Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

โครงการวิจัย: การประเมินผลการดำเนินความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐของไทยกับองค์การยูเนสโก.

พิมพ์ PDF

เนื่องด้วยสำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะของหน่วยงานกลางของรัฐบาลในการประสานความร่วมมือกับยูเนสโก ได้มอบหมายให้ผมและคณะดำเนินโครงการวิจัย: การประเมินผลการดำเนินความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐของไทยกับองค์การยูเนสโก (Assessment of Cooperation between Thai Public Sectors and UNESCO) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของยูเนสโกที่มีต่อหน่วยงานภาครัฐของไทย ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐของไทยกับองค์การยูเนสโก วิเคราะห์ความคาดหวังและความต้องการของหน่วยงานภาครัฐของไทยในการพัฒนาและส่งเสริมความร่วมมือกับยูเนสโก และกำหนดแนวทางและพัฒนาความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐของไทยกับยูเนสโกในสาขาต่าง ๆ ได้แก่การศึกษา วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ วัฒนธรรม และสื่อสารมวลชน ให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น สามารถตอบสนองต่อความต้องการของหน่วยงานต่าง ๆ ของภาครัฐ และประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคมไทยอย่างแท้จริง

เมื่อวานนี้ (28 เมษายน 2554) ผมมีโอกาสได้ไปสัมภาษณ์เชิงลึก หรือ ที่ทางภาษาวิจัยเรียกว่า "Expert Opinion Survey" ดร.คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ อธิบดีกรมสามัญศึกษาคนสุดท้าย เลขาธิการคณะกรรมการการประถมศึกษา (กปช.) และตำแหน่งอื่นๆ อีกหลายตำแหน่งในกระทรวงศึกษาธิการ คุณหญิงกษมาเป็นบุคคลสำคัญท่านหนึ่งที่ทำงานร่วมกับ UNESCO อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าท่านจะเกษียณอายุราชการแล้ว ท่านก็ยังได้รับเชิญให้ร่วมทำงานสำคัญ ๆ ของยูเนสโกอยู่อย่างต่อเนื่อง

ผมรู้สึกว่าบรรยากาศของการสัมภาษณ์ดีมาก ท่านให้ความเป็นกันเอง ผมและทีมงานได้ความรู้เชิงคุณภาพและลึก ท่านยังให้คำแนะนำที่ดีต่อการพัฒนางานของประเทศไทยกับ UNESCO และการเตรียมบุคลากรของประเทศไทยให้มีความพร้อมที่จะทำงานร่วมกับ UNESCO เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุด

ต้องชมว่าการทำงานครั้งนี้ทีมงานของผมเตรียมตัวดี และก็มีส่วนร่วมในการถามคำถามที่ดี

วิธีการทำงานวิจัยของผมในครั้งนี้..

  1. โจทย์ หรือ Hypothesis คือ
  • UNESCO สร้างประโยชน์ให้คนไทยมากน้อยแค่ไหน? จะปรับปรุงวิธีการทำงานอย่างไร?
  • สรุปจุดแข็งที่ประเทศไทยได้รับ มีอะไรบ้าง?
  • สรุปจุดอ่อนที่จะต้องปรับปรุงมีอะไรบ้าง?

2. Methodologies ที่ใช้ คือ

1) เก็บข้อมูลจากเอกสาร (ซึ่งกำลังทำอยู่ใกล้เสร็จสมบูรณ์แล้ว)

2) Expert Opinion Survey

3) Focus Group

4) Questionaires จำนวน 500 ชุด (ซึ่งกำลังส่งไปยัง Stakeholders ของ UNESCO โดยจะเน้นหน่วยงานภาครัฐเป็นหลัก)

สิ่งที่สำคัญที่สุด ก็คือ การเขียนมีการวิเคราะห์ที่เป็นระบบ ในเรื่องนี้ ดร.คุณหญิงกษมา ท่านแนะนำว่าผมควรจะพูดบ่อย ๆ นำเสนอให้คนไทยได้รับทราบ วันอาทิตย์นี้จะมีการเริ่มประชาสัมพันธ์เรื่องงานวิจัยของ UNESCO โดยผมได้เรียนเชิญท่านประพัฒน์พงศ์ เสนาฤทธิ์ มาให้มุมมองของท่านผ่านทางรายการวิทยุ Human Talk คลื่น 96.5 ในวันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม 2554 นี้ด้วย เวลา 6 โมงถึง 7 โมงเช้าครับ ท่านใดที่สนใจก็สามารถติดตามได้ครับ

สำหรับการทำงานของ UNESCO เพื่อประโยชน์ของสุงคมไทย ดร.คุณหญิงกษมา ท่านให้มุมมองและข้อเสนอแนะที่ดีหลายเรื่อง เช่น

- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของไทยในอดีตและปัจจุบันควรจะมีความสามารถเรื่องภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ จะได้สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้นำในต่างประเทศได้

- ฝ่ายวิเทศน์สัมพันธ์ต้องสร้างข้าราชการพันธุ์ใหม่ที่สามารถทำงานร่วมกับ UNESCO ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถ่ายทอดความรู้จากรุ่นพี่ ๆ ที่กำลังจะเกษียณอายุไปสู่รุ่นน้อง หรือคนรุ่นใหม่ ๆ

- ต้องสร้าง Network กับหน่วยงานไทยหลาย ๆ ด้าน รวมทั้งเอกชนและ NGOs

- ต้องมีการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง และต้องเป็นเจ้าภาพในการจัดงานสำคัญ ๆ บ้างเพื่อสร้าง Impacts ในเวทีระดับโลก

- ต้องมีนโยบายการใช้สื่อที่คนไทยจับต้องได้ คล้าย ๆ งานของ Unicef

สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ หลาย ๆ ฝ่ายคงต้องช่วยกันผลักดันโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้นำประเทศ รัฐมนตรี ปลัดกระทรวงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องควรจะต้องให้ความสำคัญมากยิ่งขึ้นเพื่อให้ UNESCO สร้างคุณประโยชน์ให้กับสังคมไทยโดยรวมได้อย่างแท้จริง

ผมขอขอบคุณท่าน ดร.คุณหญิง กษมา เป็นอย่างสูงครับ

คัดลอกจาก: https://www.gotoknow.org/posts/604011

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม 2016 เวลา 14:16 น.
 

การสัมมนาระดับชาติเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งและบทบาทนำของไทยในเวทียูเนสโก “อนาคตไทยในเวทียูเนสโก”

พิมพ์ PDF

ผมได้รับเกียรติจาก สำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาตว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมสหประชาชาติ สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ บรรยายการสัมมนาระดับชาติเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งและบทบาทนำของไทยในเวทียูเนสโก “อนาคตไทยในเวทียูเนสโก

วัตถุประสงค์

  • เพื่อให้ความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างผู้ทรงคุณวุฒิและหน่วยงานต่างๆ ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานยูเนสโก
  • ผู้ทรงคุณวุฒิและนักการศึกษาของไทยในสาขาความเชี่ยวชาญต่างๆ ของยูเนสโก 
    ได้ร่วมแสดงความคิดเห็น เสนอแนะบทบาทการดำเนินงานของประเทศไทยในเวทียูเนสโก
  • เพื่อเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือที่เข้มแข็งระหว่างหน่วยงานของไทยในกรอบความร่วมมือกับองค์การยูเนสโก
  • เพื่อส่งเสริมการดำเนินงานเชิงรุกของประเทศไทยในเวทียูเนสโก


กระทรวงศึกษาธิการ และหน่วยงานต่างๆ ที่ดำเนินงานยูเนสโกได้รับความรู้และมีแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจน มีเครือข่ายการดำเนินงานที่เข้มแข็ง และพร้อมดำเนินงานบทบาทเชิงรุกในเวทียูเนสโก โดยผมได้รับเกียรติให้มาบรรยายการเสวนาหัวข้อ “อนาคตไทยในเวทียูเนสโก


ผู้นำการอภิปราย

  • ดร.ประพัฒน์พงศ์ เสนาฤทธิ์
  • ศาสตราจารย์มนตรี จุฬาวัฒนฑล
  • ศาสตราจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์
  • นางสาวิตรี สุวรรณสถิตย์
  • นางวันเพ็ญ อัพตัน
  • ผู้ดำเนินการอภิปรายนางสาวดุริยา อมตวิวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สป. 
    ในฐานะรองเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาฯ สหประชาชาติ

แนวทางในการเสวนา หัวข้อ“การสร้างคนไทยสู่การเป็นพลเมืองโลกอย่างมีคุณภาพ”

  • นโยบายประเทศไทยในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
  • ความเชื่อมโยงในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กับงานด้านต่างๆ ของยูเนสโก ทั้งด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม สังคมศาสตร์ และสื่อสารมวลชน
  • บทบาทขององค์การยูเนสโกที่จะช่วยสนับสนุนประเทศสมาชิกในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นพลเมืองโลกอย่างมีคุณภาพ
  • ประเทศไทยควรปรับเปลี่ยนนโยบาย และกำหนดเป้าหมายเชิงรุก อย่างไรเพื่อให้ได้ประโยชน์จากการเป็นสมาชิกองค์การระหว่างประเทศ
  • ความสำคัญและความจำเป็นที่ต้องพัฒนาตามวาระของ UN และองค์การระหว่างประเทศอื่นๆ


สรุปการเสวนา หัวข้อ “อนาคตไทยในเวทียูเนสโก”

คุณสาวิตรี สุวรรณประสิทธิ์ ที่ปรึกษาด้านวัฒนธรรม :

ก่อนอื่นต้อง ขอแจ้งว่าปีนี้เป็นที่สำคัญในการเฉลิมฉลองครบรอบ 70 ปี ของยูเนสโก เพราะอะไรถึงได้ก่อตั้ง มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจ สงครามเกิดขึ้นจากความคิดจิตใจของมนุษย์ จึงต้องสร้างในความคิดและจิตใจในสมองและความคิด จึงได้ก่อตั้งยูเนสโก ในด้านต่างๆขึ้นมา ความรุนแรงปรากฏตัวในรูปแบบต่างๆ ทั้งในทางสงครามและจิตใจเกิดการเดินทางโยกย้ายถิ่นได้ กลายเป็นคนย้ายถิ่นเกิดขึ้นได้ ผลกระทบทางวัฒนธรรมเกิดขึ้นทางจิตใจและสังคมมีมาก เราตระหนักและรับรู้ ในการร่วมมือกับองค์การในประเทศได้ ว่าเรากำลังเผชิญหน้าอยู่กับอะไรบ้าง หลังการปรับเปลี่ยนทศวรรษใหม่ มีการปรับเปลี่ยนในสิ้นสุดในปี 2015 และจะเริ่มนับ 1 ใหม่ ในปีนี้ อะไรจะเป็นโจทย์ในการพัฒนาในอนาคต

ตอนนี้ปรับเปลี่ยนวัฒนธรรม ไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำเพิ่มขึ้น มีมติออกมาในสหประชาชาติ ที่สร้างแผนพัฒนาจะมีเรื่องวัฒนธรรมเข้ามาด้วย ไม่ใช่เรื่องอนุรักษ์และเผยแพร่อย่างเดียว แต่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและทางชีวภาพ ซึ่งจะก่อตัวในสิ่งแวดล้อมทั้งรู้ตัวและไม่รู้ตัวด้วย ทุกอย่างมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงต่อกันมาก

เราจะเห็นว่าในอดีตที่ผ่านมา ยูเนสโกได้ออกอนุสัญญา ที่มาร่วมยกร่างด้วย ผ่านการรับรองเป็นอนุสัญญาและขึ้นอยู่สมาชิกในแต่ละประเทศว่าจะเป็นภาคีหรือไม่ มีกลไกในประเทศรองรับและยอมรับการเป็นภาคีนั้น

อนุสัญญา มีอยู่ 6 อยู่อนุสัญญา มีสมาชิกอยู่มากกว่าด้านการศึกษา เช่น อนุสัญญามรดกโลก อย่างเช่นเขาพระวิหารที่เคยขึ้นศาลโลก ความสนใจมีมาก สนใจเมื่อผลประโยชน์ของไทยถูกกระทบกระเทือน แต่ไม่ได้เข้าแชร์ว่าเราสามารถเข้าไปในประเทศได้มากขึ้น ความสามารถในการร่วมมือในระหว่างประเทศอาจจะมีน้อยลง เราต้องมีการแชร์เรื่องราวได้มากกว่านี้

