Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

เปลี่ยนเป็นเปลี่ยน online 28092559

พิมพ์ PDF

แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน 2016 เวลา 22:29 น.
 

คืนนี้ พุธที่ 28 กันยายน 2559 เวลา 20.00-21.00 น ขอเชิญชมรายการ “เปลี่ยน เป็น เปลี่ยน”

พิมพ์ PDF

คืนนี้ พุธที่ 28 กันยายน 2559 เวลา 20.00-21.00 น

ขอเชิญชมรายการ “เปลี่ยน เป็น เปลี่ยน” 

รายการเสวนาเพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับชีวิตและสังคมไทย เริ่มจากกระบวนการคิด หลักคิด และวิธีปฏิบัติ ที่จะนำทุกคนไปสู่ความสุข เหมาะสำหรับผู้รักการเรียนรู้ทุกเพศทุกวัย ออกอากาศสด ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ โลกพระพุทธศาสนาเฉลิมพระเกียรติฯ WBTV เป็นประจำทุกคืนวันพุธ เวลา 20.00-21.00 น (ยกเว้นวันพระ)

สำหรับรายการคืนนี้ หม่อมหลวงชาญโชติ ชมพูนุท และ ดร.แสน ชฎารัมย์ จะมาร่วมเสวนาเรื่องแรงบันดาลใจในการทำรายการ “เปลี่ยน เป็น เปลี่ยน “ ต่อจากพุธที่แล้ว ท่านผู้ชมสามารถมีส่วนร่วม เพื่อสอบถาม หรือแสดงความคิดเห็น ในขณะออกอากาศได้ที่เบอร์   02-6757696

โปรดติดตามรับชมได้หลายช่องทาง ดังนี้

Ø ทาง Internet ได้ทั่วโลก www.wbtvonline.com

Ø รับชมทางมือถือ www.stationg.com/wbtv

Ø รับชมทาง ทีวี ผ่านจานดาวเทียม ตามช่องต่างๆดังนี้

·       กล่องดาวเทียมค่าย GMM ช่อง 175

·       กล่องดาวเทียมค่าย PSI ช่อง 239

·       กล่องดาวเทียวค่าย CTH  ช่อง 870

·       กล่องดาวเทียวค่าย  Infosat ;Thaisat; Indeasat ; Leotech ช่อง 189

สำหรับท่านที่ติดธุระหรือพลาดชมรายการสด สามารถติดตามชมรายการย้อนหลังได้ทาง YouTube พิมพ์ “รายการ เปลี่ยน เป็น เปลี่ยน” ออกอากาศวันที่ 28 กันยายน 2559    

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท


28 กันยายน 2559

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 28 กันยายน 2016 เวลา 12:08 น.
 

ปัญหาในการพิจารณาคุณค่า

พิมพ์ PDF

ปัญหาในการพิจารณาคุณค่า

คำถาม : เมื่อพิจารณาจากระบบประโยชน์อันได้แก่ ประโยชน์ส่วนตน และประโยชน์ส่วนรวมแล้ว การสำเร็จนิพพานย่อมถือว่าเป็นประโยชน์ส่วนตน ดังนั้นจะมีคุณค่าที่ดีหรือไม่

หลักการ: การคิดประเด็นคุณค่านั้น ดังที่ได้ชี้ไว้แล้วว่าจะต้องพิจารณาผ่านระบบทั้ง 3 คือ ประโยชน์ ความดีและความสุข และถือเกณฑ์ผ่านอย่างน้อย 2 ใน 3 หากผ่านทั้ง 3 ระบบได้ ถือว่ามีคุณค่ามาก เรียกว่า ความสูงส่ง (sublime)

บริบทเบื้องต้น: การบรรลุนิพพานตามมุมมองของปัญหาได้มองผ่านระบบประโยชน์ แล้วจึงพิจารณาไปหาระบบความดี ทั้งนี้ยังไม่ได้มองผ่านระบบความสุข จึงเกิดกรอบการวิพากษ์ได้ ผู้ซักถามมิได้คิดสบประมาทหรือลบหลู่หรือถามในเรื่องไม่ควรถาม แต่การคิดคำตอบเป็นสิ่งที่น่าสนใจในฝ่ายศาสนา

