญกับสถานการณ์ลำบาก แบบเดียวกับที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเผชิญ ซึ่งเป็นปัญหาง่ายๆ คือ สยาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชากรในชนบท “ ยังไม่พร้อมสำหรับประชาธิปไตย”

เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว สภาจึงเร่งให้มีการฟื้นฟูเศรษฐกิจโดยด่วน และทวงถาม พระยามโนปกรณ์ ทุกครั้งที่มีการประชุมสภา ว่าจะใช้ระบบเศรษฐกิจแนวไหน เขาจึงมอบให้ ปรีดีเป็นผู้ร่างโครงการเศรษฐกิจขึ้น

การปฏิวัติดังกล่าว มีผลกระทบใหญ่หลวงต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงถูกจำกัดพระราชอำนาจ และเอกสิทธิ์ที่มีมาแต่โบราณ พระองค์ก็ยังทรงอยู่ในความหวาดกลัว

พ.ศ. 2475 ช่วงปลายปี พระองค์ทรงวิตกว่า การเผชิญหน้าระหว่างพระองค์ กับคณะราษฎรในภายภาคหน้า จะทำให้พระองค์และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี จะทรงได้รับอันตราย พระองค์ทรงมีลายพระหัตถเลขาถึงพระนัดดา พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ เกี่ยวกับการตัดสินพระทัยเสด็จกลับกรุงเทพมหานครว่า "... เราทั้งหมดต่างก็ค่อนข้างรู้ดีว่าเราอาจกำลังจะตาย"

พ.ศ. 2476 เดือนกุมภาพันธ์ ปรีดี ได้จัดทำโครงการเศรษฐกิจ "สมุดปกเหลือง" เสร็จ เขานำขึ้นทูลเกล้าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ทรงพิจารณา และยังได้ยื่นต่อคณะรัฐมนตรีอีกทางหนึ่งด้วย เพราะปรีดี ไม่เคย เคารพสถาบันพระมหากษัตริย์ ด้วยเขาฝังใจวัยเด็กที่เป็นลูกชาวนายากจน จ. อยุธยา จึงมีความคิดล้มสถาบันฯ อยู่ในใจตลอดเวลา

โครงการเศรษฐกิจ "สมุดปกเหลือง" ของปรีดี ฉบับนี้ รัชกาลที่ 7 พระองค์ท่านไม่เห็นชอบด้วย เพราะรัฐบาลจะต้องเป็นผู้จัดการเศรษฐกิจเสียเอง โดยแบ่งการเศรษฐกิจนั้นออกเป็นสหกรณ์ต่างๆ และเค้าโครงสมุดปกเหลืองชุดนี้อีกหลายส่วน กำลังนำพาประเทศไทยสู่ระบอบ “คอมมิวนิสต์” แบบรัสเซีย

คนร่ำรวย จะเป็นชนชั้นนำ จะได้เปรียบคนยากจน ทั้งที่ราษฎรไทยยังไม่มีความพร้อมเรื่องการเปลี่ยนเป็นระบอบคอมมิวนิสต์เลย และต้องโค่นล้มสถาบันพระมหากษัตริย์ลง ซึ่งพระราชวินิจฉัยฉบับนี้ ทรงมีความเห็นว่า โครงการเศรษฐกิจฉบับนี้ เป็นคอมมิวนิสต์ มีข้อความตอนหนึ่งว่า

"...แต่มีข้อสำคัญอันหนึ่ง ที่เห็นได้ชัดเจนอย่างไม่ต้องเป็นที่สงสัยว่า โครงการนี้ เป็นโครงการอันเดียวอย่างแน่นอน ดังที่ประเทศรัสเซียใช้อยู่ ส่วนใครจะเอาอย่างใครนั้น ข้าพเจ้าไม่ทราบ สตาลินเอาอย่าง หลวงประดิษฐ์ฯ (ปรีดี) หรือหลวงประดิษฐ์ฯ จะเอาอย่างสตาลิน ก็ตอบไม่ได้ ตอบได้ข้อเดียวว่า โครงการทั้งสองนี้เหมือนกันหมด

เหมือนกัน จนรายละเอียดเช่นที่ใช้และรูปของวิธีการกระทำ จะผิดกันก็แต่รัสเซียนั้น แก้เสียเป็นไทย หรือไทยนั้นแก้เป็นรัสเซีย ถ้าสตาลินเอาอย่างหลวงประดิษฐ์ฯ ข้าวสาลี ก็แก้เป็นข้าวสาร หรือข้าวสาร แก้เป็นข้าวสาลี รัสเซียเขากลัวอะไร ไทยก็กลัวอย่างนั้นบ้าง รัสเซียเขาหาวิธีตบตาคนอย่างไร ไทยก็เดินวิธีตบตาคนอย่างนั้นบ้าง.."

ช่วง พ.ศ.2476 - 2500 เกือบทุกปี รัฐบาลสมัยนั้น ต้องการแสดงอำนาจเหนือสถาบันกษัตริย์ จึงจัดงานฉลองรัฐธรรมนูญอย่างยิ่งใหญ่ทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด โดยให้มีการจัดงานใหญ่เฉลี่ยปีละ 7 วัน คือระหว่างวันที่ 8 -14 ธันวาคม ของทุกปี โดยจัดงานที่สนามหลวง, วังสราญรมย์, สวนลุมพีนี, สวนอัมพร และเขาดินวนา สลับสับเปลี่ยนกันไป

ในงานฉลองรัฐธรรมนูญมีมหรสพต่างๆ อย่างเอิกเริก เช่น การประกวดนางงาม ลิเก ละคร โขน งิ้ว และภาพยนตร์ ซึ่งเป้าหมายหลักของงานนี้คือ การประชาสัมพันธ์ระบอบรัฐธรรมนูญให้ประชาชนได้รู้จัก จะได้ลืมเลือนคุณงามความดีของสถาบันกษัตรย์ที่ผ่านมากว่า 800 ปี