การประชุมร่วมกัน เพื่อมีอนุสัญญาร่วมกัน แทนที่จะต่างคนต่างทำ มีการร่วมมือกัน หาโจทย์สำหรับทุกคน แต่ละสาขาจะช่วยร่วมมือกันได้อย่างไร วัฒนธรรมเป็นปัจจัยในการเสริมสร้างเศรษฐกิจ ซึ่งจะใช้ทรัพยากรธรรมน้อย และกระจายไปสู่ชุมชนได้ แก้ปัญหาความยากจนและปัญหาอื่นๆได้

นางสาวดุริยา อมตวิวัฒน์ : ทำให้เห็นว่าเรื่องทุกเรื่องไปด้วยกันหมด ทุกประเด็นมีความเชื่อมโยงกันหมด รอดูกันต่อไป

ศาสตราจารย์มนตรี จุฬาวัฒนฑล ประธานคณะกรรมวิทยาศาสตร์ :

เราร่วมมือกันมาหลายปี ประเด็นที่อยากกล่าวคือให้รู้จัก Unesco science กันมากขึ้น ประเทศในยูเนสโกทำอะไร และในอนาคต จะทำอะไร

SCIENCE คือเน้นและสร้างพื้นฐาน และแลกเปลี่ยนร่วมกัน เน้นด้านประเทศในอาฟริกาในระยะที่ผ่านมา

ปี 2010 มีการแชร์ข้อมูลร่วมกัน ทำและติดต่อกับหลายประเทศ พูดถึงยูเนสโกร่วมมือและเป็นปัจจัยสำคัญ สิ่งที่น่าคิดคือ ยูเนสโกสามารถทำความร่วมมือได้มากน้อยแค่ไหน มาจากหน่วยงานต่างๆ ติดกับต่างประเทศโดยตรงได้อยู่แล้ว ที่ต้องติดต่อผ่านยูเนสโกสามารถมีมากขึ้นได้ แต่ยังไม่ได้ใช้มากนัก

สิ่งที่ยูเนสโกทำคือการประชุม แต่จริงๆแล้วมีการให้รางวัล จัดสัมมนาต่างๆ และจัดให้กับอาฟริกาและประเทศด้อยพัฒนา ไทยร่วมมือและอยู่ในเวทีหลายโอกาส และจะทำให้อย่างไรให้ได้มากกว่านี้

ทางด้านกำหนดการต่างๆ เช่น Geosciences programme IGCP และด้านต่างๆยังมีอยู่จำกัด

ยูเนสโกมีอยู่หลายๆองค์กร ประเทศไทยมีโจทย์ว่าเราจะสนใจอะไรมากอะไรน้อยและจะทำอย่างไรไปในภายภาคหน้าต่อไป สิ่งที่จะเชื่อมโยงมีการแลกเปลี่ยน การแก้ไขความคิด การปัญหาต่างๆ สร้างมาตรฐาน สิ่งที่ได้จากยูเนสโก เราสามารถหาไอเดียดีๆได้ และสามารถใช้ได้จริง สามารถหาจากยูเนสโกได้

ประเด็นท้าทาย คือจะทำให้ยูเนสโกให้ประโยชน์กับเราได้มากแค่ไหน และทำได้อย่างไร คุ้มหรือไม่ เราต้องทำเพราะเราเป็นประชาชนของโลก แต่จะทำได้มากและทำอย่างไร เพื่อประโยชน์ในภายภาคหน้า

ปี 2015 คงมีการเปลี่ยนแปลงไปอีกมากมาย

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

มีบทบาทสำคัญในยูเนสโก สาขาสังคมศาสตร์ เป็นผู้ทำงานวิจัย เรื่องบทบาทประเทศไทยที่รับการเป็นสมาชิกของยูเนสโก :

ผมคิดว่าโจทย์คือมองไปอนาคตประเทศไทย กับยูเนสโกจะมีบทบาทเพิ่มขึ้นอย่างไร ยูเนสโกเป็นองค์กรที่มีปัญญาและความหลากหลายในหลายๆด้าน ได้เห็นบทบาทคือ น่าจะคิดร่วมกันว่าอุปสรรคในแนวความคิดเหล่านี้ควรจะทำอย่างไร ในอนาคตอยากให้มาร่วมงาน บางครั้งกระจายไปในภาพกว้างยังไม่ได้ แต่ประเทศไทยได้รับจากยูเนสโกอยู่มากมาย ในความเห็นคือถ้าเราจะช่วยหน่วยราชการ สำนักนโยบายวิเทศสัมพันธ์ กระทรวงศึกษา น่าจะเสริมงานคือ

น่าจะมีการทำเป็นไม่เป็นทางการ แบบกลุ่ม ขึ้นอยู่กัน Informal Network หน่วยรัฐจำเป็นต้องมีหน้าที่ต่อไป ทั้งในอาชีวะ วิทยาลัยน่าจะมีบทบาท

ประชาชนทั่วไป นักธุรกิจ น่าจะช่วยได้

ผมใช้ทฤษฎี 3 ต. เรากัดไม่ปล่อย ประชุมระดับ Social sciences ผมคิดว่าจะรับใช้ ขอเสนอแบบไม่เป็นทางการ สร้างคัตเตอร์ขึ้นมา ตั้ง Network และจัดกิจกรรมให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน ถ้าเราตั้ง Informal Network ขึ้นมา มีแกนกลางไม่จำเป็นต้องยูเนสโกเป็นแกนกลาง อาจจะนักธุรกิจก็ได้ มีศักยภาพมีมากมาย แต่เรายังไม่มีบรรยากาศในการแบ่งปันเรื่องเหล่านี้ขึ้น จึงต้องมีการระดับคัตเตอร์ จะได้หลุดออกจากระบบราชการ เราต้องมีตัวละครหลายๆตัวเพื่อขับเคลื่อนให้ยูเนสโกเป็นเลิศ

ต้องมี Diversity การก้าวไปสู่การรับการเปลี่ยนแปลง ข้ามศาสตร์ คนในยูเนสโกมีรู้ความสามารถมาก สิ่งเหล่านี้ซ่อนอยู่ในความคิดยูเนสโก ผมขอเป็นตัวละครเล็กๆในยูเนสโก อยากให้ทำอย่างต่อเนื่อง เริ่มจากกลุ่มเล็ก มีคัตเตอร์เช่นในมหาวิทยาลัย ในภาคต่างๆและมาเจอกันและรวมตัวกัน