คำตอบ: การพิจารณาด้วยระบบคุณค่าหนึ่งๆ นั้นเพื่อเป็นเกณฑ์ในการกรองสิ่งต่างๆว่ามีคุณค่าหรือไม่อย่างไร สิ่งสำคัญคือจะต้องพิจารณาทั้ง 3 ระบบ อย่างเท่าเทียมกัน มิใช่การพิจารณาไปทีละระบบตามลำดับขั้น

คำตอบจึงมีได้ดังนี้

1) หากพิจารณาไปตามกระบวนการกรอง (ไตร่ตรอง) เชิงคุณค่า การสำเร็จนิพพานย่อมได้คุณค่าดีจากระบบความดี และคุณค่าสุขจากระบบความสุข นั่นคือผ่าน 2 ใน 3 แม้จะมีผู้ชี้ว่าไม่ผ่านระบบประโยชน์ก็ตาม นิพพานก็ยังคงยืนยันเป็นสิ่งที่มีคุณค่าอยู่นั่นเอง

2) หากพิจารณาย้อนกลับ นิพพานเป็นสภาวะสูงส่ง (สูงสุด) ของศาสนาพุทธ เป็นสิ่งที่ได้รับการยกย่องเป็น sublime แล้ว แสดงว่ามีการพิจารณาผ่านระบบคุณค่าทั้ง 3 ระบบมาแล้ว ว่าเป็นประโยชน์ เป็นความดี และเป็นความสุข ดังนั้นการนำสิ่งสูงส่งกลับลงมาคิดในระบบคุณค่าใหม่จึงเป็นเรื่องที่จะผกผันไปจากธรรมชาติ แต่ทั้งนี้ ควรพิจารณาว่า นิพพานเป็นประโยชน์เพราะเป็นเครื่องยืนยันได้ว่าเป้าหมายสูงสุดของมนุษย์ตามศาสนาพุทธมีจริง นิพพานก็ไม่ใช่เพียงเรื่องประโยชน์เฉพาะตนอีกต่อไป และการใช้การพิจารณาประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวมนั้น กรอบคิดของลัทธิประโยชน์นิยมพิจารณาจากปัจเจกต่อสังคมและสิ่งที่ได้กระทำ ทั้งนี้ มิได้มีสิ่งใดที่เรากระทำแล้วจะไม่ส่งผลต่อสังคม (เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว) การสำเร็จนิพพานจึงย่อมมีผลต่อประโยชน์ส่วนรวมอยู่เช่นนั้น ข้อคำถามที่ถามว่าจะมีคุณค่าที่ดีหรือไม่จึงตกไปตั้งแต่ต้นแล้ว

ดังนั้น การพิจารณาคุณค่าสำหรับสิ่งที่ได้รับการยกเป็นสิ่งสูงส่ง (สูงสุด) แล้ว ย่อมต้องไตร่ตรองอย่างรอบด้านเนื่องด้วยมีความจริงรองรับ แต่จะมีผู้เชื่อความจริงนั้นเช่นไร อย่างไรย่อมเป็นไปตามสัดส่วนความเชื่อของหลักความจริง 5 ประการ คือ ความจริงปรัชญา ความจริงศาสนา ความจริงประวัติศาสตร์ ความจริงวิทยาศาสตร์ และความจริงคณิตศาสตร์

ดร.เอนก สุวรรณบัณฑิต 
27-9-59

ปล.ท่านใดทดลองคิดอย่างไตร่ตรองแล้ว พบคำตอบแบบที่ 3 (ตามกรอบความคิดเรื่องระบบคุณค่า) สามารถแสดงคำตอบและความคิดเห็นเพิ่มเติมได้