พ.ศ.2501 ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ นายพลผู้จงรักภักดี เพื่อฟื้นฟูระบอบอนุรักษ์นิยมขึ้นมาใหม่ งานเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญ ถูกสั่งยกเลิกไป เหลือเพียงแค่วันหยุดราชการวันเดียวมาจนถึงในปัจจุบัน

สรุป..ตอนนั้นแม้ประเทศสยามจะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จนได้รัฐธรรมนูญฉบับถาวรฉบับแรก ตั้งแต่นั้นปรีดี และคณะราษฎร์ฝ่ายพระยาพหล ก็ยังไม่ล้มเลิกที่จะล้มล้างสถาบันกษัตริย์ แต่ติดขัดที่ 3 ทหารเสือ แปรพักตร์ ไปเข้ากับฝ่ายพระยามโนปกรณ์ จึงทำได้ไม่สำเร็จ จึงพลิกแพลงมาเป็นเสนอโครงการเศรษฐกิจ แบบระบอบคอมมิวนิสต์แทน

ด้วยความไม่พร้อมของสังคมไทย ที่ได้ "รัฐธรรมนูญแบบไม่มีรากแก้ว" แม้จะรัฐธรรมนูญมาถึงฉบับปัจจุบันถึง 19 ฉบับ แต่นักการเมือง ก็ยังไม่ยอมเป็นตัวแทนประชาชนอย่างแท้จริง หวังใช้รัฐธรรมนูญ ที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงพระราชทานให้กับราษฎรทั้งปวง มาแอบแฝงหาประโยชน์เข้าพกเข้าห่อ โกงกินชาติบ้านเมือง ต่อเนื่องกันมาถึง 82 ปี

** เหตุการณ์จะเป็นอย่างไรต่อไป และ พระยามโนปกรณ์ จะปฏิวัติโดยใช้ปากกาด้ามเดียวอย่างไร และปรีดี จะถูกเนรเทศออกนอกประเทศตอนไหน อ่านตอนต่อไป คลิ๊กที่https://www.facebook.com/topsecretthai/posts/298471590342875

คัดลอกจาก Facebook แฉ......ความลับ @TOPSECRE

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 25 ตุลาคม 2016 เวลา 12:07 น.
 

ไขปริศนา..เนรเทศปรีดี แต่โดนปฎิวัติกลับ นำสู่ประวัติศาสตร์ด้านมืดที่ถูกปิดบังมากว่า 80 ปี (ตอน 3)

พิมพ์ PDF

นที่ 11 ธ.ค.57 ไขปริศนา..เนรเทศปรีดี แต่โดนปฎิวัติกลับ นำสู่ประวัติศาสตร์ด้านมืดที่ถูกปิดบังมากว่า 80 ปี (ตอน 3)

ตอนที่แล้ว ปรีดี ได้จัดทำโครงการเศรษฐกิจ "สมุดปกเหลือง" เสร็จ เขานำขึ้นทูลเกล้าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ทรงพิจารณา และยังได้ยื่นต่อคณะรัฐมนตรีอีกทางหนึ่งด้วย เพราะปรีดีต้องการยกเลิกสถาบันพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 7 พระองค์ท่านมีพระราชวินิจฉัย ไม่เห็นชอบด้วย เพราะกำลังนำพาประเทศไทยสู่ระบอบ “คอมมิวนิสต์” แบบรัสเซีย

ซึ่งพระยามโนปกรณ์ เองเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถและคุณวุฒิสูง มีบุคคลิกพูดจาตรงไปตรงมาแบบขวานผ่าซาก ก็ไม่เห็นชอบด้วยกับเค้าโครงเศรษฐกิจฉบับคอมมิวนิสต์นี้ ด้วยเช่นกัน จึงเป็นชนวนสำคัญ ที่ืทำให้เกิดการแตกแยกอย่างรุนแรง ระหว่างพระยามโนปกรณ์ กับคณะราษฎรฝ่ายปรีดี , ฝ่ายพระยามโนปกรณ์ ได้เก็บโครงการนี้เข้าลิ้นชัก ไม่ยอมนำเสนอต่อสภา

แม้สภาจะทวงถามหลายครั้ง พระยามโนปกรณ์ก็ถ่วงเวลา ด้วยการตั้งคณะกรรมการขึ้นพิจารณา แม้กรรมการส่วนใหญ่เห็นชอบ กับโครงการเศรษฐกิจฉบับนี้ แต่พระยามโนปกรณ์ ก็ยังยืนยันให้ดำเนินนโยบายเศรษฐกิจอย่างรัฐบาลเก่า คือรัฐบาลของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ทั้งยังขู่ว่า "หากจะให้ข้าพเจ้าทำในสิ่งที่ข้าพเจ้าไม่เห็นด้วย ข้าพเจ้าก็ขอลาออก"

ปรีดี มีความเชื่อว่ากำลังทหารของกลุ่มบุคคลที่สนับสนุนตน มีมากกว่า และในสภา ส.ส.ส่วนใหญ่ นิยมสนับสนุนปรีดี และ พระยาพหล เพราะเป็นพวกสายล้มเจ้าเสียเป็นส่วนใหญ่ (คล้ายๆ เสื้อแดง เผาไทยในปัจจุบัน)

ฝ่ายพระยามโนปกรณ์เอง ก็มั่นใจว่าในคณะรัฐบาลฝ่ายตนก็มีมากกว่าฝ่ายปรีดี และมี 3 ทหารเสือ พระยาทรง พระยาฤทธิ์ และ พระประศาสน์ หนุนหลัง โครงการเศรษฐกิจของปรีดี จึงได้รับการคัดค้านจากคณะรัฐมนตรี แต่ได้รับความเห็นชอบ สนับสนุนจาก ส.ส.ในสภา สายล้มเจ้า อย่างท่วมท้น

