Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

100 ปี ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์

พิมพ์ PDF

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม 2016 เวลา 15:56 น.
 

รายการเปลี่ยน เป็น เปลี่ยน 23032559

พิมพ์ PDF

แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม 2016 เวลา 16:03 น.
 

รายการ เปลี่ยน เป็น เปลี่ยน

พิมพ์ PDF

 ขอเชิญชมรายการ เปลี่ยน เป็น เปลี่ยน รายการสดออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ โลกพระพุทธศาสนาเฉลิมพระเกียรติฯ WBTV ทุกวันพุธ เวลา 20.30 -21.00 น (ยกเว้นวันพระ)

รายการ เปลี่ยน เป็น เปลี่ยน เป็นรายการสาระการเรียนรู้ จากประสบการณ์ของผู้ร่วมเสวนา  เพื่อใช้เป็นแนวทางการเปลี่ยนตัวเองของผู้รับชม ทุกเพศ ทุกวัย  

สำหรับรายการในคืนวันที่ 23 มีนาคม  2559 เป็นการเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่าผู้ร่วมเสวนาที่มีอายุและประสบการณ์ใกล้เคียงกัน   ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท และคุณประกาย ชลหาญ ทั้งสองมีประสบการณ์ในการทำงานและมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆมากมาย ทั้งด้านสังคม การเงิน และเศรษฐกิจ มามากกว่า 40 ปี  ยินดีที่จะนำประสบการณ์เหล่านี้มาแบ่งปันให้แก่ผู้ชม เพื่อประโยชน์ในการดำเนินชีวิตท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและมีแนวโน้นจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ

 โปรดติดตามชมให้ได้ครับ คืนนี้ 23 มีนาคม 2559 เวลา 20.30 -21.00 น รับชมทาง Internet ได้ทั่วโลก www.wbtvonline.com หรือ

รับชมทางมือถือ www.stationg.com/wbtv

สำหรับท่านที่รับชมทาง ทีวี ผ่านจานดาวเทียม สามารถรับชมได้ตามช่องต่างๆดังนี้

กล่องดาวเทียมค่าย GMM ช่อง 175

กล่องดาวเทียมค่าย PSI ช่อง 239

กล่องดาวเทียวค่าย CTH  ช่อง 870

กล่องดาวเทียวค่าย  Infosat ;Thaisat; Indeasat ; Leotech ช่อง 189

สำหรับท่านที่ติดธุระหรือพลาดชมรายการสด สามารถติดตามชมรายการย้อนหลังได้ทาง YouTube พิมพ์ “รายการ เปลี่ยน เป็น เปลี่ยน

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท


23 มีนาคม 2559

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 23 มีนาคม 2016 เวลา 13:31 น.
 

วันแห่งความสุข

พิมพ์ PDF

วันนี้ ๒๐ มีนาคม เป็น International Day of Happinessหลังวิ่งออกกำลัง ผมมานั่งผึ่งลมจากพัดลม ที่ระเบียงข้างบ้าน และลงทะเบียนเข้าเว็บไซต์ข้างต้น พบ GREAT DREAM กุญแจ ๑๐ ดอก สู่ชีวิตที่สุขกว่า ลองเข้าไปอ่านดูนะครับ เป็นคำขวัญที่บอกแนวทางแห่งความสุขที่ผมปฏิบัติมาทั้งชีวิต เพียงแต่ผมจัดเข้าเป็นชุด ใช้ตัวอักษรตัวแรก ๑๐ ตัว ไม่เป็น ขอยืนยันว่า ๑๐ หลักการนี้ ผมยึดถือเรื่อยมา และแน่นแฟ้นขึ้นเรื่อยๆ เป็นหลักการที่พิสูจน์แล้วว่าได้ผล