หลังจากได้อ่านบทความของ ดร.เอนก สุวรรณบัณฑิต แล้วมีความเห็นว่า

ผู้ถามเข้าใจว่า "การสำเร็จนิพพานย่อมถือว่าเป็นประโยชน์ส่วนตน ดังนั้นจะมีคุณค่าที่ดีหรือไม่" ผู้ตอบได้ยกแม่น้ำทั้งห้า เป็นการตอบแบบอ้อมไปอ้อมมา ผมมีความเห็นว่าควรจะตอบให้ตรงคำถามคือ การสำเร็จนิพานไม่ใช่แค่ประโยชน์ส่วนตนแต่เป็นประโยชน์ส่วนรวม อย่างไรก็ตามเมื่อได้อ่านอย่างพิจารณาในทุกประโยคของบทความที่ ดร.เอนกเขียนมาก็ต้องยอมรับว่าท่านได้ตอบตรงปัญหา และพร้อมกับได้อธิบายถีงเรื่องความหมายของคุณค่าและความสูงส่งไปด้วย ท่านไม่ได้ตอบเฉพาะผู้ถามแต่ได้ตอบให้กับทุกคนทั้งที่รู้ความเป็นมาของคำถามและตอบผู้ที่ไม่รู้เรื่องราวความเป็นมาของคำถามมาก่อน ถือว่าเป็นการสื่อสารของผู้ทรงปัญญา

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

27 กันยายน 2559

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 27 กันยายน 2016 เวลา 13:25 น.
 

เรียนแบบไร้การชี้แนะ

พิมพ์ PDF

บทความเรื่อง Learning When No One Is Watching ลงใน Scientific American Mind ฉบับเดือนกันยายน ๒๕๕๙ ซึ่งอ่านบทคัดย่อได้ ที่นี่ บอกว่า กลไกทางสมองของ “การเรียนแบบไร้การชี้แนะ” (Unsupervised Learning) แตกต่างจากการเรียนแบบมีการชี้แนะ ที่เกิดขึ้นในสถาบันการศึกษา


“การเรียนแบบไร้การชี้แนะ” ไม่มีการสอน ไม่มีการให้รางวัล ไม่มีการลงโทษ

แต่ละคนสอนตนเอง โดยการลงมือปฏิบัติ


ผู้เขียนคือ R. Douglas Fields เป็นนักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ทางสมอง และศาสตราจารย์สมทบ ที่มหาวิทยาลัยแมรีแลนด์ เล่าเรื่องราวของการวิจัยและผลการวิจัยตรวจสอบการทำงานของสมอง ในขณะที่ไปยังสถานที่ใหม่ที่เป็นการเรียนรู้สถานที่ และในการเรียนภาษาแม่ขณะเป็นเด็ก การเรียนทั้งสองแบบนี้เป็นการเรียนแบบไร้การชี้แนะ เรียนโดยเอาตัวเองเข้าไปผ่านประสบการณ์ แล้วปล่อยให้สมองทำหน้าที่เอง โดยตัวเราไม่ต้องใช้ความพยายาม และไม่ต้องมีคนสอนแบบครูสอน


ในขณะที่คนเราเรียนแบบไร้การชี้แนะ คลื่นไฟฟ้าสมองจะเชื่อมโยงปฏิสัมพันธ์ระหว่างเซลล์สมองจำนวนมากในส่วนต่างๆ ของสมอง คลื่นไฟฟ้าสมองนี้จะเปลี่ยนแปลงอย่างมีรูปแบบจำเพาะเมื่อเผชิญ สถานการณ์ที่แตกต่างกัน


ผู้เขียนเล่าเรื่องของตนเอง ที่ไปเป็นผู้ถูกทดลองตรวจคลื่นไฟฟ้าสมองส่วนต่างๆ ระหว่างผ่านประสบการณ์ “ความจริงเสมือน” (virtual reality) คือไปเยี่ยมชมเรือบรรทุกเครื่องบินในห้องทดลอง ที่ทำให้ผู้ถูกทดลองรู้สึกเหมือนไปเยี่ยมชมเรือจริงๆ สัมผัสสิ่งของได้และของอาจแตกหักเสียหายได้ เท่ากับว่าผู้ถูกทดลองอยู่ระหว่างการเรียนรู้สถานที่และสิ่งของต่างๆ ภายใน “เรือ” และมีการบันทึกคลื่นสมอง ในส่วนต่างๆ ของสมองในขณะนั้นๆ ไว้ คลื่นสมองขณะกำลังเรียนรู้และทำแผนที่สถานที่ (spatial map) ที่ไปเยือนไว้ ในช่วงนั้นสมองส่วน parietal lobe จะมีคลื่นชนิดความถี่ต่ำ ที่เรียกว่า คลื่นธีต้า (theta waves) เนื่องจากคลื่นนิดนี้มีความถี่ต่ำ จึงทะลุทะลวงไปได้ไกลกว่า เชื่อมโยงไปยังส่วนต่างๆ ของสมองได้กว้างขวาง เกิดการทำหน้าที่อย่างประสานสัมพันธ์กัน