วันที่ 1 เมษายน 2476 พระยามโนปกรณ์ ใช้อำนาจคณะรัฐมนตรี ออกพระราชกฤษฎีกาปิดสภาผู้แทนราษฎร ยุบคณะรัฐมนตรี และงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา โดยมีเหตุผลว่า "... โดยที่ทรงดำรัสเห็นว่า สภาผู้แทนราษฎรในขณะนี้ ประกอบไปด้วยสมาชิก ตั้งขึ้นเป็นการชั่วคราว จนกว่าจะถึงเวลาอันควรที่จะโปรดเกล้าฯ ให้ราษฎรตั้งผู้แทนขึ้นมา

เพราะฉะนั้น จึงเป็นการไม่สมควร ที่สภาจะพึงดำริการเปลี่ยนแปลงนโยบายของประเทศ มาแต่โบราณกาล ณ บัดนี้ ปรากฏว่ามีสมาชิกเป็นจำนวนมากแสดงความปรารถนาอันแรงกล้า เพียรจะทำการเปลี่ยนแปลงไปในทางนั้น โดยวิธีการอันเป็นอุบายทางอ้อม ในอันที่จะข่มขู่ให้ดำเนินการไปตามความปรารถนาของตน

อันเป็นการไม่สมควร เห็นได้ชัดแล้วว่า จะนำมาซึ่งความไม่มั่นคงของประเทศ และทำลายความสมบูรณ์ ของประชาราษฎรทั่วไป..." ปรากฏว่า พระยามโนปกรณ์ ปลดคณะรัฐมนตรีครั้งนี้มี 5 คน คือ หลวงประดิษฐ์ฯ และผู้นิยมหลวงประดิษฐ์ฯ อีก 4 คน ส่วนพระยามโนปกรณ์ รับโปรดเกล้าเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 3

วันที่ 6 เมษายน 2476 พระยามโนปกรณ์ ก็เรียกปรีดี ไปพบ ขอร้องให้ไปอยู่ต่างประเทศ ซึ่งเท่ากับเนรเทศนั่นเอง แต่รัฐบาลจะจ่ายเงินยังชีพให้ปีละประมาณ 10,000 บาท แม้กลุ่มผู้สนับสนุน ปรีดี จะคัดค้านเรื่องนี้อย่างรุนแรง ก็ไม่สามารถจะทำอะไร พระยามโนปกรณ์ ซึ่งคุมอำนาจเบ็ดเสร็จได้

วันที่ 12 เมษายน 2476 ปรีดี หัวหน้าขบวนการล้มเจ้า ถูกเนรเทศไปยังประเทศฝรั่งเศส และออกเดินทาง ที่ท่าเรือ บี.ไอ. ถนนตก กรุงเทพฯ ฝ่ายคณะราษฎร ซึ่งแม้จะเห็นใจปรีดี พากันไปส่งที่ท่าเรืออย่างพร้อมหน้า พระยาพหล กอดลาหลวงประดิษฐ์ฯ อย่างอาลัย แต่ก็ไม่มีใครช่วยอะไรได้

ในวันที่ปรีดี ออกเดินทางจากประเทศไทย พระยามโนปกรณ์ ยังได้ออกพระราชบัญญัติป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ เป็นฉบับแรก ของไทย เป็นการตอกฝาโลง ไม่ให้ปรีดี เป็นคอมมิวนิสต์ พระยามโนปกรณ์ จึงกระทำรัฐประหาร ด้วยการใช้ "ปากกาด้ามเดียว" ท่ามกลางความไม่พอใจของกลุ่มคณะราษฎร ที่สนับสนุนปรีดี

ปรีดี ได้ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ ถึงการไปต่างประเทศครั้งนี้ ตอนหนึ่งว่า "...ข้าพเจ้าตั้งใจอยู่อย่างหนึ่งว่า จะไปต่อว่าศาสตราจารย์ ผู้สอนวิชาโภคกิจที่ขณะนี้ เป็นเสนาบดี กระทรวงการคลังของฝรั่งเศสด้วย ว่าข้าพเจ้าได้ดำเนินการตามหลักวิชา ที่อาจารย์สอนให้ข้าพเจ้า ก็ไม่เป็นที่พอใจของรัฐบาลสยาม"

พระยามโนปกรณ์ ยังนำพระบรมราชวินิจฉัยของพระปกเกล้าฯ ซึ่งคัดค้าน โครงการเศรษฐกิจคอมมิวนิสต์ ของหลวงประดิษฐ์ฯ มาตีพิมพ์เป็นสมุดปกขาว ออกจ่ายแจกประชาชน ให้รู้ถึงแผนการร้ายของปรีดี ต่อประเทศชาติ , แม้เสี้ยนหนามทางการเมือง คือ ปรีดี หลุดพ้นไปแล้ว แต่ พระยาทรง ที่แปรพักตร์สนับสนุนพระยามโนปกรณ์ ยังเดินเกมส์รุกต่อไปอีก

ทางด้านการทหารยังมีพระยาพหล อยู่อีกคน ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก พระยาทรง พร้อมด้วย 2 ทหารเสือ จึงไปเยี่ยมพระยาพหล บ่อยขึ้น และชวนให้วางมือด้วยกันทั้งหมด ลาออกจากทั้งตำแหน่งรัฐมนตรี และทางการทหาร พระยาพหล หลงเชื่อยอมลาออกตาม

