Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

ไขปริศนา..นักการเมืองบีบ รัชกาลที่ 7 ทรงสละราชสมบัติ คำต่อคำ น้ำตารินทั่วไทย (ตอน 4)

พิมพ์ PDF

วันที่ 12 ธ.ค.57 ไขปริศนา..นักการเมืองบีบ รัชกาลที่ 7 ทรงสละราชสมบัติ คำต่อคำ น้ำตารินทั่วไทย (ตอน 4)

ตอนที่แล้วเล่าถึงรัฐบาลจอมพล ป. และปรีดี มีแผนจะสำเร็จโทษผู้มีส่วนร่วมในกบฏบวรเดช รัชกาลที่ 7 ทรงมีเมตตา มีพระประสงค์ละเว้นคดีประหารชีวิต โดยต้องการให้รัฐบาลปล่อยนักโทษทางการเมืองในคดีกบฏบวรเดช หากไม่ตกลง พระองค์ก็พร้อมจะสละราชย์สมบัติ รัฐบาลจอมพล ป. และปรีดี ยิ่งยโสใน จึงปฏิเสธไปเกือบทุกข้อ การเจรจาไม่เป็นผลสำเร็จ

วันที่ 2 มีนาคม 2477 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ องค์ที่เจ็ดแห่งราชวงศ์จักรี ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชหัตถเลขาประกาศสละราชสมบัติ จากบ้านพักพระตำหนักโนล ในประเทศอังกฤษ ที่ทรงลี้ภัยไปพำนักในขณะนั้น

พระราชทานหัตถเลขา ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกที่พระมหากษัตริย์ไทยทรงสละราชสมบัติ จึงขออัญเชิญมาให้ประชาชนไทยทุกคน ได้รู้ได้เห็นว่า นักการเมืองรังแกพระมหากษัตริย์ไทยอย่างไร ขอให้ตั้งใจอ่านทุกคำ แล้วจะเข้าใจพระองค์อย่างถ่องแท้ ลองเลื่อนดูภาพทีละภาพช้าๆ เพื่อให้เห็นกับตาว่าเป็นของจริงจากลายพระหัตถ และเล่าขานต่อไปถึงลูกหลาน หรือ เพื่อนฝูงทุกคน

----------------------------->
บ้านโนล
แครนลีประเทศอังกฤษ

เมื่อพระยาพหลพลพยุหเสนากับพวก ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองโดยใช้กำลังทหาร ในวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ แล้วได้มีหนังสือมาอัญเชิญข้าพเจ้าให้ดำรงอยู่ในตำแหน่งพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ ข้าพเจ้าได้รับคำเชิญนั้น เพราะเข้าใจว่าพระยาพหลฯ และพวกจะสถาปนารัฐธรรมนูญ ตามแบบอย่างประเทศทั้งหลายซึ่งใช้การปกครองตามหลักนั้น

เพื่อให้ประชาราษฎรได้มีสิทธิ ที่จะออกเสียงในวิธีดำเนินการปกครองประเทศ และนโยบายต่าง ๆ อันจะเป็นผลได้เสียแก่ประชาชนทั่วไป ข้าพเจ้ามีความเลื่อมใส ในวิธีการเช่นนั้นอยู่แล้ว และกำลังดำริจะจัดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ของประเทศสยามให้เป็นไปตามรูปแบบนั้น โดยมิได้มีการกระทบกระเทือนอันร้ายแรง

เมื่อมามีเหตุรุนแรงขึ้นเสียแล้ว และเมื่อมีผู้ก่อการรุนแรงนั้น อ้างว่ามีความประสงค์จะสถาปนารัฐธรรมนูญขึ้นเท่านั้น ก็เป็นอันไม่ผิดกับหลักการที่ข้าพเจ้ามีความประสงค์อยู่เหมือนกัน ข้าพเจ้าจึงเห็นสมควรโน้มตามความประสงค์ ของผู้ก่อการยึดอำนาจนั้นได้ เพื่อหวังความสงบราบคาบในประเทศ

ข้าพเจ้าได้พยายามช่วยเหลือ ในการที่จะรักษาความสงบราบคาบ เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงอันสำคัญนั้นเป็นไปโดยราบรื่นที่สุดที่จะเป็นได้ แต่ความพยายามของข้าพเจ้าไร้ผล โดยเหตุที่ผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง หาได้กระทำให้บังเกิดมีความเสรีภาพในการเมืองอย่างบริบูรณ์ขึ้นไม่ และมิได้ฟังความคิดเห็นของราษฎรโดยแท้จริง และจากรัฐธรรมนูญทั้ง ๒ ฉบับ

จะพึงเห็นได้ว่าอำนาจที่จะดำเนินนโยบายต่าง ๆ นั้น จะตกอยู่แก่คณะผู้ก่อการ และผู้ที่สนับสนุนเป็นพวกพ้องเท่านั้น มิได้ตกอยู่แก่ผู้แทนซึ่งราษฎรเป็นผู้เลือก เช่น ในฉบับชั่วคราว แสดงให้เห็นว่า ถ้าผู้ใดไม่ได้รับความเห็นชอบของผู้ก่อการ จะไม่ให้เป็นผู้แทนราษฎรเลย ฉบับถาวรได้มีการเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น ตามคำร้องขอของข้าพเจ้า

แต่ให้มีสมาชิกซึ่งตนเองเป็นผู้เลือกเอง เข้ากำกับอยู่ในสภาผู้แทนราษฎรถึงครึ่งหนึ่ง การที่ข้าพเจ้าได้ยินยอมให้มีสมาชิก ๒ ประเภท ก็โดยหวังว่าสมาชิกประเภทที่ ๒ ซึ่งข้าพเจ้าตั้งนั้น จะเลือกจากบุคคลที่รอบรู้การงาน และชำนาญในวิธีดำเนินการปกครองประเทศโดยทั่วๆ ไปไม่จำกัดเป็นพวกใดคณะใด

เพื่อจะได้ช่วยเหลือนำทาง ให้แก่สมาชิกซึ่งราษฎรเลือกตั้งขึ้นมา แต่ครั้นเมื่อถึงเวลาที่จะตั้งสมาชิกประเภทที่ ๒ ขึ้น ข้าพเจ้าหาได้มีโอกาสแนะนำในการเลือกเลย และคณะรัฐบาลก็เลือกเอกแต่ฉะเพาะผู้ที่เป็นพวกของตนเกือบทั้งนั้น มิได้คำนึงถึงความชำนาญ นอกจานี้คณะผู้ก่อการบางส่วน

ได้มีความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงโครงการณ์เศรษฐกิจของประเทศอย่างใหญ่หลวง จึงเกิดแตกร้าวขึ้นกันเองในคณะผู้ก่อการและพวกพ้อง จนต้องมีการปิดสภา และงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา โดยคำแนะนำของรัฐบาล ซึ่งถือตำแหน่งอยู่ในเวลานั้น

ทั้งนี้เป็นเหตุให้มีการปั่นป่วนในการเมือง ต่อมาพระยาพหลฯ กับพวกก็กลับเข้าทำการยึดอำนาจโดยกำลังทหารเป็นครั้งที่ ๒ และแต่นั้นมาความหวังที่จะให้การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เป็นไปโดยราบรื่นก็ลดน้อยลง

เนื่องจากเหตุที่คณะผู้ก่อการมิได้กระทำให้มีเสรีภาพในการเมืองอันแท้จริง และประชาชนไม่ได้มีโอกาสออกเสียง ก่อนที่จะดำเนินนโยบายอันสำคัญต่าง ๆ จึงเป็นเหตุให้มีการกบฎขึ้น ถึงกับต้องต่อสู้ฆ่าฟันกันเองระหว่างคนไทย

เมื่อข้าพเจ้าได้ร้องขอให้เปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ ให้เข้ารูปประชาธิปไตยอันแท้จริง เพื่อให้เป็นที่พอใจแก่ประชาชน คณะรัฐบาลและพวกซึ่งกุ่มอำนาจอยู่บริบูรณ์ในเวลานี้ ก็ไม่ยินยอม ข้าพเจ้าได้ร้องขอให้ราษฎร ได้มีโอกาสออกเสียงก่อน ที่จะเปลี่ยนหลักการและนโยบายอันสำคัญ มีผลได้เสียแก่พลเมืองรัฐบาลก็ไม่ยินยอม

และแม้แต่การประชุมในสภาผู้แทนราษฎรในเรื่องสำคัญ เช่น เรื่องคำร้องขอต่างๆ ของข้าพเจ้า สมาชิกก็มิได้มีโอกาสพิจารณาเรื่องโดยถ่องแท้ และละเอียดละออเสียก่อน เพราะถูกเร่งรัดให้ลงมติอย่างรีบด่วน ภายในวาระประชุมเดียว นอกจากนี้รฐบาลได้ออกกฎหมายใช้วิธีปราบปรามบุคคล ซึ่งถูกหาว่าทำความผิดทางการเมืองในทางที่ผิดยุติธรรมของโลก

คือไม่ให้โอกาสต่อสู้คดีในศาล มีการชำระโดยคณะกรรมการอย่างลับ ไม่เปิดเผยซึ่งเป็นวิธีการที่ข้าพเจ้าไม่เคยใช้ ในเมื่ออำนาจอันสิทธิขาด ยังอยู่ในมือของข้าพเจ้าเอง และข้าพเจ้าได้ร้องขอให้เลิกวิธีนี้ รัฐบาลก็ไม่ยอม

ข้าพเจ้าเห็นว่าคณะรัฐบาลและพวกพ้อง ใช้วิธีการปกครองซึ่งไม่ถูกต้องตามหลักการของเสรีภาพในตัวบุคคล และหลักความยุติธรรมตามความเข้าใจ และยึดถือของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าไม่สามารถที่จะยินยอมให้ผู้ใด คณะใด “ ใช้วิธีการปกครองอย่างนั้นในนามของข้าพเจ้าต่อไปได้ ”

ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใด โดยเฉพาะเพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาด และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร

บัดนี้ ข้าพเจ้าเห็นว่า ความประสงค์ของข้าพเจ้า ที่จะให้ราษฎรมีสิทธิออกเสียงในนโยบายของประเทศโดยแท้จริงไม่เป็นผลสำเร็จ และเมื่อข้าพเจ้ารู้สึกว่าบัดนี้เป็นอันหมดหนทาง ที่ข้าพเจ้าจะช่วยเหลือให้ความคุ้มครองให้แก่ประชาชนได้ต่อไปแล้ว

ข้าพเจ้าจึงขอสละราชสมบัติและออกจากตำแหน่งพระมหากษัตริย์แต่บัดนี้เป็นต้นไป ข้าพเจ้าขอสละสิทธิของข้าพเจ้าทั้งปวง ซึ่งเป็นของข้าพเจ้าอยู่ในฐานะที่เป็นพระมหากษัตริย์ แต่ข้าพเจ้าสงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งปวง อันเป็นของข้าพเจ้าแต่เดิมมา ก่อนที่ข้าพเจ้าได้รับราชสมบัติสืบสันตติวงศ์

อนึ่ง ข้าพเจ้าไม่มีความประสงค์ที่จะบ่งนามผู้ใดผู้หนึ่ง ให้เป็นผู้รับราชสมบัติสืบสันตติวงศ์ต่อไปตามที่ข้าพเจ้ามีสิทธิ ที่จะทำได้ตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์

อนึ่ง ข้าพเจ้าไม่มีความประสงค์ที่จะให้ผู้ใดก่อการไม่สงบขึ้นในประเทศ เพื่อประโยชน์ของข้าพเจ้า ถ้าหากมีใครอ้างใช้นามของข้าพเจ้า พึงเข้าใจว่ามิได้เป็นไปโดยความยินยอมเห็นชอบ หรือความสนับสนุนของข้าพเจ้า

ข้าพเจ้ามีความเสียใจเป็นอย่างยิ่ง ที่ไม่สามารถจะยังประโยชน์ให้แก่ประชาชนและประเทศชาติของข้าพเจ้าต่อไปได้ ตามความตั้งใจและความหวัง ซึ่งรับสืบต่อ กันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ยังได้แต่ตั้งสัตยอธิษฐาน ขอให้ประเทศสยามจงได้ประสบความเจริญ และขอให้ประชาชนชาวสยามจงได้มีความสุขความสบาย

(พระปรมาภิไธย) ประชาธิปก ปร
วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗
เวลา ๑๓ นาฬิกา ๕๕ นาที

----------------------------->
พระองค์ทรงแจกจ่ายพระราชหัตถเลขาไปยังหนังสือพิมพ์ฉบับต่างๆ ในอังกฤษ เพื่อให้มีการตีพิมพ์เผยแพร่ทันที และทรงมีพระบรมราชโองการมายังรัฐบาลว่า “ขอให้ประกาศพระราชหัตถเลขาทรงสละราชสมบัตินั้นแก่ประชาชนให้ทราบทั่วกัน ด้วย “

รัฐบาลขณะนั้น จะพยายามควบคุมการเสนอข่าว เกี่ยวกับการสละราชสมบัติของหนังสือพิมพ์ในประเทศสยามเองอย่างเข้มงวด ให้ตีพิมพ์เฉพาะเอกสารที่รัฐบาลส่งให้เท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวพระราชหัตถเลขาสละราชย์ทั้งฉบับนั้น รัฐบาลเพิ่งให้มีการตีพิมพ์ใน 2 เดือนหลังการสละราชย์

พระราชหัตถเลขาของพระองค์ ถูกรัฐบาลพระยาพหล “กลบ” ข่าวอย่างมิดชิด โดยที่ราษฎรไทย 12 ล้านคนของพระองค์ แทบไม่รู้เรื่องเลย หลังจากมีพระราชหัตเลขาสละราชสมบัติ พระองค์ทรงกลับไปใช้พระนามและพระราชอิสริยยศเดิม ได้แก่ สมเด็จเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา

วันที่ 7 มีนาคม 2477 รัฐบาลพระพหลฯ จึงประชุมปรึกษาหารือกัน โดยปรีดี วางแผนให้หาเจ้านายในเชื้อพระวงศ์ ที่ยังพระเยาว์ เพื่อจะได้แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการนานๆ คุมอำนาจเบ็ดเสร็จ และครองประเทศ กดขี่ทางชนชั้น ประชาชนต่อไป และวางแผนร้ายทำลายราชงศ์ อย่างถาวรได้

มีการเรียกประชุมสภาผู้แทนราฎร จากการชี้นำของปรีดี ได้มีมติเห็นชอบตามกฎมณเฑียรบาล ให้พระวรวงศ์เธอ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอานันทมหิดล ซึ่งมีพระมายุเพียง 8 พรรษา สืบราชสมบัติสืบพระราชสันตติวงศ์ เป็นพระมหากษัตริย์ เป็นรัชกาลที่ 8 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ สืบต่อจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ขณะนั้นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ยังทรงศึกษาอยู่กับ สมเด็จพระบรมราชชนนี พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลย ณ เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สภาผู้แทนราษฎร ได้มีมติตั้ง พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ , พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา และ เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เป็นคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

วันที่ 27 มิถุนายน 2477 ขณะดำรงตำแหน่ง รมต.กระทรวงมหาดไทย ปรีดี ได้สถาปนา "มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง" โดยใช้เงินที่มาจากค่าสมัครเข้าเรียนของนักศึกษา และดอกผลที่ได้มาจากธนาคาร ซึ่งปรีดีเป็นผู้ก่อตั้ง โดยให้มหาวิทยาลัยถือหุ้น 80% เพื่อขยายแนวคิดของเขา ในการสร้างผลไม้พิษไปทั่วประเทศอย่างกว้างขวาง

เมื่อรัชกาลที่ 7 ทรงสละราชสมบัติแล้ว ข้าราชบริพารที่เป็นข้าราชการ ก็ได้รับคำสั่งให้กลับเมืองไทยเพราะหมดหน้าที่แล้ว เหลือแต่พระญาติและข้าราชบริพารในพระองค์ไม่กี่คน คอยรับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาท พระตำหนักโนล ทรงเช่าจากชาวอังกฤษ ไม่ค่อยเหมาะกับพระอนามัย อีกทั้งค่าเช่าค่อนข้างสูง ทรงจำเป็นต้องประหยัดลดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ลง ดังนั้นจึงทรงเสาะแสวงหาที่ประทับที่อื่นแทน

พระองค์ทรงซื้อพระตำหนักเกล็นแพมเมิ่นต์ เป็นที่ประทับแห่งใหม่ ตั้งอยู่ใน ตำบลเวอร์จิเนีย วอเตอร์ ใกล้เมืองสเตนส์ ซึ่งอยู่ในจังหวัดมิลเดิลเซกซ์ พระตำหนักมีขนาดย่อมลง แต่ก็ยังใหญ่โตและมีเนื้อที่กว้าง มีที่ให้คนขับรถ หัวหน้าคนรับใช้ชายหนึ่งคนกับลูกน้อง 2 คน ได้พักอาศัย

อีกทั้งมีกระท่อมหลังหนึ่ง สำหรับหัวหน้าคนสวนด้วย พระตำหนักมี 3 ชั้น และห้องหับจำนวนมาก เช่น ห้องโถง ห้องสมุด ห้องรับแขก ห้องอาหาร และห้องนั่งเล่น ห้องเหล่านี้เต็มไปด้วยเครื่องเรือนแบบอังกฤษ แต่ก็มีสิ่งของต่าง ๆ ของไทยอยู่ประปราย เช่น พระแสงประดับเพชรพลอย หีบพระโอสถมวนถมทองและฉากสีแดงภาพตัวละครไทย 2 ตัว

ในห้องทรงพระสำราญ มีไฟจุดอยู่ในเตาผิง มีม่านหนาสีน้ำเงินแขวนอยู่ ซึ่งใช้กั้นส่วนที่ย่อมกว่าของห้อง รัชกาลที่ 7 ประทับยืนอยู่เคียงกับม่านผืนใหญ่นี้ ทำให้พระวรกายยิ่งดูเล็ก ซูบ แต่กระนั้นก็ยืดตรงสง่าผ่าเผย พระโอษฐ์แย้ม แต่พระเนตรมีแววเศร้า พระมัสสุ (หนวด) หนา พระขนง (คิ้ว) เข้ม ทรงฉลองพระองค์สูทสักหลาดแบบทวีด แม้พระชนมพรรษาเพียง 42 พรรษา ดูทรงพระชรามาก แม้ว่า เส้นพระเจ้า (เส้นผม) จะยังคงเป็นสีดำอยู่

ทางด้านขวาของสนามหญ้า มีสวนผักกำแพงล้อมรอบ และเรือนกระจกหลายหลังซึ่งอุดมสมบูรณ์ไปด้วยต้นผลไม้ต่างๆ หลากชนิด อีกทั้งดอกไม้สำหรับตัดปักแจกันตกแต่งพระตำหนัก แสดงว่าทรงถือหลัก “เศรษฐกิจพอเพียง” ตามสมควร รัชกาลที่ 7 โปรดที่จะเสด็จลงมาทรงพระดำเนินกับสุนัขซึ่งทรงเลี้ยงไว้ในช่วงบ่าย ๆ

พระองค์เสวยพระกระยาหารเช้าในห้องพระบรรทม โดยมหาดเล็กคนไทยเชิญเครื่องไปตั้งถวายเช่นเดียวกับที่เคยทรงปฏิบัติในประเทศไทย ในช่วงบ่าย มักจะทรงพระดำเนินเล่นที่ป่าละเมาะ ในช่วงฤดูร้อน ทรงกอล์ฟหรือเทนนิส เสวยพระสุธารสชาในช่วงบ่ายประมาณ 17.00 น. ที่สนามหญ้า ซึ่งบางครั้งเสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์ไปเสวยตามร้านธรรมดาทั่วไป

เช่น ริมแม่น้ำเทมส์ เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยงประชาชน โดยพระองค์ทรงขับรถพระที่นั่งด้วยพระองค์เอง และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯทรงอ่านแผนที่ถวาย มีหม่อมเจ้าการวิก จักรพันธ์ ทรงขับถวายเมื่อทรงเหนื่อย เป็นการที่ได้ทรงผ่อนคลายพระอารมณ์อย่างหนึ่ง หลังพระกระยาหารค่ำ จะประทับอยู่กับพระประยูรญาติเหมือนพ่อแม่ในครอบครัวที่อบอุ่น พระองค์ ทรงพระอักษรซึ่งส่วนใหญ่ เป็นหนังสือประเภทประวัติศาสตร์ ชีวประวัติ ตำราการทำสวน และนวนิยาย

คนไทยในอังกฤษ หากบังเอิญอยู่ในร้านอาหารเดียวกันกับพระองค์ ก็จะไม่เข้าไปเฝ้าฯ หรือแม้แต่ถวายความเคารพ เพราะเกรงว่าจะมีภัยมาถึงตน หรือรัฐบาลคณะราฎร จะทำร้ายครอบครัวในเมืองไทย แต่ก็มีบางคนที่กล้าลุกขึ้นยืนถวายคำนับ ในขณะที่เพื่อนๆ นั่งก้มหน้า ทำเป็นมองไม่เห็น