ยูเนสโกเป็นองค์กรที่ยิ่งใหญ่ ขอพูดว่าที่ประชุมในการทำงานยุคต่อไปต้องต่อเนื่อง โดยการตั้งกลุ่มเล็กๆขึ้นมาก่อน ได้รับความร่วมมือในการขับเคลื่อนร่วมกัน ต้องเกิดจากความหลากหลาย และข้ามศาสตร์เอาทุกกลุ่มของยูเนสโกมารวมกันอย่าทำคนเดียว

ต้องทำงานที่เป็นเครือข่ายตรงนี้ร่วมกัน

ดร.ประพัฒน์พงศ์ เสนาฤทธิ์ :

ยูเนสโกเป็นมีมา 70 ปี ถ้าเปรียบเหมือนคนก็เริ่มถดถอยแล้ว เสียเงินค่าจ้างบุคคลากรเยอะ ค่าจ้างที่ปรึกษาและต่างๆมีมาก มีการปรับอะไรมามากมาย ประเด็นที่ประเทศไทยเป็นสมาชิก จะเข้ามาบทบาทในประเทศคือต้องการให้มองภาพในอนาคตว่าประเทศไทยจะทำอย่างไร ดูภาพใหญ่ของโลก ไม่มองยูเนสโกอย่างเดียว

ลองยกจากการศึกษาสิ่งที่จะไปในคราวหน้ามีการตกลงเช่น Early Childhood care , Teacher' roles and Quality ,ICT เป็นต้น

มีการปรับตัวมากขึ้น โลกของเราจะไปอย่างไร ประชากรเพิ่มขึ้นและมีผู้สูงอายุสัดส่วนสูงขึ้น คนอยู่ในเมืองมากขึ้น

ผลกระทบต่อการศึกษา งานและวิถีชีวิตแบบ Knowledge Dependent , Innovation Talents and Business success

ทุกอย่างอยู่ในเทคโนโลยีและมีวัตกรรม ซึ่งมาจากการศึกษา ยูเนสโกเป็นเวทีปรับทิศทางในลักษณะดังนี้

เป้าหมายขององค์กรและการดำเนินงาน สงครามซีเรียและผู้ลี้ภัยในยุโรป เป็นต้น

ทิศทางที่น่าจะเป็น จะมีบทบาทได้อย่างไร มีการทำงานร่วมกันในลักษณะต่างๆ เช่น โรคติดต่อ เอดส์ ซึ่งเราทำได้ดี แต่ยังไม่สามารถปรับไปถึง Leader ได้ เพราะยังไม่ชัดเจนได้ขนาดนั้น

การศึกษาเราเอาอะไรโชว์ไม่ค่อยได้ ประสิทธิภาพแย่ มีงบประมาณมากแต่ก็ไม่จำเป็นว่ามีคุณภาพดีเสมอไป จุดแข็งของเราก็ต้องได้รับการสนับด้านการศึกษาต่อไป จุดอ่อน คุณภาพประสิทธิภาพและโอกาสทางการศึกษา คุณภาพของบุคลากร

จุดแข็ง : นโยบายและงบประมาณ

โอกาส : ที่ตั้งของประเทศ สำนักงานระดับภูมิภาคในประเทศไทย

อนาคตประเทศไทย : ต้องสร้างเอง เอาจริงริเปล่า ต้องชัดเจนต่อเนื่องและข้าใจ (งาน เงื่อนไข กติกา)

Resource Mobilization : Human resources

Revitalize infrastructures : Organization and management , Education system , Support System

ปรับกระบวนทั้งหมดในการบริหารจัดการ ประเทศไทยสามารถทำได้ หลายประเทศก็ทำแล้ว

ยกระดับคุณภาพการศึกษาให้ได้ สร้างคนในระดับโลกให้ได้

ระบบสนับสนุน และแบ่งไปตามภาคต่างๆ ถ้าเราจะเอาจริงเราต้องคิดเรื่องเหล่านี้ให้มาก

คุณวันเพ็ญ อัพตัน :

การสื่อสารของยูเนสโก เวทียูเนสโกมองเห็นว่าเป็นแหล่งนวัตกรรมและความรู้ กฏยูเนสโกสามารถลิ้งเชื่อมโยงและบูรณาการ และใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมในระดับโลกได้จริง

การส่งเสริมและแสดงความคิดเห็นสื่อและทรัพยากร ได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม โครงการนานาชาติ เรื่องข่าวสารเพื่อมวลชน เน้นเรื่องการพัฒนาสื่อ เช่นในรายการทีวี มีเรื่องความเท่าเทียมในระดับชายหญิง ผู้ที่กระทบต่อสื่อมากระทำลงโทษ

การสื่อสารทางด้านการรู้เท่าทันสื่อและทันต่อโลก เราสามารถผลักดันได้ผ่านคณะกรรมการ เน้นการพัฒนาข้อมูลข่าวสารสารสนเทศ

เพื่อช่วยเหลือประชาชนทั่วโลกให้สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารคุณภาพอย่างทั่วถึงโดยสะดวก

เสริมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตามสิทธิมนุษยชน

เชื่อมโยงพัฒนาด้านสื่อและการบริโภค เราสามารถร่วมทำโครงการโดยใช้แนวคิดยูเนสโกมาผลักดันได้อีกด้านหนึ่ง นำประเด็นต่างๆเหล่านี้มาพัฒนาด้านสื่อได้

คุณดุริยางค์ : แต่ละท่านพูดคล้ายกัน คือต้องทำงานด้วยกัน ต้องร่วมกันเป็นไปในทิศทางเดียว จะทำอย่างไรที่จะปูพื้นและดึงมาสู่ประโยชน์ใหญ่ของยูเนสโก

เรามีเครือข่ายอยู่เยอะ แต่ยังไม่มีเครือข่าย ถ้ามีตรงนี้จะนำสู่การขับเคลื่อนสู่โลกได้ เชื่อมโยงให้ได้ว่าปัญหาคืออะไรบ้าง

คุณสาวิตรี สุวรรณประสิทธิ์:

ผลประโยชน์ของประเทศอยู่ไหน เรายังมองตรงนี้ไม่ออก หรือมองผลประโยชน์คนละอย่างกัน ช่วยกันมองว่าบทบาทที่จะออกไปต่างประเทศควรทำตัวอย่างไรในต่างประเทศ ในกระทรวงวัฒนธรรม คือการรักษาศักดิ์ศรีในประเทศ แต่คนอื่นอาจจะไม่ได้มองถึงตรงนี้ เพราะมีรายละเอียดมากมาย ต้องเข้าใจว่าอันไหนคือศักดิ์ศรี อันไหนควรทำหรือไม่ควรทำ ประสบการณ์ต่างกัน การเลี้ยงดี อบรม การเรียน การสั่งสอนจากผู้บังคับบัญชา