พระยาทรง ซึ่งยังเดินหมากอยู่อย่างลับ ๆ จัดการย้ายคนของพระยาพหล ออกจากหน่วยคุมกำลังทั้งหมด โดยเฉพาะ หลวงพิบูล (จอมพล ป.) ซึ่งได้ก้าวขึ้นมาเป็นเสืออันดับ 2 ของคณะราษฎร รองจากพระยาพหล ถูกสั่งย้ายจากทหารปืนใหญ่ ไปอยู่พลาธิการ หน่วยช่วยรบ ที่ไม่มีกำลังอาวุธ

คณะราษฎร ฝ่ายพระยาพหล เห็นว่าถ้าพลาดจากก้าวนี้อีกก้าวเดียวเท่านั้น พระยามโนปกรณ์ และพวก ก็อาจนำการปกครองถอยเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชได้อีก และเมื่อนั้น คณะราษฎรฝ่ายไม่จงรักภักดี จะต้องหัวขาดกันเป็นแถว

วันที่ 19 มิถุนายน 2476 กลางดึกพระยาพหลก็ทำการปฏิวัติ รถถัง รถเกราะ จึงสตาร์ทเครื่องอีกครั้ง และเข้าคุมจุดยุทธศาสตร์ต่างๆ อย่างฉับไว จนฝ่ายพระยาทรง ขยับตัวไม่ทัน ทหารกลุ่มหนึ่ง ถือหนังสือไปพระยามโนปกรณ์ นายกรัฐมนตรีให้เซ็นลาออก เมื่อเผชิญหน้ากัน พระยามโนปกรณ์ บอกด้วยอารมณ์เครียดว่า

"..จะพูดกันเสียตรง ๆ ก็ไม่เห็นจะขัดข้องอะไร ผมเองก็เคยปรารภว่าจะลาออกมาหลายครั้งแล้ว แต่ก็เสียคำอ้อนวอนจากคณะทหารไม่ได้ จึงต้องทนรับราชการต่อไป ด้วยความเอือมระอาจนบัดนี้ เพราะฉะนั้น ความมุ่งหมายที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองนี้ ถ้าจะบอกให้ทราบเรื่องกันมาก่อน ก็ไม่จำเป็นจะต้องมีการยึดอำนาจดังนี้ เพราะผมก็มีปากกาอยู่อันเดียวเท่านั้นเอง"

หลังถูกบีบบังคับลาจากตำแหน่งแล้ว พระยามโนปกรณ์ ก็หลบไปพักผ่อน อย่างเงียบ ๆ ที่ชะอำ และลี้ภัยออกไปนอกประเทศโดยทางรถไฟสายใต้ พระยามโนปกรณ์ ก็ได้ใช้ชีวิตในบั้นปลายอยู่ที่ปีนัง ตราบจนถึงแก่อสัญกรรม ในวันที่ 1 ตุลาคม 2491 จบบทบาท นายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศไทย

วันที่ 20 มิถุนายน 2476 การรัฐประหารพระยามโนปกรณ์สำเร็จ ถัดมาอีกวันเดียว จอมพล ป.ครองอำนาจเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 1 และผลักดันจะเชิญปรีดี กลับมาจากฝรั่งเศษอยู่ในคณะรัฐบาล การทำหน้าที่ของเขาไม่ราบรื่นนัก เนื่องด้วยประสบกับปัญหาหลายด้าน ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง รวมทั้งการสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่กำลังจะเกิดขึ้น

แม้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงยอมรับการเปลี่ยนแปลง และทรงยินยอมพระราชทานรัฐธรรมนูญให้กับปวงชนชาวไทยแล้วก็ตาม แต่พระองค์ก็ทรงเป็นห่วงว่าประชาชนจะมิได้รับอำนาจการปกครอง ที่พระองค์ทรงพระราชทานให้โดยผ่านทางคณะราษฎรอย่างแท้จริง

พระองค์จึงทรงใช้ความพยายามที่จะขอให้ราษฎร ได้ดำเนินการปกครองประเทศ ด้วยหลักการแห่งประชาธิปไตย ตามวัตถุประสงค์อย่างแท้จริง แต่พระองค์ก็มิได้รับการตอบสนองใด จากรัฐบาลของคณะราษฎร มีแต่จะกดขี่ราษฎรยากจนของพระองค์หนักมากขึ้นไปอีก บีบคั้นเสรีภาพของพลเมือง เพื่อบีบบังคับให้พระองค์ช้ำใจ และทนไม่ไหว

คณะราษฎร ยกย่องบูชาปรีดีอย่างไม่ลืมหูลืมตา ทิศทางทางการเมืองของสยามขณะนั้นโน้มเอียงไปทางคอมมิวนิสต์ กองทัพแม้ว่าจะจงรักภักดีต่อราชบัลลังก์ แต่ก็ขาดหลักการ และผู้นำที่เข้มแข็ง ปรีดี จึงเป็นผู้ควบคุมในทางเป็นจริง และใช้พระยาพหลฯ เป็นนอมินี

สิงหาคม 2476 รัชกาลที่ 7 ทรงมีจดหมาย และบันทึกส่วนพระองค์ ถึงนายเจมส์ แบ๊กซเตอร์ ที่ปรึกษารัฐบาลไทยด้านการคลังชาวอังกฤษ ทรงแสดงความเห็นว่าปรีดี ต้องการให้สยามกลายเป็น “สาธารณรัฐสังคมนิยม…โดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้” กำลังวางแผนที่จะทำลายพระราชวงศ์ และหลอกล่อให้พระองค์เองสละราชสมบัติ

สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ในรัชกาลที่ 5 ได้เสด็จออกมาประทับภายนอก พระบรมมหาราชวัง มาสร้างวังสระปทุม พระองค์โปรดให้ปลูกพืชผักหลายชนิด เช่น กล้วย มะม่วง ขนุน รวมทั้งพระราชทานผลผลิตทางการเกษตรเหล่านั้นไปยังวังเจ้านายต่าง ๆ