พ.ศ. 2479 รัฐบาลคณะราษฎร และปรีดี สมัยนั้น ออก พรบ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ ยึดทรัพย์สินของพระมหากษัตริย์ทั้งหมด ที่เดิมทีเป็นพระราชทรัพย์ของราชวงศ์จักรี และจัดตั้งหน่วยงานรัฐบาลขึ้นมาดูแล คือ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ มีสถานะเป็นหน่วยราชการระดับกอง ในสังกัดกระทรวงการคลัง ให้ รมต.คลังของรัฐ เป็นประธานควบคุมดูแล

ต่อมามีการแก้ไขปรับปรุง จนจัดตั้งยกระดับหน่วยงานขึ้นมาดูแลใหม่ มีสถานะเป็นนิติบุคคล ที่ตั้งอยู่ที่ วังแดง ถนนนครราชสีมา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ที่ดินของราชวงศ์ ก็ถูกยึดมาใช้ประโยชน์เรียกว่า ที่ดินราชพัสดุ , สมบัติที่ยึดมาทั้งหมด กระทรวงการคลัง ก็ดูแลออกดอกออกผล อยู่จนถึงบัดนี้

ปัจจุบันลงทุนในธุรกิจต่างๆ เช่น ปูน พลังงาน ฯลฯ หลายสิบบริษัท จนมีเงินเพิ่มพูนไปเรื่อยๆ ราว 4 แสนล้านบาท เงินต้น ดอกผล เหล่านี้กลับมาเป็นของกระทรวงการคลัง 100 เปอร์เซ็นต์ กลายเป็นงบประมาณประจำปีของรัฐบาล และกลับมาถึงประชาชนทุกคนรอบๆ ตัวของท่านเอง

โดยทรัพย์สินส่วนนี้จึงไม่ต้องเสียภาษีเพราะเป็นของรัฐเอง ใครเป็นรัฐบาลก็จะได้ใช้ประโยชน์ ธนาคารออมสิน รัชกาลที่ 6 ก็ทรงตั้งด้วยเงินส่วนพระองค์เริ่มต้นเอง ท่านวางระเบียบไว้เดิมให้เสนาบดีพระคลังเป็นคนดูแล (ปัจจุบันมีเงินเพิ่มพูนเป็นแสนล้านบาท ก็กลายเป็นธนาคารของรัฐ 100 เปอร์เซ็นต์ไปแล้ว )

ปัจจุบัน รมต.คลัง ก็เป็นคนดูแลควบคุมเอง ตั้งกรรมการได้เอง รัฐจึงเอาเงินไปใช้ได้สะดวก..ชื่อสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ฝรั่งไม่เข้าใจเห็นเพียงชื่อก็เหมารวมเป็นตุเป็นตะ ครั้นจะเปลี่ยนชื่อหน่วยงานนี้ไปเป็นอย่างอื่น ก็ไม่เหมาะสม เพราะเป็นของพระมากษัตริย์โบราณ มาถึงกว่า 800 ปี

ที่ทุกพระองค์ ( รวม 52 พระองค์) ก็ทรงให้กับราษฎรของพระองค์อยู่แล้วตลอดมา แต่ทีเวลาศาลตัดสินยึดทรัพย์นักการเมืองที่โกงชาติไป ทุกคนตลอดมาตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองปี 2475 และล่าสุดมาถึง คนแดนไกล 4.6 หมื่นล้านบาท นักการเมืองเอง ก็ไม่เคยออกกฎหมายตั้ง "สำนักงานทรัพย์สินส่วนนักการเมือง" เลยสักครั้งแปลกไหม ?

นี่แหละที่คนแดนไกล ถึงเคยพูดว่าให้รัฐบาล ปูข้าวเน่า ตั้งเขาเป็นที่ปรึกษา สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ที่เป็นของรัฐบาล เพราะว่าเขาอยากจะเข้าไปถลุงสมบัติชาตินี้ ไปเป็นของตระกูลตนเอง..ประชาชนตาสว่าง รู้เท่าทันนักการเมืองหรือยัง ?

ใครกล่าวร้ายว่าพระองค์ท่านร่ำรวยที่สุดในโลกนั้น กำลังผิดอย่างมหันต์ เพราะทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ปัจจุบันนี้ “ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับสถาบันเบื่องสูงเลยแม้แต่น้อยนิด “ พระราชวงค์ไม่มีสิทธิ์ใดๆ ในทรัพย์สิน หรือในธนาคารใดๆ เลย จะพูดก็ได้ว่า ในหลวงรัชกาลปัจจุบัน ท่านทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ที่ทรงยากจนทรัพย์มากด้วยซ้ำไป

ที่เป็นทรัพย์ของส่วนพระองค์จริงๆ ก็เกิดการที่ประชาชนสาขาต่างๆ บริจาคให้ตามพระราชอัธยาศัย หรือโดยเสด็จพระราชกุศลเข้ามูลนิธิต่างๆ เช่น มูลนิธิชัยพัฒนา ฯลฯ ทรัพย์ที่บริจาคก็ เช่น ที่ดิน ทุนทรัพย์ ฯลฯ ที่เราเห็นทางทีวีบ่อยๆ นั่นเอง แต่มีไม่มากนัก ทรัพย์ส่วนนี้เรียกว่า "ทรัพย์สินส่วนพระองค์"

และในหลวงท่าน ก็จะชำระภาษีอากรทุกปีตามอัตรากฎหมายกำหนด เท่าเทียมเหมือนประชาชนทั่วไป และได้รับใบเสร็จจากกระทรวงการคลัง ทรัพย์สินส่วนนี้ดูแลโดยสำนักงานจัดการทรัพย์สินส่วนพระองค์ และทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ก็อยู่ในความดูแลของสำนักพระราชวัง

ยามประชาชนเดือนร้อน และทุกข์ยาก ในหลวง พระราชินี และองค์รัชทายาท เชื้อพระวงศ์ ท่านก็จะพระราชทานให้นำทรัพย์สินส่วนพระองค์นั้น กลับคืนมาสู่ราษฎรของพระองค์อีก เช่น ทรงบริจาคที่ดินทำกินประเดิมให้ผู้ยากจน ถุงยังชีพพระราชทานยามเกิดอุทกภัย หรือภัยพิบัติ หรือโครงการช่วยเหลือผู้ยากไร้ ในพระบรมราชานุเคราะห์ ส่วนพระองค์ต่างๆ

พ.ศ. 2478 – 2480 รัชกาลที่ 7 ประทับอยู่ที่พระตำหนักเกล็นแพ็มเมิ่นต์ ไม่ค่อยทรงสบาย ทรงแพ้อากาศหนาวชื้น พระอาการประชวรหนักขึ้น ประกอบกับไม่ต้องทรงรักษาพระเกียรติยศมากเท่าเดิมแล้ว จึงทรงตัดสินพระราชหฤทัยขายพระตำหนัก และซื้อพระตำหนักใหม่ “เวนคอร์ต” ที่มีขนาดเล็กเหมาะแก่การดูแลรักษามากกว่า ที่หมู่บ้านบิ้ดเด็นเด็น ใกล้เมืองแอชฟอร์ด ในจังหวัด เคนท์

ห่างจากกรุงลอนดอนไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 200 ไมล์ ที่มีภูมิอากาศดี เพราะใกล้ทะเลกว่า แต่ความที่ไม่ห่างจากช่องแคบโดเวอร์ มากนัก แต่ด้วยเหตุที่การเดินทางจากบิ้ดเด็นเด็น ไปกรุงลอนดอน ไป-กลับ ในวันเดียวกันทำได้ไม่สะดวกรวดเร็ว เท่าจากพระตำหนักเดิม

พระองค์ จึงทรงเช่าห้องชุด ชุดหนึ่งไว้ในกรุงลอนดอนที่ อีตัน เฮ้าส์ เลขที่ 61 ถนนอัพเพ่อร์ โกรฟเวินเน่อร์ ในย่านเมย์แฟร์ ใกล้กับสถานทูตสหรัฐอเมริกา เพื่อจะประทับแรม เมื่อทรงมีพระราชกิจธุระ เสด็จทอดพระเนตรสิ่งต่างๆ หรือทรงจับจ่ายซื้อของ

พ.ศ. 2481 สงครามโลกครั้งที่สองได้ตั้งเค้า รัชกาลที่ 7 แน่พระราชหฤทัยว่า สงครามจะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน จึงทรงเตรียมพร้อมด้วยการประหยัดทุกทาง ทรงเลิกเช่าห้องชุดที่ลอนดอน เพื่อลดพระราชภาระใช้จ่าย เนื่องจากห้องชุดนี้ ค่าเช่าแพงมาก

ที่ตำหนักเวนคอร์ต ทั้งสองพระองค์เสด็จลงสวนทรงรดน้ำพรวนดินในสวน รัชกาลที่ 7 ทรงวางผังปลูกต้นไม้ และไม้ดอกด้วยพระองค์เอง เวลานั้นบรรดาคนไทย และนักเรียนไทยในอังกฤษ มีความกล้ามากขึ้น ที่จะมาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต แข่งขันเทนนิส ที่สนามส่วนพระองค์

ทั้งสองพระองค์ทรงเป็นกันเองมากกับนักเรียนไทย และยังมีเสรีไทยช่วงสงครามโลกเข้าเฝ้าปรึกษาพระองค์เป็นประจำด้วย พระองค์ประทับที่พื้นสนามพระตำหนักกับเหล่าพวกเขา ขณะเสวยพระสุธารสชาในช่วงฤดูร้อน แวดล้อมไปด้วยพฤกษานานาพันธุ์ ต่อมาจึงเสด็จฯไปทรงร่วมงานเลี้ยงสังสรรค์ ที่นักเรียนไทยจัดขึ้นปีละครั้ง

หากสงครามเกิดขึ้น จังหวัดเค้นท์ ซึ่งอยู่ใกล้ช่องแคบอังกฤษ อาจถูกเยอรมันบุก จึงจะถูกประกาศเป็นเขตทหาร รัชกาลที่ 7 ทรงหาที่ประทับใหม่อีกครั้ง เพื่อหลบภัยสงคราม ชื่อว่า เวนท์เวอร์ธ เอสเตท ในแถบเวอร์จิเนีย วอเตอร์ ไม่ไกลจากพระตำหนักเกล็นแพ็มเมิ่นต์

รัชกาลที่ 7 เสด็จประพาสอียิปต์ และทางรัฐบาลไทยช่วงนั้น ตามราวีพระองค์ไม่เลิก โดยปล่อยข่าวลือว่า พระองค์จะทรงไปตั้งกองบัญชาการที่พม่า เตรียมทรงรับพระราชอำนาจคืน โดยที่พระองค์ไม่ทรงทราบเรื่องนี้เลย หลังเสด็จประพาสอียิปต์อยู่นานถึงเดือนเศษ จึงเสด็จฯ กลับอังกฤษ

ชาวบ้านในหมู่บ้านบิ้ดเด้นเด็น ต่างรักและเทิดทูนพระองค์ ด้วยทรงพระมหากรุณาธิคุณและพระเมตตาคุณ พวกเขาได้เฝ้าฯ บ่อย ๆ เพราะแทนที่จะทรงสั่งซื้อของ และให้ร้านในเมืองไปส่งที่พระตำหนัก พระองค์กลับทรงจักรยานตามถนนเล็กๆ ของหมู่บ้าน เพื่อทรงจับจ่ายจากร้านค้า โดยทรงคำนึงถึงความเป็นธรรมมาก

เพราะสัปดาห์หนึ่ง จะทรงซื้อของที่ร้านหนึ่ง อีกสัปดาห์หนึ่งที่อีกร้านหนึ่ง โปรดที่จะทรงซื้อช็อคโกแล็ต ที่ร้านกาแฟประจำหมู่บ้านทำเอง และบางครั้งเสวยพระกระยาหารมื้อย่อมๆ ที่ร้านนั้นด้วย ในช่วงฤดูร้อน ทรงพระกรุณาเป็นองค์ประธานพระราชทานถ้วยรางวัล ในงานประกวดดอกไม้ และงานแข่งม้ากระโดดข้ามเครื่องกีดขวาง

** ตอนต่อไปจะเล่าถึง ประวัติศาสตร์ที่หายมืดไป ของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 และพระพระนางเจ้ารำไพพรรณี ท่านจะต้องถึงกับช็อค น้ำตาไหลริน และสงสารทั้ง 2 พระองค์จับใจในวาระสุดท้ายของชีวิต คลิ๊กไปที่ https://www.facebook.com/topsecretthai/posts/299189100271124

คัดลอกจาก facebook @topsecrethai

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 25 ตุลาคม 2016 เวลา 12:34 น.
 

เปิดโปง..ปรีดี และนักการเมืองคณะราษฎร พรากกษัตริย์ชนเผ่าไทย อาดูรทั้งแผ่นดิน (ตอนจบ)

พิมพ์ PDF

วันที่ 13 ธ.ค.57 เปิดโปง..ปรีดี และนักการเมืองคณะราษฎร พรากกษัตริย์ชนเผ่าไทย อาดูรทั้งแผ่นดิน (ตอนจบ)

ตอนที่แล้วเล่าถึง ชาวบ้านในหมู่บ้านบิ้ดเด้นเด็น อังกฤษ ต่างรักและเทิดทูน รัชกาลที่ 7 เพราะ ทรงจักรยานตามถนนเล็กๆ ของหมู่บ้าน เพื่อทรงจับจ่ายจากร้านในหมู่บ้าน โดยทรงคำนึงถึงความเป็นธรรม สัปดาห์หนึ่ง จะทรงซื้อของที่ร้านหนึ่ง อีกสัปดาห์หนึ่งที่อีกร้านหนึ่ง...ในตอนนี้ของเตือนก่อนว่า ใครใจไม่แข็งพอ ก็ไม่ต้องอ่านจนจบ ได้แค่ไหนเอาแค่นั้น !!

นอกจากนั้นพระองค์ยังทรงเป็นขวัญใจของพวกเด็ก ๆ ในหมู่บ้าน ขณะนั้นทางรัฐบาลคณะราษฎรของไทย ยังตามราวีรังแก รัชกาลที่ 7 ไม่หยุดหย่อน โดยทรงได้รับโทรเลขแจ้งว่า " รัฐบาลไทยได้ยื่นฟ้องพระองค์ และสมเด็จฯ " โดยกล่าวหาว่าทรงยักยอกเงินแผ่นดิน..ปรีดีและคณะราษฎร คงว่างมากจึงช่างคิดหาวิธีรังแกพระองค์กันเหลือเกิน

พ.ศ.2482 ประเทศอังกฤษ ได้ประกาศสงครามกับประเทศเยอรมนี ดังนั้นรัชกาลที่ 7 เตรียมการที่จะรับกับสถานการณ์สงครามในประเทศอังกฤษ ทรงปิดพระตำหนักเวนคอร์ตไว้ และทรงย้ายอีกครั้ง ไปประทับที่พระตำหนักใหม่ ชื่อว่า คอมพ์ตัน เฮ้าส์ ทรงเช่าระยะยาว 20 ปี พระตำหนักนี้ ตั้งอยู่ในหมู่บ้านเว้นท์เวอร์ธ ในเวอร์จิเนีย

มีเนื้อที่ประมาณ 6 ไร่ และนับว่ามีขนาดเล็กที่สุด ในบรรดาพระตำหนักที่เคยประทับมาก่อนหน้านี้ จึงเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย และดูแลง่าย ช่วงนี้เป็นภาวะสงคราม ซึ่งมีเครื่องบินของเยอรมันไปทิ้งระเบิดที่อังกฤษ รัฐบาลจึงให้ทุกบ้านเย็บผ้าสีดำติดกับม่านหน้าต่างทุกบาน

เพื่อมิให้แสงสว่างเล็ดลอดออกไปในตอนกลางคืน ให้เครื่องบินเห็นได้ว่าเป็นอาคาร อังกฤษแจกหน้ากากป้องกันก๊าช ให้ประชาชนทุกคน รวมทั้งแจกจ่ายคูปองแบ่งปันอาหารและน้ำมันด้วย นับว่าเป็นภาวะที่รัชกาลที่ 7 ทรงลำบากเช่นเดียวกับชาวบ้านอังกฤษทั้งหลาย ช่วงนั้นพระองค์ทรงน่าสงสารมาก น้ำตาไหลอาบหน้า เมื่อเล่ามาถึงตอนนี้

พ.ศ. 2483 สงครามได้ทวีความรุนแรงขึ้น เป็นภัยต่ออังกฤษมาก เพราะเยอรมันบุกฝรั่งเศสได้สำเร็จจนยอมจำนน จึงคาดกันว่าอังกฤษเป็นเป้าหมายต่อไปของฮิตเลอร์ มีการทิ้งระเบิดอย่างหนักในแถบลอนดอน และเขตอุตสาหกรรม พระองค์จึงต้องจำเป็นต้องทรงอพยพครอบครัว ไปประทับที่บ้านเช่าเป็นการชั่วคราวอีกแห่ง

มีชื่อว่า สแตดดอน อยู่ที่เมืองแอปเปิ้ลดอร์ ทางตอนเหนือของจังหวัดเดวอน ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะอังกฤษ ตั้งอยู่ในเมืองชาวประมงเล็กๆ เป็นบ้านนอกจริงๆ ห่างไกลจากเมืองใหญ่มาก พระองค์และครอบครัว ประทับอยู่ที่จังหวัดเดวอน เพียงไม่กี่เดือน ก็ได้ตัดสินพระราชหฤทัยย้ายที่ประทับอีกครั้งเพื่อให้ปลอดภัยจริงๆ

โดยเสด็จไปประทับที่ โรงแรมเลคเวอร์นี่ ซึ่งตั้งอยู่บนภูเขาสูง ใจกลางแคว้นเวลส์ตอนเหนือ ที่ซึ่งเป็นที่พักตากอากาศ ไม่มีเมืองใหญ่อยู่ใกล้เลย จึงปลอดภัยจากลูกระเบิด ทรงเช่าห้องชุด สำหรับสองพระองค์และครอบครัว ในระหว่างนั้นทรงหนังสือพิมพ์ และทรงฟังข่าววิทยุเกี่ยวกับความเป็นไปของสงคราม ซึ่งมีการทิ้งลูกระเบิดที่อังกฤษตลอดเวลา..น่าเศร้าสุดๆ

บางครั้งทรงพระราชนิพนธ์พระราชประวัติตนเอง ทรงประทับอยู่ที่โรงแรมนี้ จนกระทั่งถึงฤดูหนาว อากาศที่นั่นหนาวชื้นมาก พระโรคพระหทัยของพระองค์กำเริบหนัก ทรงมีพระอาการหอบมาก และเจ็บพระหทัย ทรงอ่อนเพลียมาก จึงตัดสินพระราชหฤทัยเสด็จกลับ ไปประทับที่ตำหนักคอมพ์ตัน เฮ้าส์ อีกครั้งหนึ่ง..

นี่คือชีวิตจริงๆ ขอพระมหากษัตริย์ไทย ที่ปรีดี กับคณะราษฎร รังแกพระองค์ พระองค์รับสั่งว่า “ถ้าฉันจะตาย ก็ขอให้ตายสบายๆ ในบ้านช่องของเราเองดีกว่าที่จะมาตายในโรงแรม…” ทรงเริ่มพระราชนิพนธ์พระราชประวัติของพระองค์เอง โดยทรงวางแผนว่าจะทรงเล่าตั้งแต่สมัยยังทรงพระเยาว์ ถึงทรงสละราชสมบัติ

ด้วยต้องพระประสงค์จะให้อนุชนรุ่นหลังได้ทราบ น่าเสียดายที่พระโรค ทำให้ทรงพระนิพนธ์ ถึงแค่เมื่อทรงมีพระชนมพรรษา 25 พรรษาเท่านั้น ในช่วงที่เหลือคือช่วง 26 - 47 พรรษา พระองค์พระราชนิพนธ์ไม่จบ..โถ่ พระราชาทูนหัวของเกล้ากระหม่อม !!