คำตอบในวงการยูเนสโก มีงานภาคสนามและการสร้างเครือข่ายเป็นจำนวนมาก มีระดับรากหญ้าและวิชาชีพ มีอนุกรรมการ มากมาย ได้ความรู้จากระดับนานาชาติมาใช้ประเทศมากมาย ต้องยอมรับว่าเป็นวัฏจักรในประเทศ ยูเนสโกถูกบีบมาก ถูกจำกัดโดยกฎหมายมากมาย

ตอนนี้โครงการยูเนสโกมีกิจกรรมที่ตอบสนองกับวิกฤติของยูเนสโกมากมาย มีกิจกรรมที่จะช่วยประเทศสมาชิกมากมาย

การรับรู้ข่าวสารเพียงแค่ของคนไทยแค่เพียงผิวเผิน ไม่ลึกซึ้ง ซึ่งเรื่องนี้มีความสำคัญมาก สร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์ให้ได้

สร้างคนที่มีสามารถขึ้นมาให้ได้ ไม่ฟังแล้วก็ผ่านไป

ศาสตราจารย์มนตรี จุฬาวัฒนฑล :

อยากเรียนว่า 2015 ยูเนสโกไทยต้องผลิต ไม่ใช่ทางเลือก ไม่ใช่ Option ในอดีตเราต้องเปลี่ยนจากทำตามมานำ ทำเชิงรุกแทนการเชิงรับ ประเทศไทยต้องเปลี่ยน เพื่อให้ประเทศไทยได้ประโยชน์

ความนิยมไทยและชาติมาแรงต้องผลิตและเปลี่ยน ไม่เพียงแต่สำนักงานต้องเปลี่ยนจะเป็นในรูปแบบไหน เรื่องวิทยาศาสตณ์ เราก็มีกระทรวงวิทยาศาสตร์ ซึ่งไม่ใช่ กระทรวงศึกษาเพียงอย่างเดียว ไม่เพียงแต่ทำอย่างไร สร้างสรรค์ รณรงค์ที่จะเกิดการผลิต จะได้แตกต่างไปในปี 2015 เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ เปลี่ยนวิธีคิดและวิธีทำ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ :

เป็นช่วงหาจุดเพื่อให้ยูเนสโกโลก เป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย เห็นยูเนสโกในการทำงานด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สำคัญมาก คิดว่าต้องมีต้นน้ำกับปลายน้ำ นโยบาย โครงสร้าง ตัวละคร ที่จะขับเคลื่อนและนำในการเป็นฝ่ายรุก

สังคมไทยเคยชินกับการเป็นตัวของตัวเอง เราอ่อนภาษาอังกฤษ ในการขับเคลื่อนยูเนสโกแนวรุกเพื่อประโยชน์ โอกาสที่จะไปทำงานระดับอินเตอร์คงไม่ง่ายนัก ตรงนี้ปรับปรุง เช่น เกาหลีส่งคนรุ่นใหม่ๆไปฝึก เป็นต้น

ระดับปฏิบัติการ Informal network ให้คนเหล่านั้นรับทราบข้อมูล นอกเหนือจากภาพใหญ่ที่ทำอยู่แล้ว แต่เรื่องเล็กก็สำคัญเพื่อไปสู่ภาพใหญ่

การทำงานในสังคมจะทำอย่างไร อยู่อย่างไรและทำได้อย่างยั่งยืน

การปรับโครงสร้าง เข้าตามหน่วยสายงาน ไม่มารอแค่กระทรวงศึกษาเพียงอย่างเดียว เวลาที่จำกัดอาจจะทำได้ไม่ทั่วถึง

ในวันนี้สังคมไทยเป็นสังคมที่ตื้น ไม่มีความคิดเป็นของตัวเอง ไม่ได้คิดวิเคราะห์ พึ่งพาแต่ Google อย่างเดียว ไม่มี thinging skills ต้องมีการปะทะกันทางปัญญา คิดถึงคนเป็นหลัก ให้คิดถึง

การทำงานในวันนี้อยากให้ทำร่วมกัน ได้รื้อฟื้นสิ่งที่ทำไป ที่จะต้องเข้าในทำงานยูเนสโกในอนาคต ต้องสร้างคนรุ่นใหม่ขึ้นมา คนที่เข้าไปในยูเนสโกซึ่งมีศักยภาพมากมาย ซึ่งต้องเริ่มจากคนรุ่นใหม่เพิ่มขึ้น ให้เด็กรุ่นใหม่ได้ฝึกในด้านนี้เพื่อเป็นประโยชน์เพิ่มขึ้น

คุณดุริยางค์ :

เราขาดคนรุ่นใหม่ ที่จะไปทำงานต่อ เรามีโรงเรียนเครือข่าย ซึ่งจะเริ่มจากจุดนี้ก่อนได้ เราต้องเปลี่ยนวิธีการทำงานและวิธีคิดใหม่เพิ่มขึ้น

คุณวันเพ็ญ อัพตัน :

ด้านการสื่อสาร แปลงสารจากวิชาการเป็นภาษาชาวบ้าน จะนำส่วนต่างๆ ช่วยให้งานยูเนสโกใกล้กับคนและชาวบ้านได้มากขึ้น การสื่อสารก็จะสร้างบทบาทและต้องเข้าใจเรื่องยูเนสโกว่าทำอะไรอยู่ในตอนนี้ สิ่งที่จะนำเอาไปขยายผลจะนำไปเป็นประโยชน์มากขึ้น

ดร.ประพัฒน์พงศ์ เสนาฤทธิ์ :

ทิศทางที่จะไป ดูภาพตามความจำเป็นและตามสถานการณ์ของสมาชิก มีหน่วยงานระดับที่ดูแลด้านนี้โดยเฉพาะ เราขาดการขับเคลื่อนเรื่องต่างประเทศที่ชัดเจน ประเทศไทยต้องหาจุดให้ได้ ว่าเราอยู่คนเดียวไม่ได้แล้ว งานหลายอย่างที่เรามีและเคยทำ สอดแทรกในด้านต่างๆเข้าไป ขอพึ่งทางสื่อ ชาวบ้านทั่วไปอยู่ไกลเรื่องนี้และยูเนสโกมาก