การมีคลื่นสมองแบบธีต้า ที่ parietal lobe ตรงกับช่วงที่สมองกำลังเรียนรู้เพื่อทำแผนที่สถานที่ ที่เพิ่งไปพบเห็น คลื่นสมองแบบธีต้าช่วยการสังเคราะห์เข้ากับเหตุการณ์ต่างๆ ในช่วงขณะนั้น


ข้อค้นพบคือ คลื่นสมองเกิดขึ้น ๑๖๐ มิลลิวินาที หลังเผชิญเหตุการณ์ ซึ่งเร็วกว่าที่นักวิทยาศาสตร์ ทางสมองคิด เพราะการเคลื่อนไหวลูกตาใช้เวลา ๒๐๐ มิลลิวินาที การทดลองนี้บอกว่า สมองรับรู้เหตุการณ์ ล่วงหน้า ก่อนที่ตัวคนที่เป็นเจ้าของสมองจะเกิดความระลึกรู้ คือสมองจะ คาดการณ์ล่วงหน้าเสมอ เรียกว่ามี การรับรู้ก่อนรู้สึก (preconscious perception)


นักวิจัยในห้องปฏิบัติการ ความจริงเสมือนชุดนี้ ให้ผู้ถูกทดลองกลับมา “เที่ยวเรือ” อีกครั้งหนึ่ง ในวันรุ่งขึ้น แต่สลับที่สิ่งของที่เคยสร้างความตกใจหรือประหลาดใจ พบว่าคลื่นสมองแสดงการรับรู้ที่แรงขึ้น เมื่อสิ่งที่พบแตกต่างจากที่เห็นในวันก่อน และสมองรับรู้ก่อนที่สติสำนึกจะรู้สึก ในกรณีเช่นนี้คลื่นสมองจะมีคลื่นสมองช่วงที่สองตามมา ตีความได้ว่า คลื่นแรกแสดงความประหลาดใจที่ไม่เหมือนที่คาดไว้ คลื่นที่สองแสดงความเข้าใจสถานการณ์


ผลการวิจัยนี้อธิบายสภาพที่สมองสั่งการให้ร่างกายโต้ตอบเหตุฉุกเฉินได้ทันควัน โดยที่ยังไม่รู้ว่า เหตุการณ์นั้นคืออะไรแน่





เรียนรู้ภาษาแม่ในชีวิตประจำวัน


มีธรรมชาติของการเรียนรู้เป็นแบบไร้การชี้แนะ เช่นเดียวกันกับการเรียนรู้สถานที่ใหม่ คือเรียนโดยประสบการณ์ตรง และอย่างเป็นธรรมชาติ โดยเขาบอกว่าทารกเริ่มเรียนตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา (การคุยกับลูกในท้องจึงมีคุณ อย่างแน่นอน)


มีการวิจัยคลื่นไฟฟ้าสมองระหว่างเรียนภาษาที่สอง และพบว่าหลังเรียนไปได้แปดสัปดาห์คลื่นสมอง ไม่เพิ่มเฉพาะที่ Broca’s Area ในสมองซีกซ้าย (ทำหน้าที่เกี่ยวกับภาษา) เท่านั้น แต่ยังมีคลื่นเบต้าเกิดขึ้นในสมอง ซีกขวาด้วย ยิ่งคลื่นแรง การเรียนภาษายิ่งได้ผลดี เป็นข้อค้นพบที่ก่อความแปลกใจ เพราะเดิมเข้าใจกันว่า สมองซีกขวาไม่เกี่ยวข้องกับการเรียนภาษา


ผมตีความว่า เรื่องราวของการเรียนรู้ของมนุษย์แบบไร้การชี้แนะ เป็นการเรียนรู้ตามธรรมชาติ และเป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ ความเข้าใจธรรมชาติหรือกลไกของการเรียนรู้แบบนี้ จึงน่าจะนำมาใช้ในการจัดการศึกษา หรือการเรียนรู้ของมนุษย์ ให้เกิดการพัฒนาคุณภาพของมนุษย์ได้อีกมาก