พ.ศ.2484 สัปดาห์สุดท้ายของเดือนพฤษภาคมปีนั้น พระชะตาชีวิตโหมกระหน่ำทั้งสองพระองค์อีกครั้ง เมื่อทรงทราบว่า พระตำหนักเวนคอร์ตที่ทรงปิดไว้ ถูกยึดครอง เป็นที่ทำการของฝ่ายทหารอังกฤษไปแล้ว จึงจะทรงส่งคนไปเก็บสิ่งของมีค่าในพระตำหนัก ก่อนที่จะส่งมอบตำหนักอย่างเป็นทางการต่อไป

สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ทรงอาลัยพระตำหนักนี้มาก จึงทรงมีพระราชดำริ จะเสด็จพระราชดำเนินไปด้วยพระองค์เอง แต่พระอาการประชวรของ รัชกาลที่ 7 ทรุดหนักลง พระบาทบวมอยู่ 2-3 วัน ซึ่งเป็นอาการอันเนื่องมาจากที่ประชวรพระหทัย

วันที่ 30 พฤษภาคม 2484 ยังทรงฉลองพระองค์ชุดบรรทม เป็นสนับเพลาแพร และฉลองพระองค์แขนยาว ทรงตื่นพระบรรทมแต่เช้าตรู่ พระอาการดูดีขึ้นมาก จึงรับสั่งกับสมเด็จฯ ว่าหากจะเสด็จไปพระตำหนักเวนคอร์ตก็ได้ ไม่ต้องทรงเป็นพระกังวล คำตรัสครั้งสุดท้ายคือ "จะไปไหนก็ได้ ฉันสบายดี".... "อยู่ได้ ไม่เป็นไร ไม่ต้องห่วง จะอ่านหนังสือพิมพ์"

สมเด็จฯ จึงเสด็จออกไปโดยรถยนต์พระที่นั่งตั้งแต่เวลา 08.00 น.รัชกาลที่ 7 ทรงเสวยไข่ลวกนิ่มๆ ซึ่งนางพยาบาลประจำพระองค์จัดถวาย ทรงหนังสือพิมพ์ แล้วบรรทมต่อ สักพักหนึ่งก็ทรงบ่นว่ามีอาการวิงเวียน ไม่สบาย นางพยาบาลจึงลุกไปหยิบยา

พอกลับมาก็เห็นพระหัตถ์ตกห้อยลงมาอยู่ข้างๆ หนังสือพิมพ์ตกอยู่กับพื้น หลับพระเนตรเหมือนกำลังหลับอย่างสบาย ประมาณ 09.00 น. นางพยาบาลจับพระชีพจรดู จึงรู้ว่าพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 เสด็จสวรรคตเสียแล้วด้วยพระหทัยวาย... ไม่มีผู้ใดทราบว่าเวลาใดแน่...นี่หรือ คือสิ่งที่ปรีดี และคณะราษฎร กระทำย่ำยีข่มเหงต่อพระมหากษัตริย์ของไทย

แต่ตามคติไทยก็คือทรงพระบุญญาธิการยิ่งนัก จึงเสด็จสวรรคตอย่างสงบนิ่ง สิริรวมพระชนม์มายุพระองค์เพียง 48 พรรษา เท่านั้น และเป็นเวลา 6 ปี 3 เดือน นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ

ขณะที่รถพระที่นั่งสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ วิ่งออกจากพระตำหนักได้สักพักใหญ่ และต้องชะลอแล่นช้าเพราะหมอกลง พลันพระองค์ทอดพระเนตรเห็น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ประทับยืนขวางอยู่ “เห็นพิลึกแท้” ทรงสังหรณ์พระราชหฤทัยยิ่งนัก ต่อมาตำรวจอังกฤษ สกัดรถพระที่นั่งสมเด็จฯ เพื่อแจ้งข่าว

สมเด็จฯ ทรงรีบเสด็จพระราชดำเนินกลับพระตำหนักคอมพ์ตันเฮาส์ทันที เมื่อเสด็จฯ กลับถึงพระตำหนัก ทรงควบคุมพระสติอารมณ์ได้อย่างดีเยี่ยม ทรงเข้มแข็ง ทรงจัดการพระบรมศพเป็นการภายใน โดยอัญเชิญพระบรมศพประดิษฐาน ณ พระตำหนักคอมพ์ตัน โดยรัฐบาลอังกฤษ ได้อนุญาตเป็นกรณีพิเศษ ในการประดิษฐานพระบรมศพเป็นเวลา 4 วัน

เพื่อให้ประยูรญาติที่อยู่ห่างไกลมาถวายบังคมลาเป็นครั้งสุดท้าย การจัดการพระบรมศพนั้นเป็นไปอย่างเงียบ ๆ โดยไม่มีการบำเพ็ญพระราชกุศล ทรงพระพุทธศาสนา เพราะไม่มีพระสงฆ์ รวมทั้ง ไม่มีการพระราชพิธีอื่น ๆ ตามราชประเพณีด้วย หลังจากทราบข่าวการเสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ที่ยังอยู่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการบำเพ็ญพระราชกุศล ทักษิณานุปทานอุทิศถวายรัชกาลที่ 7 ขึ้น ที่พระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กรุงเทพ ตามราชประเพณี โดยมีคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์

วันที่ 3 มิถุนายน 2484 อัญเชิญพระบรมศพองค์เล็กๆ ของรัชกาลที่ 7 ขึ้นประดิษฐาน บนรถซึ่งตกแต่งอย่างงดงาม มีธงมหาราชคลุมพระบรมศพ แลเชิญพระชัยวัฒน์ไว้ทางเบื้องพระเศียร รถเคลื่อนขบวนออกจากพระตำหนักคอมพ์ตัน ไปยังสุสานโกดเดอร์สกรีน ซึ่งอยู่ทางเหนือของกรุงลอนดอน อังกฤษ มีรถตามเสด็จประมาณ 5 คัน

ขณะกำลังเคลื่อนพระบรมศพ ออกจากพระตำหนัก สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ประทับทอดพระเนตรอยู่ที่พระแกล (หน้าต่าง) เป็นการส่วนพระองค์ ทรงกลั้นพระกรรแสงไว้ไม่ไหวอีกต่อไป ทรงรับสั่งว่าเบาๆ ว่า “เขาเอาไปแล้ว”

พระบรมศพทรงพระภูษา (โจงกระเบน) สีแดง ฉลองพระองค์สีแดง เช่นกัน ตามที่เคยรับสั่งกับหม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท ให้จัดถวายให้เหมือนกับพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยในรัชกาลที่ 4 พระบรมวงศานุวงศ์ จะทรงพระภูษาแดงทุกวันพระ ในรัชกาลนั้น แดงจึงถือเป็นสีของพระราชวงศ์

มีผู้มาคอยเฝ้ารับเสด็จอยู่มากทั้งคนไทย และชาวต่างประเทศ ชาวอังกฤษ ซึ่งเคยรับราชการอยู่เมืองไทยและเป็นทนายความประจำพระองค์ และเป็นพระสหายของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้อ่านสุนทรพจน์สรรเสริญพระเกียรติคุณ ผู้ที่ไปชุมนุม ณ ที่นั้นถวายความเคารพทีละคน

ไม่มีพิธีสงฆ์ใดๆ เพราะไม่มีพระภิกษุสงฆ์อยู่ในประเทศอังกฤษในขณะนั้น มีแต่คนไทยซึ่งเคยบวชในพระพุทธศาสนา ได้สวดมนต์ถวายพระราชกุศล แล้วมีการบรรเลงเพลง เมนเดลโซน ไวโอลิน คอนแชร์โต ซึ่งเป็นเพลงที่พระองค์โปรดเป็นพิเศษ ถวายเป็นครั้งสุดท้ายเท่านั้น

สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี เสด็จขึ้นไปถวายบังคมพระบรมศพเป็นพระองค์แรก ตามด้วยพระประยูรญาติและผู้ใกล้ชิดทั้งไทยและเทศ พนักงานกดสวิตช์อัญเชิญหีบพระบรมศพ เลื่อนไปตามรางเหล็กสู่เตาไฟฟ้าจนลับตา หลังจากถวายพระเพลิงพระบรมศพเสร็จสิ้นแล้ว พระบรมอัฐิและพระบรมสรีรางคาร ถูกอัญเชิญกลับไปประดิษฐานยังพระตำหนักคอมพ์ตัน อันเป็นที่ประทับของพระองค์

หลังรัชกาลที่ 7 เสด็จสวรรคต ช้างเผือกคู่พระบารมีพระองค์ที่อยู่เมืองไทย ที่ได้มาจากเชียงใหม่ พระเศวตคชเดชน์ดิลก ขณะอายุย่างเข้า 20 ปี เริ่มมีอาการไม่ปกติ และต่อมาในเมืองไทยเกิดอาเพศน้ำท่วมใหญ่ ช้างเผือกคู่พระบารมี ไม่ได้รับการดูแลเท่าที่ควรจากรัฐบาลคณะราษฎร ขาดการเอาใจใส่ เจ็บมากขึ้น ไม่จับหญ้า ในที่สุดก็ล้มลงเสียชีวิตไปตามพระองค์

เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 คนไทยในอังกฤษส่วนใหญ่พากันเดินทางกลับประเทศไทย เพราะอังกฤษถือว่าไทยเป็นชนชาติศัตรู แต่สมเด็จฯ ยังคงประทับอยู่ต่อไป ทั้งๆ ที่เครื่องอุปโภคบริโภคขาดแคลนโดยทั่วไปมีการแบ่งสันปันส่วนอาหาร ไข่ไก่ก็ต้องใช้วิธีถนอมไว้ใช้โดยการลอยน้ำ

ข้าวสารก็ไม่มีต้องใช้ลูกเดือยหุงแทน แต่รัฐบาลอังกฤษได้ถวายพระเกียรติโดยอนุญาตให้ทรงใช้รถยนต์ และจัดน้ำมันเบนซินถวาย

พ.ศ. 2485 นอกจากภัยสงครามแล้ว สมเด็จฯ ต้องทรงเผชิญกับความเศร้าโศกในครอบครัว ของพระองค์เองอีกครั้งหนึ่งในเดือน เมื่อพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจิระศักดิ์ พระโอรสบุญธรรมของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ผู้ทรงเป็นเรืออากาศเอกในกองทัพอังกฤษ ได้สิ้นพระชนม์ลงทันที เมื่อเครื่องบินของ Air Transport Auxiliary ประสบอุบัติเหตุตก เพราะชนภูเขาในภาวะอากาศมีหมอกหนา

พ.ศ.2488 หลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ยังคงประทับอยู่ที่ประเทศอังกฤษต่อไป เพราะเมืองไทยยังมีความวุ่นวายทางการเมืองในประเทศอย่างต่อเนื่อง มีการเปลี่ยนนายกฯ และรัฐบาลหลายครั้ง และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ได้เสด็จสวรรคต ใน พ.ศ.2489

สำเด็จฯ ทรงมีพระราชดำริ จะเสด็จฯ กลับไทย หากรัฐบาลไทยอัญเชิญเสด็จฯ อย่างเป็นทางการ ด้วยเหตุผลสามประการ คือ หนึ่ง การประทับอยู่เมืองนอกนั้นค่าใช้จ่ายสูงมาก ทรงเกรงว่าต่อไปจะไม่ทรงมีพระราชทรัพย์เพียงพอ สอง คนไทยอยู่ที่ไหนก็ไม่เหมือนอยู่บ้านเรา การประทับอยู่ในอังกฤษเป็นการขออาศัยอยู่ในบ้านเมืองของเขาเท่านั้น

และสาม ที่สำคัญ หากได้เสด็จฯ กลับประเทศไทย จะได้ทรงงานให้เป็นประโยชน์ในด้านสังคมสงเคราะห์หรือในด้านศาสนา รวมทั้งให้ทรงอัญเชิญพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ กลับมาด้วยอย่างสมพระเกียรติแห่งพระมหากษัตริย์ จึงจะเสด็จฯ กลับ มิฉะนั้นแล้วจะทรงยอมทนประทับอยู่ในเมืองนอกต่อไป แสดงว่าทรงถือว่า พระเกียรติยศของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ เป็นสิ่งสำคัญยิ่งเหนืออื่นใด

พ.ศ.2491 รัฐบาล จอมพล ป.พิบูลสงคราม มีมติเห็นชอบตามที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร ประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ทรงแนะนำให้กราบบังคมทูลสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ อัญเชิญเสด็จพระราชดำเนินกลับสู่ประเทศไทยพร้อมด้วยพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ

พ.ศ. 2492 สมเด็จ ทรงมีพระราชหัตถเลขาถึงองค์ประธานผู้สำเร็จฯ ความสำคัญว่า “ส่วนเรื่องที่จะต้องจ่ายเงินแผ่นดินก้อนใหญ่ ดังที่รับสั่งบอกมานั้น หม่อมฉันก็ไม่ต้องการที่จะให้เป็นเช่นนั้น เป็นเรื่องที่รัฐบาลบอกมาว่าจะจัดเช่นนั้น หม่อมฉันเป็นแต่ผู้ปฏิบัติตาม

แต่ถ้าคณะผู้สำเร็จราชการหรือรัฐบาล เห็นว่าจะมีทางใดที่จะตัดรายจ่ายลงแล้ว หม่อมฉันก็ยินดีจะปฏิบัติตาม เพราะไม่อยากให้เป็นการสิ้นเปลืองมากเกินควรมาตั้งแต่แรกแล้ว” เพราะทรงระมัดระวังเรื่องการใช้จ่ายเงินแผ่นดิน ดุจดังพระบรมราชสวามีไม่มีผิด

วันที่ 1 พฤษภาคม 2492 สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ได้เสด็จพระราชดำเนินอัญเชิญพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว กลับสู่ประเทศไทย เพื่ออัญเชิญขึ้นประดิษฐานไว้ ร่วมกับสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าในพระบรมมหาราชวัง

จากท่าเรือเมืองเซาแธมตัน โดยเรือวิลเฮ็ม ไรซ์ ของเนเธอร์แลนด์ สู่สิงคโปร์ ในการนี้รัฐบาลอังกฤษได้จัดกองทหารถวายพระเกียรติยศส่งเสด็จฯ วงดุริยางค์ทหารอังกฤษ บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี และกองทหารลดธงประจำกองลงถวายความเคารพขณะที่ขบวนพระบรมอัฐิเคลื่อนผ่าน เพราะเป็นเวลาเกือบ 14 ปีแล้ว ที่ไม่มีเสียงเพลงสรรเสริญพระบารมี บรรเลงสำหรับรัชกาลที่ 7 และทรงเสียสละเพื่อชาวไทยทั้งชาติ

เมื่ออัญเชิญพระบรมอัฐิลงสู่เรือ ที่สิงคโปร์ เสด็จฯ อัญเชิญพระบรมอัฐิลงเรือภาณุรังษีของเดนมาร์ก สู่เกาะสีชัง แล้วจึงเสด็จฯ ลงเรือรบหลวงแม่กลอง ของราชนาวีไทยถึงกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2492

ณ ท่าราชวรดิษฐ์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ไปทรงรับพระบรมอัฐิ และรับเสด็จสมเด็จฯ เจ้าพนักงานอัญเชิญพระโกศพระบรมอัฐิ (ซึ่งอัญเชิญจากหีบตั้งแต่เมื่อลงเรือรบหลวงแม่กลอง) ขึ้นประดิษฐานเหนือบุษบกราเชนทรรถ เข้าขบวนพยุหยาตราใหญ่สู่พระบรมมหาราชวัง เทียบเกยหน้าพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท แล้วประดิษฐานอีกครั้ง เหนือพระที่นั่งพุดตานบรมราชาอาสน์บนพระราชบัลลังก์ ภายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตร แสดงถึงการถวายพระเกียรติยศอย่างเต็มที่

ในการนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีทักษิณานุปทานอุทิศถวายตามพระราชประเพณี โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระโกศพระบรมอัฐิขึ้นประดิษฐาน ณ หอพระบรมอัฐิ ซึ่งอยู่ชั้นบนของพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

ส่วนพระบรมสรีรางคาร รัชกาลที่ 7 นั้น พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บรรจุไว้ที่พระพุทธบัลลังก์ พระพุทธอังคีรส ภายในพระอุโบสถ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร กรุงเทพฯ อย่างสมพระเกียรติยศของพระราชา ตามโบราณราชประเพณี

ปัจจุบัน พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งอยู่ ณ อุทยานการศึกษารัชมังคลาภิเษก มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว บริเวณสี่แยกผ่านฟ้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

ภาพสุภาพบุรุษหันหลังในสูทดำที่เห็นนี้ หลายคนอาจจะดูไม่ออกว่าท่านผู้นี้คือใคร..ท่านก็คือ "พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 "ของปวงชนชาวไทยนั่นเอง แม้แต่หิ้งพระยังต้องใช้หนังสือรองซ้อนกัน ชีวิตของพระองค์ ต้องพบกับความยากลำบากมาโดยตลอด เป็นความลำบาก ที่พระองค์ไม่ได้สร้างขึ้นเลยแม้แต่น้อย

รัชกาลที่ 7 ใช้ชีวิตในต่างแดนอย่างสมถะ และพอเพียง ทรงมีพระราชนิพนธ์สุดท้ายว่า “...แต่ถ้าเราทำการใดๆ ไป โดยมีความสุจริตในใจ และโดยเต็มความสามารถแล้ว ก็ต้องนับว่าได้พยายามทำการงานตามหน้าที่สุดกำลังแล้ว...”

วิธีการที่ ปรีดี และ นักการเมืองคณะราษฎรไม่กี่คน กระทำย่ำยีกับพระเจ้าอยู่หัวของคนไทยทั้งชาติ เป็นธรรมแล้วหรือ ?? รัชกาลที่ 7 พระองค์เป็นถึงพระราชโอรส ของรัชกาลที่ 5 ที่ทรงมีคุณูปการ กับแผ่นดินไทยมากมายนานับประการ และ กีดกันไม่ให้รัชกาลที่ 7 พบราษฎรในแผ่นดินไทย

ที่บรรพบุรุษของพระองค์ ที่ออกศึกสงครามจนเลือดทาหลั่ง ได้แผ่นดินสุวรรณภูมินี้มา ให้คนเผ่าไทยได้อยู่อาศัยอย่างสุขสบายมาจนถึงทุกวันนี้ พระมหากษัตริย์ไทย ทรงสร้างบ้าน แปงเมือง นำพาเหล่าทหารนักรบเคียงพระบาท เข้าโรมรันศัตรู หลั่งเลือดทาแผ่นดินเป็นสายแม่น้ำ กองร่างกายเท่าภูเขา

จู่ๆ คณะราษฎร์ และปรีดี ที่ไม่เคยทำความดีอะไรประจักษ์มาก่อนเลย ก็มาปล้นชิงแผ่นดิน จากพระมหากษัตริย์ไปอย่างหน้าตาเฉย แล้วเสวยสุขท่ามกลางความทุกข์ยากของพระมหากษัตริย์ และราษฎรของพระองค์ ทำให้พระมหากษัตริย์พระองค์เดียวของไทย ให้ต้องสวรรคตในต่างแดน ที่อังกฤษ แม้ในยามสวรรคตพระศพ ยังต้องถวายพระเพลิงพระบรมศพในต่างแดนอีกด้วย

สรุป..นักการเมืองคณะราษฎร แก่งแย่งพระราชอำนาจจากพระมหากษัตริย์ มาเพื่อแบ่งปันผลประโยชน์ให้กับของพวกตนเอง จากนักการเมืองรุ่นหนึ่ง สู่อีกรุ่นหนึ่ง สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน โดยอ้างการเลือกตั้งเป็นฉากหน้า แต่เหยียบย่ำหากินกันบนความยากไร้ของประชาชน

จาก พ.ศ.2475 เวลาผ่านไป 82 ปี คณะราษฎร์ ชิงสุกก่อนห่ามเอาพระราชอำนาจจากพระมหากษัตริย์ไปปู้ยี่ปู้ยำ ยัดเยียด “ประชาธิปไตยไร้รากแก้ว” ให้กับคนไทย บ้านเมืองเต็มไปด้วยความขัดแย้ง ระบบราชการที่ฉ้อฉล ระบบการศึกษาที่ตกต่ำ คนไทยไม่ได้อะไรเลยในเวลา 82 ปีที่สูญหายไป

เรามีประชาธิปไตยแท้จริงแล้วหรือยัง ?..มีการเลือกตั้งก็แล้ว..ได้ชิงพระราชอำนาจจากพระมหากษัตริย์มาก็แล้ว..ถึงวันนี้ประเทศไทย ก็ยังล้มลุกคุกคลาน เริ่มต้นตั้งไข่ใหม่มานับครั้งไม่ถ้วน เวลาที่ผ่านมาเป็นบทพิสูจน์เป็นรูปธรรม ว่า " ประชาธิปไตยของไทยไม่เคยมีอยู่จริง จากน้ำมือนักการเมือง"

ระบอบการเมืองการปกครอง จะเรียกว่าอะไรก็แล้วแต่..สิ่งสำคัญคือขอเพียงให้ประเทศไทย และประชาชนคนไทย มีความสงบสุขเจริญ มั่งคั่ง อยู่ในศีลในธรรมของแต่ละศาสนาก็พอ และต้องยึดประเพณี อารยธรรมแบบไทย ๆ แต่โบราณไว้อย่างมั่นคง

มีระบบปกครองที่เป็นเอกลักษณ์ของเราเอง โดยคนไทย และเพื่อปวงชนชาวไทยอย่างแท้จริง โดยไม่ติดกับดักคำว่าประชาธิปไตย ดั่งบทเรียน 82 ปีที่ผ่านมา ราษฎรไทย ถวิลหาผู้ปกครองที่ทรงคุณธรรม ไม่ใช่ระบอบที่ชาติตะวันตก สร้างมาครอบหัวของเรา เพื่อบิดเบือนเป็นข้ออ้างหวังแต่ประโยชน์ส่วนตน

ใครที่ยังมองปรีดี และคณะราษฎร ว่ามีคุณงามความดี ให้เข้าใจเถอะว่าได้เข้าใจผิดมาตลอดทั้งชีวิต จนมาตาสว่างในวันนี้ วิธีการของปรีดี จึงสืบทอดมาสู่หญิงกระบังลม ที่เป็นหลานภรรยาปรีดี คนแดนไกล และขบวนการล้มเจ้าเสื้อแดงในที่สุด จนกลายเป็นแก๊งค์เผาไทย ในปัจจุบัน ที่กำลังพยามยามทำแบบเดิมเมื่อ 82 ปีที่แล้ว

วิธีการ ปรีดี ในวันนั้น ก็คือ คนแดนไกลในวันนี้ และวิธีการคณะราษฎรในวันนั้น ก็คือ แก็งค์เผาไทยในวันนี้ นั่นเอง คนไทยรู้หรือยัง ว่าจะต้องปกป้องสถาบันกษัตริย์ของเราอย่างไร ให้พ้นภัยจากมืออสูรกาย "คณะราษฎรเผาไทย" กลายพันธุ์ !!