ส่วนที่เหลือ เช่น ใบตอง เชือกกล้วย กล้วยสุก ได้นำออกจำหน่ายได้รายได้ปีหนึ่ง ๆ เป็นเงินหลายร้อยบาท โดยส่วนหนึ่งพระองค์ ทรงใช้สำหรับเลี้ยงดูข้าราชบริพารและทะนุบำรุงวังสระปทุม บรรดาที่ดิน วัง สถานที่สำคัญหลายแห่งก็ถูกคณะราษฎร์ยึด แถมบางที่ก็ถูกทุบทิ้งโดยไม่สนคุณค่าใดๆ

ตรงข้ามวังสระปทุม เคยมีวังกลางทุ่ง หรือ วังวินเซอร์สยาม ของเจ้าฟ้าวชิรุณหิต กลุ่มคณะราษฎร ได้ตั้งใจทุบทำลายวังกลางทุ่งทิ้ง เพียงเพื่อต้องการสร้างสนามกีฬาที่มีชื่อหลวงศุภชลาศัย ผู้ก่อการฝ่ายทหารเรือ ทั้งที่ห่างออกไปอีกไม่มากเป็นทุ่งนาแต่ไม่เอา

จงใจจะเอาวังนี้ให้ได้ สร้างความโทมนัส แก่สมเด็จพระพันวัสสา ฯ ยิ่งนัก ด้วยวังนี้ถือเป็นตัวแทนของพระราชโอรส ของพระองค์ที่สวรรณคต ขณะยังทรงพระเยาว์ พระองค์ได้ยินเสียงทุบวังทุกวัน ทุบวังก็เหมือนทุบตี รังแกหัวใจของพระองค์

คณะราษฎร์ได้ยึด วังของเจ้านายหลายพระองค์ เช่น วังบางขุนพรหม ตรงวังแดง ตรงข้ามกระทรวงศึกษา กระทรวงศึกษา ยึดเอาที่ดินของพระคลังข้างที่ มาขายกันถูกๆ เช่น ริมถนนพหลโยธิน ตั้งแต่อนุเสาวรีย์ชัยไปจนถึงหลักสี่ ห้าแยกลาดพร้าว แดนเนรมิต

พระยาพหลพล ยังรังแกเชื้อพระวงศ์ไม่สาแก่ใจ ได้ยึดวังปารุสกวัน จากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เอาไปเป็นที่พำนักของตนเองหน้าตาเฉย และรัฐบาลยุคนั้นยังใช้อำนาจกดขี่ข่มเหงพระมหากษัตริย์ ต่างๆ นาๆ อย่างมาก เพื่อบีบบังคับให้สละราชสมบัติ

นายถวัติ ฝ่ายปรีดี ได้หมิ่นพระราชอำนาจ ฟ้องร้องพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 จากกรณีที่พระองค์มีพระบรมราชวินิจฉัยคัดค้าน แผนพัฒนาเศรษฐกิจของหลวงประดิษฐ์ (ปรีดี) ที่เรียกกันว่า "สมุดปกเหลือง" ส.ส.หลายคนอภิปรายพาดพิงไปถึงสถาบันด้วยถ้อยคำจาบจ้วงรุนแรง เหมือนกุ๊ยด่ากันในซอย ประชาชนส่วนใหญ่ที่ยังคงจงรักภักดีต่อพระเจ้าอยู่หัวก็ไม่พอใจคณะราษฎรมากขึ้น

วันที่ 11 ตุลาคม 2476 เพียง 11 วันหลังจากปรีดีเดินทางกลับสยาม ทำให้บทบาทไม่มั่นคงของพระมหากษัตริย์ ภายใต้รัฐธรรมนูญ ต่อมาเกิดความไม่พอใจ ต่อการยึดอำนาจของพระยาพหลพล ลงเอยด้วยรัฐประหารซ้อน ที่เรียกว่า “กบฏบวรเดช” โดยมีบุคคลคณะหนึ่งซึ่งเรียกตนเองว่า คณะกู้บ้านกู้เมือง

แผนของพระยาศรีสิทธิสงคราม ซึ่งวางกลยุทธไว้ว่าจะใช้วิธีจู่โจมจับคนสำคัญในคณะรัฐบาล ซึ่งขณะนั้นมีที่พักรวมกันอยู่ในวังปารุสกวัน โดยจะใช้ทหารหัวเมืองชั้นใน ที่อยู่ในคาถาของตนเป็นหัวหมู่ทะลวงฟัน จี้รถไฟมาลงที่สถานีจิตรลดาแล้วตรงเข้ายึดวังปารุสก์

โดยทหารในพระนครอีกส่วนหนึ่งที่คุยๆ กันไว้แล้ว อย่างพันตรีหลวงวีรโยธา ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 6 (ปัจจุบันคือ พล.1) ซึ่งตั้งอยู่หลังวังปารุสก์นั่นเอง จะเข้าสกัดหากมีฝ่ายรัฐบาลเคลื่อนพลออกมาต่อสู้ แต่พระองค์เจ้าบวรเดช อดีตเสนาบดีกลาโหม ทรงเห็นว่า ถ้าบุกเข้าตีรังแตนตรงๆ อย่างนั้น คงจะได้มีเลือดตกยางออกแน่

ทรงมีแนวความคิดแค่ให้ระดมกำลังทหารหัวเมือง มาแสดงพลังให้มากที่สุด โดยยึดดอนเมืองเป็นฐาน เอากำลังพลที่เยอะกว่าขู่ให้ทหารฝ่ายรัฐบาลใจฝ่อ หลังจากนั้นจึงทำการเจรจาบีบให้รัฐบาลถอดใจลาออก จะได้จบกันไปโดยดี แบบไม่มีใครเสียเลือดเนื้อให้พระเจ้าอยู่หัวต้องเสียพระทัย