ผู้เขียนบทความนี้เขียนแบบนักวิทยาศาสตร์ทางสมอง เน้นที่กลไกที่เกิดขึ้นในสมอง หากค้นด้วย Google ด้วยคำว่า unsupervised learning จะพบว่าเป็นศัพท์ของวิชาด้าน information technology / artificial intelligence / machine learning แต่บทความนี้เอามาใช้กับการเรียนรู้ของคน


ผมตีความว่า การเรียนรู้แบบ activity-based learning ที่เป็นการเรียนรู้หลักของการศึกษาในศตวรรษที่ ๒๑ เน้นให้เกิดกลไกในสมองแบบ unsupervised learning แต่เสริมด้วยการจัด scaffolding โดยครูและ/หรือ ผู้ปกครอง



วิจารณ์ พานิช

๑๙ ส.ค. ๒๕๕๙


คัดลอกจาก: https://www.gotoknow.org/posts/615506

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 27 กันยายน 2016 เวลา 22:27 น.
 

ประเทศบาป

พิมพ์ PDF

คนไทยจำนวนมากยังหลงใหลได้ปลื้มกับ "ประเทศบาป" นี้ เพราะหลงเชื่อการสร้างภาพหลอกลวงมาหลายสิบปีตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2

นโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกานั้น "สกปรกโสมม" มาแต่ไหนแต่ไรแล้ว สหรัฐอเมริกาไม่ใช่ประเทศประชาธิปไตยแต่อย่างใดเลย แค่แอบอ้างเอาแนวคิดประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนไปหากิน ถ้าไม่ได้ดังต้องการ ก็ให้ CIA ไปดำเนินการล้มรัฐบาลประเทศนั้นๆบ้าง หรือกระทั่งสร้างกลุ่มก่อการร้ายขึ้นมาเองเพื่อป่วนประเทศที่ไม่ยอมเป็นขี้ข้าของตน

....ไม่รู้ว่าจะสงสารคนอเมริกันส่วนใหญ่ที่ไม่รู้เรื่องเหล่านี้ด้วยดีหรือไม่?.....

ปรากฎการณ์ *ตื่นรู้* ในสังคมไทยเพิ่งเริ่มมีขึ้น ซึ่งควรจะนำโดยกระแสนักวิชาการ แต่ก็น่าเสียดาย ที่นักวิชาการไทยจะกล้า 'แฉ' นโยบายต่างประเทศที่ผิดพลาดของอเมริกานั้นมีน้อยมาก
แต่ถ้าหากมีนักวิชาการ หรือบุคคลทั่วไป ที่อยากทราบนโยบายสกปรกโสโครกของรัฐบาลอเมริกันในหลายทศวรรษที่ผ่านมา ขอให้ไปอ่านหนังสือสามเล่มนี้ให้จบ เขียนโดย William Blum ถ้าอ่านหนังสือทั้ง 3 เล่มนี้จบ ก็จะคิดเหมือนกันว่า รัฐบาลสหรัฐฯ เท่าที่ผ่านมานั้น หาความเป็น *ประชาธิปไตย* ไม่ได้เลย ใช้ *ประชาธิปไตย* และ *สิทธิมนุษยชน* หลอกประเทศต่างๆ เพื่อหาประโยชน์ใส่ตัวทั้งนั้น

William Blum คนที่เขียนหนังสือทั้งสามเล่มนี้ เคยทำงานในกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกามาก่อน เขาจึงรู้ข้อมูลในเชิงลึก เขาเคยประท้วงบทบาทของสหรัฐฯในสงครามเวียตนามมาแล้ว เพราะเขารู้ดีว่า รัฐบาลสหรัฐฯรุกรานเวียตนามต่างหาก

William Blum ลาออกจากงานกระทรวงต่างประเทศในปี พ.ศ.2510
ถ้าได้อ่านหนังสือทั้งสามเล่มนี้จบ จะรู้ว่าประชาธิปไตยในสหรัฐอเมริกามันไม่มีจริง และจะได้รู้อีกหลายๆเรื่องที่ (ไม่เคยรู้) รัฐบาลสหรัฐฯแอบทำอยู่

คัดลอกจาก Facebook Timeline ของ ม.ล.ภูดิศ ศุขสวัสดิ์

แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน 2016 เวลา 10:50 น.
 


หน้า 234 จาก 561
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5644
Content : 3068
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8746795

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า