** ด้วยมีเนื้อที่ปริมาณจำกัด จึงขอยกการ แฉ เบื้องลึกสุดลับ ที่แสนจะตะลึงพรึงเพริด ในการวางแผนปลงพระชนม์ รัชกาลที่ 8 ของปรีดี , ร.อ.วัชรชัย ,ชิต , บุศย์ และเฉลียว อดีตสมาชิกคณะราษฎรสายพลเรือน ไปในตอนต่อไปคลิีกที่ https://www.facebook.com/topsecretthai/posts/300405693482798

คัดลอกจาก facebook@topsecrethai

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 25 ตุลาคม 2016 เวลา 12:39 น.
 

ไขปริศนา..ลับมาก ขั้นตอนปรีดีวางแผน ก่อนรัชกาลที่ 8 สวรรคต (ตอนแรก)

พิมพ์ PDF

วันที่ 15 ธ.ค.57 ไขปริศนา..ลับมาก ขั้นตอนปรีดีวางแผน ก่อนรัชกาลที่ 8 สวรรคต (ตอนแรก)

อีกเรื่องหนึ่งที่เป็นปริศนามานานมากถึง 68 ปี และคลุมเครือเรื่อยมาก คือ กรณีการสวรรคต ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ที่มีการปล่อยข่าวลือต่างๆ นาๆ วันนี้จะพาไปไขปริศนาลับดำมืดนี้ ให้เห็นขั้นตอนปรีดี คิดร้ายต่อพระองค์ แบบชวนให้ตะลึง

โดยจะอ้างอิงจากคำพิพากษาของศาลฎีกาที่ 1544/2497 , หลักฐานราชการ บันทึกในหอจดหมายเหตุแห่งชาติ และหลักฐานอื่นๆ โดยไม่นำข้ออ้างของผู้ต้องหา ความรู้สึกส่วนตัวของ ญาติ หรือการมโน ของเบี่ยงเบนทางการเมือง โดยไม่มีพยานและหลักฐาน

ช่วงปี 2476 – 2489 เวลา 13 ปี สยาม ที่ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นไทย มีการเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีไทยเป็นว่าเล่นถึง 5 คน บางคนเป็นถึง 5 สมัยต่อเนื่อง บางคนเป็น 2 รอบ 2 สมัย แต่ทุกคนล้วนอยู่ภายใต้อิทธิพลการชักใยอยู่เบื้องหลังของปรีดีทั้งสิ้น (เหมือนคนแดนไกลชักใย อยู่เบื้องหลังนายกฯ นอมินี ลุงหมัก สมชาย ปูข้าวเน่า)

วันที่ 16 ธันวาคม 2484 เจ้าพระยายมราช (ปรีดีเป็นหลานเขย) ที่ถึงแก่อสัญกรรม สภาผู้แทนราษฎร มีมติแต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ขึ้นใหม่ ประกอบด้วย พระองค์เจ้าอาทิตย์ และ " ปรีดี " ต่อมาพระองค์เจ้าอาทิตย์ถูก ปรีดี “ บีบบังคับลาออกจากตำแหน่ง "

ปรีดี ที่เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จึงครอบงำให้สภาผู้แทนราษฎร ให้มีมติแต่งตั้งเขาเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ " แต่เพียงผู้เดียว" และแต่งตั้งให้เป็นต่อไปอีกเรื่อยๆ แบบไร้เวลาสิ้นสุด อ้างว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 8 ยังทรงศึกษาอยู่ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ไม่สามารถเสด็จนิวัติประเทศไทยได้

ปรีดี จึงใช้อำนาจ ซื้อทองคำแท่งหนัก 1 ล้านออนซ์ ( ราว 31,104 กิโลกรัม) และโอนเงินปอนด์เพื่อแลกซื้อเงินดอลลาร์ และทองคำแท่งดังกล่าว ไปเก็บไว้ที่สหรัฐ และไม่ได้คืนมาจนถึงทุกวันนี้ เพราะอเมริกาบ่ายเบี่ยงไม่ยอมคืน..ฝีมือคนนี้แหละ

ช่วงขณะนั้น ปรีดี และคณะราษฎร จึงกลายเป็นผู้มากบารมีเบ็ดเสร็จในประเทศไทย คุมอำนาจบริหาร นิติบัญญัติทุกส่วน (เหมือนรัฐบาลเผาไทยที่ผ่านมา) สภาออกกฎหมายอะไรก็ได้ เพราะปรีดี ก็เป็นผู้สำเร็จราชการลงนามประกาศใช้ได้ทันที เรียกว่าชงเอง กินเอง เบ็ดเสร็จ ประเทศไทยขณะนั้น คือ ระบอบเผด็จการดีๆ นี่เอง เพราะไม่มีการถ่วงดุลอำนาจใดๆ เลย

มีการนำทรัพยสินของวัง เช่น รถยนต์ประจำตำแหน่งเบื้องสูง ฯลฯ มาใช้นั่งชูคอดั่งของส่วนตัวปรีดี และพวก แต่เหตุที่ปรีดี ยังไม่กล้าออกกฎหมายยกเลิกการปกครองระอบสมบูรณาญาสิทธิราช เสียเลยทันที ก็เพราะเกรงตัวอย่างปฎิวัติรัสเซีย ที่เกิดความวุ่นวาย สงครามกลางเมือง 2 ฝ่ายยาวนานนับสิบปี เพราะประชาชนไม่ยอม สุดท้ายผู้ก่อปฏิวัติก็พ่ายแพ้ตายกันหมด

วันที่ 1 ธันวาคม 2485 ผู้ที่เลื่อมใสลัทธิคอมมิวนิสต์ในไทย ได้ประกาศจัดตั้ง พรรคคอมมิวนิสต์ไทย มีสมาชิกร่วมก่อตั้ง 57 คน มีการประชุมสมัชชาพรรค ครั้งที่ 1 ที่จังหวัดนครสวรรค์ เป็นจุดเริ่มของกองกำลังก่อการร้ายของปรีดี ในหลายปีต่อมา (รออ่านความเชื่อมโยงในตอนต่อๆ ไปเรื่อยๆ)

วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487 จอมพล ป. ลาออก เนื่องจาก ส.ส.ไม่อนุมัติร่างกฎหมาย ย้ายเมืองหลวงจากกรุงเทพฯ ไปอยู่เพชรบูรณ์ (เขาย้ายพระแก้วมรกตไปไว้ในถ้ำ อ.หล่มสัก) และ ร่างกฎหมายจัดสร้างพุทธบุรีมณฑล แต่เพื่อรักษาอำนาจไว้ต่อ ปรีดี และ จอมพล ป. จึงให้นายควง (หลวงโกวิท) เป็นนายกรัฐมนตรี รักษาอำนาจต่อ

เพราะนายควง เป็นร่วมรุ่นปรีดี และจอมพล ป. ตอนเรียนเมืองนอก และเคยมีบทบาทร่วมเป็นคณะราษฏรปฏิวัติปี 2475 คือการตัดสายโทรศัพท์และโทรเลข และปรีดี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ลงนามแต่งตั้งเขาทันที ต่อมานายควง นำไทยเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 อีกราว 1 ปี

วันที่ 31 สิงหาคม 2488 นายควงลาออก เพราะท่าทางฝ่ายอังกฤษจะชนะสงครามโลก สภาผู้แทนราษฎร มติเลือกนายทวี เป็นนายกฯ เฉพาะกาล เพื่อรอเวลา ม.ร.ว.เสนีย์ เดินทางกลับมาจากต่างประเทศ และปรีดี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ลงนามแต่งตั้งเขาทันที

วันที่ 2 กันยายน 2488 สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ฝ่ายสัมพันธมิตร คือ สหราชอาณาจักร, ฝรั่งเศส, สหรัฐอเมริกา, สหภาพโซเวียต และจีน มีชัยชนะเหนือฝ่ายอักษะ เยอรมัน, อิตาลี และญี่ปุ่น

วันที่ 17 กันยายน 2488 นายทวี เป็นนายกฯ ประมาณ 17 วัน ลาออก เปิดทางให้ ม.ร.ว.เสนีย์ อัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน เป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อมาแก้ไขข้อขัดแย้งช่วงสงครามโลก กับ อังกฤษ และปรีดี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ลงนามแต่งตั้งเขาทันที

ช่วงเวลา 10 ปีที่ ปรีดี และคณะราษฎร ครองอำนาจแบบเผด็จการตามเป้าหมายหลัก ที่แฝงลึกไว้ช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยที่ประชาชนไม่รู้ความจริง...ทำให้เขามัวเมาในอำนาจมากได้ทุกสิ่งที่ต้องการ เป็นแรงจูงใจสำคัญ และไขปริศนาดำมืด คดีรัชกาลที่ 8 มาถึง 68 ปี ดังจะเล่าต่อไป

** ปรีดี ยังมีแรงจูงใจโค่นล้มสถาบันกษัตริย์ ต่อเนื่องมาตั้งแต่ จักรวรรดิอังกฤษ โค่นล้ม พระเจ้าสีป่อ กษัตริย์พม่าองค์สุดท้าย เพราะช่วงเวลาไม่ห่างกันนัก คลิ๊กไปดูที่ https://www.facebook.com/topsecretthai/posts/280703798786321

วันที่ 15 ตุลาคม 2488 ม.ร.ว.เสนีย์ นายกรัฐมนตรี ยุบสภาเพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ และยังรักษาการนายกฯ เดือนนี้ ปรีดี วางแผนจัดให้หนอนร้าย คือ นายเฉลียว คนสนิทชิดชอบของนายปรีดี เป็นคณะราษฎรคนหนึ่ง “ ในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ” ให้ไปดำรงตำแหน่งราชเลขานุการในพระองค์ เพื่อเข้าไปสอดแนม และครอบงำราชการในวัง และนี่คือลางร้ายในเวลาต่อมา

ร.อ.วัชรชัย ซึ่งออกจากราชการไปแล้ว ปรีดี ให้เข้ามารับราชการเป็นราชองครักษ์ , ทั้งสองนี้เป็นผู้ที่ฝักใฝ่ใกล้ชิดสนิทสนมกับนายปรีดีเป็นอย่างมาก นายเฉลียว จึงจัดให้ นายชิต และ นายบุศย์ เป็นมหาดเล็กรับใช้ “ประจำห้องพระบรรทม” ทั้งหมดอยู่ภายใต้อำนาจของนายเฉลียว

วันที่ 5 ธันวาคม 2488 เป็นเวลานานถึง 10 ปีหลังการรัชกาลที่ 7 เสด็จออกจากประเทศไทย วันนั้นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชชนนี พระเชษฐภคินี และพระราชอนุชา เสด็จนิวัติพระนครเป็นครั้งที่ 2 มีพระองค์ทรงบรรลุนิติภาวะแล้ว ทำให้พระองค์สามารถเป็นพระประมุขแผ่นดิน โดยไม่ต้องมีผู้สำเร็จราชการอีกต่อไป

รัชกาลที่ 8 แม้พระชนม์มายุเพียง 20 พรรษา แต่กลับทรงเฉลียวฉลาดมาก พระองค์ทรงสนพระราชหฤทัย ที่จะทรงทราบ และศึกษา โปรดเกล้าฯ ให้เชิญนายทหารชั้นผู้ใหญ่ ปลัดกระทรวง และอธิบดีผลัดเปลี่ยนกันเข้าเฝ้า เพื่อเป็นโอกาสที่จะทรงซักถามกิจการในหน้าที่และแลกเปลี่ยนความรู้ สร้างความหวาดระแวงให้กับปรีดี และพรรคพวกอย่างมาก

ปรีดี สิ้นสุดจากการเป็นผู้สำเร็จราชการ เขาอิจฉาและไม่พอใจมาก และอยากจะยกตนให้มีสถานะเทียบเท่าเบื้องสูง (หลักการคล้ายๆ ฮุนเซนทำในปัจจุบัน คือ ยกตนเป็นสมเด็จฮุนเซน เอกอัครมหาเสนาบดี) ประจวบกับขณะนั้นมีสงครามโลกครั้งที่ 2 ใกล้สิ้นสุด รัฐบาลคณะราษฎร สมัยนั้น จึงเหลิง เพราะคุ้นชินแต่การฆ่าฟันคนโดยใช้อำนาจ

ปรีดี จึงได้ชิงจังหวะชุลมุนเพิ่งเลิกสงครามโลก บีบบังคับกราบบังคมทูล สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 8 ให้ยกย่องเขาไว้ในฐานะ "รัฐบุรุษอาวุโส" จุดนี้ คือ จุดเริ่มต้นของการคิดการใหญ่ เพราะนั่นหมายถึงปรีดี จะสามารถก้าวยกระดับต่อไปเป็น " ประธานาธิบดี" ของประเทศไทย ในอีกขั้นระยะถัดไป ถ้าประเทศไทยไม่มีสถาบันเบื้องสูง

วันที่ 23 ธันวาคม 2488 รัชกาลที่ 8 เสด็จประพาสจังหวัดชลบุรี พร้อมด้วยนายปรีดี , พลโท พระศรา สมุหราชองค์รักษ์ “ นายเฉลียว นายชิต” ทอดพระเนตรการแสดงอาวุธ ของคณะพลพรรคเสรีไทย ทรงโปรดการหัดยิงปืนชนิดใหม่ ๆ ที่มีผู้น้อมเกล้าถวาย

จากนั้นทรงเริ่มเสด็จพระราชดำเนินไปต่างจังหวัด เพื่อให้เห็นสภาพความเป็นอยู่จริงของราษฎรของพระองค์ตามจังหวัดต่าง ๆ หลายแห่ง ทรงพระราชปฏิสันถารแก่ราษฎรที่มาเฝ้า ราษฎรถวายสิ่งของแม้เล็กน้อยก็ทรงยินดีรับ และโปรดเกล้าฯ พระราชทานเงินก้นถุงให้เป็นสิริมงคล ผู้ใดทุกข์ร้อนก็ทรงรับสั่งให้เจ้าหน้าที่ช่วยเหลือ

รัชกาลที่ 8 ทรงปลูกมะม่วงวางรากฐานด้านศาสนา พระราชทานพระราชทรัพย์บำรุงวัดวาอาราม และตั้งพระราชหฤทัยจะทรงผนวช แม้ทางศาสนาอื่น ก็อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ ยิ่งนานวัน พระองค์ก็ยิ่งทรงได้รับความนิยม เป็นมิ่งขวัญที่เคารพสักการะอย่างประทับใจ ด้วยความชื่นชมโสมนัส ของบรรดาข้าทูลละอองธุลีพระบาทและพสกนิกร (ช่วงนั้นประเทศไทยมีประชากรราว 17 ล้านคน)

ทางราชการรัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ นายกฯ ได้จัดรถเชฟโรเลต และรถแนซ ถวายเป็นรถพระที่นั่งส่วนพระองค์ ถ้าจะเสด็จเป็นพระราชพิธี หรือรัฐพิธีแล้วก็ใช้รถโรลส์-รอยซ์และรถเดมเลอร์ ที่ก่อนหน้านี้ ปรีดีนำไปใช้เป็นรถส่วนตัว นั่งชูคอในฐานะผู้สำเร็จราชการ

ปรีดี อิจฉามากเพราะตนเองเคยใหญ่และใช้มาก่อน จึงวางแผนขอให้รัชกาลที่ 8 ทรงเลื่อนกำหนดเสด็จฯ กลับไปทรงศึกษาต่อที่สวิตเซอร์แลนด์ออกไปก่อน เพื่อพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แก่ปวงชนชาวไทยก่อน พระองค์ทรงพระเมตตา มิรู้เท่าทันเล่ห์เหลี่ยมปรีดี จึงทรงเลื่อนกำหนดวันเสด็จกลับตามคำแนะนำของโหรหลวง เป็นวันที่ 13 มิถุนายน 2489

วันหนึ่งหลังจาก รัชกาลที่ 8 เสด็จกลับจากหัวหิน สมเด็จพระราชชนนี จะเสด็จไปทรงซื้อของ นายฉันท์ ข้าราชบริพารผู้จงรักภักดี จึงสั่งให้นายระวิ หัวหน้าแผนกพระราชพาหนะ จัดรถยนต์ถวาย นายระวิบอกว่ารถไม่มี เพราะรถเชฟโรเลตนั้น นายเฉลียว ราชเลขานุการในพระองค์ จัดส่งไปให้ ปรีดี ใช้

ส่วนรถแนซ สำนักพระราชวัง ส่งไปกรมพาหนะทหารบก เพื่อซ่อมไว้ให้แขกเมืองใช้ ทำให้รถพระที่นั่งสำหรับทรงใช้ส่วนพระองค์ไม่มี นายระวิ จึ่งติดต่อไปทางกรมพาหนะทหารบก ปรากฎว่า ยังไม่ได้รื้อเครื่อง และนำไปจอดถวายที่มุขหน้าพระที่นั่งบรมพิมาน พอสมเด็จพระราชชนนีเสด็จลง รัชกาลที่ 8 ก็เสด็จตามมาส่ง

พระองค์ ทรงรับสั่งว่า "รถที่ไหน ๆ ไม่มีแล้วหรือ จึ่งมาเอารถของฉันไปเสียหมด" นายระวิกราบบังคมทูลว่า ทางราชการสั่งให้เอาไปก็ขัดไม่ได้ วันนั้นเองพระองค์ ได้มีพระราชกระแสรับสั่งกับพระยาชาติว่า นายเฉลียว จัดเอาไปให้นายปรีดีใช้ เพราะรถของนายปรีดีเสีย ทรงรับสั่งว่า

"ทำไมของอื่นจึ่งขาดไม่ได้ แต่ของฉันขาดได้ ถ้าเช่นนั้น ไฟไหม้ทำเนียบท่าช้าง ฉันมิต้องเอาวังให้อยู่หรือ เรื่องผู้คนก็เหมือนกัน เอาไปจากราชเลขาก็มี สำนักพระราชวังก็มี เมื่อต้องการจะมีทำไมไม่ตั้งขึ้นเอง"

มกราคม 2489 ปรีดี บงการให้ขโมยรถแนซ พระที่นั่ง ไปจากโรงเก็บรถ ในพระบรมมหาราชวังในเวลากลางคืน ทั้งๆ มีเวรยามเฝ้ารักษา เพื่อแสดงอำนาจเหยียดหยามพระองค์ที่ทรงสนพระทัยในรถคันนี้ พระองค์ข้องพระราชหฤทัยมาก ทรงพระราชอุตสาหะไปทรงตรวจสถานที่ในคืนวันหนึ่งว่า เก็บอย่างไร และยามอยู่ตรงไหน

ทรงมีพระราชประสงค์จะพบนายปรีดี แต่พระยาชาติ กราบบังคมทูลบ่ายเบี่ยงว่า ได้ให้พระรามอินทรา อธิบดีกรมตำรวจ จัดการสืบหาคนร้ายอยู่แล้ว พระองค์ทรงเตือนถามเรื่องราว พระยาชาติฯ อีก 2-3 ครั้ง และได้เคยทรงถามพระรามอินทรา ในที่สุดก็หาได้ตัวผู้ร้ายไม่ได้

ในบันทึกส่วนพระองค์ รัชกาลที่ 8 พบว่าพระองค์ทนไม่ได้ที่ถูก นายปรีดี ในฐานะนายกรัฐมนตรี และผู้สำเร็จราชการ ริดรอนพระราชอำนาจ กดขี่ ข่มเหง กอบโกย ทุจริต และเอาเปรียบประชาชน ถ้าปล่อยให้ ผู้ปกครองที่ไม่ธรรม ทำการดูแลบ้านเมืองต่อไป จะนำพาประเทศไปสู่ความเสียหาย