ศาสตราจารย์ยงยุทธยุทธวงศ์ :

ได้ฟังตั้งแต่เช้า ยูเนสโกไทยต้องทำเชิงรุก มากกว่ารับ ตั้งเครือข่ายให้มากขึ้น ไม่หน่วยงานราชการไทยเลยที่จะพูดความชัดเจนในด้านนี้ ข้อดีทำงานตรงกับการทำงานยูเนสโกสหประชาชาต

ข้อเสียคือทำภายใต้กระทรวงศึกษา ทำอย่างไรให้ก้าวหน้า อยากเสนอ 2 แนว

คนมักจะคิดว่าเป็นของกระทรวงศึกษา เสนอให้ปลัดก.ต่างๆมาคุยกันร่วมและประชุมร่วมกัน ไม่ต้องบ่อยก็ได้ ให้ได้ประเด็นที่แน่นอนออกมา คือการประชุมในระดับสูง

มีคณะกรรมการที่ปรึกษา มีภาคเอกชนและ NGO เข้ามาร่วมเป็นเครือข่ายขึ้นมา

จากสำนักงาน กศน. :

ทำอย่างไรให้เกิดประโยชน์อย่างมากในอนาคต สัมฤทธิ์ผล ปัจจุบันบริบทและโลกเปลี่ยนแปลง ลำพังแค่รัฐอย่างเดียวไม่ได้ ขอเสนอ ประเทศไทยต้องสร้างกลไกด้านต่างๆ ในยูเนสโกและด้านเกี่ยวข้องทั้ง 5 ด้าน ร่วมกัน ร่วมกับธุรกิจและเครือข่ายอย่างเป็นระบบ ทั้งระยะสั้น กลางและยาว โดยมีการผลักดันโดยมีงานวิจัยให้มีกลไกที่มีประสิทธิภาพ เป็นกลไกร่วมมือทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อเกิดเชิงรุกอย่างเป็นรูปธรรม เชื่อมต่อกับยูเนสโกได้ ได้ Win Win ต่อกันทั้งประเทศไทยเลยค่ะ

อ.พรทิพย์ :

เชี่ยวชาญและรู้เท่าทันสื่อ สื่อไอที รู้เท่าทันสารสนเทศ ไม่ใช่ตัวสื่อแต่เป็นกระบวนการคิด วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ ของสื่อ ไม่อยากให้ยูเนสโกมองแค่ว่าเป็นงานเลื่อนลอย อนาคตเราดึงเรื่องราวของยูเนสโกมาให้ใกล้ตัวและ Impact กับประชาชนมากขึ้น

เชิงวัฒนธรรม เปลี่ยนถ่ายวัฒนธรรม มีเครือข่ายหลายประเทศที่สอดคล้องกับยูเนสโกในหลายด้าน แต่ยังไม่ได้รวบรวม ตรงนี้เป็นประเด็นสำคัญ ที่จะต้องทำฐานข้อมูล ดึงเรื่องราวยูเนสโกให้เป็นเรื่องใกล้ตัว และมารวมตัวเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ

อ.มาลี :

ขอเสนอ เห็นชื่ออนาคตในเวทียูเนสโก เราดูยูเนสโกประเทศไทย อนาคตศึกษาของ APEC เราลองปรับการศึกษาให้เห็นคำตอบ ภาพอนาคต UN เป็นองค์กรสำคัญ วาดภาพอนาคตในประเทศไทย น่าจะมีคนสนใจในระดับนโยบายได้ เพื่อนำประเทศไทยสู่เวทีโลกได้ วิเทศสัมพันธ์คือความร่วมมือระหว่างประเทศ และวิชาการต่างๆ หาคนเข้ามาช่วยได้

ประชาชนมีส่วนร่วมน่าจะใช้ Social Media แต่ต้องมี admin ดูแล ในเรื่องเหล่านี้ให้มากขึ้น

คัดลอกจาก : https://www.gotoknow.org/posts/594812

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม 2016 เวลา 14:24 น.
 

ยุคโลกไร้พรมแดน ประเทศไทยและคนไทยต้องพัฒนาอีกมาก กรณีศึกษา UNESCO, APEC และ ASEAN 2015

พิมพ์ PDF

งานวิจัยของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เรื่อง ASEAN 2015 ผมว่า ประเทศไทยมีปัญหา 3 เรื่อง

-ยังไม่เป็นมืออาชีพ

-ยังไม่ปรับทัศนคติสู่การอยู่ร่วมกับชาติอื่นๆ

-สุดท้ายคือยังไม่เป็นสังคมนานาชาติ หรือยังปรับตัวเข้ากับสากลไม่ได้ดีและยังหาประโยชน์จากโลกไร้พรมแดนไม่พอเพียง

เรื่องนี้ผมคิดว่า มาจากเหตุผลหนึ่งคือ

-ความภูมิใจที่คนไทยไม่เคยเป็นเมืองขึ้นใคร จึงทำให้เกิดนิสัยและค่านิยมดังกล่าว

-ประเทศไทยไม่เคยลำบาก มีทุกอย่างเกินพอ ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว

-อยู่อย่างไรก็รอดโดยไม่มีความเจ็บปวด

แต่สิ่งที่คนไทยคาดไม่ถึงคือ การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วหรือ Change ซึ่งมาถึงประเทศเราอย่างรวดเร็วและเราปรับตัวไม่ทันเพื่อให้ได้ประโยชน์จากโลกไร้พรมแดน ในระดับประเทศ ยังขาดผู้นำที่จะชี้แนวทางที่ควรจะไป บางครั้งเรายังอยู่กับที่ ยังเรียกร้องการเลือกตั้งและประชานิยมแบบเดิมๆ ยังพอใจกับสิ่งเก่าๆ หรืออาจเรียกว่าชอบสบาย “Comfort Zone”

ยกตัวอย่างประเทศเกาหลี การเข้าสังคมนานาชาติ หรือจัดการกับโลกไร้พรมแดน ทำเป็นระบบที่เกิดขึ้นคล้ายๆ Team Korea

ยกตัวอย่างเรื่องธุรกิจระหว่างประเทศ ภาครัฐ ภาคธุรกิจ หรือภาควิชาการหากมีการทำงานร่วมกัน ช่วยเหลือกัน ไม่ขัดขา ไม่แข่งขันกันเอง ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ เอกชนและวิชาการ จะสามารถสร้างรายได้จากโลกไร้พรมแดนได้ดีมาก น่าศึกษาอย่างยิ่ง