โดยทางฝ่ายรัฐบาลก็ได้รู้ล่วงหน้าถึงการกบฏครั้งนี้ถึง 2 วัน เมื่อพระยาพหล นายกรัฐมนตรีได้ไปตรวจเยี่ยม มณฑลทหารราชบุรี จู่ ๆ นักบินผู้หนึ่งชื่อ ร.อ.ท. ขุนไสวมัณยากาศ ได้บังคับเครื่องบินลงจอดที่สนาม และได้ยื่นจดหมายฉบับหนึ่งให้แก่ พระยาสุรพันธเสนี สมุหเทศาภิบาลมณฑล

แล้วแจ้งว่าเป็น สาสน์จากพระองค์เจ้าบวรเดช พระยาพหลพลพยุหเสนา เมื่อได้เห็นเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นต่อหน้า ก็เดาออกทันทีว่าเป็นสาสน์ที่ส่งมา เพื่อเชิญชวนให้ก่อการกบฏ จึงรีบเดินทางกลับกรุงเทพฯ ในวันรุ่งขึ้นเพื่อดำเนินการต่อต้านทันที ฝ่ายรัฐบาล สั่งให้ยึดเอาลูกกระสุนปืนใหญ่ ฝ่ายก่อการทันที

เดิมแผนการจะเริ่มขึ้นในวันที่ 10 ตุลาคม 2476 โดยจะลงมืออย่างรวดเร็ว แต่เมื่อปฏิบัติจริงกลับถูกเลื่อนออกไปหนึ่งวัน จึงเปิดโอกาสให้ทางฝ่ายรัฐบาลได้มีเวลาตั้งตัวได้ติดและโต้กลับอย่างรวดเร็ว คณะรัฐบาลแต่งตั้ง หลวงพิบูล (จอมพล ป.) เป็นผู้บัญชาการกองกำลังผสม พร้อมรถ ปตอ. และรถถัง บรรทุกรถไฟ ยกออกไปปราบปราม

พระองค์เจ้าบวรเดช บรรดานายพล และ นายทหารอื่นๆ ที่โดนปลด นำทหาร หัวเมืองจำนวนหนึ่ง เช่น โคราช เพชรบุรี , อุดร เดินทัพเข้ากรุงเทพ โดยหวังให้ทหารกรุงเทพ ที่สนิทกับพันเอกพระยาศรีสิทธิสงคราม ไม่ร่วมมือกับฝ่ายรัฐบาล

ทหารกรุงเทพ หันไปร่วมมือกับรัฐบาลจอมพล ป. เนื่องจากฝ่ายทหารโคราชยืนยันเอาพลเอก พระองค์เจ้าบวรเดช เป็นหัวหน้า ซึ่งผิดเงื่อนไขที่ทหารกรุงเทพ ต้องการ เนื่องจากทหารกรุงเทพนับถือ พันเอก พระยาศรีสิทธิสงคราม มากกว่า พลเอก พระองค์เจ้าบวรเดช

การยิงกันครั้งแรกเริ่มที่ อำเภอปากช่อง แล้วมีการจับคนของรัฐบาลเป็นเชลยที่โคราช คณะกู้บ้านกู้เมือง ได้ยกกองกำลังเข้ามาทางดอนเมือง และยึดพื้นที่เอาไว้ และเรียกแผนการปฏิวัติครั้งนี้ โดยใช้กองกำลังทหารจากหัวเมืองต่าง ๆ เข้าล้อมเมืองหลวงว่า “แผนล้อมกวาง”

หลวงอำนวยสงคราม เพื่อนของหลวงพิบูล เพราะถูกยิงตาย ในรถจักรดีเซลไฟฟ้า ฝ่ายรัฐบาลได้ส่งหลวงเสรี เป็นตัวแทนฝ่ายรัฐบาล มาเจรจาให้ฝ่ายกบฏเลิกราไปเสีย และจะขอพระราชทานอภัยโทษให้ แต่ทางฝ่ายกบฏได้จับตัวหลวงเสรี ไว้เป็นตัวประกัน

และได้ส่ง พระยา พระยาเทเวศวร และเรือเอกเสนาะ เป็นคนกลาง ถือหนังสือของพระองค์เจ้าบวรเดชมาเจรจากับรัฐบาล โดยยืนเงื่อนไขทั้งหมด 6 ข้อ คือ

1. ต้องจัดการในทุกทางที่จะอำนวยผลให้ประเทศสยามมีพระมหากษัตริย์ปกครองประเทศภายใต้รัฐธรรมนูญชั่วกัลปาวสาน

2. ต้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญโดยแท้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ การตั้งและถอดถอนคณะรัฐบาลต้องเป็นไปตามเสียงของหมู่มาก

3. ข้าราชการซึ่งอยู่ในตำแหน่งประจำการทั้งหลาย และพลเรือนต้องอยู่นอกการเมือง ตำแหน่งฝ่ายทหารตั้งแต่ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือลงไป ต้องไม่มีหน้าที่ทางการเมือง

4. การแต่งตั้งบุคคลในตำแหน่งราชการ จักต้องถือคุณวุฒิและความสามารถเป็นหลัก ไม่ถือเอาความเกี่ยวข้องในทางการเมือง เป็นความชอบหรือเป็นข้อรังเกียจ ในการบรรจุเลื่อนตำแหน่ง

5. การเลือกตั้งผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ต้องถวายให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเลือกจริง ๆ

6. การปกครองกองทัพบก จักต้องให้มีหน่วยผสมตามหลักยุทธวิธี เฉลี่ยอาวุธสำคัญแยกกันไปประจำตามท้องถิ่น มิให้รวมกำลังไว้เฉพาะแห่งใดแห่งหนึ่ง