" แม้แต่รถก็ไม่มีให้ใช้ หากแม่เราป่วยจะไปโรงพยาบาลจะไปอย่างไร " พระองค์ จึงตั้งใจจะทรงสละราชสมบัติ มาลงเลือกตั้งแข่งขันเลือกตั้ง เป็นนายกรัฐมนตรี และจะให้พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช ครองราชย์เป็นในหลวง สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 แทน

หนอนร้าย นำความนี้ไปบอกปรีดี ล่วงรู้ ความหวาดระแวง ความริษยา และกลัวเสียอำนาจ จึงทำให้พวกเขาจึงรวมหัวกับพวก วางแผนปลงพระชนม์รัชกาลที่ 8 โดยเดือนมกราคม 2489 นั้น ปรีดี , ร.อ.วัชรชัย (ตุ๊) , เฉลียว และ นายชิต ประชุมครั้งแรก ที่บ้าน พล.ร.ต.กระแส (รับสารภาพเอง) ที่ถนนจักรพงษ์ จังหวัดพระนคร หารือกันในห้องรับแขก

วันที่ 31 มกราคม 2489 ม.ร.ว.เสนีย์ ยุบสภาผู้แทน มติสภาผู้แทนราษฎร เลือกนายควง (หลวงโกวิท) เป็นหนึ่งในสมาชิกคณะราษฎรสายพลเรือน ที่ทำการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดินในปี พ.ศ. 2475 เป็นนายกรัฐมนตรี คนถัดไป

วันที่ 18 มีนาคม 2489 นายทองอินทร์ ส.ส.อุบล (ผู้ใกล้ชิด ปรีดี ) กับพวกเสนอ พ.ร.บ.ปักป้ายข้าวเหนียว แต่เกิดขัดแย้งกับ นายควง เกรงจะเป็นการเดือดร้อน แก่ประชาชนทั่วไป ไม่มีมาตรการ ในการควบคุมราคา นายควง จึง ลาออกจากนายกฯ

วันที่ 24 มีนาคม 2489 สภาผู้แทนนอมินี เลือกปรีดี เป็นนายกรัฐมนตรีสมัยแรก สวมต่อทันที พร้อมควบตำแหน่ง รมต.คลัง เขากระหยิ่มในใจ เพราะแผนการร้ายของเขา สำเร็จขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมแน่นอนแล้ว ทั้งอำนาจ เงินตรา กำลังคน

มีนาคม - เมษายน 2489 รัชกาลที่ 8 เริ่มวางรากฐานต้นมะม่วงการศึกษา โดยเสด็จฯ หอสมุดแห่งชาติ , สถานศึกษาหลายแห่ง เช่น โรงเรียนเทพศิรินทร์ , พระราชดำเนินพระราชทานปริญญาบัตร ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , ราชแพทยวิทยาลัย ศิริราชพยาบาล , ทรงมีพระราชปรารภให้มีการผลิตแพทย์เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เพียงพอที่จะช่วยเหลือประชาชน

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ (ปัจจุบัน คือ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ฯ) จึงได้ถือกำเนิดโรงเรียนแพทย์แห่งที่ 2 ขึ้นในประเทศ นับแต่บัดนั้นมา พระองค์ทรงได้เจริญรอยตาม กรมหลวงสงขลานครินทร์ พระราชโอรสในรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นพระราชบิดาของพระองค์ อย่างแน่วแน่

วันที่ 1 พฤษภาคม 2489 ช่วงพลบค่ำ ปรีดี , ร.อ.วัชรชัย, เฉลียว และ นายชิต ประชุมครั้งที่ 2 ที่ห้องรับแขกบ้าน พล.ร.ต.กระแส ที่ถนนจักรพงษ์ จังหวัดพระนคร ปรีดี ถาม พล.ร.ต.กระแส ว่านายตี๋ (พยานในคดี) ซึ่งปรากฏตัวอยู่ในบ้านเป็นใคร พล.ร.ต.กระแส ตอบว่า เป็นพ่อค้าไม้ มาจากนครสวรรค์ เป็นคนดี ไว้ใจได้

แล้ว พล.ร.ต.กระแส ก็ให้นายตี๋ ไปหานายหงวน ที่บางลำพู เรื่องไม้หมอน นายตี๋ กลับมาเวลา 21.20 น. ปรีดี กับพวก กลับไปหมดแล้ว เมื่อแผนการร้ายสมบูรณ์ นายเฉลียว ไม่มีความเคารพยำเกรงต่อรัชกาลที่ 8 หลงเหลือ

เช่น ไขว่ห้างล่วงล้ำเข้าไปถึงหน้าพระที่นั่ง ถวายหนังสือราชการด้วยอาการขาดคารวะ จูบหญิงพนักงานในที่ทำการ ที่อยู่ตรงหน้าพระที่นั่งพระบรมพิมาน เป็นการเหยียดหยามพระราชประเพณี

วันที่ 9 พฤษภาคม 2489 รัชกาลที่ 8 แต่งพระองค์ด้วยสายสะพายนพรัตน์ นายชิต มือสังหารทีมนายเฉลียว แกล้งติดเหรียญเหรียญของรัชกาลที่ 6 ประมาณสิบกว่าเหรียญ สอดสายสะพายนพรัตน์ไม่มีดวงตราและดวงห้อย นายชิต แกล้งไม่เอา ดวงดาราติดอ้างว่า ยังให้คนไปเอาอยู่พอดี เพื่อจะได้ไม่ทันฤกษ์ตามหมายกำหนดการเวลา 10.00 น.

พอดีสมเด็จพระราชชนนีเสด็จมา รับสั่งถามว่า อย่างไรกัน พระพิจิตรฯ ดูนาฬิกาเห็นจวนเวลาเต็มที จึ่งสั่งให้นายชิต เปลี่ยนเครื่องฉลองพระองค์ใช้สะพายจักรีแทน ไม่ตรงตามหมายกำหนดการ ระหว่างเปลี่ยนสายสะพายอยู่นั้น นายชิตทำไปพูดไป

รัชกาลที่ 8 รับสั่งว่า ทำไปไม่ต้องพูด การกระทำของนายชิต มีเจตนาให้พระองค์ได้รับความอัปยศในงานพระราชพิธีท่ามกลางรัฐสภา ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม เพื่อเป็นเหตุให้คนทั้งหลายเข้าใจผิดในพระราชจริยาวัตร

วันที่ 10 พฤษภาคม 2489 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ 3 ของไทย จัดร่างโดยสภาผู้แทนราษฎรนอมินี ปรีดี และประกาศและบังคับใช้ แล้วให้มีการเลือกตั้งใหม่ พอเป็นพิธีการ หลอกต้มประชาชนคนไทย ว่าได้ประชาธิปไตยจากการเลือกตั้งแล้ว

ในวันนั้น ช่วงเย็น ปรีดี , ร.อ.วัชรชัย, เฉลียว และ นายชิต และพวกอีก 2 คน ประชุมครั้งที่ 3 ที่ห้องรับแขกบ้าน พล.ร.ต.กระแส ที่เดิม นายตี๋ (พยานในคดี) พ่อค้าไม้นครสวรรค์ ที่ยังพักที่บ้าน พล.ร.ต.กระแส ผู้มีบุญคุณ แอบได้ยินการสนทนาทั้งหมดคุยกันว่า “ ใกล้จะไปอยู่แล้ว จะทำอย่างไรก็ทำกันเสีย “ จากนั้นนายตี๋ ก็ลุกไปกินกาแฟนอกบ้าน ชั่วโมงเศษจึงกลับ ไม่พบคนเหล่านั้นแล้ว

วันที่ 17 พฤษภาคม 2489 ปรีดี , ร.อ.วัชรชัย, เฉลียว และ นายชิต และพวกอีก 2 คน ประชุมครั้งที่ 4 ที่ห้องรับแขกพร้อมดื่มสุรา แต่ พล.ร.ต.กระแส เดินออกมาด้านนอก นายตี๋ พ่อค้าไม้นครสวรรค์ ที่ยังพักที่บ้าน นั่งอยู่ที่ม้านั่งข้างขวา ห้องรับแขกด้านนอก ได้ยินเสียงพูดกันในห้องรับแขกว่า

ปรีดี บอกว่า "ผมไม่นึกเลย เด็กตัวนิดเดียว ปัญญาจะเฉียบแหลมถึงเพียงนี้" เฉลียวบอกว่า "ผมก็ได้ยิน ผมอยู่ใกล้พี่ชายว่าจะสละราชสมบัติให้น้อง คิดจะสมัครเป็นผู้แทนเป็นนายกฯ" ร.อ.วัชรชัย บอกขึ้นว่า "นั่นซีพวกเรา เขาคิดเรื่องนี้สำเร็จออกไปได้ พวกเราจะเดือดร้อน ไม่ได้ อย่าให้พ้นไปได้ รีบกำจัดเสีย"

นายเฉลียว บอกทันทีว่า "นั่นตกเป็นพนักงานพวกผมเอง" นายชิตบอกว่า "พวกผมทำสำเร็จแล้ว ขอให้เลี้ยงดูให้ถึงขนาดก็แล้วกัน" ปรีดี ตอบว่า "กันพูดไม่จริง ก็ให้เอาปืนมายิงกันเสีย" ปรีดี บอกว่า "ให้สำเร็จแล้ว กันจะมีรางวัลให้อย่างสมใจ"

รัชกาลที่ 8 ไม่เป็นที่ต้องพระราชอัธยาศัยนายเฉลียว ทรงรับสั่งแก่ ปรีดี ขอเปลี่ยนราชเลขานุการ นายเฉลียว จึงจำต้องออกจากตำแหน่งในราชสำนักไป ต่อมาปรีดี ผู้ยิ่งใหญ่ จึงได้แต่งตั้งนายเฉลียว ให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา..โห้ !!

ร.อ.วัชรชัย ราชองครักษ์ ฝักใฝ่อยู่ทางปรีดี ก็บกพร่องในการปฏิบัติงานในหน้าที่ราชองค์รักษ์ ขาดราชการบ่อย ๆ ทำให้รัชกาลที่ 8 ไม่ต้องพระราชหฤทัย ทรงขอให้รัฐบาลโยกย้ายจากตำแหน่งราชองครักษ์ ต่อมาปรีดี ผู้ยิ่งใหญ่ จึงได้แต่งตั้ง ร.อ.วัชรชัย เป็นเลขานุการนายกรัฐมนตรี..โห้ !!

ราวสัปดาห์สุดท้าย พฤษภาคม ปีนั้น เวลาเย็น นางสาวจรูญ ข้าราชบริพาร กระตือรือร้นเตรียมการตามเสด็จกลับไปต่างประเทศ ตามกำหนด 13 มิ.ย.2489 เพื่อตามสมเด็จพระราชชนนีได้ไป ได้เดินหยิบสิ่งของในห้องพระภูษา พบนายชิต อยู่ในห้องนั้น นายชิตพูดขึ้นว่า "นี่จะบอกให้ ท่านไม่ได้เสด็จดอก วันที่ 13 นั่น"

นางสาวจรูญถามว่า "เพราะอะไร" นางสาวจรูญจึงว่า “ไม่เชื่อหรอก” นายชิตก็หัวเราะแล้วพูดว่า "ไม่เชื่อก็แล้วไป คอยดูไปก็แล้วกัน" นางสาวจรูญเข้าใจว่า นายชิตล้อเล่น ต่อมา นายมี ยืนยันว่า นายชิต ก็ได้พูดแก่ตนเองทำนองเดียวกัน ในเช้าก่อนเสด็จสวรรคต

นายมี ไปบอก นายฉันท์ ผู้มีความจงรักภักดี ทำให้เขามีความหวั่นหวาดวิตกกังวลมาก และปรารภกับบุคคลหลายคนว่า เกรงจะมีภยันตรายแด่รัชกาลที่ 8 เขาได้พกปืน และคอยระแวดระวังเฝ้าพระองค์อย่างเต็มที่ แต่ไม่นานนัก นายฉันท์ ก็ถูกวางยาพิษในอาหารฆ่าตายปริศนา ศพเขียวไปทั้งตัว

ต้นเดือน มิถุนายน 2489 มีประชุมกันครั้งที่ 5 บ้าน พล.ร.ต.กระแส ประกอบด้วย ปรีดี ร.อ.วัชรชัย นายเฉลียว นายชิต นายชาติ คนสนิทปรีดีอีกคน และคราวนี้มีมือปืนรับจ้างมาด้วย คือ นายสี่ หรือ ชูรัตน์ มีการดื่มสุรากัน ทำให้นางสาวทองไป (พยานในคดี) ลูกจ้างอยู่ในบ้าน พล.ร.ต.กระแส จำใบหน้าทุกคนได้

วันนี้นายชาติ ได้ว่าจ้างนายสี่ ให้ยิงคนสำคัญ แต่ยังไม่บอกว่าใคร โดยสัญญาให้ค่าจ่าง 4 แสนบาท เมื่อทุกคนกลับไปแล้ว นายตี๋ พ่อค้าไม้ ที่ขึ้นๆ ลงๆ นครสวรรค์ กับกรุงเทพ พูดกับ พล.ร.ต.กระแส ว่า "เจ้าคุณ ในเรื่องนี้ เอากับเขาด้วยหรือ" พล.ร.ต.กระแส ตอบว่า

"เราไม่เอากับเขาหรอก เราเออ ๆ คะ ๆ ไปกับเขา (ปรีดี) เช่นนั้น เขามีวาสนา เขามีบุญคุณกับเรา" นายตี๋จึงว่า "ไม่เอากับเขาก็เป็นการดี"

--------------------------->
ประวัติศาสตร์เดิมนี้ไม่ต้องชำระใดๆ เพราะคำให้การพยาน หลักฐานต่อหน้าศาล ได้ถูกบันทึกไว้ทุกประโยค สิ่งนี้คือ “ประวัติศาสตร์ของจริง” แต่หากใครไปให้การ "นอกศาล" และใคร “ไม่ใช่พยานในคดี “ เป็นได้แค่ความเชื่อบอกต่อๆ กันมา อย่างนั้น "ไม่ถือเป็นประวัติศาสตร์" จึงไม่มีความน่าเชื่อถือใดๆ

ประวัติศาสตร์ความจริงจะมี “เพียงชุดเดียว” จะนานเท่าไรก็เหมือนกันทุกครั้ง เพราะคือคำพิพากษาหลักฐานราชการอ้างอิงได้ เพียงแต่ประวัติศาสตร์ความจริงคำพิพากษาศาลฎีกานี้ ในอดีตที่ผ่านมา ไม่มีโอกาสเผยแพร่สู่สาธารณะชน เพราะพาดพิง เกี่ยวโยงถึงนักการเมืองที่มีอำนาจในประเทศจำนวนมาก

** ตอนแรกนี่แค่อุ่นเครื่องก่อน คอยๆ อ่านตอนต่อไปเรื่อยๆ แล้วจะต่อจิ๊กซอ ทุกตอนเข้าด้วยกันเห็นภาพใหญ่ได้ ใครที่อยากหาหลักฐานไม่ยากเลย ราชการ ได้เตรียมไว้ให้ท่านเรียบร้อยแล้ว มีครบ พยาน หลักฐาน ใครชื่ออะไร นามสกุลอะไร พูดอะไร ไปค้นกูเกิ้ลคำว่า "คำพิพากษาของศาลฎีกาที่ 1544/2497 "

ถ้าจะโต้แย้ง ขอให้ไปอ่านให้ละเอียดก่อนแต่ต้นจนจบ คนไทยต้องคำเคารพคำพิพากษาไทยที่ถึงที่สุดแล้ว ไม่ใช่เคารพ Youtube เหมือนเดวิด จิตสับสน แห่งแก็งค์มโนโซเชียล ในคดีเกาะเต่า ที่อ้างภาพกล้องวงจรปิด และการทุบหัวหมู ทุบไก่ มากกว่าผล DNA ของ 4 สถาบัน

เหตุการณ์ระทึกใจจะเป็นเช่นไร มือปืนรับจ้าง นายสี่ หรือ ชูรัตน์ จะทำสำเร็จหรือไม่ ถ้าเขาไม่ทำ ใครจะทำ และมีขั้นตอนรายละเอียดอย่างไร ติดตามตอนต่อไปคลิ๊กที่ https://www.facebook.com/topsecretthai/posts/301147170075317

คัดลอกจาก facebook@topsecrethai

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 25 ตุลาคม 2016 เวลา 12:44 น.
 

ไขปริศนา..ลับที่สุด ปรีดี กำกับเข้มปลงพระชนม์ รัชกาลที่ 8 สวรรคต (ตอน 2

พิมพ์ PDF

วันที่ 16 ธ.ค.57 ไขปริศนา..ลับที่สุด ปรีดี กำกับเข้มปลงพระชนม์ รัชกาลที่ 8 สวรรคต (ตอน 2

ตอนที่แล้วเล่าถึงแผนการของปรีดี ที่มักใหญ่ไฝ่สูง สั่งให้นายเฉลียว คนสนิท นำรถพระที่นั่งของรัชกาลที่ 8 ไปใช้ส่วนตัว ต่อมา ปรีดี ร.อ.วัชรชัย นายเฉลียว นายชิต ประชุมเตรียมการกันถึง 5 ครั้งที่บ้าน พล.ร.ต.กระแส ครั้งสุดท้ายมี นายชาติ และมือปืนรับจ้าง นายสี่ หรือ ชูรัตน์ ร่วมด้วย

ช่วงที่ นายเฉลียว เป็นราชเลขานุการในพระองค์ ได้จัดพรรคพวกของตนเข้ามารับราชการเพิ่มเติม เช่น นายนเรศร์ เป็นหัวหน้ากองมหาดเล็ก แทนเจ้าหมื่นสรรเพชญภักดี ต่อมารัชกาลที่ 8 มีพระราชประสงค์ให้เปลี่ยนตัวนายเฉลียวไป

นายนเรศร์ จึงทำหนังสือฟ้อง ปรีดี คัดค้านว่าไม่ควรปลดนายเฉลียว ต่อมา รัชกาลที่ 8 ทรงเห็นว่านายนเรศร์ เป็นผู้ไม่เหมาะสมทำราชการหัวหน้ากองมหาดเล็ก จึ่งให้ไปทำหน้าที่อื่น ปรีดี จึงจัดการให้นายนเรศร์ไปรับตำแหน่ง เลขานุการนายกรัฐมนตรี ไปอีกคน..โห้

วันที่ 3 มิถุนายน 2489 สืบเนื่องจากรัฐบาลคณะราษฎร์ เลือกข้างญี่ปุ่น สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ฆ่าคนจีนตายมากกว่า 3 แสนคน ข่มขืนหญิงจีนอีก 2 หมื่นคน ในไทยจึงเป็นช่วงที่เกิดความขัดแย้งกันระหว่างชาวไทย และชาวไทยเชื้อสายจีน จนเกือบเกิดสงครามกลางเมือง เมื่อรัชกาลที่ 8 ทรงทราบเรื่อง มีพระราชดำริว่า

หากปล่อยความขุ่นข้องบาดหมางไว้เช่นนี้ จะเป็นผลร้ายตลอดไป จึงทรงตัดสินพระทัยเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมชาวไทยเชื้อสายจีนเป็นครั้งแรก ณ สำเพ็ง พระนคร แต่รัฐบาลปรีดี ขัดขวางและทัดทานอ้างว่าจะไม่ปลอดภัย แต่ความจริงคือเกรงว่าพระองค์จะทำสำเร็จ และรัฐบาลจะเสียสถานะต่อสังคม

รัชกาลที่ 8 พร้อมด้วย สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลย จึงใช้ระยะเวลาประมาณ 4 ชั่วโมง เสด็จพระราชดำเนินสำเพ็งด้วยพระบาท เป็นระยะประมาณ 3 กิโลเมตร การเสด็จครั้งนี้ เป็นการประสานรอยร้าวที่เกิดขึ้นระหว่างคนไทย และคนจีน ให้หมดไปเป็นปลิดทิ้งมาจนถึงบัดนี้ ทำให้ปรีดี และคณะราษฎร นักการเมือง ถึงกับอึ้งมาก

วันที่ 5 มิถุนายน 2489 รัชกาลที่ 8 ทรงเริ่มวางรากฐานต้นมะม่วงทางการเกษตร โดยทรงพระราชกรณียกิจ หว่านข้าว ณ แปลงสาธิต ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

วันที่ 8 มิถุนายน 2489 หลังเลือกตั้งได้สภาผู้แทน ส.ส.ใหม่ ที่เป็นนอมินี ได้เลือกปรีดี เป็นนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2 อีกครั้ง..บัดนี้อำนาจพร้อม เขามีความมั่นใจแล้วที่จะคิดการร้ายแรงใหญ่ ในสิ่งที่คนไทยทุกคนไม่คาดคิดมาก่อน ว่าจะมีอสูรกายร้าย คิดทำเช่นนี้กับพระมหากษัตริย์ไทย

มีการถกเถียงระหว่างปรีดี และรัชกาลที่ 8 ในเรื่องคณะผู้สำเร็จราชการฯ ในการจะตั้งใครเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ กรณีพระองค์กลับไปศึกษาต่อต่างประเทศ ปรีดี ได้พูดกับนายวงศ์ เป็นภาษาไทย ปนอังกฤษความว่า “ต่อไปนี้จะไม่คุ้มครองราชย์บัลลังก์”

ก่อนวันสวรรคตรัชกาลที่ 8 วันนี้เอง นายสี่ หรือชูรัตน์ ได้บอกแก่ ร.ต.กรี ว่า นายชาติ พวกของปรีดี ได้ว่าจ้างเขาให้ยิงคนสำคัญ สัญญาให้ค่าจ่าง 4 แสนบาท และเขารับปากไว้แล้ว

รัชกาลที่ 8 ทรงพระประชวรเกี่ยวกับพระนาภี ทรงเสด็จไปเสวยพระกระยาหารเช้า และกลางวันตามปกติ ส่วนพระกระยาหารค่ำ สมเด็จพระราชชนนี รับสั่งให้จัดมาเสวยร่วมที่ห้องทรงพระสำราญ พร้อมถวายพระโอสถและอื่น ๆ ทรงงดเสด็จงานพระราชทานเพลิงพระศพ พระองค์เจ้าอาทิตย์ และงานที่กรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์

หลวงนิตย ถวายตรวจพระวรกาย ปรากฏมีพระอาการไข้เล็กน้อย ขอให้สมเด็จพระราชชนนี ถวายพระโอสถแก้ไข้ ตอนค่ำถวายสวนล้างพระนาภี และตอนเช้าถัดไปถวายน้ำมันละหุ่งอีกครั้งหนึ่ง จนเสด็จเข้าที่พระบรรทม เมื่อเวลา 21.00 น.