ทีมเกาหลีจึงประสบความสำเร็จอย่างมากในการทำงานระหว่างประเทศ แม้กระทั่งในการฝึกพูดภาษาอังกฤษ ทีมเกาหลีก็ทำได้ดีกว่าคนไทยมากเพราะเขามีผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ มองการณ์ไกล

กรณีประเทศไทย เรื่องโลกไร้พรมแดน ยกตัวอย่างให้เป็นรูปธรรม 3 เรื่อง

เรื่องแรกคือ เรื่อง UNESCO เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว มีการสัมมนาระดับชาติซึ่งเชิญผมไปร่วมงานด้วยเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งในบทบาทของไทยในเวทียูเนสโก “อนาคตไทยในเวทียูเนสโก” ซึ่งเป็นองค์การสหประชาชาติมีอิทธิพลต่อโลกมาก และน่าเสียดายที่ประเทศไทยยังใช้ประโยชน์จาก UNESCO ต่อคนไทยได้น้อยเกินไป เรียกว่าเป็นนโยบายตั้งรับ ไม่มีนโยบายเชิงรุก

เพราะ UNESCO คือสมบัติของโลก มีคุณค่า มีความรู้และภูมิปัญญามากมาย ประเทศไทยต้องเสียค่าสมาชิกทุกปี ปีละ 60 ล้านบาท

ต้องยอมรับว่า UNESCO เป็นองค์กรที่มีความรู้ในหลายๆ ศาสตร์ เช่น

-วิทยาศาสตร์

-วัฒนธรรม

-การศึกษา

รวมทั้งบทบาทของสื่อ UNESCO เป็นองค์กรที่มีความหลากหลาย ผมเรียกว่าเป็นองค์กรที่มีทุนทางปัญญา และมี Value Diversity มาก ควรทำแนวทางเหล่านี้ให้ประชาชนคนไทยได้ประโยชน์ แต่ประเทศไทยใช้ประโยชน์จาก UNESCO น้อยเกินไป เพราะโครงสร้างแข็งตัวคือให้ภาครัฐรับผิดชอบแต่ผู้เดียว ไม่มีกลไกที่จะสื่อสารถ่ายทอดแนวคิดและปัญญาเหล่านั้นไปสู่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ต้องการความรู้ของ UNESCO เพื่อประโยชน์ต่อคนไทย จึงเกิดเป็นสาเหตุของการปรับ Mindset เรื่องสังคมไร้พรมแดนและการร่วมมือกับต่างประเทศ น่าจะเป็นหัวใจที่สำคัญใน 20 ปี ข้างหน้าของคนในประเทศไทย

ปัญหาไม่ใช่มีแค่อ่อนภาษาอังกฤษเท่านั้น แต่ขาดความต่อเนื่องในการทำงาน คนรุ่นเก่าก็เกษียณไป โดยไม่ได้ฝึกคนรุ่นใหม่ให้มาทดแทนคนรุ่นเก่า และการทำงานโดยใช้รัฐ แบบราชการเป็นหลัก ควรต้องเสริมระบบ Network แบบไม่เป็นทางการ โดยเอานักวิชาการ NGOs นักธุรกิจ สำนักงาน UNESCO ในกรุงเทพฯ แม้กระทั่งชุมชนมาเป็นแนวร่วมสร้างเครือข่ายและขยายความรู้ไปยังภูมิภาค (Clusters) ต่างๆ โดยเน้นความต่อเนื่อง ต่อเนื่องและต่อเนื่อง เพื่อใช้ความรู้ของ UNESCO ให้ขยายไปสู่กลุ่มเป้าหมายของคนไทยเพิ่มขึ้น

ส่วน ASEAN 2015 ก็สะท้อนภาพความอ่อนแอของประเทศไทย ในการเข้าสู่สังคมนานาชาติ ถึงแม้ว่าจะอยู่ใกล้ๆ มีพรมแดนติดกัน แต่คนไทยก็ยังไม่รู้เขา ไม่ศึกษาประเทศเหล่านี้ว่า เมื่อเข้าอาเซียนจะได้อะไรจึงต้องปรับ Mindset กันอีกมาก

ส่วน APEC ผมมีตัวอย่างที่ดีเพราะยุคหนึ่ง กระทรวงแรงงานเสนอชื่อผมเป็นประธาน APEC HRD (พัฒนาทรัพยากรมนุษย์) ซึ่งทำให้ประเทศไทยมีบทบาทนำ ยังมีคณะกรรมการอีกหลายชุดเช่น กรรมการ SMEs ทางด้านเศรษฐกิจ ด้านพลังงาน ที่คนไทยเป็นแค่พระอันดับ ขาดการไปเป็นผู้นำในคณะกรรมการเหล่านั้น แค่ไปเมืองนอกแต่ไม่ได้อะไรกลับมาเลย ในอนาคต น่าจะสนับสนุนให้คนไทยมีบทบาทนำในเวที APEC มากขึ้น

จึงขอฝากแนวคิดเหล่านี้ให้ผู้อ่านนำไปพิจารณาว่า ประเทศไทยและคนไทยจะปรับตัวอย่างไร เมื่อการเข้าสู่โลกไร้พรมแดนในทุกๆ ด้านให้มีประโยชน์ต่อประเทศได้มากกว่านี้

จีระ หงส์ลดารมภ์
dr.chira@hotmail.c

คัดลอกจาก บทเรียนจากความจริง ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ หนังสือพิมพ์แนวหน้า วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม 2559
แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม 2016 เวลา 14:41 น.
 