ที่จริงตอนที่ผมออกไปวิ่ง อากาศร้อนอบอ้าว ยากที่จะรู้สึกมีความสุข แต่ผมก็บอกตัวเองว่าฤดูกาล แห่งอากาศร้อนผ่านมาแล้วก็ผ่านไป เป็นเรื่องของฤดูกาลที่หมุนเวียน เราไม่มีทางแก้ไข ต้องอยู่กับมันโดยไม่ทุกข์ แต่ก็ยังมีทาง ที่หากวิ่งไปบริเวณที่มีลม ความร้อนก็คลาย ยังดีที่หมู่บ้านที่ผมอยู่ ไม่ไกลจากแม่น้ำเจ้าพระยามากนัก ยังมีอิทธิพลจากแม่น้ำมาช่วย ช่วยให้มีลมมาผ่อนคลายความร้อน คิดและปฏิบัติอย่างนี้แล้ว ความรู้สึกร้อนก็คลาย

World Happiness Report จัดอันดับประเทศที่ผู้คนมีความสุขสูง ตั้งแต่อันดับที่ ๑ ถึง ๑๕๗ ประเทศไทยอยู่ที่อันดับ ๓๓ เป็นอันดับที่สองในอาเซียน ที่แชมป์คือสิงคโปร์ อันดับที่ ๒๒ สิ่งที่เราควรสนใจคือ เข้าวัดระดับความสุขของผู้คนในแต่ละประเทศอย่างไร อ่านแล้วได้ความว่า วัดที่ real GDP per capita, social support, healthy life expectancy, freedom to make life choices, generosity, และ perception of corruption ซึ่งผมคิดว่าเป็นเกณฑ์ที่ดี เป็นความพยายามที่ดีที่จะหาเกณฑ์วัดความสุขเพื่อเปรียบเทียบประเทศต่างๆ

ข้อสังเกตของผมก็คือ ๑๐ ประเทศที่อันดับสูงสุด เป็นประเทศที่ค่อนไปทางสังคมนิยม ไม่ทุนนิยมสุดโต่ง ความเหลื่อมล้ำต่ำ สหรัฐอเมริกาแม้จะเป็นมหาอำนาจโลก และมีความก้าวหน้าสูงด้านเทคโนโลยี แต่อยู่ที่อันดับ ๑๓ เป็นสังคมที่ไทยไม่ควรเอาอย่าง เพราะความเหลื่อมล้ำ และปัญหาสังคมสูงมาก

ที่ผมตกใจคือ ญี่ปุ่นตกไปอยู่ที่อันดับ ๕๓ ผมอยากรู้ว่า ทำไมคนญี่ปุ่นไม่มีความสุข เพราะผมเพิ่งไปเที่ยวชนบทญี่ปุ่น และคิดว่าเป็นชีวิตที่น่าจะมีความสุขมาก ผมเล่าไว้ ที่นี่

ผมมีความเชื่อว่า สังคมไทยเรามีด้านดี ด้านเข้มแข็งอยู่ในวัฒนธรรม หากเราช่วยกันแก่ไขปรับปรุง ส่วนที่เราอ่อนแอ เราก็จะสามารถเป็นตัวอย่างแก่โลกได้ ในด้านการเป็นสังคมที่ผู้คนมีความสุข

หนังสือ Sapiens : A Brief History of Humankind หน้า ๓๗๗ กล่าวถึงเรื่อง history of happiness บอกว่าตลอดประวัติศาสตร์ของ “มนุษย์ฉลาด” (Homo sapiens) ความสามารถของมนุษย์เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน แต่ไม่แน่ใจว่าความสุขเพิ่มขึ้นหรือไม่ น่าตกใจนะครับ ว่ามนุษย์เราเก่งขึ้น แต่ไม่แน่ใจว่าสุขขึ้นหรือไม่ และในหนังสือหน้า ๓๘๓ ยิ่งทำให้เรื่องความสุขมีความซับซ้อนยิ่งขึ้น เพราะว่ามนุษย์สมัยโบราณมีความพอใจ กับวัตถุที่พื้นๆ แต่มนุษย์ยุคปัจจุบันเอาใจยาก ต้องการวัตถุเพิ่มขึ้นมากมาย สภาพความเป็นอยู่ที่มนุษย์ยุค ร้อยปีก่อนมีความสุขความพอใจสุดๆ มนุษย์ยุคปัจจุบันอาจไม่พอใจอย่างยิ่ง ความสุขขึ้นอยู่กับการได้รับ การตอบสนองความคาดหวัง มนุษย์ยุคนี้ มีความคาดหวังสูง