เวลา 20.00 น. พระอนุชา เสด็จแทนพระองค์ เพื่อพระราชทานเพลิงพระศพ พระองค์เจ้าอาทิตย์ นายเฉลียว เรียกเจ้าหมื่นสรรเพชญภักดี เข้าไปหา โดยมีพระพิจิตร นั่งด้านขวา เจ้าหมื่นสรรเพชญภักดีถามขึ้นว่า ทำไมรัชกาลที่ 8 จึงไม่เสด็จ พระพิจิตร ตอบว่า ประชวร เจ้าหมื่นสรรเพชญภักดีถามว่า ประชวรอะไร พระพิจิตร ตอบว่า เกี่ยวกับพระนาภี

นายเฉลียว พูดเอียงตัวยื่นปากมาใกล้ ๆ ทางเจ้าหมื่นสรรเพชญภักดีว่า "ไม่ได้กลับ" , พันเอกประพันธ์ มางานนั้น เขาถามนายเฉลียวว่า "ทำไมจึงไปกำหนดวันเสด็จวันที่ 13 มิถุนายน เพราะเขาสงสงสัยเป็นเลขที่ฝรั่งเขาถือ นายเฉลียวตอบว่า "ไม่ได้ไปหรอก" พันเอก ประพันธ์ถามว่า "เพราะเหตุอะไร" นายเฉลียวตอบว่า "คอยดูไปก็แล้วกัน"

หลังเวลา 21.00 น. เมื่อรัชกาลที่ 8 เสด็จเข้าที่บรรทมแล้ว นายบุศย์ เป็นผู้ลงกลอนที่ฉากด้านในพระที่นั่ง คืนนั้น ร.อ.วัชรชัย ได้พา นายสี่ หรือ ชูรัตน์ มือปืนที่รับงานให้ยิงคนสำคัญ แต่ไม่บอกว่าใคร เข้าไปในวังมีผู้ที่รอรับอยู่ คือ นายชิต นายบุศย์

แต่พอนายสี่ เห็นเป้าหมายงานรับจ้างของเขา เป็นรัชกาลที่ 8 เขาแทบเข่าอ่อน ไม่กล้ายิง จึงรีบหลบหนีออกมาจากวังทันที (คำบอกเล่าจาก นายสี กับ ร.ต.กรี) ทำให้แผนการแรกผิดพลาดในนาทีสุดท้าย สร้างความปวดหัวให้ ปรีดี ร.อ.วัชรชัย นายเฉลียว นายชิต นายบุศย์ นายชิตมาก จึงตัดสินใจให้ ร.อ.วัชรชัย ลงมือในเช้าวันถัดไปอีกครั้ง

วันที่ 9 มิถุนายน 2489 รัชกาลที่ 8 ประทับ ณ พระที่นั่งบรมพิมาน อยู่ทางริมด้านตะวันออก ส่วนพระชนนี และพระอนุชา ประทับคนละด้านกัน คือ ทางริมฝ่ายด้านตะวันตก (ห่างไปอีก 40 เมตร) เวลาราว 06.00 น. สมเด็จพระราชชนนี ได้เสด็จไปปลุกบรรทม รัชกาลที่ 8

รับสั่งถามว่า “หลับดีไหม” ทรงตอบว่า “หลับดี” สมเด็จพระราชชนนี ถวายน้ำมันละหุ่งผสมกับบรั่นดี แล้วรัชกาลที่ 8 ทรงรู้สึกว่ายังใคร่จะทรงบรรทมต่อ สมเด็จพระราชชนนีเสด็จกลับไป ขณะนั้น มหาดเล็กห้องพระบรรทมยังไม่มีใครมา

เวลาราว 06.15 น. ร.อ.วัชรชัย ก็ดำเนินการณ์ตามแผนสอง ให้ ส.ต.สวัสดิ์ (พยาน) คนขับรถเขาขับรถไปส่งเขา ที่หน้าสวนสราญรมย์

เวลาราว 07.15 น.นายบุศย์ มหาดเล็กประจำห้องพระบรรทม เวรประจำจึงมาถึง และนั่งเฝ้าอยู่ตามหน้าที่ตรงระเบียง หน้าพระทวารห้องแต่งพระองค์ ซึ่งเป็นทางเข้าสู่ห้องพระบรรทม ตามแผนการที่สอง ที่นัดแนะกันไว้แต่กับ ร.อ.วัชรชัย แต่เมื่อคืนก่อนหน้า

เวลาราว 08.00 น. ร.อ.วัชรชัย เข้าไปในพระบรมมหาราชวัง เขานั่งรถยนต์ ไปลงที่กระทรวงการต่างประเทศ เมื่อถึงเวลา 08.15 น. ช่วงจังหวะไล่เลี่ยกัน นายชิต ผู้มีหน้าที่อยู่เวรคอยเฝ้าอารักขา ได้เดินมารอ นั่งอยู่คู่อยู่ กับนายบุศย์ และซุบซิบกัน

เวลาราว 08.50 น. นายจรูญ (พยาน) ทำงานอยู่ที่กรมราชองครักษ์ เห็น ร.อ.วัชรชัย เดินมาอยู่หน้าโรงละคร หลังพระที่นั่งบรมพิมาน และนายประสิทธิ์ (พยาน) มหาดเล็ก ที่อยู่ชั้นล่างของพระที่นั่งบรมพิมาน ได้เห็น ร.อ.วัชรชัย ยืนอยู่ระหว่างโรงละคร กับ หอโหร

จากนั้น ร.อ.วัชรชัย เดินตรงไปยังพระที่นั่ง ขณะนั้นรัชกาลที่ 8 ยังไม่เสด็จจากพระแท่นบรรทม นายบุศย์ และนายชิต มีหน้าที่อยู่เวรคอยเฝ้าอารักขาพระองค์ แต่เขากลับเป็นผู้สมรู้ร่วมคิดในการลอบปลงพระชนม์ พวกเขาทำหน้าที่ “ดูต้นทาง” ให้ ร.อ.วัชรชัย ผ่านเข้ามาทางระเบียงหลังพระที่นั่ง และเข้าสู่ห้องพระบรรทม ขณะรัชกาลที่ 8 ทรงบรรทมอยู่ และแอบอยู่ภายในห้องหาจังหวะลงมือ

ราว 08.57 น. เวลาไล่เลี่ยกันนั้นเอง สมเด็จพระราชอนุชา เสด็จไปที่ระเบียงหน้าพระทวาร ห้องแต่งพระองค์ ทรงรับสั่งถามนายชิต และนายบุศย์ ว่า รัชกาลที่ 8 มีพระอาการเป็นอย่างไร ทั้ง 2 คนให้คำตอบว่า ทรงตื่นบรรทมแล้ว เข้าห้องสรงแล้วกลับเข้าพระที่อีก เอาน้ำส้มไปถวายก็โบกพระหัตถ์ไม่ต้องพระประสงค์

สมเด็จพระราชอนุชา ก็เสด็จกลับยังห้องพระบรรทมของพระองค์เอง ทางริมฝ่ายด้านตะวันตก (ห่างไปอีก 40 เมตร) ส่วนนายบุศย์ เข้าไปหยิบถ้วยน้ำส้มคั้น เพื่อนำไปถวาย แต่เมื่อรัชกาลที่ 8 เสด็จออกจากห้องสรงแล้ว ก็เสด็จกลับเข้าห้องบรรทม ประทับอยู่บนพระแท่นบรรทมในท่านั่ง หันพระพักตร์ไปทางปลายพระแท่น

ราว 09.10 น. ร.อ.วัชรชัย ที่ซ่อนตัวอยู่ แอบไปด้านหลัง แล้วจ่อลั่นไกอาวุธ “ปืนพาราเบลั่ม” หนึ่งนัดที่พระเศียร ภายในห้องพระบรรทม จากนั้นผู้สมรู้ร่วมคิดได้ช่วยกันจัดฉากท่าทางพระองค์อย่างเร่งรีบให้เสมือนปลงพระชนม์เอง เมื่อเรียบร้อยแล้ว ร.อ.วัชรชัย รีบเดินลงบันไดพระที่นั่งบรมพิมาน ด้านหลังไปอย่างรีบร้อน โดยมีหนอนบ่อนใส้ทั้ง 2 คน เป็นผู้ดูต้นทาง

ตอนนั้นเช้าแล้ว จึงมีนายช่วง (พยาน) กำลังถอนหญ้าข้างพระที่นั่งบรมพิมาน เมื่อเขาได้ยินเสียงปืน 1 นัด จึงเดินไปเพื่อจะเอากระป๋องบัวตักน้ำไปเก็บที่โรงละคร เขาเห็น ร.อ.วัชรชัย เดินแกมวิ่งผ่านโรงละครไปจนลับตา

สมเด็จพระราชชนนี ที่กำลังจะเสด็จออกจากห้องบรรทมของพระองค์ ไปเสวยพระกระยาหารเช้าได้ยินเสียงปืน ขณะนั้น นายชิต แสร้งวิ่งไปกราบทูลว่า " รัชกาลที่ 8 ทรงยิงพระองค์" สมเด็จพระราชชนนี ก็ทรงวิ่งไปที่ห้องบรรทมทันที

พระอนุชา ประทับอยู่ในห้องเครื่องเล่น ซึ่งอยู่ติดกับห้องบรรทมของรัชกาลที่ 8 ระยะทางห่างจากที่เกิดเหตุประมาณ 40 เมตร ทรงเห็นคนวิ่งผ่านไปทางระเบียงหน้า และได้ยินเสียงสมเด็จพระราชชนนี วิ่งไปพร้อมทรงกรรแสง จึงทรงเสด็จออกจากห้องตามไป แล้วได้พบกับ น.ส.จรูญฯ ที่หน้าห้อง

ได้ตรัสถามว่า “มีเหตุอะไรเกิดขึ้น” น.ส.จรูญ เพราะอารามตกใจ จึงจำคำกล่าวของนายชิต ที่กราบทูลต่อสมเด็จพระราชชนนีมาบอกพระอนุชา ตอบว่า “ทรงยิงพระองค์” จากนั้น สมเด็จพระราชอนุชา พร้อมทุกคน คือ นายชิต น.ส.เนื่อง และ น.ส.จรูญ ตามติด ๆ เข้าไปในห้องพระบรรทมของ รัชกาลที่ 8

ร่าง พระองค์ บรรทมหงายบนพระแท่น พระเศียรหนุนพระเขนย ดุจบรรทมหลับอย่างปกติ มีผ้าดอกคลุมพระองค์อยู่เรียบตั้งแต่เหนือพระอุระ ตลอดลงไปจนถึงข้อพระบาท กึ่งกลางของผ้าอยู่กึ่งกลางของพระองค์พอดี ชายผ้าทั้งสองข้างล้ำพระองค์ออกมาพอ ๆ กัน มีพระโลหิตไหลโทรมพระพักตร์ลงมาที่พระเขนย และผ้าลาดพระยี่ภู่

พระเศียรตะแคงไปทางด้านขวาเล็กน้อย เหนือพระโขนงซ้ายมีแผลกระสุนปืน หนังฉีกเป็นแฉกคล้ายเครื่องหมายคูณ กว้างยาวประมาณ 4 เซนติเมตร พระเนตรทั้งสองหลับสนิท ไม่ได้ทรงฉลองพระเนตร เพราะวางอยู่บนโต๊ะเล็กข้างประแท่น พระเกศาแสกเรียบอยู่ในรูปที่เคยทรง พระโอษฐ์ปิด

พระกรทั้งสองเหยียดทอดทับนอกผ้าคลุมพระองค์ แนบพระวรกายตามปกติ พระหัตถ์ทั้งสองแบอยู่ในท่าธรรมดา พระบาททั้งสองเหยียดทอดชิดกัน อยู่ห่างจากปลายพนักพระแท่นประมาณ 7 เซนติเมตร มีปืนขนาด “สิบเอ็ด ม.ม.” (คนละชนิดกับของ ร.อ.วัชรชัย) วางอยู่ข้างพระกรซ้าย ลำกล้องขนาน และห่างพระกร 1 นิ้ว ปากกระบอกหันไปทางพระบาท ศูนย์ท้ายของปืนอยู่ตรงระดับข้อพระกร (ข้อศอก)

ขณะที่ทุกคนกำลังตกตะลึง น.ส.เนื่อง จึงเข้าจับชีพจรที่ข้อพระหัตถ์ซ้าย ยังเต้นแรง และเร็วอยู่สักครึ่ง หรือหนึ่งนาทีก็หยุดเต้น น.ส.เนื่อง เกรงจะไม่ปลอดภัย แก่สมเด็จพระราชชนนี ซึ่งยังคงซบพระพักตร์อยู่ที่พระชงฆ์ ของรัชกาลที่ 8 จึงใช้สามนิ้ว จับกลางกระบอกปืนนั้นขึ้นหยิบย้ายปืนไป วางบนหลังตู้เล็กข้างพระแท่น แต่กระบอกปืนกลับไม่ร้อน และไม่มีอะไรเปื้อนเปรอะ

ต่อมาราว 20 นาที หลวงนิตย์ เร่งเดินทางมาถึง ตรวจพระอาการ แล้วทูลว่า “ไม่มีหวัง” สมเด็จพระราชชนนี ทรงกรรแสง และรับสั่งให้แต่งพระบรมศพ...สิริพระชนมายุ 20 พรรษา 8 เดือน 20 วัน โธ่..ทูนกระหม่อมของข้าพระบาทจากไปแล้ว นี่เป็นพระมหากษัตริย์ไทยองค์ที่สองแล้ว ( พระองค์แรก รัชกาลที่ 7 ) ที่ปรีดี รังแกและบงการจนสิ้นพระชนม์

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทร มหาอานันทมหิดล จึงเสด็จสู่สวรรคาลัย โดยกะทันหัน จากการลอบปลงพระชมน์ ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ภายในพระบรมมหาราชวัง ในตอนเช้าของวันนั้นเอง แต่เป็นเรื่องประหลาด เมื่อมีการสืบได้ในภายหลังว่า ปืนกระบอก ที่วางอยู่ใกล้พระหัตถ์ขณะเสด็จสวรรคต

กลับไม่ใช่กระบอกที่ใช้ลอบปลงพระชนม์รัชกาลที่ 8 เพราะจากการพิสูจน์ปรากฏว่าปืนกระบอกนี้ได้เคยใช้ยิงมาก่อนวันเกิดเหตุ “ไม่น้อยกว่า 8 วัน” เพราะ ลำกล้องสกปรกมาก และมีสนิมอ่อนๆ จับ ดังนั้นจึงไม่ใช่ปืนของกลางที่ใช้ในการลอบปลงพระชนม์ที่แท้จริง และหัวกระสุนที่เก็บได้ในพระยี่ภู่ ก็ไม่ใช่กระสุนที่ทะลุผ่านพระเศียร เพราะมีลักษณะเรียบร้อย ไม่มีรอยยับเยินใดๆ เลยแม้แต่น้อย

นายชิต ออกเพทุบายว่า พบกระสุนปืน และปลอกกระสุนปืน อ้างว่าเก็บได้ใกล้พระแท่นบรรทมแล้วนำมามอบให้ตำรวจ เพื่อจงใจสร้างหลักฐานเท็จ ให้เกิดความเข้าใจผิด หลงเชื่อในการสืบสวนว่าเป็นอุบัติเหตุ ด้วยอธิบดีกรมตำรวจ เป็นคนของปรีดี

ในวันนั้นตำรวจจึงไม่มีการตรวจสอบลายพิมพ์นิ้วมือ เขม่าดินปืน หลักฐานอาวุธปืน กระสุน และปลอกกระสุน ที่ชัดเจน (ไม่ตรวจใครเลยสักคน) เพราะต้องการเบี่ยงประเด็น ให้เป็นเรื่องของอุบัติเหตุตามแผนการณ์ที่วางไว้ มากกว่าการถูกลอบปลงพระชนม์ เพื่อรับใช้ทางการเมือง

เวลา 10.00 น. ม.ร.ว.เทวาธิราช ได้ไปพบนายปรีดี ที่กำลังรอฟังผลการลอบปลงพระชนม์อยู่กับ พ.อ.ช่วง รมต.มหาดไทย และ พล.ต.ท. พระรามอินทรา อธิบดีกรมตำรวจ ที่ศาลาท่าน้ำ ทำเนียบท่าช้าง บอกว่าสวรรคตแล้ว ปรีดี แสร้งร้องว่า "เอ๊ะอะไรกัน" ทำท่าทางสะดุ้งตัว

อีกราว 15 นาที ม.จ.นิกรเทวัญ ถูกเรียกก็มาถึงเข้าไปหา ปรีดี แล้วเงยหน้าเป็นเชิงถาม พอประชิดตัว ปรีดี พูดเป็นภาษาอังกฤษ แปลเป็นไทยว่า “ ปลงพระชนม์พระองค์เอง” ทั้งๆ ที่ปรีดี เอง ยังไม่ได้เดินทางไปถึงที่เกิดเหตุ และยังไม่เห็นด้วยซ้ำ แต่เขากลับเตี้ยมนัดพูดตรงกันกับนายชิต และนายบุศย์

เวลา 11.00 น. ปรีดี แสร้งเดินทางมาถึงที่เกิดเหตุพระที่นั่งบรมพิมาน และสั่งให้พระยาชาติ อัญเชิญพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ และเชิญคณะรัฐมนตรีทันที เพราะทุกอย่างวางแผนการณ์ไว้หมดแล้ว

ปรีดี ในฐานะนายกรัฐมนตรี และว่าการสำนักพระราชวัง ให้แสร้งทำทีเรียกตัว นายชิต นายบุศย์ น.ส.เนื่อง มาถามรายละเอียด นายชิต รีบบอกตามที่นัดแนะกันว่า “ทรงยิงพระองค์เอง” ปรีดี บอกให้นายชิตทำท่าให้ดู นายชิต จึงลงนอนหงายมือจับปืน ทำท่าส่องที่หน้าผากตนเอง

พ.อ.ประพันธ์ ราชองครักษ์ ถามถึงสาเหตุ นายชิต ตอบว่า ทรงมีเรื่องกับ สมเด็จพระราชชนนี ไม่ได้ร่วมโต๊ะเสวยกันมา 2-3 วันแล้ว แต่เมื่อตรวจสอบข้อเท็จจากพยานหลายคน ก็พบว่านายชิต โกหก เพราะรัชกาลที่ 8 ทรงเสวยพระกระยาหาร กับ ครอบครัวพระองค์ทุกวันตลอดทุกมื้อ

แต่ ม.จ.ศุภสวัสดิ์ รับสั่งว่า ท่าจับปืนแบบนี้ยิงเอง ที่พระนลาฏอย่างนั้นไม่ได้ ทั้งหมดจึงปรึกษากันว่า จะออกคำแถลงการณ์อย่างไรดีถึงจะเนียน ปรีดี ออกไอเดียว่า “ ออกแถลงการณ์ว่า สวรรคต เพราะพระนาภีเสียได้ไหม” หลวงนิตย์ ตอบว่า ออกเช่นนั้นผมไปเข้าปิ้งก่อนเพื่อนแน่ เพราะเมื่อวานนี้ยังดี ๆ อยู่ วันนี้สวรรคตไม่ได้

พ.อ.ช่วง แนะว่าถ้าอย่างนั้น “ เอาเป็นโรคหัวใจได้ไหม” หลวงนิตย์ ตอบว่า ไม่ได้เหมือนกัน เพราะประชาชนก็ต้องทราบความจริง พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาชัยนาท รับสั่งว่า เห็นจะต้องแถลงตามความจริง ปรีดี จึงฟันธงว่า ให้ออกแถลงการณ์ว่า “เป็นอุบัติเหตุ” จึงสั่งให้สำนักพระราชวัง ได้ออกคำแถลงการณ์มีข้อความสำคัญว่านี้