ซึ่งคำขอทั้งหมดนี้ ทางฝ่ายรัฐบาลยืนกรานไม่ยินยอม จึงเกิดการต่อสู้กันของทั้งสองฝ่าย เกิดสงครามกลางเมือง โดยคณะปฏิวัติจึงเคลื่อนกำลังเข้าสู่พระนครทันที โดยยึดพื้นที่เรื่อยมาจากดอนเมืองถึงบางเขน

จอมพล ป. บัญชาการสู้ศึก โดยทางฝ่ายรัฐบาลได้ตั้งกองอำนวยการปราบกบฏขึ้น ที่สถานีรถไฟบางซื่อ (ข้างโรงงานปูนซีเมนต์ไทยในปัจจุบัน) โดยกำลังทหารปืนใหญ่จากนครสวรรค์ ซึ่งขณะนั้นยกกำลังมาเพื่อสมทบกับกำลังฝ่ายปฏิวัตินั้น ได้ถูกกองกำลังฝ่ายรัฐบาล ที่สถานีโคกกระเทียม ตีสกัดไว้จนถอยร่นกระจายกลับคืนไป

ส่วนพระยาเสนาสงคราม แม่กองได้พยายามหนีเล็ดลอดลอบมาสมทบได้ในภายหลัง กองทหารเพชรบุรี ก็ถูกทหารฝ่ายรัฐบาลที่ราชบุรี ตีสกัดกั้นไว้ที่สถานีบ้านน้อย (สถานีเขาย้อย) ไม่สามารถจะผ่านมารวมกำลังกับฝ่ายปฏิวัติได้

ส่วนทางกองทหารจากปราจีนบุรี ไม่มั่นใจว่าฝ่ายกบฏ จะได้รับชัยชนะเหนือรัฐบาล จึงประกาศแปรพักตร์เข้าร่วมกับฝ่ายรัฐบาล ทำการปราบปรามฝ่ายปฏิวัติเสียอีกด้วย เหตุการณ์ระส่ำระสายทำให้ฝ่ายปฏิวัติ สูญเสียกำลังใจในการสู้รบเป็นอย่างมาก

มีการสู้รบบนท้องถนนในหลายเมือง ทั้งสองฝ่ายต่างช่วงชิงการรับรองจาก รัชกาลที่ 7 ที่พระองค์ กับ พระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ประทับ ณ วังไกลกังวล เพื่อให้พ้นจากอันตรายทั้งสองฝ่าย ซึ่งพระองค์ทรงวางท่าทีเป็นกลางทางการเมือง

วันที่ 14 ตุลาคม ฝ่ายกบฏก็ยังคงปักหลักต่อสู้อย่างเหนียวแน่น ณ สถานีรถไฟหลักสี่ มีกำลังทหารม้าจำนวน 5 กองร้อย ของนครราชสีมา ประจำแนวรบ แม้จะมีปืนกลอยู่เพียง 5 กระบอกเท่านั้นก็ตาม แต่ก็ยังสามารถรุกไล่ทหารฝ่ายรัฐบาลถอยร่น จนเข้ายึดคลองบางเขนไว้ได้อีกครั้งหนึ่ง

วันที่ 15 ตุลาคม ฝ่ายรัฐบาลได้หนุนกำลัง พร้อมอาวุธหนักนำขึ้นรถไฟ มีทั้งรถเกราะและปืนกล รุกไล่ฝ่ายปฏิวัติจนเกือบประชิดแนวหน้า ฝ่ายปฏิวัติซึ่งเป็นรองทั้งกำลังสนับสนุนและอาวุธต่าง ๆ จำเป็นต้องถอยกลับ และเมื่อเพลี่ยงพล้ำ ฝ่ายกบฏได้ใช้หัวรถจักรฮาโนแม็กเปล่า ๆ เบอร์ 277 พุ่งชนรถไฟของกองทัพรัฐบาล

จนมีทหารบาดเจ็บล้มตายเป็นอันมาก เช่น หลวงกาจสงคราม ก็หูขาดจากการครั้งนี้ โดยคนขับเป็นสารวัตรรถจักรภาคอีสาน กรมรถไฟหลวง ชื่อ อรุณ (ต่อมาถูกจับและนำส่งตัวไปเกาะตะรุเตา) และฝ่ายกบฎล่าถอยไปโคราช

เมื่อประเมินกำลังการต่อสู้กับฝ่ายรัฐบาลแล้ว เห็นว่าฝ่ายตรงข้ามมีกำลังเหนือกว่า พระองค์เจ้าบวรเดชก็สั่งให้ถอยทัพไปยึดช่องแคบสถานีปากช่อง เตรียมการต่อสู้กับรัฐบาลต่อไป

ขณะที่เคลื่อนกำลังถอยไปนั้น ก็ได้ทำการระเบิดทำลายสะพาน และทางรถไฟเสียหายหลายแห่ง เพื่อเป็นการประวิงเวลาการติดตามรุกไล่ของฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายปฏิวัติถูกกำลังฝ่ายรัฐบาลติดตามปราบปรามถึงสถานีหินลับ-ทับกวาง และปากช่อง ได้รับความเสียหายอย่างหนัก

วันที่ 23 ตุลาคม พระองค์เจ้าบวรเดช และพระชายา ทรงขึ้นเครื่องบินเดินทางหนีไปยังเมืองไซ่ง่อน ประเทศเวียดนาม และต่อไปยังประเทศกัมพูชาตามลำดับ และฝ่ายรัฐบาลสามารถปราบปรามฝ่ายปฏิวัติได้สำเร็จในที่สุด

เมื่อกบฏบวรเดชเพลี่ยงพล้ำ เพื่อความปลอดภัยข้าราชบริพารพร้อมใจกันพา รัชกาลที่ 7 ระหกระเหิน โดยเรือศรวรุณ พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ ท่ามกลางสภาวะอากาศเลวร้ายใช้เวลากว่าสองวัน จึงถึงจังหวัดสงขลา ไปประทับ ณ ตำหนักเขาน้อย จังหวัดสงขลา