ในหนังสือหน้า ๓๙๑ บอกว่า ความสุขอยู่ที่การบรรลุความหมาย (meaning) แห่งชีวิต และคนสมัยโบราณ ยอมรับความหมายของชีวิตในโลกหน้า จึงมีความสุขง่ายกว่าคนสมัยปัจจุบัน ที่พอใจกับความหมายในชีวิตที่ตน ได้รับอยู่ในปัจจุบันมากกว่า มิน่า ฟาโรห์ ของอียิปต์จึงยินดีดื่มยาพิษ เพื่อไปสู่ชีวิตในโลกหน้า ตาม บันทึกนี้ และผมเดาว่า คนไทยยุคปัจจุบันส่วนใหญ่ ก็ยังเน้นความหมายของชีวิตในโลกหน้า แต่ผมไม่เชื่อเรื่องโลกหน้า แบบที่มีหลังสิ้นชีวิตในโลกนี้

หน้า ๓๙๖ บอกว่า มนุษย์เรายังศึกษาเรื่องความสุขน้อยไป และเพิ่งเริ่มศึกษาเมื่อไม่กี่ปีมานี้เอง ซึ่งผม เถียงสุดฤทธิ์ เพราะเราทราบว่า สมเด็จพระสัมมามัมพุทธเจ้าสมณโคดม อุทิศชีวิตศึกษาเรื่องความสุข เมื่อกว่า สองพันห้าร้อยปีก่อน ใช้เวลาอยู่ ๖ ปีจึงค้นพบความจริงอันประเสริฐนี้ ซึ่งหนังสือเล่มนี้ก็เอ่ยถึง และเอ่ยอย่าง ถูกต้อง ว่าความสุขไม่ได้ขึ้นกับปัจจัยภายนอก และไม่ได้ขึ้นกับความรู้สึกภายในตัวคน แต่ขึ้นกับการลดละ ความต้องการ หรือที่เราเคยเรียนว่า ลดละความทะยานหยากของตนเอง

สองสามวันนี้ ผมออกวิ่งตอนเช้าในท่ามกลางอากาศร้อนอบอ้าว วิ่งไปหน่อยเดียวก็เหงื่อแตก นอกจากวิ่งไปตรงช่องลมแล้ว ผมยังวิ่งไปชื่นชมไม้ดอกและวิวที่สวยงามไปตลอดทาง ตรงไหนสวย ก็แวะถ่ายรูป สำหรับนำมาเผื่อแผ่แก่แฟนบล็อก

วิจารณ์ พานิช

๒๐ มี.ค. ๕๙

คัดลอกจาก: https://www.gotoknow.org/posts/603731

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม 2016 เวลา 20:05 น.
 

ชีวิตที่พอเพียง 2621. ชีวิตในท่ามกลางสมมติ

พิมพ์ PDF


หนังสือ Sapiens : A Brief History of Humankind บอกเราว่า สำหรับมนุษย์ สิ่งต่างๆ ในโลกนี้มี ๒ จำพวกเท่านั้น คือสิ่งที่มีอยู่จริง (objective reality) กับสิ่งสมมติ (imagined reality) และเราอยู่กับสิ่งสมมติที่เรา ช่วยกันสร้างขึ้นเองมากขึ้นเรื่อยๆ โดยบางเรื่องเราหลงงคิดว่ามันเป็นสิ่งที่มีอยู่จริง หลงยึดมั่นถือมั่น และส่วนใหญ่เราหลงให้มันบังคับบัญชาเรา