"....เวลาประมาณ 9.00 นาฬิกา มหาดเล็กห้องพระบรรทม ได้ยินเสียงปืนดังขึ้นในพระที่นั่ง จึ่งรีบวิ่งเข้าไปดู เห็นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล บรรทมอยู่บนพระที่ มีพระโลหิตไหลเปื้อนพระองค์และสวรรคตเสียแล้ว มหาดเล็กห้องพระบรรทม จึงได้ไปกราบทูลสมเด็จพระราชชนนี ให้ทรงทราบ แล้วเสด็จไปถวายบังคมพระบรมศพ

ต่อนั้นมา มีพระบรมวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ได้เข้าไปกราบถวายบังคม และอธิบดีกรมตำรวจ กับ อธิบดีกรมการแพทย์ ได้ไปถวายตรวจพระบรมศพ และสอบสวน ได้ความสันนิษฐานได้ว่า คงจะทรงจับคลำพระแสงปืน ตามพระราชอัธยาศัยที่ทรงชอบ แล้วเกิดอุบัติเหตุขึ้น"

ทันที่ข่าวเผยแพร่ออกไป ทั้งพระนครและประเทศไทยที่มีประชากรขณะนั้นราว 17 ล้านคน ก็มีเสียงหวีดร้อง ดังลั่น ระงมไปทั่วบ้านทั่วเมือง และประชาชน มีความคลางแคลงใจต่อรัฐบาลปรีดี เป็นอย่างมาก เพราะใครๆ ในสมัยนั้นก็รู้ว่า รัชกาลที่ 8 มีข้อขัดเคืองกันหลายประการกับปรีดี ไม่มีใครเชื่อรัฐบาลว่าเกิดอุบัติเหตุ

เวลา 21.00 น. ท่ามกลางบรรยากาศคุกรุ่นทั้งเมือง รัฐบาลปรีดี ได้เรียกประชุมรัฐสภาเป็นการด่วน เพื่อแจ้งให้สภาทราบเรื่องการสวรรคตของรัชกาลที่ 8 และสรรหาผู้สืบราชสมบัติ ที่ประชุมได้ลงมติถวายราชสมบัติ ให้แก่สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลเดช ขึ้นสืบราชสมบัติ เป็น "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช" รัชกาลที่ 9 ทันที ซึ่งในขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง 19 พรรษาเท่านั้น ยังไม่บรรลุนิติภาวะ

คณะรัฐมนตรีปรีดี จึงได้แต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร และ พระยามานวราชเสวี เพื่อทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินจนกว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช จะทรงบรรลุนิติภาวะ

วันที่ 10 มิถุนายน 2489 ปรีดี หวังว่าจะลดแรงเสียดทานจากประชาชน แต่โชคกลับไม่เข้าข้างเขา เมื่อครั้งแรกหลวงนิตย์ ไม่ได้พบแผลทางเบื้องหลังพระเศียรของรัชกาลที่ 8 เข้าใจว่ามีแผลทางพระนลาฏด้านเดียว แต่วันนี้เจ้าหน้าที่จากสภากาชาดมาแต่งพระบรมศพ เพื่อเตรียมการสรงน้ำพระบรมศพในตอนเย็น

จึงได้พบแผลที่เบื้องหลังพระเศียรอีกแผลหนึ่งแผลตรงท้ายทอย มีพระเกศาปกคลุมบาดแผล ทำให้แลเห็นเป็นแผลเล็กกว่าแผลที่พระนลาฏ จึ่งมีการกล่าวทักท้วงกันว่า ถูกยิงทางเบื้องหลังพระเศียรทะลุออกทางพระนลาฏ เสียงครหาระงมไปทั่ว ว่าคำแถลงการณ์ฉบับแรกไม่เป็นความจริง ปรีดี พร้อมด้วยคณะราษฎร จึงประชุมวางแผนกัน เพื่อให้ตำรวจออกแถลงการณ์ใหม่

หลังวันสวรรคต นายสี่ หรือ ชูรัตน์ มือปืนกลับใจ ได้ไปหา ร.ต.กรี อีกครั้ง เขาร้องไห้บอกว่า ที่รับจ้างยิงคนสำคัญนั้น คือ ยิงรัชกาลที่ 8 โดย ร.อ.วัชรชัย นำตัวเขาเข้าไปในวังก่อนสวรรคตเพื่อให้ยิง ผู้ที่รอรับอยู่ในวัง คือ นายชิต นายบุศย์ แต่เขาไม่กล้ายิง จึ่งหลบออกมาเสีย ส่วนผู้ที่ยิงในหลวง คือ ร.อ.วัชรชัย (คำบอกเล่าจาก นายสี กับ ร.ต.กรี)

เขาบอก ร.ต.กรี ว่าตำรวจกำลังติดตามจะยิงเขาอยู่ จึ่งขออาศัยอยู่กับ ร.ต.กรี ด้วย และจะตามไปฆ่า ร.อ.วัชรชัย ให้ได้ ขอร้องให้ ร.ต.กรี ช่วยพาไปหา พล.ท. พระยาเทพฯ เพื่อจะฝากลูกเมีย พระยาเทพฯ ได้ฟังเรื่องแล้วห้ามปราม แนะนำให้รักษาตัวให้ดี เจ้าหน้าที่จะปฏิบัติตามกฎหมายยังมีอยู่

ในที่สุดจึงบอกปัดไม่ยอมรับให้อยู่อาศัยด้วย นายสี่ หรือ ชูรัตน์ จึ่งมาพักอาศัยอยู่กับ ร.ต.กรี ต่อมาสักเดือนหนึ่งก็ขอหนีไปและบอกว่า จะไปอยู่กับ ร.ต.อ.เฉียบ (เป็นเพื่อนลูกชาย ปรีดี และต่อมาเขาลี้ภัยอยู่จีนกับปรีดี ) แต่แล้ว นายสี่ ก็หายสาบสูญไป ไม่มีใครหาร่างเขาพบอีกเลย

วันที่ 11 มิถุนายน 2489 ปรีดี ลาออก จากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พอเป็นพิธี แต่ความพิรุธก็เกิดขึ้น เมื่อในวันนั้นเองสภาผู้แทนราษฎรนอมินี ก็ยกมือสนับสนุนให้ ปรีดี ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต่อเป็นสมัยที่ 3 ตามเดิม เหมือนไม่เกิดอะไรขึ้น..พอถึงจุดนี้ หลายคนตาสว่าง ร้องอ๋อแล้วใช่ไหม??

กรมตำรวจ ออกแถลงการณ์ อ้างว่า ได้สอบสวนเพิ่มเติมจากพระราชกิจประจำวัน ทรงโปรดเกล้าฯ กำหนดให้หม่อมเจ้าอาชวดิศ เข้าเฝ้าในวันที่ 9 มิถุนายน 2489 เวลา 10.00 นาฬิกา เพื่อกราบบังคมทูลลาทรงผนวช กับนัดให้หม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์ ร่วมโต๊ะเสวยพระกระยาหารกลางวัน และทรงโปรดเกล้าฯ ให้นายวงศ์ ไปกราบทูลสมเด็จพระสังฆราชว่า

จะเสด็จไปทูลลาเสด็จสหรัฐอเมริกา ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศในวันที่ 10 มิถุนายน 2489 อันเป็นหลักฐานเพิ่มเติมข้อสันนิษฐานว่าการสวรรคต ได้เป็นไปโดยอุบัติเหตุ ไม่มีทางส่อแสดงว่า ทรงปลงพระชนม์เอง..เอาเข้าไป !!

แต่คำแถลงการณ์ ของตำรวจยังไม่เพียงพอที่จะระงับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ ของหมู่ประชาชนซึ่งยิ่งแพร่สะพัดออกไปทุกทีว่า รัชกาลที่ 8 มิได้เสด็จสวรรคตโดยอุบัติเหตุ แต่ถูกลอบปลงพระชนม์ ถึงกับมีผู้ไปร้องตะโกนในโรงภาพยนตร์ว่า “นายปรีดีฆ่าในหลวง” เป็นเหตุให้รัฐบาลปรีดีเกรงจะเกิดจลาจล

--------------------------->
ในตอนนี้จะเห็นขั้นตอน การลอบปลงพระชนม์โดยละเอียดชนิดทุกระยะ พร้อมคำให้การพยาน หลักฐานต่อหน้าศาลที่ได้ถูกบันทึกไว้ รัชกาลที่ 7 และที่ 8 เป็นพระมหากษัตริย์ไทยถึง 2 พระองค์แล้ว ที่ปรีดี รังแก และบงการโหดร้ายจนสิ้นพระชนม์

สิ่งนี้คือ “ประวัติศาสตร์ ” ของราชการ ประวัติศาสตร์จะมี “เพียงชุดเดียว” และอ้างอิงได้ ถ้าใครจะโต้แย้งให้ไปค้นกูเกิ้ลคำว่า "คำพิพากษาของศาลฎีกาที่ 1544/2497 " ก่อน แล้วอ่านคำพิพากษานั้นให้ละเอียด ถ้อยคำของพระ ของผู้ต้องหา ของญาติผู้ต้องหา จดหมายใครภายหลัง จะไม่สามารถมาหักล้างคำพิพากษาศาลฎีกาได้

** เหตุการณ์จะดำเนินต่ออย่างไร ใครจะเป็นฝ่ายล้มอสูรร้าย ปรีดี ลงได้ และเขาจะก่อกบฏบุกยึดพระราชวังหลวงอย่างไร ติดตามตอนต่อไปคลิ๊กที่https://www.facebook.com/topsecretthai/posts/301460453377322

คัดลอกจาก facebook @topsecrethai

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 25 ตุลาคม 2016 เวลา 12:57 น.
 

วันที่ 17 ธ.ค.57 เปิดโปง..ลับมาก ปรีดี ฆ่าตัดตอนพยาน หวังเป่าคดี ร.8 สวรรคต (ตอน 3)

พิมพ์ PDF

วันที่ 17 ธ.ค.57 เปิดโปง..ลับมาก ปรีดี ฆ่าตัดตอนพยาน หวังเป่าคดี ร.8 สวรรคต (ตอน 3)

ตอนที่แล้วเล่าถึงขั้นตอนการวางแผนลอบปลงพระชนม์รัชกาลที่ 8 ของ ปรีดี ร.อ.วัชรชัย นายเฉลียว นายชิต นายบุศย์ นายชิต และนายชาติ ( ถ้าใครจะโต้แย้งให้ไปค้นกูเกิ้ลคำว่า "คำพิพากษาของศาลฎีกาที่ 1544/2497 " ) แต่มือปืนที่จ้างมา 4 แสนบาท ไม่กล้าลงมือเพราะเกรงบารมี จึงกลับออกจากวังไป ทำให้ผู้ลงมือคือ ร.อ.วัชรชัย ในช่วงเช้า แต่เกิดกระแสต่อต้านรัฐบาลปรีดี อย่างมากเพราะประชาชนไม่เชื่อคำแถลงจากรัฐบาล คณะราษฎร

วันที่ 18 มิถุนายน 2489 ปรีดี จึงได้ออกประกาศตั้งกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง เรียกว่า ”ศาลกลางเมือง” แอบอ้างดื้อๆ ว่า “ คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ฯ” ให้ตั้งกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง มีหน้าที่สอบสวนในการที่รัชกาลที่ 8 เสด็จสวรรคต แล้วให้เสนอรายละเอียด และความเห็นต่อไป ให้อธิบดีกรมตำรวจนำพยานมาสอบสวนต่อหน้ากรรมการ”

ช่วงนั้น มีประกาศเป็นทางการ ให้ผู้ที่รู้เรื่องการสวรรคต มาแจ้งแก่เจ้าพนักงาน ด้วยความพาซื่อบางคนหลงเชื่อตามประกาศ เช่น พ.อ.พระยาวิชิต สรศาสตร์ เข้าร้องเรียนว่า เป็นกรณีลอบปลงพระชนม์ ทำให้ปรีดี สั่งตำรวจจับกุมเขาทันที และฟ้องร้องหาว่าร้องเรียนเท็จ อ้างว่าจะก่อให้เกิดจลาจล...อ้าวว

ช่วงปรีดี เป็นนายก ถ้าผู้ใดยืนยัน รู้เรื่องว่าเป็นการถูกลอบปลงพระชนม์ ก็จะเกิดภัยแก่ตนและคนใกล้ชิด จะถูกรถเก๋งสีดำ ขับมาจอดหน้าบ้าน และถูกอุ้มหายตัวสาบสูญจากตำรวจ (เป็นการฆ่าตัดตอน คล้ายคนแดนไกลทำ) สมัยนั้นประชาชนจึงเป็นที่รู้กันอยู่ไปทั่วว่า ห้ามใครการวิพากษ์วิจารณ์กรณีสวรรคต

ประชาชนก็กลัวเกรงอำนาจเถื่อน ของรัฐบาลเผด็จการปรีดีอย่างมาก ทำให้เป็นการตัดหนทางของพยานผู้รู้เห็นเหตุการณ์ทั้งหมด ที่จะให้ความจริงกับสังคม เรียกได้ว่าในยุคปรีดี เป็นนายกฯ เขาปกครองแบบเผด็จการไม่ต่างจากฮิตเลอร์ ของนาซีเยอรมัน ไทยไม่เคยมีเสรีภาพใดๆ ของประชาชนเลยแม้เพียงปลายเล็บ

ปรีดี นายกฯ ย่ามใจ คิดว่าอำนาจของเขาควบคุมได้ และเงินของเขาซื้อทุกอย่าง (ความคิดเขาเหมือนคนแดนไกล) เขาได้ไปเจรจา ศ.น.พ.ชุบ (พยาน) ผู้ ได้ทุนไปเรียนในประเทศอังกฤษตั้งแต่อายุ 13 ปี (ต่อมาเป็นผู้ก่อตั้งโรงพยาบาลจุฬาฯ ) แพทย์ผู้ชันสูตรพลิกศพของรัชกาลที่ 8 เพื่อให้ยอมไปให้ปากคำว่า เป็นการปลงพระชนม์พระองค์เอง

โดยยื่นสินบนว่า "จะเปิดคลังหลวงให้และให้เอากระเป๋าไป 2 ใบ ใส่เงินเท่าที่ใส่ได้ ให้ไปกินอยู่ตลอดชีวิต แค่อย่าให้ปากคำกับศาลว่า เป็นการลอบปลงพระชนม์" ในสมัยนั้นถ้าใครไม่ยอมทำตามปรีดี ก็จะมี “เก๋งดำ” หรือรถยนต์เก๋งสีดำมาจอดหน้าบ้าน นั้นหมายถึงว่าตายทุกราย จึงเกิดข่าวลือว่า ศ.นพ.ชุบ ตายแล้ว

แต่ ศ.น.พ.ชุบ เป็นคนจริงจึงไม่ยอม และไม่กลัวตาย เขาจ้างทหารมาเป็นยาม ถือปืนลูกซองอยู่ในบ้านใครเข้ามาให้ "ยิงทิ้งทันที" แถม พล.ต.ต.พระพินิจชนคดี ก็สืบสวนเข้าใกล้ตัวปรีดี เข้าไปทุกที ท่ามกลางอุปสรรคขัดขวางนานับประการ แม้ ปรีดี จะใช้อำนาจข่มขู่เขา หรือ ติดสินบน ศ.นพ.ชุบ เท่าใดก็ไม่สำเร็จ

ช่วงนั้น ร.ท.สมพันธ์ นายกสมาคมหนังสือพิมพ์ แห่งประเทศไทยเป็นคนแรก วิพากษ์วิจารณ์ปรีดีในคดีสวรรคตรัชกาลที่ 8 ผ่านสื่ออย่างตรงไปตรงมา เขาถูกปรีดี สั่งตำรวจจับกุม และถูกตั้งข้อหากบฏทันที เพราะสมัยนั้นตำรวจจะจับใครในคดีนี้ ต้องให้ปรีดี อนุมัติก่อนเท่านั้น..น้าน !!

วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ.2489 ด้วยสถานการณ์ทางเมืองภายในประเทศ ล่อแหลมส่อเค้ามีภยันตราย และอีกทั้งในหลวงรัชกาลที่ 9 ยังทรงมีภารกิจในการศึกษาต่อ เพราะมีพระราชภารกิจในการปกครองประเทศเป็นสำคัญ จึงทรงเสด็จพระราชดำเนิน พร้อมพระราชชนนี และพระพี่นาง กลับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยโลซานน์ ในสาขาวิชารัฐศาสตร์ แทนสาขาวิศวกรรมศาสตร์

ในขณะที่ในหลวง ทรงประทับรถพระที่นั่ง เสด็จพระราชดำเนินไปยังท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง เพื่อทรงเดินทางไปศึกษาเพิ่มเติม ก็ทรงได้ยินเสียงราษฎรคนหนึ่งตะโกนว่า "ในหลวง อย่าทิ้งประชาชน" จึงทรงนึกตอบในพระราชหฤทัยว่า "ถ้าประชาชนไม่ทิ้งข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าจะทิ้งประชาชนอย่างไรได้"

วันที่ 23 สิงหาคม 2489 แรงกดดันรอบด้าน และจากประชาชนมีมากทวีคูณ ส่อเค้าจะเกิดเหตุวุ่นวายในพระนคร เหมือนคราปฏิวัติรัสเซีย ปรีดี คาดไม่ถึง จึงวางแผนผ่อนคลายกระแสกดดันสังคม ด้วยการจำใจลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หวังหยุดชลอคดี และอารมณ์ลุกลามของประชาชน

เพื่อความปลอดภัยของตนเอง วันนั้นเอง ปรีดี ชี้นำสภาผู้แทนนอมินีให้เลือก พล.ร.ต.ถวัลย์ ( นอมินี ของปรีดี เหมือนคนแดนไกลทำ) ขึ้นเป็นนายกฯ ต่อจากเขา เพื่อควบคุมอำนาจต่อไป แล้วเขาก็หลบออกไปต่างประเทศ พร้อมกับ ร.อ.วัชรชัย , ต่อมา พลเรือตรีถวัลย์ นายกฯ นอมินี ได้ปลด พล.ต.ต.พระพินิจชนคดี ที่เป็นนายตำรวจที่ทำคดี รัชกาลที่ 8 ออกจากราชการ เพื่อปกป้องคดีความไม่ให้โยงมาถึง ปรีดี...ชัดแจ๋วไหมคนไทย ??