จากชุมชนสู่โลกาภิวัตน์ ตัวอย่างบทบาทผู้นำของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กับ UNESCO

พิมพ์ PDF

ในช่วง 4-5 สัปดาห์ที่ผ่านมา ผมได้ทำงานในระดับชุมชนหลายเรื่อง ดังที่ได้รายงานท่านผู้อ่านเป็นประจำ แต่เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมามีประชุมคณะกรรมการระดับชาติ\ฝ่ายสังคมศาสตร์ของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งชาติ (ยูเนสโก) ครั้งที่ 1/2559 แต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรี ซึ่งผมได้รับเกียรติเป็นกรรมการชุดนี้มากว่า 15 ปีแล้ว

คณะกรรมการชุดนี้ได้ปรับวิธีการทำงานใหม่มีนวัตกรรมโดยมีอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศาสตราจารย์สมคิด เลิศไพฑูรย์ เป็นประธานและมีรองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์นิธินันท์ วิศเวศวร เป็นผู้ประสานภายใต้การนำของอธิการบดี แต่ยังมีกระทรวงศึกษาธิการทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการจัดประชุมคณะกรรมการชุดนี้อย่างต่อเนื่อง ทุก 3 เดือน มีแนวทางที่จะทำให้บทบาทของ UNESCO เรื่องสังคมต่อประเทศไทยมีคุณค่าสูงขึ้น เน้นคนไทยได้อะไรจาก UNESCO ไม่ใช่รู้กันแค่เจ้าหน้าที่ไม่กี่คนหรือบางประเทศ เช่น เกาหลีมีหน่วยงานพิเศษที่จะนำเอาความรู้ของ UNESCO มาใช้อย่างเต็มที่

การประชุมเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา เป็นการทำงานเชิงรุกเพื่อนำข้อสรุปต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ของ UNESCO ให้คนไทย หรือผู้เกี่ยวข้องในประเทศได้รับทราบ ผมและทีมงานจะเป็นแนวร่วมกับคณะกรรมการชุดนี้ด้วย เพราะ UNESCO เป็นองค์กรที่มีหน้าที่รับผิดชอบระดับโลกในหลายเรื่องใหญ่ๆ เช่น

- วัฒนธรรม

- วิทยาศาสตร์

- การศึกษา

- มรดกโลก

- กีฬา

- การประชาสัมพันธ์และสื่อ

การประชุมคณะกรรมการฝ่ายสังคมศาสตร์ของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งชาติ(ยูเนสโก) ครั้งที่ 1/2559 เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2559

จุดที่น่าสนใจคือ กระทรวงศึกษาธิการปรับวิธีการทำงาน หรือเรียกว่าเป็นนวัตกรรมทางการบริหารจัดการ ได้ขอให้อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นประธาน ซึ่งอธิการบดี ศาสตราจารย์สมคิด เลิศไพฑูรย์ มีความคิดอย่างดีที่จะทำให้งานต่างๆ ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และได้แสดงศักยภาพที่เด่นชัดในการนำคณะกรรมการชุดสังคมศาสตร์ให้มีบทบาทต่อคนไทยและประเทศไทยเป็นรูปธรรมอย่างน่าภูมิใจในการประชุม UNESCO ปี 2558 UNESCO ได้ยกย่องบุคคล 2 ท่านของประเทศไทย ท่านหนึ่งเป็นปูชนียบุคคลของธรรมศาสตร์ด้วยคือ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ และอีกท่านคือ ม.ร.ว.เปีย มาลากุล นอกจากนั้น ยังจะผลักดันคณะกรรมการโครงการจัดการการเปลี่ยนแปลงทางสังคม (MOST : Management of Social Transformations) ซึ่งจะมีกรรมการชุดใหม่ระดับชาติขึ้นในประเทศไทย ผมมีข้อเสนอว่าตั้งกรรมการได้ แต่ต้องมีวิธีการทำงานที่เน้นความสำเร็จในบทบาทของหน่วยงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงานวิจัยของมหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานอื่นๆ ทั้งภาคประชาชนและต้องกระจายการทำงานไปต่างจังหวัดด้วย

ข้อดีของ MOST คือ การนำเอางานวิจัยระดับนโยบาย เรียกว่า Policy and Knowledge สาขาสังคมศาสตร์ระดับโลกมาดูผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทุกระดับในสังคมโดยเฉพาะคนในสังคมโลก

ต้องกระตุ้นการทำงานเป็นทีมประกอบไปด้วยทีมกระทรวงศึกษาธิการ ทีมธรรมศาสตร์ และทีมของผมซึ่งมีประสบการณ์มากมายในการทำงานแบบ National ว่าจะปรับตัวอย่างไร เช่น

- การเปิดเสรีทางการค้า และการเข้าสู่ ASEAN

- ปัญหาของผู้อพยพระหว่างประเทศ

- ประชานิยมกับผลกระทบต่อระดับรากหญ้า

- การใช้ Digital Technology เพื่อการปรับตัว

- การพัฒนาที่ยั่งยืน

- ปัญหาผู้สูงอายุ

- ภาวะโลกร้อน

- ปัญหาค่านิยมเพื่อเงิน

- การขัดแย้งของวัฒนธรรม เช่น Isis

- ปัญหา Corruption

คือการนำประสบการณ์ในการทำงานระดับรากหญ้าของผมที่ทำต่อเนื่อง มากว่า 4 ปีแล้ว อาจจะเป็นกรณีศึกษาให้ UNESCO โลกนำไปวิเคราะห์เพราะงานท่องเที่ยวกับกีฬาของผมก็คือการเปลี่ยนแปลงของสังคมเช่นกัน ตั้งใจใช้กรณีศึกษาของผมบวกกับเศรษฐกิจพอเพียงให้คนในโลกได้ทราบมากขึ้น

ในการประชุม ผมได้แสดงจุดยืนที่จะสนับสนุนงานของ UNESCO ทางสังคมศาสตร์มากขึ้น เพราะเป็นงานที่มีประโยชน์ต่อประเทศไทยและคนไทยอย่างมาก ผมจะช่วยขยายและถ่ายทอดข้อมูลต่างๆ ในรายการวิทยุ และโทรทัศน์อย่างต่อเนื่องและภูมิใจที่มีโอกาสใช้เป็นบทบาทนำของธรรมศาสตร์อีกครั้งหนึ่ง

อย่างน้อยยังได้มีโอกาสรับใช้ประเทศและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งมีส่วนที่ให้งานของผมปัจจุบันมีคุณค่าต่อสังคมโลกและสังคมไทยครับ

จีระ หงส์ลดารมภ์

อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

คัดลอกจาก บทเรียนจากความจริง ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ หนังสือพิมพ์แนวหน้า วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม 2559

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม 2016 เวลา 15:02 น.
 

เรียนรู้ “ยูเนสโก” คลังความรู้ที่อยู่บนความหลากหลาย

พิมพ์ PDF

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม 2016 เวลา 15:28 น.
 


หน้า 264 จาก 561
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5644
Content : 3068
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8747780

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า