ทั้งหมดนั้น เกิดจากปฏิวัติใหญ่ครั้งที่ ๑ ในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ - The Cognitive Revolution ที่เกิดขึ้นเมื่อเจ็ดหมื่นปีมาแล้ว ที่ทำให้ “มนุษย์ฉลาด” (Homo sapiens) มีจินตนาการ คือสร้างสิ่งสมมติขึ้นในใจตนได้ และสื่อสารสิ่งสมมติแก่เพื่อนมนุษย์ด้วยกันได้ เป็นคนละ cognitive revolution เกี่ยวกับ artificial intelligence ที่เพิ่งเกิดเมื่อห้าสิบปีที่ผ่านมา

ในช่วงเจ็ดหมื่นปีก่อน มีมนุษย์เกิดขึ้นหลายเผ่าพันธุ์ แต่เฉพาะมนุษย์ฉลาดเท่านั้นที่มีความสามารถสร้าง และสืบทอดสิ่งสมมติได้ สิ่งเหล่านี้ได้แก่ ศิลปะ ศาสนา การค้า และชนชั้นทางสังคม

สิ่งสมมติเหล่านี้ ช่วยให้ “มนุษย์ฉลาด” สร้างกลุ่มก้อนขนาดใหญ่ มีสมาชิกจำนวนมากได้ และเกิดปฏิสัมพันธ์เช่นการค้าทางไกล ได้ ในขณะที่มนุษย์เผ่าพันธุ์อื่นทำไม่ได้ มนุษย์เผ่าพันธ์อื่นจึงสู้ “มนุษย์ฉลาด” ไม่ได้ และค่อยๆ สูญพันธุ์ไปในที่สุด แต่ในช่วงหลังๆ นี้ มีหลักฐานว่า มีการผสมข้ามพันธุ์ และยังมียีนของมนุษย์พันธุ์อื่น (เช่น H. neanderthal) อยู่ในจีโนมของ “มนุษย์ฉลาด” ด้วย

ยิ่งนับวันเราก็ยิ่งมีชีวิตอยู่กับ “ความจริงสมมติ” (imagined reality) มากขึ้นเรื่อยๆ

“ความจริงแท้” ของมนุษย์เป็นเรื่องง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องลงแรงมาก คือการดำรงชีวิตอยู่ เราต้องการปัจจัยสี่เท่านั้นเพื่อการดำรงชีวิต การทำมาหากินจึงไม่ต้องมากมาย แต่หนีไม่พ้นที่ cognitive revolution ของประวัติศาสตร์มนุษยชาติจะนำไปสู่ agricultural revolution เมื่อประมาณหนึ่งหมื่นปีก่อน ทำให้มีผลผลิตเหลือกินเหลือใช้ ความมั่งคั่งถูกสร้างขึ้น ความจริงสมมติในเรื่องเทพเจ้า เจ้าแผ่นดิน เจ้าลัทธิ เจ้าของสินทรัพย์ ชนชั้น ถูกสร้างขึ้น

สมัยเด็ก ผมเคยจินตนาการว่าหากผมเกิดมาเมื่อสามร้อยปีก่อน ผมย่อมเป็นไพร่ เมื่อเป็นหนุ่มคงจะ โดนเกณฑ์ไปรบ ฟันดาบได้เพียงสองเพลงก็คงถูกฆ่าตาย เพราะผมเป็นคนไม่มีความสามารถด้านทักษะใน การเคลื่อนไหวร่างกาย เล่นกีฬาไม่เป็น แต่นี่โชคดี มาเกิดในสมัยนี้ แม้จะเกิดเป็นลูกชาวบ้าน แต่ก็ยังมีโอกาส ได้รับการศึกษา ได้รับการเรียนรู้ตามแนวที่ผมถนัด ได้มีฐานะทางสังคม และมีโอกาสทำประโยชน์แก่บ้านเมือง

ที่สำคัญ ได้มีโอกาสรับใช้สิ่งสมมติต่างๆ มากมาย ที่เราตกลงกันว่าเป็นสิ่งที่ดี มีคุณค่า หนังสือเล่มนี้อธิบายสิ่งสมมติ ที่ร่วมกับมนุษย์สร้างสิ่งสมมติที่ซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ จน “มนุษย์ฉลาด” ชักจะกลายเป็นผู้รับใช้สิ่งสมมติเหล่านั้น