วันที่ 29 ตุลาคม 2489 รัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ประกาศยกเลิก พ.ร.บ.ว่าด้วยคอมมิวนิสต์ ที่ใช้มาตั้งแต่ พระยามโนปกรณ์ พ.ศ.2476 เพื่อปูทางให้ปรีดี คิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครอง เป็นระบอบคอมมิวนิสต์เต็มรูปแบบ โดยไม่สนหน้าอินทร์หน้าพรหม

วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2490 นายชื้น บรรณาธิการหนังสือพิมพ์อิทธิธรรม ทำข่าวเรื่องการสวรรคตของ รัชกาลที่ 8 อย่างเจาะลึกล้วงลับ เจ้าของหนังสือพิมพ์เขาถูกปาระเบิด และในที่สุดเขาโดนยิง ตายข้างถนนอย่างอุกอาจ โดยตำรวจจับใครไม่ได้ และยังมีการสร้างรัฐตำรวจลอบยิง ผู้ที่คิดจะปากโป้งในคดีสวรรคคตนี้อีกหลายคน (ฆ่าตัดตอน คล้ายคนแดนไกลทำ)

พฤศจิกายน 2490 ฝ่ายค้าน ได้มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ คณะราษฎร ยาวนานถึง 7 วัน 7 คืนติดต่อกัน ในกรณีการทุจริตคอร์รัปชั่นในวงราชการอื้อฉาว เช่น การนำเงินไปซื้อจอบเสียม แจกจ่ายให้ราษฎรทำการเกษตร แต่เป็นจอบเสียมที่ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งเรียกกันว่า "กินจอบกินเสียม" (นักการเมืองสมัยปรีดี โกงกินแม้แต่จอบเสียม สมัยเผาไทยโกงจำนำข้าว)

วันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 ด้วยสาเหตุที่รัฐบาลไม่สามารถคลี่คลายคดีสวรรคต ร.8 ลงได้ ประกอบกับการทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างโจ่งแจ้ง รวมทั้งจะเปลี่ยนประเทศเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ คณะทหารแห่งชาติ 4 คน นำโดยจอมพลผิน , พันเอกสฤษดิ์ ฯลฯ และโดยการสนับสนุนจาก CIA อเมริกา

เห็นท่าไม่ดี จึงทำรัฐประหาร ตัดไฟแต่ต้นลมโค่นล้มอำนาจของ พล.ร.ต.ถวัลย์ โดย กองกำลังรถถังส่วนหนึ่งบุกเข้าไปที่ เวทีลีลาศ สวนอัมพร เพื่อทำการควบคุมตัว พล.ร.ต.ถวัลย์ นายกรัฐมนตรี ซึ่งอยู่ในงานราตรีการกุศล

รถถังอีกส่วนหนึ่ง บุกเข้ายิงทำเนียบท่าช้างวังหน้าซึ่ง ปรีดี และครอบครัวอาศัยอยู่ แล้วพยายามจะจับกุมตัวปรีดี แต่เขา ได้หลบหนีไปก่อนหน้านั้นไม่นานด้วยเรือ ครอบครัว ปรีดีขณะนั้นเหลือเพียง พูนศุข ภรรยาปรีดี (ญาตินามสกุลเดิม เหมือนหญิงกระบังลมปัจจุบัน) และลูกๆ

ปรีดี ร.อ.วัชรชัย ร.ต.อ.เฉียบ นายสงวน ผู้เกี่ยวข้องกับขบวนการลอบปลงพระชนม์รัชกาลที่ 8 ได้หลบหนีไปพักอยู่กับเพื่อนทหารเรือที่สัตหีบอยู่ระยะหนึ่ง ต่อด้วยลี้ภัยไปสิงคโปร์ และออกจากประเทศไทยไปทางเรือสู่ฮ่องกง และประเทศจีน อาศัยที่ตรอกเสี่ยวหยางเหมา กรุงปักกิ่ง

วันที่ 10 พฤศจิกายน 2490 คณะทหารแห่งชาติ สามารถยึดอำนาจนายกฯ พล.ร.ต.ถวัลย์ ได้อย่างสำเร็จ จึงให้ นายควง หัวหน้าพรรค ปชป. ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และจัดการเลือกใหม่ พรรค ปชป.ได้คะแนนเสียงข้างมาก นายควง อภัยวงศ์ จึงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อ และควบ รมต.มหาดไทย

วันที่ 18 พฤศจิกายน 2490 พล.ต.ต.หลวงชาติตระการ เป็นอธิบดีกรมตำรวจ ได้ออกคำสั่งรื้อฟื้นคดี รัชกาลที่ 8 โดยลงนามว่า "โดยที่ทางราชการฝ่ายทหาร ได้ส่งหลักฐานแผนการของบุคคลคณะหนึ่ง สมคบกันดำเนินการประทุษร้ายองค์พระมหากษัตริย์ มีการลอบปลงพระชนม์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล และเตรียมการเปลี่ยนระบอบการปกครองแผ่นดินโดยทำลายล้างรัฐบาล มาให้กรมตำรวจสอบสวนดำเนินคดี "

วันที่ 20 พฤศจิกายน 2490 ตำรวจ จับ นายชิต , นายบุศย์ และนายเฉลียว อดีตสมาชิกคณะราษฎรสายพลเรือน อดีตราชเลขาธิการในสมัยรัชกาลที่ 8 คนใกล้ชิดปรีดี ในกรณีลอบปลงพระชนม์สวรรคต และรัฐบาลยุคนั้น และเห็นช่องทาง ในการล้างบางเสี้ยนหนามอำนาจ คณะราษฎรสายปรีดี เพื่อช่วงชิงอำนาจความเป็นใหญ่

นายปาล บุตรชายปรีดี ซึ่งขณะนั้นอายุ 20 ปี ถูกศาลตัดสินจำคุก 20 ปี โดยข้อหากบฏต่อมา พ.ศ.2500 เขาได้รับการปล่อยตัว เพราะ จอมพล ป. ได้ออกกฎหมายนิรโทษกรรม เพราะเกิดขัดแย้งกับจอมพลสฤษดิ์ และ จอมพล ป.จะนำปรีดี กลับมาไทย

วันที่ 11 มีนาคม 2491 นายตี๋ (พยาน) ซึ่งเป็นคนคุ้นเคยได้ไปพักอยู่ที่บ้านขุนเทพฯ (พยาน) หลังจากพักอยู่แล้วสองสามวันแล้ว คืนวันหนึ่ง นายชวน (พยาน) มาคุยที่บ้านขุนเทพฯ ตามที่เคยมา นายตี๋ ร่วมวงคุยด้วย คุยกันถึงเรื่องกรณีสวรรคต ร.8 โต้เถียงกันระหว่างขุนเทพฯ กับนายชวนว่า

ใครเป็นคนปลงพระชนม์ ปรีดีจะรู้เห็นด้วยหรือไม่ ถ้ารู้ได้รู้แต่เบื้องต้น หรือรู้เมื่อภายหลัง นายตี๋ได้ฟังการโต้เถียงนั้นแล้วอดไม่ได้ พูดโพล่งออกมาว่า "ลื้อสองคนไม่รู้จริงหรอก อั๊วนี่ถึงจะรู้จริงว่าใครฆ่า ร.8 " ขุนเทพฯ และนายชวน จึงช่วยกันซักถามต่อไป นายตี๋ ตอบว่า ปรีดี เป็นหัวหน้าคิดปลงพระชนม์

เขาเล่าต่อว่า ก่อนปลงพระชนม์ เขามีการประชุมกันมาตั้งเดือนแล้ว ที่บ้านข้าราชการผู้ใหญ่ผู้หนึ่งผู้มีบุญคุณ และ นายตี๋ อยู่ในบ้านนั้นด้วยจึงรู้ นายตี๋ ได้กำชับเป็นหนักหนาว่า รู้แล้วอย่างนี้ อย่าพูดให้ใครฟังต่อไป ต่อมานายตี๋ ขยายความให้ขุนเทพฯ ฟังต่อไปว่า มีคนไปประชุมกันที่บ้าน พล.ร.ต.กระแส หลายคน และหลายครั้ง คือ ปรีดี นายเฉลียว นายชิต นายตุ๊ (ร.อ.วัชรชัย) และคนอื่นๆ

วันที่ 6 เมษายน 2491 คณะนายทหาร ในกลุ่มคณะทหารแห่งชาติ 4 คน ได้ทำการบีบบังคับให้นายควง ลาออกจากนายกฯ ภายใน 24 ชั่วโมง เพราะมีความขัดแย้งกันในอำนาจ เรียกการปฏิวัติครั้งนี้ว่า "ปฏิวัติเงียบ"

วันที่ 8 เมษายน 2491 กลุ่มคณะทหารแห่งชาติ แต่งตั้ง จอมพล ป. เป็นนายกรัฐมนตรี คดีของรัชกาลที่ 8 ถูกรื้อฟื้นอีกครั้ง และ มีการแต่งตั้งให้ พล.ต.ต.พระพินิจชนคดี พี่เขยของ ม.ร.ว.เสนีย์ และ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ผู้จงรักภักดี กลับเข้ารับราชการอีกครั้ง เพื่อทำหน้าที่สืบสวนกรณีสวรรคต ร.8 เสียใหม่

วันที่ 30 พฤษภาคม 2491 ขุนเทพ จึงตัดสินใจจะบอกเรื่องนายตี๋ แก่ หลวงแผ้ว (พยาน) ซึ่งเคยรู้จักกันมาตั้งแต่เล็ก ขุนเทพฯ จึ่งโทรเลขถึงนายตี๋ ที่นครสวรรค์ว่า ต้องการพบด่วนที่บ้านขุนเทพฯ และลอบโทรศัพท์ถึงหลวงแผ้วให้มาพบ อย่าแต่งเครื่องแบบ

คุยสักพัก หลวงแผ้ว แสดงตัวว่าเป็นตำรวจ นายตี๋ ตกตะลึงนิ่งอึ้งอยู่ ขุนเทพฯ ก็ปลอบว่า จงเห็นแก่ชาติ เกิดมาตายครั้งเดียว นำเรื่องให้ตำรวจทราบ ในที่สุดก็ยอมไปให้ถ้อยคำแก่ตำรวจ หลังจากได้นายตี๋ เป็นพยานแล้ว รัฐบาลสมัยนั้นจึงได้ดำเนินการเรียกตัว พล.ร.ต. กระแส และ น.ส.ทองใบ คนรับใช้ มาสอบสวนเป็นพยานในคดี

วันที่ 7 สิงหาคม 2491 กรมตำรวจ ได้ออกหมายจับประกาศทั่วประเทศ มีใจความว่า “นายปรีดี อดีตนายกรัฐมนตรี กับ ร.อ.วัชรชัย ได้สมคบกับพวก ตระเตรียมวางแผนการลอบปลงพระชนม์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอนันทมหิดล ถึงแก่สวรรคต และปกปิดทำลายหลักฐานในการกระทำเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นอาญา “ ...นี่คือหลักฐานทางราชการ ที่ปรากฎกับสาธารณชน

วันที่ 1 ตุลาคม 2491 จอมพล ป. ได้จับกุมนายทหาร และนักการเมืองหลายคน ที่กำลังวางแผนจะก่อการยึดอำนาจรัฐบาล เรียกว่าว่า “กบฏ 1 ต.ค. 2491” มีผู้หลบหนีการจับกุมได้ส่งคนไปพบปรีดี ที่จีน เพื่อก่อกบฎโค่นรัฐบาล จอมพล ป. โดยให้ปรีดี เป็นผู้นำก่อการ ร่วมมือกับทหารเรือ และคอมมิวนิสต์ ที่ปรีดีเป็นหัวหน้าลับๆ มานานแล้ว

พ.ศ. 2498 มีการสืบพยานตามระบบกฎหมายไทยขณะนั้นทุกประการ ด้วยอำนาจสายปรีดี หมดลง จึงไม่สามารถช่วยนายชิต , นายบุศย์ และนายเฉลียวได้ ต่อมาผู้ต้องหาทั้ง 3 คน ถูกศาลพิพากษาประหารชีวิต ( ถ้าใครจะโต้แย้งให้ไปค้นกูเกิ้ลคำว่า "คำพิพากษาของศาลฎีกาที่ 1544/2497 " ) และพวกเขาได้ขอพระราชทานอภัยโทษ

แต่รัฐบาลขณะนั้นถวายคำแนะนำว่าไม่สมควรให้ เพราะเป็นคดีร้ายแรงของชาติ ทั้ง 3 คนในคดีลอบปลงพระชนม์จึงถูกประหารชีวิต ในส่วน ปรีดี และ ร.อ.วัชรชัย นั้น ถึงแม้จะมีพยานที่ให้ถ้อยคำต่อศาลพาดพิงถึง แต่เหตุที่ปรีดี ร.อ.วัชรชัย ไม่โดนคำพิพากษา เพราะเขาลี้ภัยไปอยู่จีน

เขากลายเป็นผู้หนีความผิดตามหมายจับ (คล้ายคนแดนไกล) จึงไม่เคยมาขึ้นศาลเลยสักนัด การไต่สวนเขาตามระบบยุติธรรมก็ถูกตัดตอน ตำเนินการตามระบบไปต่อไม่ได้เพราะขาดผู้ต้องหา ศาลจะตัดสินเขาก็ทำไม่ได้ตามกฎหมายไทยในขณะนั้น..สรุป ปรีดี และ ร.อ.วัชรชัย กลัวความผิดจึงหนีคดีไม่กล้าสู้ในกระบวนการยุติธรรมไทย

แม้เหตุการณ์ปรีดี สั่งการลอบปลงพระชมน์จะผ่านมาแล้วถึง 68 ปี แต่ก็ยังมีนักวิชากำกวม สิ่งคล้ายคน ที่เป็นผลไม้พิษจากปรีดี มีความอาฆาตมาดร้าย ต้องการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ ได้พยายามออกมาแถชี้นำให้ร้ายต่อเบื้องสูงปัจจุบันตลอดมา พวกนี้ไม่ได้มีความเชี่ยวชาญ ในเรื่องการสืบสวนสอบสวน หรือ ข้อกฎหมายคดีความ

แต่บางคน เช่น หงอก เจียม ที่ถูกพ่อตนเองทุบตีตั้งแต่เด็กๆ จึงเกิดปมด้อย ไม่อยากเห็นใครเก่งเหมือนพ่อตนเอง และหลงตัวเองว่าเป็นผู้รอบรู้ในทุกเรื่อง จึงเลือกนำเหตุการณ์บางตอนออกมา แล้วแก้ไขประวัติศาสตร์ คำพิพากษาของศาล ใส่ความคิดอคติต่อสถาบันในทางลบของตนเองเข้าไป

เพื่อชี้นำให้พวกหัวอ่อน ใส่สีตีไข่ปลุกระดมให้นักศึกษา และประชาชน ที่กินแต่หญ้าอัดเม็ด และฟางแคปซูล จนขาดวิตะมินสมอง หลงเชื่อคิดเห็นคล้อยตามตามที่ต้องการ เพื่อใส่ความให้ร้ายต่อเบื้องสูงในเรื่องที่ไม่เป็นความจริงมาตลอดเวลา

------------------------------>
จิตใจความเป็นอสูรร้ายของปรีดี ยังไม่จางหาย “เมื่อตนเองอยู่ไม่ได้ คนอื่นๆ ก็อย่าหวังว่าจะได้อยู่อย่างสงบ “ ดังนั้นระหว่างอยู่ที่ปักกิ่ง ปรีดี เจรจากับทางจีน ขอความช่วยเหลือด้านอาวุธ เพื่อจะเอาไปมอบให้คอมมิวนิสต์ในไทย เพื่อใช้ในการทำสงครามกลางเมืองกับรัฐบาลไทย และเขาจ้องรังแก แอบอ้างเบื้องสูง รัชกาลปัจจุบันอีกครั้ง

ตามที่เล่าตอนแรกว่า วันที่ 1 ธันวาคม 2485 ผู้ที่เลื่อมใสลัทธิคอมมิวนิสต์ในไทย ได้ประกาศจัดตั้ง พรรคคอมมิวนิสต์ไทย มีสมาชิกร่วมก่อตั้ง 57 คน มีการประชุมสมัชชาพรรค ครั้งที่ 1 ที่จังหวัดนครสวรรค์ เป็นจุดเริ่มของกองกำลังก่อการร้ายของปรีดี ในหลายปีต่อมา

พ.ศ. 2492 คอมมิวนิสต์ในประเทศจีน นำโดยเหมาเจ๋อตุง ขึ้นสู่อำนาจ และก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างนั้นบรรดาประเทศโลกที่สาม ต่างก็รับระบอบคอมมิวนิสต์เข้ามาเป็นระบอบการปกครอง พรรคคอมมิวนิสต์จีน จึงได้แผ่อิทธิพลส่งผู้ปฏิบัติงานมาร่วมมือกับ พคท. ทำการเคลื่อนไหวในภาคอีสานของไทย โดยจัดตั้งชาวนาเพื่อการปฏิวัติ

แผนการช่วงนั้นของปรีดี และคณะราษฎร พ้องเลียนแบบการชิงอำนาจ ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ที่นำโดยกองกำลังปฏิวัติประชาชน เหมาเจ๋อตุง กับ นายพลเจียงไคเช็ค ผู้นำทางทหาร โดย ถ้าการยึดอำนาจไทยสำเร็จ จะสถาปนาระบอบการปกครองคอมมิวนิสต์ขึ้น ในประเทศไทย โดย ปรีดี จะเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี คล้ายเหมาเจ๋อตุง ส่วนนายฟอง จะเป็นนายกรัฐมนตรี นายเตียง และ ทองอินทร์ จะเป็นอัครเสนาบดี

วันที่ 30 ม.ค.2492 ปรีดี หลังชนฝา ต้องการได้อำนาจคืน เดินทางจากฮ่องกง มาที่เกาะเสม็ด และเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อทำการก่อ “กบฏวังหลวง” เพื่อปฏิวัติรัฐบาล จอมพล ป. โดยมีนายอรรถกิตติ ผู้เป็นญาติ จ่ายเงินสนับสนุนการก่อการครั้งนี้จำนวน 10 ล้านบาท ผู้ก่อการกบฎวังหลวงก็คือ ขบวนการเสรีไทย และคอมมิวนิสต์ในไทย นั่นเองหาใช่ใครอื่น

มีด้วยกัน 4 สายคือ สายคณะราษฎร นำโดย ปรีดี , สาย ส.ส.เลือกตั้ง นำโดย เตียง (ขุนพลคอมมิวนิสต์ภูพาน ต่อมาถูกฆ่าตาย) , สายกลุ่มธรรมศาสตร์และการเมือง นำโดย เดือน และสายกำลังทหาร นำโดย พ.ต.โผน (ต่อมาถูกฆ่าตาย) และ ร.อ.วัชรชัย...จำชีื่อนี้ได้ไหม ?? ตาสว่างทั้งแผ่นดินหรือยัง (ถ้ายังจำไม่ได้ให้คลิ๊กไปอ่านตอนเดิมที่ลิ้งย่อหน้าที่สอง)

วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2492 ปรีดี รัฐบุรุษอาวุโสผู้ทรราช ได้ออกจากบ้านที่หลบซ่อนในกรุงเทพฯ มุ่งหน้าไปปรากฏตัวที่ธรรมศาสตร์ ตามที่ได้มีการนัดกันกับคณะปฏิวัติ พรรคพวกของปรีดี ได้ลำเลียงอาวุธ ซึ่งได้มาเมื่อคราวเป็นเสรีไทย เข้าไปรวบรวมที่นี่เป็นจำนวนมาก ปรีดี สั่งการยึดอำนาจเหมือนคราวปี 2475 โดยใช้กำลังส่วนหนึ่งนำโดย ร.อ.วัชรชัย เข้ายึดธรรมศาสตร์เอาไว้ เป็นกองบัญชาการ และรวบรวมสรรพกำลัง

กำลังส่วนหนึ่ง เข้าสั่งให้ “ยึดพระบรมมหาราชวังของพระมหากษัตริย์” ไว้ เป็นกองบัญชาการชั่วคราว...โห้..เอาอีกแล้ว สรรพอาวุธอยู่ที่กองสัญญาณทหารเรือ ที่ศาลาแดง กำลังอีกส่วนหนึ่ง ปรีดี ได้บัญชาการให้ไปยึดบริเวณวัดพระเชตุพน เพื่อเป็นการตรึงกำลังทหาร ร.พัน.1 ไว้ ช่วงนี้ปรีสั่งกองกำลังคอมมิวนิสต์ ไทยและต่างชาติ ให้เคลื่อนเข้ามาสมทบในเมืองหลวงโดยเร็วที่สุด

นายชาญ ผู้นำกำลังหัวหินเข้าสู่พระนคร , นายชวน นำกำลังภาคตะวันออก ต่างด้าว ได้แก่ ลาว ญวณ เข้ามาทางอรัญประเทศ (ดูภาพที่ 3 ประกอบ) , นายทองอินทร์ นายจำลอง นายถวิล และนายเตียง นำกำลังคอมมิวนิสต์ยึดภาคอีสาน แล้วค่อยนำเข้ามาสมทบในพระนคร , นายเปลว นำกำลังจากเมืองกาญจนบุรี เข้ามาสมทบ

ทหารเรือ พวกปรีดี เช่น พล.ร.ต.สังวร พล.ร.ต.ทหาร นำกำลังทหารเรือบางส่วน จากสัตหีบ ชลบุรี ระยอง เคลื่อนมารวมกำลังที่ชลบุรี ต่อจากนั้นจะมุ่งสู่กรุงเทพฯ เพื่อดำเนินตามแผนการณ์ที่วางไว้ , ร.อ.วัชรชัย นำรถยนต์ 4 คัน ภายในรถมีอาวุธและพลพรรคเต็มคันรถ เคลื่อนออกจากธรรมศาสตร์ มุ่งยึด “พระบรมมหาราชวัง” มุ่งร้ายเบื้องสูงอีกครา..หมอนี่ราวีเบืี้องสูงตลอด

เมื่อไปถึง ร.อ.วัชรชัย เรียกให้ผู้กองรักษาการณ์ประจำพระบรมมหาราชวัง ออกมาพบที่หน้าประตู เมื่อ ทหารออกมา ก็ถูกเอาปืนจี้บังคับให้ปลดอาวุธโดยทันที จากนั้นเขาและพวก ก็บุกเข้าไปปลดอาวุธทหารที่รักษาการณ์ทั้งหมด แล้วเข้ายึดพระบรมมหาราชวังไว้ แล้วลำเลียงอาวุธสงครามนานาชนิดเข้าไปในวังหลวง เพื่อทำเป็นสถานีรบกับทหารไทยทันที

** เหตุการณ์ระทึกใจจะเป็นเช่นไร ใครจะเป็นฝ่ายชนะศึก และปรีดี จะแอบอ้างพระราชโองการเบื้องสูงอย่างไรอีก และเขาจะกลายเป็นผู้นำคอมมิสนิสต์สู้กับทหารไทยอย่างไร ติดตามตอนต่อไปคลิ๊กที่https://www.facebook.com/topsecretthai/posts/301464146710286

คัดลอกจากfacebook@topsecrethai

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 25 ตุลาคม 2016 เวลา 13:00 น.
 


หน้า 230 จาก 561
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5644
Content : 3068
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8746512

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า