หม่อมเจ้าอัปษรสมาน ได้ทรงรับหม่อมราชวงศ์ สิริกิติ์ กิติยากร (พระยศของสมเด็จพระราชินีขณะนั้น) ที่ยังพระเยาว์มีพระชนม์เพียง 1 พรรษา ตามเสด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ไปสงขลาด้วย และต่อมารัชกาลที่ 7 ทรงเสด็จพรมแดนมลายู ที่อังกฤษควบคุมอยู่ ภายหลังการสู้รบอย่างดุเดือด 2 สัปดาห์

ในที่สุดรัฐบาล โดยทหารรัฐบาลที่นำโดยหลวงพิบูล (จอมพล ป.) ก็สามารถปราบรัฐประหารของคณะกู้บ้านกู้เมืองได้สำเร็จ ประกาศชัยชนะ ผู้นำกบฏคณะกู้บ้านกู้เมือง เสียชีวิตไปหลายคน มีการจับกุม และกวาดล้างผู้ต้องสงสัยว่าจะร่วมมือกับคณะกู้บ้านกู้เมือง

จนในระยะนั้นประเทศไทยเป็นระบอบเผด็จการ อย่างแท้จริง ช่วงนั้นคณะราษฎร ฝ่ายมีอำนาจ จึงตกลงกันว่าหมดความตั้งใจที่จะร่วมงานกับพระมหากษัตริย์ จะเลิกล้มระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ รัชกาลที่ 7 ทรงแสดงความในพระราชหฤทัยครั้งนั้นว่า "ฉันไม่คิด ไม่รู้สึกอะไรทั้งนั้น ถ้าจะตายก็ตายด้วยกัน" เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้เป็นที่สะเทือนพระราชหฤทัยมาก

วันที่ 16 ธันวาคม 2476 ความวุ่นวายทางการเมือง ดำรงต่อไปอย่างยุ่งเหยิง จอมพล ป. ครองอำนาจตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นสมัยที่ 2 มีการแย่งชิงพระราชทรัพย์ของพระมหากษัตริย์และเชื้อพระวงศ์ เอาไปเป็นของส่วนตน ขุนนางเดิมถูกปลดออกจากราชการ โดยรับเพียงบำนาญ และเจ้านายบางพระองค์ถูกเรียกทรัพย์สินสมบัติคืนเป็นของแผ่นดิน

วันที่ 12 มกราคม 2477 รัชกาลที่ 7 เสด็จพระราชดำเนิน พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี และข้าราชบริพารจำนวนมาก เสด็จไปเจริญทางพระราชไมตรีกับประเทศในแถบยุโรป พร้อมทั้งเสด็จประทับที่ประเทศอังกฤษ เพื่อทรงเข้ารับการผ่าตัดและรักษาพระเนตร

ในการนี้ได้แต่งตั้งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ โอรสอายุ 70 ปี ของรัชกาลที่ 4 เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในระหว่างนี้พระองค์ ยังทรงติดต่อราชการ กับรัฐบาลผ่านทางผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และทรงดำริว่าจะสละราชย์สมบัติ เพราะหากกระทำการสละราชย์ในกรุงเทพ อาจมีถูกรัฐบาลขณะนั้น ทำร้ายพระองค์ได้

ช่วงนั้นรัฐบาลจอมพล ป. และปรีดี มีแผนจะสำเร็จโทษผู้มีส่วนร่วมในกบฏบวรเดช รัชกาลที่ 7 ทรงมีเมตตา จึงยังทรงยืนยันสิทธิตามโบราณราชประเพณี มีพระประสงค์ละเว้นคดีประหารชีวิต โดยต้องการให้รัฐบาลปล่อยนักโทษทางการเมืองในคดีกบฏบวรเดช หากไม่ตกลง พระองค์ก็พร้อมจะสละราชย์สมบัติ

รัฐบาลจอมพล ป. และปรีดี ยิ่งยโสในอำนาจ ไม่เกรงกลัวการสูญเสียการรับรองจากพระมหากษัตริย์อีกต่อไปแล้ว จึงปฏิเสธไปเกือบทุกข้อ และส่ง เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ขณะนั้น พร้อมกับหลวงธำรง และนายดิเรก เดินทางมาเข้าเฝ้าฯ ที่อังกฤษ และกราบบังคมทูลให้เสด็จกลับประเทศไทย แต่การเจรจาไม่เป็นผลสำเร็จ

เอกสารหลักฐานเหตุการณ์ทั้งหมด ประชาชนสามารถไปตรวจสอบอ้างอิงได้ ที่หอจดหมายเหตุ หอสมุดแห่งชาติ ถนนสามเสน "ความจริงไม่มีวันตาย" แม้ว่าจะผ่านไปนานสักเพียงใดก็ตาม ใครจะแก้ตัวอย่างไรก็ได้ แต่หอสมุดแห่งชาติได้บันทึกไว้สำหรับบอกต่อลูกหลานแล้ว

** เหตุการณ์จะเป็นอย่างไรต่อไป พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 พระองค์จะต้องเผชิญอะไรในต่างแดน และนักการเมืองมีมูลเหตุจูงใจอย่างไร จึงกล้าสั่งสังหาร ร.8 อ่านตอนต่อไปคลิ๊กที่ https://www.facebook.com/topsecretthai/posts/298975886959112

คัดลอกจาก Facebook  แฉ.....ลับ @topsecrethai

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 25 ตุลาคม 2016 เวลา 12:29 น.
 


หน้า 229 จาก 561
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5644
Content : 3068
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8746512

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า