สิ่งสมมติที่มนุษย์สร้างขึ้นหลายอย่างทำให้ชีวิตของมนุษย์มีความสะดวกสบายขึ้นมากมาย แต่มองให้ลึกๆ ชีวิตของมนุษย์กลับมีความสุขน้อยลงที่พวกนักวิชาการ คนไม่มีความมั่งคั่ง ไม่มียศศักดิ์ ชอบยกตัวอย่างคือเมื่อคนมีสิ่งเหล่านั้นมาก ต่อมามีลดลง ก็เกิดความทุกข์เศร้าโศก บางคนถึงกับปลิดชีวิตตนเอง เท่ากับมีความทุกข์เพราะสิ่งสมมติ

ผู้แต่งหนังสือ ชี้ให้เห็นว่า สมมติสร้างสมมติ สร้างกันต่อไปเรื่อยๆ จนมนุษย์รุ่นต่อๆ มาหาความจริงที่เป็นต้นตอไม่พบ ชีวิตจึงจมอยู่กับสมมติ กลายเป็นผู้รับใช้สมมติ ขาดอิสรภาพ โดยไม่ต้องมีคนมาล่ามโซ่ หรือบีบบังคับ ตัวเองต่างหากที่เอาสิ่งสมมติมาบีบคั้นตัวเอง หรือเอาสมมติมาเป็นเครื่องมือบีบคั้น หรือแสวงประโยชน์จากคนอื่น หรือจากส่วนรวม หรือในทางตรงกันข้าม อาศัยสมมตินั้นเอง ทำประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างเสียสละ หรืออย่างมีศรัทธา

ศรัทธา เป็นสมมติอีกอย่างที่มาจาก cognitive revolution เป็นพลังที่ทำให้ “มนุษย์ฉลาด” ทำกิจกรรม ขนาดใหญ่ ร่วมกันได้

cognitive revolution ในทางชีววิทยาที่สมอง ทำให้ “มนุษย์ฉลาด” มีจิตสำนึก ใช้สร้างสิ่งสมมติ และใช้มัน ทั้งในทางบวก และทางลบ อย่างซับซ้อน เพราะบางครั้ง “มนุษย์ฉลาด” เพียงคนเดียว หรือกลุ่มเดียว ใช้มันเพื่อตนเอง แต่อ้างสิ่งสมมติอย่างอื่น ที่คนจำนวนมากเชื่อ หรือมีศรัทธา ชวนกันทำสิ่งที่เลวร้ายสุดขีดได้

สมมติบางอย่าง เช่นวรรณะของคน ผสานกับความเชื่อและยอมรับ ทำให้มีการแบ่งแยกชนชั้น เช่นในรัฐโบราณในตะวันออกกลาง เมื่อหลายพันปีก่อน ระบุชัดเจนว่า คนมี ๓ กลุ่ม คือคนชั้นสูง คนชั้นธรรมดา และทาส อียิปต์ กรีซ และโรมัน ก็ยึดถือเช่นนี้ ต่อมาในบางสังคมสลายไป แต่ในบางสังคมยังดำรงอยู่ อย่างเหนียวแน่น เช่นวรรณะในอินเดีย

สมมติเรื่องวรรณะของคน เป็นประโยชน์ในการจัดระเบียบสังคม ต่อมาเมื่อมีเครื่องมืออื่นที่ดีกว่า และเครื่องมือเก่ามีข้อด้อย สมมตินั้นย่อมค่อยๆ จางหายไป หรือกลายเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ ในอีกยุคหนึ่ง ดังกรณีการเหยียดผิว เหยียดเชื้อชาติ

หนังสือ Sapiens : A Brief History of Humankind เป็นหนังสือที่ประเทืองปัญญาสุดๆ ขอแนะนำให้อ่าน

วิจารณ์ พานิช

๑๕ ก.พ. ๕๙


คัดลอกจาก: https://www.gotoknow.org/posts/603700

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม 2016 เวลา 18:18 น.
 


หน้า 265 จาก 561
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5644
Content : 3068
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8747784

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า